1. การผลิต
การผลิตเส้นใยสิ่งทอรวมทั้งการทอสิ่งทอ (ISIC 1711) การผลิตผ้าที่ได้จากการถักนิตติ้งหรือโครเชท์ (ISIC 1730) และการผลิต เครื่องแต่งกายยกเว้นเครื่องแต่งกายที่ผลิตจากขนสัตว์ (ISIC 1810) ในไตรมาสที่ 1 ปี 2552 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม การผลิต ปรับตัวลดลงทั้ง 3 ISIC ร้อยละ 8.7 , 32.4 และ 11.5 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 23.3 , 28.8 และ 14.6 ตาม ลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้ดัชนีการส่งสินค้าปรับลดลงเช่นเดียวกันที่ร้อยละ 4.3 , 23.4 และ 9.9 เมื่อเทียบกับ ไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 20.2 , 22.9 และ 8.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งสาเหตุหลักจากปัญหาการเมืองภายในประเทศ รวมทั้งผลกระทบจากเศรษฐกิจโลก ทำให้ลูกค้าทั้งภายในประเทศและส่งออกลดการซื้อสินค้าลง ซึ่งคาดว่าการผลิต การจำหน่ายในประเทศ การส่ง ออก จะปรับตัวดีขึ้นประมาณไตรมาส 3 สำหรับเสื้อผ้าสำเร็จรูปสถานการณ์ยังคงผันผวน ซึ่งยังไม่สามารถคาดการณ์แนวโน้มได้ ทั้งนี้ขึ้นกับตลาดส่งออก หลักและตลาดในประเทศ รวมถึงคำสั่งซื้อ (order) จากลูกค้าที่จะมีเข้ามา สำหรับการนำเข้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปยังมีการนำเข้าเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่เสื้อผ้า แฟชั่นจากจีน และญี่ปุ่น
สำหรับการผลิตผ้าผืน ได้ผลักดันให้ผู้ประกอบการสิ่งทอปลายน้ำใช้ผ้าผืนที่ผลิตในประเทศมากขึ้นเพื่อลดการนำเข้า เนื่องจากไทยเป็นฐาน การผลิตที่มีศักยภาพและมีครบวงจรมากกว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค โดยเฉพาะผ้าผืนของไทยสามารถส่งออกไปลาว เวียดนาม กัมพูชาและบังคลาเทศ ซึ่งมีแนวโน้มบริโภคสูงขึ้น เนื่องจากประเทศเหล่านี้ขาดสิ่งทอต้นน้ำ ทำให้ต้องมีการนำเข้าผ้าผืนจากไทยไปตัดเย็บเพื่อการส่งออกมากขึ้น
2. การส่งออก
การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไตรมาสที่ 1 ปี 2552 มีมูลค่าการส่งออก 1,504.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 10.1 เมื่อเทียบ กับไตรมาสก่อน มูลค่าการส่งออก 1,674.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และลดลงร้อยละ 14.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยจำแนกผลิตภัณฑ์ ที่สำคัญ ๆ ดังนี้
2.1 เสื้อผ้าสำเร็จรูป ไตรมาสที่ 1 ปี 2552 มีมูลค่าการส่งออก 675.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 9.0 เมื่อเทียบกับไตรมาส ก่อน ซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 742.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และลดลงร้อยละ 8.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นในตลาด ญี่ปุ่น โดยเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากฝ้ายมีสัดส่วนการส่งออกมากที่สุดถึงร้อยละ 43.8 ของการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปทั้งหมด
2.2 ผ้าผืน ไตรมาสที่ 1 ปี 2552 มีมูลค่าการส่งออก 270.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 9.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และ ลดลงร้อยละ 9.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
2.3 ด้ายและด้ายเส้นใยประดิษฐ์ ไตรมาสที่ 1 ปี 2552 มีมูลค่าการส่งออก 139.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 14.6 เมื่อ เทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 33.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 163.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
2.4 เส้นใยประดิษฐ์ ไตรมาสที่ 1 ปี 2552 มีมูลค่าการส่งออก 92.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.8 เมื่อเทียบกับไตร มาสก่อน แต่ลดลงร้อยละ 32.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มีมูลค่าการส่งออก 83.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
3. ตลาดส่งออก
