สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่1 (มกราคม—มีนาคม) พ.ศ.2552(อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง)

ข่าวเศรษฐกิจ Monday June 15, 2009 14:14 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

1. การผลิต

การผลิตยางแปรรูปขั้นต้นในไตรมาสที่ 1 ปี 2552 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนการผลิตยางแผ่นและยางแท่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.56 และ 6.38 ตามลำดับ และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนการผลิตยางแผ่นและยางแท่งลดลงร้อยละ 23.34 และ 23.05 ตามลำดับ ในไตรมาส ที่ 1 ของปี 2552 ราคายางพาราตกต่ำ โดยราคาเฉลี่ยยางแผ่นรมควันชั้น 3 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่กิโลกรัมละ 48.64 บาท ลดลงจากไตรมาสก่อนและ ไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 8.31 และ 42.35 ตามลำดับ ทั้งนี้เนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก ส่งผลกระทบให้ยอดการจำหน่ายรถยนต์ในตลาด หลักของโลก อาทิ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และจีนลดลง และกระทบต่อความต้องการยางล้อรถยนต์ในประเทศดังกล่าวลดลง ซึ่งเป็นประเทศผู้ใช้ยางพารา รายใหญ่ของโลกและเป็นประเทศคู่ค้าสำคัญของไทย มีความต้องการลดลงตามไปด้วย

การผลิตผลิตภัณฑ์ยางในไตรมาสที่ 1 ปี 2552 ของกลุ่มยางยานพาหนะโดยรวมลดลง โดยกลุ่มยางนอกรถยนต์มีปริมาณการผลิตประมาณ 4.15 ล้านเส้น ลดลงจากไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 28.01 และ 34.91 ตามลำดับ โดยลดลงในยางนอกรถยนต์ทุกประเภท ยกเว้นยางรถแทรกเตอร์ ส่วนกลุ่มยางนอกรถจักรยานยนต์/รถจักรยานมีปริมาณการผลิตประมาณ 8.77 ล้านเส้น ลดลงจากไตรมาสก่อนและไตรมาส เดียวกันของปีก่อนร้อยละ 10.18 และ 20.67 ตามลำดับ สำหรับกลุ่มยางในมีปริมาณการผลิต 12.86 ล้านเส้น ลดลงจากไตรมาสก่อนร้อยละ 0.56 โดยลดลงในยางในรถจักรยาน เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนกลุ่มยางในลดลงร้อยละ 13.19 โดยลดลงในยางในทุกประเภท เนื่อง จากจีนซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตยางในรายใหญ่ที่สุดของโลกและเป็นคู่แข่งสำคัญของไทยมีการจำหน่ายสินค้าในราคาที่ถูกกว่าของไทย แม้คุณภาพสินค้าของจีน จะไม่ดีนัก สำหรับถุงมือยางมีการผลิตในไตรมาสที่ 1 ปี 2552 ค่อนข้างทรงตัว โดยลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนร้อยละ 0.80 และเมื่อเทียบกับไตร มาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.02

2. การตลาด

2.1 ตลาดในประเทศ

ในไตรมาสที่ 1 ปี 2552 ปริมาณการจำหน่ายยางแปรรูปขั้นต้นในประเทศโดยรวมเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 10.65 โดยเพิ่มขึ้นใน ยางแผ่น และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.65 โดยเพิ่มขึ้นในยางแท่ง

การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยางในประเทศไตรมาสที่ 1 ปี 2552 ของกลุ่มยางยานพาหนะโดยรวมลดลงมาก จำแนกเป็นการจำหน่ายของกลุ่ม ยางนอกรถยนต์ 3.42 ล้านเส้น กลุ่มยางนอกรถจักรยานยนต์/รถจักรยาน 4.30 ล้านเส้น และกลุ่มยางใน 7.30 ล้านเส้น การจำหน่ายในประเทศ ของกลุ่มยางนอกรถลดลงจากไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 20.75 และ 29.38 ตามลำดับ โดยลดลงในยางนอกรถยนต์ทุก ประเภท การจำหน่ายในประเทศของกลุ่มยางนอกรถจักรยานยนต์/รถจักรยานลดลงจากไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.16 และ 17.04 ตามลำดับ กลุ่มยางในลดลงจากไตรมาสก่อนร้อยละ 5.47 โดยลดลงในยางในรถจักรยานยนต์และยางในรถจักรยาน และเมื่อเทียบกับไตรมาส เดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 19.02 โดยลดลงในยางในรถทุกประเภท สำหรับถุงมือยางการจำหน่ายในประเทศในไตรมาสที่ 1 ของปี 2552 ลด ลงจากไตรมาสก่อนร้อยละ 3.65 และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนยังคงขยายตัวร้อยละ 15.15

2.2 ตลาดส่งออก

การส่งออกยางและผลิตภัณฑ์ยางในไตรมาสที่ 1 ปี 2552 มีมูลค่า 1,875.16 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากไตรมาสก่อนและไตรมาส เดียวกันของปีก่อนร้อยละ 20.24 และ 33.63 ตามลำดับ การส่งออกยางแปรรูปขั้นต้นในไตรมาสที่ 1 ปี 2552 จำนวน 955.77 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากไตรมาสก่อน และไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 26.19 และ 45.53 ตามลำดับ โดยส่วนใหญ่ส่งออกยางแผ่นรมควันชั้น 3 ไปยังประเทศ จีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และน้ำยางข้นไปยังประเทศมาเลเซีย และจีน ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจการเงินในสหรัฐอเมริกา ส่งผลกระทบไปทั่วโลก รวมทั้ง ส่งผลต่อการส่งออกยางพาราของไทย ทั้งนี้เนื่องจากอุตสาหกรรมรถยนต์รายใหญ่ในสหรัฐอเมริกาประสบปัญหายอดการจำหน่ายลดลงอย่างมาก จึงมี สต๊อกยางล้อเหลือมาก ส่งผลกระทบให้สหรัฐอเมริกาชะลอการสั่งซื้อยางล้อจากจีนและญี่ปุ่นประเทศคู่ค้าสำคัญของไทย ประกอบกับการจำหน่ายรถยนต์ ของญี่ปุ่นตกต่ำทั่วโลก และการผลิตรถยนต์ของจีนได้ปรับตัวลดลง จึงทำให้จีนและญี่ปุ่นชะลอการสั่งซื้อยางพาราจากไทยเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตยาง ล้อ เนื่องจากทั้งสองประเทศได้ชะลอการผลิตลง จึงทำให้ยอดการส่งออกยางพาราจากไทยลดลง

ในไตรมาสที่ 1 ปี 2552 อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางสามารถสร้างรายได้จากการส่งออกให้ประเทศได้ประมาณร้อยละ 49.03 ของการส่ง ออกยางและผลิตภัณฑ์ยางทั้งหมด ผลิตภัณฑ์ยางที่ไทยส่งออก ประกอบด้วยยางยานพาหนะ ถุงมือยาง ยางรัดของ หลอดและท่อ สายพานลำเลียงและ สายพานส่งกำลัง ผลิตภัณฑ์ยางที่ใช้ทางเภสัชกรรม ยางวัลแคไนซ์ และผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ โดยมีมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ยางในไตรมาสที่ 1 ปี 2552 จำนวน 919.39 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากไตรมาสก่อนร้อยละ 12.96 โดยลดลงในผลิตภัณฑ์ยางทุกประเภท และเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 14.11 โดยลดลงในยางยานพาหนะ ยางรัดของ หลอดและท่อ สายพานลำเลียงและส่งกำลัง ทั้งนี้เนื่องจากได้รับผลกระทบจากภาวะ เศรษฐกิจที่ชะลอตัว ตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และ มาเลเซีย

