สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่1 (มกราคม—มีนาคม) พ.ศ.2552(อุตสาหกรรมรองเท้าและผลิตภัณฑ์หนัง)

ข่าวเศรษฐกิจ Monday June 15, 2009 14:37 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

อุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนังเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น และเป็นอุตสาหกรรมที่ต้องพึ่งการส่งออกเป็นสำคัญ ดังนั้นการผันผวนของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าจะส่งผลต่อผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมดังกล่าว อีกทั้งเกี่ยวเนื่องเป็นสินค้ากลุ่มแฟชั่น ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงความต้องการ ตามแนวโน้มการตลาด หรือตามกลุ่มนักออกแบบชั้นนำของโลก

1. การผลิต

ในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2552 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนังจำแนกได้ดังนี้

  • การฟอกและการตกแต่งหนังฟอก ดัชนีผลผลิตไตรมาสที่ 1 ของปี 2552 เทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 มีปริมาณการผลิตลดลงร้อยละ 5.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 2.5 ดัชนีการส่งสินค้าเทียบกับไตรมาสก่อนลดลงร้อยละ 9.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 23.3 สำหรับดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังเทียบกับไตรมาสก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 6.4
  • การผลิตกระเป๋าเดินทาง กระเป๋าถือและสิ่งที่คล้ายกัน อานม้าและเครื่องเทียมลาก ดัชนีผลผลิตไตรมาสที่ 1 ของปี 2552 เทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 มีปริมาณการผลิตลดลงร้อยละ 12.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 55.4 ดัชนีการส่งสินค้าเทียบกับไตรมาสก่อนลดลงร้อยละ 16.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 65.6 สำหรับดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังเทียบกับไตรมาสก่อนลดลงร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 79.4
  • การผลิตรองเท้า ดัชนีผลผลิตไตรมาสที่ 1 ของปี 2552 เทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 มีปริมาณการผลิตลดลงร้อยละ 8.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 15.5 ดัชนีการส่งสินค้าเทียบกับไตรมาสก่อนลดลงร้อยละ 10.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 15.5 สำหรับดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังเทียบกับไตรมาสก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นงร้อยละ 14.8

2. การตลาด

การส่งออก

  • รองเท้าและชิ้นส่วน ไตรมาสที่ 1 ของปี 2552 มีมูลค่าการส่งออก 205.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 มีมูลค่าการส่งออก 236.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 13.0 ผลิตภัณฑ์ที่ลดลง คือ รองเท้ากีฬา รองเท้าหนัง และส่วนประกอบรองเท้า ลดลงร้อยละ 18.4, 18.5 และ 23.5 ตามลำดับ ส่วนผลิตภัณฑ์ที่มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น คือ รองเท้าแตะ และรองเท้าอื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.0 และ 7.9 ตามลำดับ

เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนมีมูลค่าส่งออก 226.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 9.1 ผลิตภัณฑ์ที่ลดลง คือ รองเท้ากีฬา รองเท้าอื่นๆ และส่วนประกอบของรองเท้า ลดลงร้อยละ 18.4, 16.8 และ 8.7 ตามลำดับ ส่วนผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้นคือ รองเท้าแตะ รองเท้าหนัง เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 และ 3.1 ตามลำดับ ตลาด

คู่ค้าที่สำคัญ คือ สหรัฐอเมริกา เดนมาร์ก และเบลเยียม มีสัดส่วนร้อยละ 19.8, 10.6 และ 8.1 ตามลำดับ

  • เครื่องใช้สำหรับเดินทาง ไตรมาสที่ 1 ของปี 2552 มีมูลค่าส่งออก 43.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 มูลค่าการส่งออก 51.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ลดลง คือ กระเป๋าเดินทาง กระเป๋าใส่เศษสตางค์ และเครื่องเดินทางอื่นๆ ลดลงร้อยละ 27.7, 9.4 และ 19.2 ตามลำดับ ผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น คือ กระเป๋าถือ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.6

เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนมีมูลค่าส่งออก 57.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 24.3 โดยมูลค่าการส่งออกของทุกผลิตภัณฑ์ลดลงคือ กระเป๋าเดินทาง กระเป๋าถือ กระเป๋าใส่เศษสตางค์ และเครื่องเดินทางอื่นๆ ลดลงร้อยละ 29.1, 27.0, 21.7 และ 20.4 ตลาดคู่ค้าที่สำคัญ คือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสวิตเซอร์แลนด์ มีสัดส่วนร้อยละ 17.4, 16.1 และ 11.3 ตามลำดับ

  • หนังและผลิตภัณฑ์หนังฟอกและหนังอัด ไตรมาสที่ 1 ของปี 2552 มีมูลค่าส่งออก 103.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 มีมูลค่าการส่งออก 127.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 18.8 ผลิตภัณฑ์ที่ลดลง คือ หนังโคกระบือฟอก เครื่องแต่งกายและเข็มขัด หนังและผลิตภัณฑ์หนังอื่นๆ ลดลงร้อยละ 18.7, 40.7 และ 31.7 ตามลำดับ ส่วนผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้นคือ ของเล่นสำหรับสัตว์เลี้ยง และถุงมือหนัง เพิ่มขึ้น ร้อยละ 10.2 และ 28.5 ตามลำดับ

เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนมีมูลค่าส่งออก 143.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 28.0 ผลิตภัณฑ์ที่ลดลง คือ หนังโคกระบือฟอก, ถุงมือหนัง, เครื่องแต่งกายและเข็มขัด หนังและผลิตภัณฑ์หนังอื่นๆ ลดลงร้อยละ 30.8, 17.6, 27.1 และ 38.7 ตามลำดับ ส่วนผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น คือ ของเล่นสำหรับสัตว์เลี้ยง เพิ่มขึ้นร้อยละ 128.7 ส่วน ตลาดส่งออกที่สำคัญ คือ ฮ่องกง เวียดนาม และจีน มีสัดส่วนร้อยละ 14.5, 14.0 และ 12.1 ตามลำดับ

การนำเข้า

  • หนังดิบและหนังฟอก ช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2552 มีมูลค่าการนำเข้า 83.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับ ไตรมาสที่ 4 ปี 2550 มีมูลค่าการนำเข้า 122.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 31.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนมีมูลค่าการนำเข้า 148.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 43.6 แหล่งนำเข้าที่สำคัญ คือ สหรัฐอเมริกา อาร์เจนตินา และอุรุกวัย มีสัดส่วนร้อยละ 13.4, 10.7 และ 9.3 ตามลำดับ
  • รองเท้า ช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2552 มีมูลค่าการนำเข้า 45.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับไตรมาสที่ 4 ปี 2551 มีมูลค่าการนำเข้า 42.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ที่มีมูลค่าการนำเข้า 49.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 8.2 แหล่งนำเข้าที่สำคัญ คือ จีน เวียดนาม และอินโดนีเซีย มีสัดส่วนนำเข้าร้อยละ 60.2, 9.0 และ 8.6 ตามลำดับ
  • กระเป๋า ช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2552 มีมูลค่าการนำเข้า 31.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับไตรมาสที่ 4 ปี 2551 มีมูลค่าการนำเข้า 35.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ที่มีมูลค่าการนำเข้า 35.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 9.3 แหล่งนำเข้าที่สำคัญ คือ จีน อิตาลี และฝรั่งเศส โดยมีสัดส่วนนำเข้าร้อยละ 44.6, 22.6 และ 16.6 ตามลำดับ

3. สรุปและแนวโน้ม

การส่งออกโดยรวมของรองเท้าและชิ้นส่วน เครื่องใช้สำหรับเดินทาง หนังและผลิตภัณฑ์หนังฟอกและหนังอัด ในไตรมาสที่ 1 ปี 2552 มีมูลค่าลดลง เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปีก่อน เนื่องจากและปัญหาเศรษฐกิจโลกชะลอตัว โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาและประเทศในกลุ่ม EU ที่เป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญของไทย ที่มีปัญหาด้านเศรษฐกิจทำให้การบริโภคลดลง และ ปัญหาการเมืองภายในประเทศ จึงชะลอคำสั่งซื้อจากไทย