ตลาดส่งออกที่สำคัญหลักๆ ของอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย มีดังนี้
สหรัฐอเมริกา ยังคงเป็นตลาดส่งออกสิ่งทอหลักของไทย ซึ่งการส่งออกสิ่งทอของไทยไปสหรัฐอเมริกา ในไตรมาสที่ 1 ปี 2552 มีมูลค่า 375.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 14.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 24.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งสัดส่วน การส่งออกสิ่งทอและ เครื่องนุ่งห่มของไทยส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกาคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 24.9 ของการส่งออกสิ่งทอทั้งหมดของไทย สินค้าที่ส่งออก ส่วนใหญ่ เป็นเสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องยกทรง รัดทรง และส่วนประกอบ เคหะสิ่งทอ และผ้าผืน ตามลำดับ
สหภาพยุโรป ไตรมาสที่ 1 ปี 2552 มีมูลค่าการส่งออก 280.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 15.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และ ลดลงร้อยละ 13.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 18.7 ของการส่งออกสิ่งทอทั้งหมด สินค้าส่งออกส่วนใหญ่เป็นกลุ่ม เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผ้าผืน เครื่องยกทรง รัดทรงและส่วนประกอบ เป็นต้น
อาเซียน ไตรมาสที่ 1 ปี 2552 มีมูลค่าการส่งออก 201.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 18.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลง ร้อยละ 18.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 13.4 ของการส่งออกสิ่งทอทั้งหมด สินค้าส่งออกส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผ้า ผืน เส้นใยประดิษฐ์ ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ และสิ่งทออื่นๆ เป็นต้น
ญี่ปุ่น ไตรมาสที่ 1 ปี 2552 มีมูลค่าการส่งออก 125.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.7เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และร้อยละ 8.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 8.3 ของการส่งออกสิ่งทอทั้งหมด โดยสินค้าส่งออกของไทยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มของ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ และสิ่งทออื่นๆ เป็นต้น
4. การนำเข้า
การนำเข้าสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปของไทยในไตรมาสที่ 1 ปี 2552 ส่วนใหญ่ปรับลดลงทั้งวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต เช่น เส้นใยฯ เส้น ด้ายฯ ผ้าผืน และผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่นๆ และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ซึ่งผลิตภัณฑ์สำคัญที่นำเข้า ได้แก่
4.1 สิ่งทอ มีมูลค่าการนำเข้าสิ่งทอ (เส้นใยฯ เส้นด้ายฯ ผ้าผืน และ ผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่นๆ) รวมทั้งสิ้น 646.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง ร้อยละ 23.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 28.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าถึงร้อยละ 89.1 ของมูลค่าการนำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มโดยรวม ผลิตภัณฑ์สำคัญที่นำเข้ามี ดังนี้
4.1.1 เส้นใยที่ใช้ในการทอ มีมูลค่านำเข้า 136.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 28.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งมีมูลค่านำ เข้า 191.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และลดลงร้อยละ 41.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ตลาดนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา บราซิล และออสเตรเลีย สัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 30.8, 14.2 และ 8.9 ตามลำดับ
