อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์เป็นอุตสาหกรรมที่มีความหลากหลายของประเภทผลิตภัณฑ์ และมีบทบาทสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ เนื่องจากเคมีภัณฑ์เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้เป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิต ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปในอุตสาหกรรมต่าง ๆ มากมาย
ผลิตภัณฑ์เคมีพื้นฐานที่มีการนำมาใช้เป็นวัตถุดิบหรือ ส่วนประกอบในการผลิตผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่สำคัญได้แก่ โซดาไฟ คลอรีน ไฮโดร คลอริก(กรดเกลือ) และกรดซัลฟูริก ซึ่งสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ได้สำรวจข้อมูลการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์โซดาไฟ โดยในไตรมาสที่ 1 ปริมาณการผลิต และการจำหน่ายมีปริมาณเพิ่มขึ้น ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
การผลิต
โซดาไฟ
หน่วย: ตัน
โซดาไฟ 2550 2551 Q1 Q2 Q3 ปี 2551 Q4 ปี 2551 Q1ปี Q1/52เทียบกับ Q4/51 ปี 2551 ปี 2551 2552 (ร้อยละ) การผลิต 571,599.90 842,967 221,325.70 239,833.60 227,467.50 154,340.20 183,735.10 19.04 การจำหน่าย 479,821 741,487.70 193,136.10 198,740.20 212,688.90 136,922.50 154,164.80 12.59 ที่มา :สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
การผลิตโซดาไฟในไตรมาสที่ 1 ปี 2552 มีปริมาณ 183,735.1 ตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 19.04 และการจำหน่าย โซดาไฟในไตรมาสที่ 1 ปี 2552 มีปริมาณ 154,164.8 ตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 12.59 การผลิตและการจำหน่ายเพิ่มขึ้นเนื่องจากผู้ ประกอบการได้ระบายสินค้าในสต๊อกออกในช่วงไตรมาสที่แล้ว ส่งผลให้ต้องมีการผลิตเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามการผลิตที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ ส่วนใหญ่จะเป็น การผลิตตามคำสั่งซื้อเท่านั้น เนื่องจากผู้ผลิตยังไม่มีความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจของโลก ส่วนแนวโน้มการขยายตัวของทั้งปี 2552 น่าจะลดลง
หมายเหตุ : โซดาไฟเป็นวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเรา และยังใช้ประโยชน์ได้อีกมาก มาย เช่น ในการผลิตเยื่อและกระดาษ สบู่และผลิตภัณฑ์ซักฟอก เคมีภัณฑ์ การทำความสะอาด โรงกลั่นน้ำมัน การใช้งานทางอุตสาหกรรมโลหะ อุตสาหกรรมอาหาร เส้นใยเรยอน สิ่งทอ และอื่น ๆ
การตลาด
การนำเข้า
ไตรมาส 1 ปี 2552 การนำเข้าเคมีภัณฑ์อนินทรีย์มีมูลค่า 6,717 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 38.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และลด ลงร้อยละ 54.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เคมีภัณฑ์อินทรีย์มีมูลค่าการนำเข้า 14,253 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 25.7 เมื่อเทียบกับไตรมาส ที่แล้ว และลดลงร้อยละ 42.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อุตสาหกรรมสีมีการนำเข้า 6,080 ลดลงร้อยละ 23.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ แล้ว และลดลงร้อยละ 33.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนปุ๋ยมีมูลค่านำเข้า 7,210 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.2 เมื่อเทียบกับไตร มาสที่แล้ว และลดลงร้อยละ 58.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเครื่องสำอางมีมูลค่านำเข้า 5,339 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และลดลงร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ประเภท พิกัด --------- มูลค่าการนำเข้า (ล้านบาท) ------------- อัตราการเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ) Q1/2551 Q2/2551 Q3/2551 Q4/2551 Q1/2552 Q1/52กับQ4/51 Q1/52กับQ1/51 1. เคมีภัณฑ์พื้นฐาน 1.1 อนินทรีย์ 28 14,734 19,413 25,254 10,950 6,717 -38.6 -54.4 1.2 อินทรีย์ * 29 24,927 25,149 31,012 19,186 14,253 -25.7 -42.8 1.3 เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด 38 22,717 20,345 21,742 16,980 13,121 -22.7 -42.2 2. เคมีภัณฑ์ขั้นปลาย 2.1 ปุ๋ย 31 17,192 26,269 29,680 5,803 7,210 24.2 -58.1 2.2 สีสกัดใช้ในการฟอกหนังหรือย้อมสี 32 9,172 9,748 10,953 7,976 6,080 -23.7 -33.7 2.3 เครื่องสำอาง 33 5,484 5,445 6,098 5,330 5,339 0.1 -2.6 2.4 สารลดแรงตึงผิว 34 4,228 4,425 5,128 4,168 4,982 19.5 17.8 ที่มา : ข้อมูลจากกรมศุลกากร
หมายเหตุ : * เคมีภัณฑ์อินทรีย์ไม่รวมปิโตรเคมีขั้นต้นและขั้นกลาง
การส่งออก