การนำเข้าหนังดิบและหนังฟอกที่นำมาผลิตเป็นสินค้าปลายน้ำมีมูลค่าลดลง สอดคล้องกับภาวะการผลิตที่ลดลงเมื่อเทียบในช่วงเวลาเดียวกันกับปีก่อน อีกทั้งราคาหนังดิบและหนังฟอกลดลงเพราะความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆที่ลดลง เช่น อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ อุตสาหกรรมยานยนต์ เป็นต้น เนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจ อีกทั้งการนำเข้ารองเท้าและกระเป๋ายังชะลอตัว เนื่องจากความต้องการภายในประเทศลดลง ผู้บริโภคชะลอการใช้จ่ายเนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจชะลอตัว

แนวโน้มการผลิตและมูลค่าการส่งออกของอุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนังในไตรมาสที่ 2/52 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน คาดว่าจะลดลงในทุกผลิตภัณฑ์ โดยในปี 2552 ทั้งปีคาดว่าอุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนังจะทรงตัวหรือลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน เพราะปัญหาเศรษฐกิจโลกชะลอตัว แต่จากการเปิดตลาดกับประเทศใหม่ๆ มากขึ้น และประเทศไทยมีศักยภาพในด้านการออกแบบและเป็นที่ยอมรับจากลูกค้าในเรื่องของคุณภาพมากขึ้น อีกทั้งการที่ EU และสหรัฐอเมริกาต่ออายุมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (AD) รองเท้าจากประเทศจีนและเวียดนามอีก 2 ปี และเตรียมการตัดสิทธิพิเศษทางศุลกากร (GSP) สำหรับอุตสาหกรรมรองเท้าของประเทศเวียดนาม โดยจะเก็บภาษีนำเข้าในอัตราที่สูงขึ้น รวมทั้งการเปิดการค้าเสรีกับประเทศญี่ปุ่น ภายใต้กรอบ JTEPA จึงเป็นโอกาสที่ไทยจะแข่งขันกับประเทศคู่แข่งได้มากขึ้นในตลาดญี่ปุ่น

ส่วนการนำเข้าหนังดิบและหนังฟอก คาดว่าในปี 2552 จะมีการนำเข้ามาผลิตเป็นสินค้าปลายน้ำลดลง รวมทั้งการนำเข้ารองเท้าและกระเป๋าชะลอตัวลดลง เนื่องจากความต้องการภายในประเทศลดลง ผู้บริโภคชะลอการใช้จ่ายเนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจชะลอตัว

ตารางที่ 1: แสดงดัชนีอุตสาหกรรม
         รายการ                               ปี 2551                 ปี 2552      % อัตราการเปลี่ยนแปลง
                                 Q1        Q2       Q3       Q4        Q1          Q1(52)    Q1(52)

/Q4(51) /Q1(51)

การผลิต                          80.2     78.9     84.3     82.8       78.2         -5.5       -2.5
การส่งสินค้า                       46.8     45.9     48.8     39.6       35.9         -9.4      -23.3
สินค้าสำเร็จรูปคงคลัง               156.8    157.3    151.5    146.4      146.7          0.2       -6.4
การผลิต                          19.2      8.8       10      9.8        8.6        -12.4      -55.4
การส่งสินค้า                       33.1     12.5     13.3     13.6       11.4        -16.2      -65.6
สินค้าสำเร็จรูปคงคลัง               149.8     32.8     34.4     31.1       30.7         -1.3      -79.5
การผลิต                           105     98.8     94.4     96.6       88.7         -8.1      -15.5
การส่งสินค้า                      104.7    100.9     95.2     98.5       88.4        -10.2      -15.5
สินค้าสำเร็จรูปคงคลัง                86.1     80.3     85.6     98.2       98.9          0.7       14.8
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ฐานเฉลี่ยปี 2543 และเป็นดัชนีที่ยังไม่ได้ปรับผลกระทบของฤดูกาล