4.1.2 ด้ายทอผ้าฯ มีมูลค่านำเข้า 88.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 28.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งมีมูลค่านำเข้า 124.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และลดลงร้อยละ 39.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ตลาดนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น และไต้หวัน สัดส่วนการ นำเข้าร้อยละ 19.4, 15.2 และ 15.1 ตามลำดับ
4.1.3 ผ้าผืน มีมูลค่านำเข้า 275.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 25.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งมีมูลค่านำเข้า 368.9 ล้าน เหรียญสหรัฐฯ และลดลงร้อยละ 26.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ตลาดนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ จีน ไต้หวัน และญี่ปุ่น สัดส่วนการนำเข้า ร้อยละ 42.4,19.1 และ 6.9 ตามลำดับ
4.1.4 วัตถุทออื่นๆ มีมูลค่านำเข้า 30.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 4.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งมีมูลค่านำเข้า 31.5 ล้าน เหรียญสหรัฐฯ แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ตลาดนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ อินเดีย ญี่ปุ่น และจีน สัดส่วนการนำเข้า ร้อยละ 19.1, 13.9และ 11.2 ตามลำดับ
4.2 เสื้อผ้าสำเร็จรูป มีมูลค่านำเข้าทั้งสิ้น 70.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งมีมูลค่านำเข้า 66.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 10.9 ของการนำเข้าสิ่งทอและ เครื่องนุ่งห่มทั้งหมด ตลาดนำเข้าหลักคือ จีน ฮ่องกง และอิตาลี สัดส่วนร้อยละ 48.2, 8.0 และ 5.6 ตามลำดับ
5. สรุปและแนวโน้ม
ในไตรมาสที่ 1 ปี 2552 อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มได้รับผลกระทบค่อนข้างมากจากปัจจัยลบหลายประการที่ส่งผลกระทบทั้งภาค การผลิต การจำหน่ายในประเทศ การส่งออก ตลอดจนการนำเข้าวัตถุดิบสิ่งทอต้นน้ำสำหรับการผลิตเพื่อส่งออก ได้ปรับลดลงทุกรายการ เนื่องจากผู้นำ เข้าสิ่งทอมีสต็อกเหลืออยู่มาก (จากดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง ตามตางรางที่ 1-3) อีกทั้งผู้นำเข้าได้ชะลอการบริโภค จากกำลังซื้อภาคประชาชนที่หด ตัวตามภาวะเศรษฐกิจ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ได้ปรับลดการผลิตลงร้อยละ 20 -30 ในขณะที่บางโรงงานส่งออกได้ไม่หมดก็หันมาทำตลาดในประเทศ มากขึ้น
การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มในไตรมาสนี้ ลดลงในตลาดส่งออกหลัก ทั้งสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และอาเซียน ส่วนตลาดญี่ปุ่นมี อัตราการขยายตัวที่ร้อยละ 10 โดยเฉพาะเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ขยายตัวในตลาดนี้ถึงร้อยละ 42 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและขยายตัวร้อยละ 20 เมื่อ เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปัจจัยบวกที่ผลักดันให้มูลค่าการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปในตลาดญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นจากความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย — ญี่ปุ่น (Japan-Thailand Economic Partnership Agreement : JTEPA) และการทำความตกลงภายใต้กรอบอาเซียน — ญี่ปุ่น (ASEAN— Japan Comprehensive Economic Partnership Agreement : AJCEP) ซึ่งไทยและอาเซียนอีก 9 ประเทศได้ลงนามความตกลงเปิดเขต การค้าเสรีและจะมีผลใช้ภายในปีนี้
สำหรับแนวโน้มในไตรมาสที่ 2 ปี 2552 คาดว่าภาคการผลิต การส่งออกจะยังชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจโลกและภาวะเศรษฐกิจของ ประเทศคู่ค้าหลัก ซึ่งวิกฤตเศรษฐกิจยังส่งผลกระทบทั้งสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา และจีน ทั้ง 3 กลุ่มประเทศนี้มีกำลังการผลิตสิ่งทอรวมกันประมาณ ร้อยละ 75 ของโลก สหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกาได้รับผลกระทบจากวิกฤตในครั้งนี้ค่อนข้างมาก ส่วนประเทศจีน-ทางการจีนได้เลิกอุดหนุนการส่ง ออก ทำให้ผู้ประกอบการจีนหันมาเน้นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศมากขึ้น และยังมีประเด็นสารปนเปื้อนต่าง