2.3 ตลาดนำเข้า

ในไตรมาสที่ 1 ปี 2552 มูลค่านำเข้ายาง วัสดุยาง และผลิตภัณฑ์ยางโดยรวม 216.45 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากไตรมาสก่อนและ ไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 37.49 และ 38.33 ตามลำดับ โดยลดลงในสินค้ายางทุกประเภท ประเภทสินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ ยาง สังเคราะห์ ยางวัลแคไนซ์ ยางรถยนต์ ท่อหรือข้อต่อและสายพานลำเลียงซึ่งมีมูลค่าการนำเข้า 92.11 52.48 40.72 และ 24.86 ล้านเหรียญ สหรัฐ ตามลำดับ ลดลงจากไตรมาสก่อนร้อยละ 42.80 35.21 29.87 และ 31.10 ตามลำดับ และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลด ลงร้อยละ 36.07 50.40 22.54 และ 30.42 ตามลำดับ ส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น จีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย และสหรัฐอเมริกา

3. สรุปและแนวโน้ม

ในไตรมาสที่ 1 ปี 2552 การผลิตยางพาราเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนแต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การผลิตยางยานพาหนะลดลง จากไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ส่วนการผลิตถุงมือยางทรงตัว สำหรับการส่งออกยางและผลิตภัณฑ์ยางโดยรวมลดลงจากไตรมาสก่อน และ ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ราคายางพาราในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2552 ตกต่ำ โดยราคายางพารา โดยราคาเฉลี่ยยางแผ่นรมควันชั้น 3 อยู่ที่ กิโลกรัมละ 48.64 บาท ลดลงจากไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้เป็นผลกระทบมาจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่ถดถอย อุตสาหกรรมรถ ยนต์ของสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นมียอดจำหน่ายตกต่ำทั่วโลก ในขณะที่การผลิตรถยนต์ของจีนปรับตัวลดลง ส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของอุตสาหกรรมยาง ยานพาหนะ และความต้องการยางพาราจากไทยเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตยางยานพาหนะ

แนวโน้มอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางในไตรมาสที่ 2 ปี 2552 คาดว่าจะชะลอตัว แต่จะไม่รุนแรงเท่าไตรมาสที่ 1 ปี 2552 ทั้งนี้ เนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ ทำให้ต้องลดกำลังผลิตและปลดคนงานบางส่วน ส่งผลให้ ปริมาณความต้องการยางล้อและยางพาราลดลง สำหรับแนวโน้มราคายางคาดว่าจะปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากบริษัทร่วมทุนระหว่างประเทศไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ซึ่งผลิตยางพารารวมกันมากถึงร้อยละ 70 ของปริมาณการผลิตยางพาราทั่วโลก ได้ประกาศร่วมกันในการลดกำลังการผลิต และปริมาณส่งออกยางลง ร้อยละ 10 ในปี 2552 เพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง ประกอบกับภาครัฐมีมาตรการสนับสนุนเกษตรกรแปรรูปยางเพิ่มมูลค่า เพื่อแก้ไขปัญหาราคายางตกต่ำ โดยให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรจัดสรรเงินกู้แบบปลอดดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกร วงเงิน 8,000 ล้านบาท นำไปรับซื้อยางพารา 2 แสนตัน เพื่อแปรรูปเพิ่มมูลค่าเป็นยางแท่งหรือยางก้อนเพื่อส่งออก ซึ่งสามารถเก็บสต๊อกไว้รอราคาที่ดีขึ้นได้ เมื่อยางมีราคาสูงขึ้นจึงจะนำออกจำหน่าย