ตารางที่ 2: โครงสร้างสินค้าส่งออกของไทย

มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ

             รายการ                                 ปี 2551                  ปี 2552    อัตราการเปลี่ยนแปลง
                                         Q1       Q2      Q3       Q4         Q1      Q1(52)/  Q1(52)/

Q4(51) Q1(51)

รองเท้าและชิ้นส่วน                         226.4    269.1    238.9    236.6      205.8      -13     -9.1
1. รองเท้ากีฬา                           110.5      125    101.8    110.6       90.2    -18.4    -18.4
2. รองเท้าแตะ                              29     30.2     28.3     25.6       30.2       18      4.4
3. รองเท้าหนัง                            63.7     90.3     87.3     80.6       65.7    -18.5      3.1
4. รองเท้าอื่นๆ                              19     19.4     16.3     14.7       15.8      7.9    -16.8
5. ส่วนประกอบของรองเท้า                    4.3      4.2      5.2      5.1        3.9    -23.5     -8.7
เครื่องใช้สำหรับเดินทาง                      57.5     60.9     60.5     51.2       43.5    -14.9    -24.3
1. กระเป๋าเดินทาง                           13     16.4     13.9     12.7        9.2    -27.7    -29.1
2. กระเป๋าถือ                             15.7     12.9     13.8     10.6       11.5      8.6      -27
3. กระเป๋าใส่เศษสตางค์                      3.9      3.3      3.5      3.4        3.1     -9.4    -21.7
4. เครื่องเดินทางอื่น ๆ                      24.9     28.3     29.2     24.5       19.8    -19.2    -20.4
หนังและผลิตภัณฑ์หนังฟอกและหนังอัด             143.6    156.6    143.3    127.4      103.4    -18.8      -28
1. หนังโคกระบือฟอก                        52.1     55.9       54     44.3       36.1    -18.7    -30.8
2. ของเล่นสำหรับสัตว์เลี้ยง                    4.4      5.4      5.9        9         10     10.2    128.7
3. ถุงมือหนัง                              17.9     13.4     11.5     11.5       14.8     28.5    -17.6
4. เครื่องแต่งกายและเข็มขัด                     1      0.9      1.8      1.2        0.7    -40.7    -27.1
5. หนังและผลิตภัณฑ์หนังอื่น ๆ                  68.3     80.9     70.1     61.3       41.9    -31.7    -38.7
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

ตารางที่ 3: โครงสร้างสินค้านำเข้าของไทย

มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ

             รายการ                                ปี 2551               ปี 2552    อัตราการเปลี่ยนแปลง
                                        Q1       Q2      Q3       Q4       Q1     Q1(52)/  Q1(52)/

Q4(51) Q1(51)

หนังดิบและหนังฟอก                        148.8    139.4    145.4    122.6    83.9    -31.5    -43.6
รองเท้า                                 49.4     51.3     49.8     42.4    45.4      6.9     -8.2
1. รองเท้ากีฬา                            3.4      2.9      4.4      3.5     4.2     18.1     21.6
2. รองเท้าหนัง                            7.7      6.8     10.9      6.3     8.8     38.8     13.4
3. รองเท้าทำด้วยยางหรือพลาสติก              7.7      9.2      8.5      7.1     5.2    -26.8    -31.9
4. รองเท้าอื่น ๆ                          30.6     32.4     26.1     25.4    27.2      6.9      -11
กระเป๋า                                   35     29.5     36.6     29.7    31.8      7.1     -9.3
1. กระเป๋าเดินทาง                         9.9       10     10.2        9     7.5    -16.4    -24.6
2. กระเป๋าถือและกระเป๋าอื่น ๆ               25.1     19.6     26.4     20.7    24.3     17.3     -3.2
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