ๆ ในสินค้าจีน ทำให้ผู้นำเข้าในหลาย ๆ ประเทศได้กระจายความเสี่ยงในการนำเข้าสินค้าจากประเทศต่างๆ มากขึ้น รวมทั้งไทยด้วย คาดว่าคำสั่งซื้ออาจจะปรับตัวดีขึ้นในไตรมาสที่ 3 จากวิกฤติเศรษฐกิจในครั้งนี้จะเป็นโอกาสของผู้ประกอบการไทยที่มีความสามารถในการปรับตัว และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้ดียิ่งขึ้นต่อไปในสภาวะ การณ์เช่นนี้ ผู้ประกอบการควรปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต การบริหารจัดการต้นทุนการผลิต รวมถึงวัตถุดิบและการขนส่ง เน้นตลาดภายในประเทศ มากขึ้นเพราะยังมีความต้องการบริโภค และคงต้องหาตลาดใหม่อื่น ๆ เพื่อเพิ่มช่องทางและเพิ่มโอกาสให้กับอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มด้วย
ดัชนี 2551 2552 อัตราการขยายตัว(%)
Q1*/52 เทียบ
Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 * Q4/51 Q1/51 ผลผลิต 72.6 69.9 68.8 61.1 55.7 -8.7 -23.3 การส่งสินค้า 78.9 71.9 73.8 65.8 63 -4.3 -20.2 สินค้าสำเร็จรูปคงคลัง 158 159 161 163 162 -0.6 2.1 ตารางที่ 2 ดัชนีการผลิตผ้าที่ได้จากการถักนิตติ้งและโครเชท์ ดัชนี 2551 2552 อัตราการขยายตัว(%)
Q1*/52 เทียบ
Q1 Q2 Q3 Q1 Q2 Q4/51 Q1/51 ผลผลิต 156 142 174 164 111 -32.4 -28.8 การส่งสินค้า 99.8 98.9 93.6 100 76.9 -23.4 -22.9 สินค้าสำเร็จรูปคงคลัง 123 111 127 134 141 5.5 14.1 ตารางที่ 3 ดัชนีการผลิตเครื่องแต่งกายยกเว้นเครื่องแต่งกายที่ผลิตจากขนสัตว์ ดัชนี 2551 2552 อัตราการขยายตัว(%)
Q1*/52 เทียบ
Q1 Q2 Q3 Q1 Q2 Q3 Q1 ผลผลิต 163 158 171 157 139 -11.5 -14.6 การส่งสินค้า 135 145 146 137 123 -9.9 -8.7 สินค้าสำเร็จรูปคงคลัง 331 340 345 356 386 8.5 16.7
ที่มา : ตารางที่ 1-3 สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : * เป็นตัวเลขเบื้องต้น
ชื่อสินค้า ------------------- มูลค่า : ล้านเหรียญฯ ------------------ อัตราขยายตัว (%) 2551 2552 Q1*/52 เทียบ Q1 Q2 Q3 Q4 Q1* Q4/51 Q1/51 สิ่งทอ 1,758.90 1,839.10 1,926.90 1,674.60 1,504.90 -10.1 -14.4 1 เครื่องนุ่งห่ม 837.8 875 947 845.4 764.7 -9.5 -8.7 (1) เสื้อผ้าสำเร็จรูป 736.2 772 837.9 742.2 675.7 -9 -8.2 (2) เครื่องยกทรง รัดทรงฯ 83.4 83.3 86 82.8 70.5 -14.9 -15.5 (3) ถุงเท้าและถุงน่อง 14.7 15.9 19 16.7 15.3 -8.6 3.8 (4) ถุงมือผ้า 3.5 3.7 4.1 3.6 3.2 -12.1 -10.5 2 ผ้าผืนและด้าย 508.7 509.9 532.4 461.4 410 -11.1 -19.4 (1) ผ้าผืน 298.2 298.2 309.2 298.3 270.6 -9.3 -9.2 (2) ด้ายและเส้นใยฯ 210.5 211.7 223.2 163.1 139.4 -14.6 -33.8 3 เคหะสิ่งทอ 86.6 88 98.8 88 70.9 -19.5 -18.1 4 เส้นใยประดิษฐ์ 137.2 146.9 127.9 83.4 92.5 10.8 -32.6 5 ผ้าปักและผ้าลูกไม้ 30.3 40.1 40.6 37.6 28.2 -25.1 -7 6 ตาข่ายจับปลา 19.3 24.3 20.8 21.1 19.2 -8.7 -0.5 7 ผ้าคลุมไหล่ ผ้าพันคอ 1.6 2.3 1.8 2.3 1.7 -26.7 6.6 8 ผ้าแบบสำหรับตัดเสื้อฯ 11.9 13.8 14.1 14.6 11.6 -20.3 -2.7 9 สิ่งทออื่นๆ 125.4 138.8 143.4 120.8 106.1 -12.2 -15.4 ตารางที่ 5 : มูลค่าการนำเข้าสินค้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ปี 2551-2552 แยกรายไตรมาส ชื่อสินค้า ------------ มูลค่า : ล้านเหรียญฯ ----------- อัตราขยายตัว (%) 2551 2552 Q1*/52 เทียบ Q1 Q2 Q3 Q4 Q1* Q4/51 Q1/51 1 เครื่องจักรสิ่งทอ 81.7 83.7 80.8 91.7 54.2 -40.9 -33.6 2 ด้ายและเส้นใย 407.7 426.1 418.7 347.4 255.6 -26.4 -37.3 - เส้นใยใช้ในการทอ 232.2 239.9 234.6 191.7 136.6 -28.8 -41.2 - ด้ายทอผ้าและด้ายเส้นเล็ก 146.2 155.3 150.6 124.1 88.9 -28.4 -39.2 - วัตถุทออื่น ๆ 29.3 30.9 33.6 31.5 30.1 -4.5 2.7 3 ผ้าผืน 372.5 411.9 419.2 368.9 275.8 -25.2 -26 4 ผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่น ๆ 59.6 57.6 65.6 64.8 44.8 -30.8 -24.8 5 เสื้อผ้าสำเร็จรูป 70.2 69.1 82 66 70.7 7.1 0.7
ที่มา : ตาราง ที่ 4-5 สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--