ตารางที่ 1 ปริมาณการผลิตผลิตภัณฑ์ยาง
   รายการ                        หน่วย           -----------------  ไตรมาส ---------------  เทียบกับไตรมาสก่อน   เทียบกับไตรมาสเดียวกัน
                                                  1/2551          4/2551          1/2552                         ของปีก่อน
ยางนอกรถยนต์                      เส้น           6,381,206        5,769,216        4,153,364    -28.01              -34.91
- ยางนอกรถยนต์นั่ง                  เส้น           3,941,289        3,561,608        2,567,318    -27.92              -34.86
- ยางนอกรถกระบะ                  เส้น           1,291,565        1,224,838          786,855    -35.76              -39.08
- ยางนอกรถบรรทุกและรถโดยสาร       เส้น           1,097,261          932,593          745,459    -20.07              -32.06
- ยางนอกรถแทรกเตอร์               เส้น              51,091           50,177           53,732      7.08                5.17
ยางนอกรถจักรยานยนต์/จักรยาน         เส้น          11,051,295        9,760,425        8,766,782    -10.18              -20.67
- ยางนอกรถจักรยานยนต์              เส้น           5,818,286        5,045,184        4,153,169    -17.68              -28.62
- ยางนอกรถจักรยาน                 เส้น           5,075,734        4,611,064        4,497,583     -2.46              -11.39
- ยางนอกอื่น ๆ                     เส้น             157,275          104,177          116,030     11.38              -26.22
ยางใน                            เส้น          14,810,401       12,929,876       12,857,010     -0.56              -13.19
- ยางในรถบรรทุกและรถโดยสาร        เส้น             539,857          395,016          406,909      3.01              -24.63
- ยางในรถจักรยานยนต์               เส้น           9,304,952        8,352,187        8,464,152      1.34               -9.07
- ยางในรถจักรยาน                  เส้น           4,965,592        4,182,673        3,985,949     -4.70              -19.73
ยางรอง                           เส้น             690,277          432,252          431,337     -0.21              -37.51
ยางหล่อดอก                        เส้น              21,454           21,158           23,189      9.60                8.09
ถุงมือยางถุงมือตรวจ                  ชิ้น        2,591,758,400    2,613,329,146    2,592,307,764     -0.80                0.02
ยางรัดของ                         ตัน             3,574.99         2,974.86         3,226.81      8.47               -9.74
ยางแปรรูปขั้นปฐม                    ตัน           363,554.18       257,538.16       279,543.15      8.54              -23.11
- ยางแผ่น                         ตัน            70,753.64        45,750.25        54,239.51     18.56              -23.34
- ยางแท่ง                         ตัน           292,800.54       211,787.91       225,303.64      6.38              -23.05

ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ตารางที่ 2 ปริมาณการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยางภายในประเทศ
   รายการ                        หน่วย         --------------- ไตรมาส --------------- เทียบกับไตรมาสก่อน   เทียบกับไตรมาสเดียวกัน
                                                1/2551         4/2551         1/2552                       ของปีก่อน
ยางนอก                           เส้น         4,846,261      4,318,407      3,422,246    -20.75              -29.38
- ยางนอกรถยนต์นั่ง                  เส้น         2,771,428      2,527,861      1,823,541    -27.86              -34.20
- ยางนอกรถกะบะ                   เส้น         1,204,471       1044,696        902,212    -13.64              -25.09
- ยางนอกรถบรรทุกและรถโดยสาร       เส้น           841,120        720,077        672,370     -6.63              -20.06
- ยางนอกรถแทรกเตอร์               เส้น            29,242         25,773         24,123     -6.40              -17.51
  ยางนอกรถจักรยานยนต์/จักรยาน       เส้น         5,183,218      4,582,205      4,299,975     -6.16              -17.04
- ยางนอกรถจักรยานยนต์              เส้น         4,038,491      3,652,732      3,476,912     -4.81              -13.91
- ยางนอกรถจักรยาน                 เส้น         1,130,207        913,235        807,534    -11.57              -28.55
- ยางนอกอื่น ๆ                     เส้น            14,520         16,238         15,529     -4.37                6.95
ยางใน                            เส้น         9,131,257      7,822,190      7,394,404     -5.47              -19.02
- ยางในรถบรรทุกและรถโดยสาร        เส้น           445,205        307,157        320,154      4.23              -28.09
- ยางในรถจักรยานยนต์               เส้น         6,701,914      5,734,370      5,452,631     -4.91              -18.64
- ยางในรถจักรยาน                  เส้น         1,984,138      1,780,663      1,621,619     -8.93              -18.27
ยางรอง                           เส้น           381,396        257,664        263,339      2.20              -30.95
ยางหล่อดอก                        เส้น            21,699         21,733         21,340     -1.81               -1.65
ถุงมือยางถุงมือตรวจ                  ชิ้น        138,305,800    165,294,460    159,262,530     -3.65               15.15
ยางรัดของ                         ตัน             220.94         226.75         220.29     -2.85               -0.29
ยางแปรรูปขั้นปฐม                    ตัน          22,384.36      23,596.70      26,110.70     10.65               16.65
- ยางแผ่น                         ตัน          17,795.13      11,962.37      15,025.83     25.61              -15.56
- ยางแท่ง                         ตัน           4,589.23      11,634.33      11,084.87     -4.72              141.54