ไตรมาส 1 ปี 2552 การส่งออกเคมีภัณฑ์อินทรีย์มีมูลค่า 5,974 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 2.89 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และลดลง ร้อยละ 11.39 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เคมีภัณฑ์ อนินทรีย์มีมูลค่าส่งออก 2,554 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 26.37 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ แล้ว และลดลงร้อยละ 10.91 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อุตสาหกรรมสีมีมูลค่าส่งออก 2,089 เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.18 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ แล้ว และลดลงร้อยละ 13.39 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนเครื่องสำอางหรือสิ่งปรุงแต่งสำหรับประทินร่างกายมีมูลค่าส่งออก 8,355 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 23.92 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.09 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อุตสาหกรรมปุ๋ยมีมูลค่าการ ส่งออก 595 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 45.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 43.02 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ประเภท พิกัด ------------มูลค่าการส่งออก (ล้านบาท)------------ อัตราการเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
Q1/2551 Q2/2551 Q3/2551 Q4/2551 Q1/2552 Q1/52กับQ4/51 Q1/52กับQ1/51 1. เคมีภัณฑ์พื้นฐาน
1.1 อนินทรีย์ 28 2,867 3,436 4,191 3,469 2,554 -26.37 -10.91 1.2 อินทรีย์ * 29 6,742 6,994 9,039 6,152 5,974 -2.89 -11.39 1.3 เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด 38 4,660 4,357 5,610 4,537 4,393 -3.17 -5.72 2. เคมีภัณฑ์ขั้นปลาย 2.1 ปุ๋ย 31 416 731 783 1,100 595 -45.9 43.02 2.2 สีสกัดใช้ในการ 32 2,412 2,608 2,982 1,931 2,089 8.18 -13.39 ฟอกหนังหรือย้อมสี 2.3 เครื่องสำอาง 33 7,875 7,898 9,465 10,982 8,355 -23.92 6.09 2.4 สารลดแรงตึงผิว 34 3,425 21,589 4,223 3,333 3,570 7.11 4.23
ที่มา : ข้อมูลจากกรมศุลกากร
หมายเหตุ : * เคมีภัณฑ์อินทรีย์ไม่รวมปิโตรเคมีขั้นต้นและขั้นกลาง
แนวโน้ม
อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์โดยรวมในปี 2552 น่าจะชะลอตัวลงเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ดังนั้นผู้ประกอบการเคมีภัณฑ์ต้องปรับ ธุรกิจให้สามารถอยู่รอด โดยผู้ประกอบการจำเป็นจะต้องเพิ่มประสิทธิภาพด้านการผลิต การตลาด การจัดการ รวมทั้งเทคโนโลยีต่าง ๆ และอีกสิ่ง หนึ่งที่สำคัญคือผู้ประกอบการจะต้องปรับตัวให้เข้ากับกฎระเบียบต่าง ๆ ที่ประกาศออกมาใช้เพื่อดูแลคุณภาพชีวิตของมนุษย์ และคุณภาพของสิ่งแวดล้อมที่ ดี ทั้งนี้ กฎระเบียบต่าง ๆ ค่อนข้างมีผลกระทบต่อภาคการส่งออกของไทยเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะกฎระเบียบของสหภาพยุโรปซึ่งถือว่าเป็นตลาดหลัก ของไทย ดังนั้นผู้ประกอบการจึงควรต้องศึกษาในกฎระเบียบต่าง ๆ เหล่านี้เพื่อรักษาเสถียรภาพการส่งออกในช่วงที่เศรษฐกิจซบเซา
อุตสาหกรรมปุ๋ยเคมี : การนำเข้าปุ๋ยเพิ่มขึ้นเนื่องจากเป็นวัฎจักรของปุ๋ยเคมี นำเข้าปุ๋ยเพื่อเตรียมพร้อมกับการเพาะปลูกในช่วงฤดูการทำ ไร่นา ส่วนสถานการณ์ราคาปุ๋ยเคมีในตลาดโลกยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง และคาดว่าในอีก 2 เดือนข้างหน้าราคาปุ๋ยเคมีจะปรับเพิ่มขึ้นอีกประมาณร้อย ละ 20 และในบางสูตรที่เป็นแม่ปุ๋ยอาจปรับเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 20 รวมทั้งยังมีการคาดการณ์ว่าราคาปุ๋ยเคมี มีแนวโน้มจะแพงต่อเนื่องไปอีก 2 ปี เนื่องจากมีการใช้พืชผลทางการเกษตรมาใช้เพื่อผลิตพลังงานทดแทนน้ำมัน ซึ่งมีราคาแพงและเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม
อุตสาหกรรมสี : เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจขยายตัวต่ำกว่าที่ได้คาดการณ์ไว้จากร้อยละ 5 เหลือเพียงร้อยละ 2 ส่งผลให้ตลาดสีในระดับ กลาง-ล่าง จะได้รับผลค่อนข้างมาก และอาจมีผู้ประกอบการรายเล็กปิดกิจการหรือหายไปจากตลาด ดังนั้นผู้ประกอบการสีส่วนใหญ่จึงต้องใช้กลยุทธ์ ต่าง ๆ เพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดไว้
อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง : แม้ภาพรวมธุรกิจต่างๆ จะได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจและการเมือง แต่เนื่องจากผู้หญิงยังให้ความสำคัญ กับการดูแลความสวยความงามและสุขภาพ เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ของตนในสังคมจึงเป็นปัจจัยให้ตลาดเครื่องสำอางยังคงมีการเติบโตต่อเนื่อง แนว โน้มของอุตสาหกรรมเครื่องสำอางปีนี้ ตลาดจะมีความต้องการสินค้าเฉพาะเจาะจงเหมาะกับบุคลิกของตนมากขึ้น เพราะลูกค้าต้องเลือกซื้อเฉพาะสินค้า ที่จำเป็น แทนที่จะซื้อหลายๆ ชิ้นเหมือนในอดีต ทั้งนี้เนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจส่งผลให้ลูกค้ามีความระมัดระวังเพิ่มขึ้น
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--