1. การผลิต
การผลิตเซรามิก ไตรมาสที่ 1 ปี 2552 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 30.26 ล้านตารางเมตร และเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ 1.33 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.07 และลดลง ร้อยละ 23.29 ตามลำดับ ซึ่งการผลิตกระเบื้องปูพื้น บุผนัง จะอิงกับตลาดซ่อมแซมบ้านเก่าจึงยัง มีการผลิตเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับตลาดในช่วงฤดูกาลขาย ในขณะที่เครื่องสุขภัณฑ์จะอิงกับตลาดบ้านใหม่ที่ปัจจุบันอยู่ในภาวะซบเซาทำให้การผลิตลดลง แต่เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน การผลิตเซรามิก ลดลงอย่างต่อเนื่องจากภาวะซบเซาของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ โดยกระเบื้อง ปูพื้น บุผนังและเครื่องสุขภัณฑ์ ลดลง ร้อยละ 17.87 และ 39.75 ตามลำดับ (ดังตาราง ที่ 1 และ 2)
2. การตลาด
2.1 ตลาดในประเทศ
การจำหน่ายเซรามิก ไตรมาสที่ 1 ปี 2552 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 36.71 ล้าน ตารางเมตร และเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ 0.97 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.86 และ 9.32 ตามลำดับ เนื่องจากไตรมาสนี้เป็นช่วงฤดูกาลขาย ทำให้ความต้องการของตลาดมีมากขึ้น โดยเฉพาะตลาดที่ต้องการปรับปรุงซ่อมแซมบ้านเก่า แต่เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนการจำหน่ายเซรามิกลดลงจากภาวะซบเซาของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ ทำให้กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ลดลงร้อยละ 13.88 และ 21.01 ตามลำดับ (ดังตารางที่ 1 และ 2)
2.2 การส่งออก
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกจะส่งไปยังประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย สหราช อาณาจักร เยอรมนี และประเทศในกลุ่มอาเซียน โดยการส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก ไตรมาสที่ 1 ปี 2552 มีมูลค่ารวม 135.16 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และระยะเดียวกันของปีก่อน ลดลง ร้อยละ 33.84 และ 44.16 ตามลำดับ (ดังตารางที่ 3) เนื่องจากได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง ส่งผลให้การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกในตลาดหลักทั้ง สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ลดลง
2.3 การนำเข้า
การนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกส่วนใหญ่จะนำเข้าจากประเทศจีน ญี่ปุ่น และมาเลเซีย โดยเป็นการนำเข้ากระเบื้องปูพื้น บุผนัง เซรามิกที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ และอิฐทนไฟ เป็นหลัก สำหรับการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก ไตรมาสที่ 1 ปี 2552 มีมูลค่า 38.59 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน ลดลง ร้อยละ 37.22 และ 39.92 ตามลำดับ (ดังตารางที่ 4) เนื่องจากผลกระทบของปัญหาเศรษฐกิจในประเทศ และการชะลอการลงทุนในภาคอุตสาหกรรม
3. สรุปและแนวโน้ม
การผลิตเซรามิก ไตรมาสที่ 1 ปี 2552 ผลิตภัณฑ์กระเบื้องปูพื้น บุผนัง จะอิงกับตลาดซ่อมแซมบ้านเก่าจึงยังมีการผลิตเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับตลาดในช่วงฤดูกาลขาย ในขณะที่เครื่องสุขภัณฑ์จะอิงกับตลาดบ้านใหม่ที่ปัจจุบันอยู่ในภาวะซบเซา ทำให้การผลิตลดลง ในขณะที่การจำหน่ายเซรามิก ไตรมาส ที่ 1 ปี 2552 ทั้งกระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ เพิ่มขึ้น เนื่องจากไตรมาสนี้เป็นช่วงฤดูกาลขาย ทำให้ความต้องการของตลาดมีมากขึ้น โดยเฉพาะตลาดที่ต้องการปรังปรุบซ่อมแซมบ้านเก่า สำหรับการผลิตและจำหน่ายเซรามิก ในไตรมาสที่ 2 ปี 2552 มีแนวโน้มลดลง เนื่องจากเป็นช่วงเทศกาลที่มีวันหยุดยาว และเป็นช่วงที่เริ่มเข้าสู่ฤดูฝน ประกอบกับได้รับผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจและการเมืองในประเทศ ทำให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ซบเซาอย่างหนัก เป็นผลให้กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง ในส่วนของการส่งออกเซรามิกไตรมาสที่ 1 ปี 2552 ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง ส่งผลให้การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกในตลาดหลักทั้ง สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ลดลง สำหรับการส่งออกเซรามิกไตรมาสที่ 2 ปี 2552 ยังมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากยังคงได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจโลก
ปริมาณ (ตารางเมตร) ไตรมาส Jan-51 Apr-51 1/2552 * การผลิต 36,841,943 28,259,865 30,257,410 % D เทียบกับไตรมาสก่อน 7.07 % D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -17.87 การจำหน่ายในประเทศ 42,626,829 32,818,898 36,709,791 % D เทียบกับไตรมาสก่อน 11.86 % D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -13.88
ที่มา: ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : 1. จากการสำรวจโรงงานกระเบื้องปูพื้น บุผนัง จำนวน 10 โรงงาน
2. ไตรมาส 1/2552 เป็นตัวเลขประมาณการ
ปริมาณ (ชิ้น) ไตรมาส Jan-51 Apr-51 Jan-52 การผลิต 2,209,335 1,735,210 1,331,039 % D เทียบกับไตรมาสก่อน -23.29 % D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -39.75 การจำหน่ายในประเทศ 1,230,201 888,862 971,707 % D เทียบกับไตรมาสก่อน 9.32 % D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -21.01
ที่มา: ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จากการสำรวจโรงงานเครื่องสุขภัณฑ์ จำนวน 6 โรงงาน
มูลค่า:ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ช่วงเวลา ไตรมาส ผลิตภัณฑ์ Jan-51 Apr-51 Jan-52 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง 29.89 27.83 25.56 % D เทียบกับไตรมาสก่อน -8.16 % D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -14.49 เครื่องสุขภัณฑ์ 35.17 30.89 24.96 % D เทียบกับไตรมาสก่อน -19.2 % D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -29.03 เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร 39.17 37.89 29.45 % D เทียบกับไตรมาสก่อน -22.28 % D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -24.81 ของชำร่วยเครื่องประดับ 8.14 6.24 5.76 % D เทียบกับไตรมาสก่อน -7.69 % D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -29.24 ลูกถ้วยไฟฟ้า 6.29 4.79 4.29 % D เทียบกับไตรมาสก่อน -10.44 % D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -31.8 ผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น ๆ 123.4 96.65 45.14 % D เทียบกับไตรมาสก่อน -53.3 % D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -63.42 รวมผลิตภัณฑ์เซรามิก 242.1 204.3 135.2 % D เทียบกับไตรมาสก่อน -33.84 % D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -44.16
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร
มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ช่วงเวลา ไตรมาส ผลิตภัณฑ์ Jan-51 Apr-51 Jan-52 ผลิตภัณฑ์เซรามิกสำหรับใช้ตามห้องปฏิบัติการ 23.91 21.06 10.78 % D เทียบกับไตรมาสก่อน -48.81 % D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -54.91 ผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น 40.32 40.41 27.81 % D เทียบกับไตรมาสก่อน -31.18 % D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -31.03 รวมผลิตภัณฑ์เซรามิก 64.23 61.47 38.59 % D เทียบกับไตรมาสก่อน -37.22 % D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -39.92
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร
หมายเหตุ : 1. โครงสร้างสินค้านำเข้า แบ่งผลิตภัณฑ์เซรามิกเป็นผลิตภัณฑ์ เซรามิกสำหรับใช้ตามห้องปฏิบัติการ และ
ผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น
2. การนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก ไม่นับรวมผลิตภัณฑ์เซรามิกทนไฟ ในพิกัด 6903 ที่จัดอยู่ในหมวดสินค้าทุนอื่น ๆ
เครื่องสุขภัณฑ์ ในพิกัด 6910 เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ในพิกัด 6911 และพิกัด 6912 เครื่องใช้และเครื่องตกแต่ง
ในบ้านเรือน พิกัด 6913 และผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น ๆ ในพิกัด 6914 ที่จัดอยู่ในหมวดสินค้าอุปโภคบริโภค
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--