ตารางที่ 3 มูลค่าการส่งออกของสินค้ายางและผลิตภัณฑ์ยาง

หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ

รายการ                                ------------- ไตรมาส ----------- เทียบกับไตรมาสก่อน   เทียบกับไตรมาสเดียวกัน
                                        1/2551      4/2551      1/2552                       ของปีก่อน
ยางพารา                               1,754.81    1,294.85      955.77    -26.2              -45.5
ยางแผ่น                                  654.54      461.48      318.92    -30.9              -51.3
ยางแท่ง                                   24.74       10.91        6.41    -41.3              -74.1
น้ำยางข้น                                 339.21      304.63      256.37    -15.8              -24.4
ยางพาราอื่น ๆ                             736.32      517.83      374.07    -27.8              -49.2
ผลิตภัณฑ์ยาง                             1,070.41    1,056.27      919.39      -13              -14.1
ยางยานพาหนะ                             495.55      499.45      401.51    -19.6                -19
ถุงมือยาง                                 147.91      183.03      151.87      -17               2.68
ยางรัดของ                                 13.73       17.22       13.65    -20.7              -0.58
หลอดและท่อ                                39.18       37.53        18.4      -51                -53
สายพานลำเลียงและ                          17.03       18.93       13.17    -30.4              -22.7
ส่งกำลัง
ผลิตภัณฑ์ยางที่ใช้ทางเภสัชกรรม                  57.68       69.39       61.62    -11.2               6.83
ยางวัลแคไนซ์                               47.52       52.28       51.29    -1.89               7.93
ผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ                            251.81      178.44      207.88     16.5              -17.5
               รวม                    2,825.22    2,351.12    1,875.16    -20.2              -33.6
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร

ตารางที่ 4 มูลค่าการนำเข้าของสินค้ายางและผลิตภัณฑ์ยาง

หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ

รายการ                                -------- ไตรมาส --------- เทียบกับไตรมาสก่อน   เทียบกับไตรมาสเดียวกัน
                                     1/2551    4/2551    1/2552                       ของปีก่อน
ผลิตภัณฑ์ทำจากยาง                        94.22     99.69     69.01    -30.8              -26.8
ท่อหรือข้อต่อและสายพานลำเลียง              35.73     36.08     24.86    -31.1              -30.4
ยางรถยนต์                              52.57     58.06     40.72    -29.9              -22.5
ผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ                           5.92      5.55      3.43    -38.2              -42.1
ยาง รวมเศษยาง                        148.86    163.81     93.61    -42.6              -37.1
ยางธรรมชาติ                             3.21      1.35       0.8    -40.7              -75.1
ยางสังเคราะห์                          144.09    161.04     92.11    -42.8              -36.1
ยางอื่นๆ                                 1.56      1.42       0.7    -50.7              -55.1
วัสดุทำจากยาง                          107.92     82.77     53.83      -35              -50.1
กระเบื้องปูพื้นปิดผนัง                        2.11      1.77      1.35    -23.7                -36
ผลิตภัณฑ์ยางวัลแคไนซ์                     105.81        81     52.48    -35.2              -50.4
               รวม                      351    346.27    216.45    -37.5              -38.3
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