สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่1 (มกราคม—มีนาคม) พ.ศ.2552(อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ)

ข่าวเศรษฐกิจ Monday June 15, 2009 15:04 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

การผลิตและการจำหน่าย

การผลิตเครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณและของที่เกี่ยวข้องกัน ในไตรมาสที่ 1 ปี 2552 (ดูตารางที่ 1 ประกอบ) เมื่อพิจารณาจากดัชนีอุตสาหกรรมเครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณ และของที่เกี่ยวข้องกัน ดัชนีผลผลิตลดลงร้อยละ 11.46 ดัชนีส่งสินค้าหรือดัชนีการจำหน่ายลดลงร้อยละ 12.70 และดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังลดลงร้อยละ 15.48 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เนื่องจากเป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่ฟื้นตัว และผู้บริโภคต้องใช้จ่ายอย่างระมัดระวังในภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่ฟื้นตัวเท่าที่ควร ดัชนีผลผลิตลดลงร้อยละ 17.27 ดัชนีส่งสินค้าหรือดัชนีการจำหน่ายลดลงร้อยละ 11.15 และดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.86 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

การตลาด

การส่งออก

ในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2552 (ดูตารางที่ 2 ประกอบ) ไทยส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 3,947.00 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 70.71 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 106.28 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นผลจากการส่งออกอัญมณีที่มีมูลค่า 300.08 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเป็นผลจากการส่งออกทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูปที่มีมูลค่า 2,950.59 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ผลิตภัณฑ์สำคัญๆ ได้แก่

1. อัญมณี ในไตรมาสที่ 1 ปี 2552 มีมูลค่าการส่งออก 300.08 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 1.99 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงถึงร้อยละ 34.66 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง เบลเยี่ยม และสวิตเซอร์แลนด์ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 32.53, 22.11 และ 11.39 ตามลำดับ ซึ่งผลิตภัณฑ์อัญมณีที่สำคัญมีดังนี้

1.1 เพชร ในไตรมาสที่ 1 ปี 2552 มีมูลค่าการส่งออก 176.03 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 20.31 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 39.59 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ เบลเยี่ยม ฮ่องกง และอิสราเอล คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 37.39, 28.73และ 7.08 ตามลำดับ

1.2 พลอย ในไตรมาสที่ 1 ปี 2552 มีมูลค่าการส่งออก 120.60 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 52.07 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 26.38 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง สหรัฐอเมริกา และสวิตเซอร์แลนด์ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 36.73, 19.45 และ 18.91 ตามลำดับ

2. เครื่องประดับแท้ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2552 มีมูลค่าการส่งออก 601.58 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 11.59 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 14.94 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง และสวิตเซอร์แลนด์ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 19.38, 17.04 และ 10.70 ตามลำดับ ซึ่งผลิตภัณฑ์เครื่องประดับแท้ที่สำคัญมีดังนี้

2.1 ทำด้วยเงิน ในไตรมาสที่ 1 ปี 2552 มีมูลค่าการส่งออก 175.37 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 20.97 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 7.32 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เยอรมนี และเดนมาร์ก คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 38.42, 10.94 และ 10.76 ตามลำดับ

2.2 ทำด้วยทอง ในไตรมาสที่ 1 ปี 2552 มีมูลค่าการส่งออก 395.59 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 6.31 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 18.40 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง สวิตเซอร์แลนด์ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 24.47, 15.37 และ 13.88 ตามลำดับ

3. เครื่องประดับอัญมณีเทียม ในไตรมาสที่ 1 ปี 2552 มีมูลค่าการส่งออก 49.38ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 10.38 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.25 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ลิกเตนสไตน์ สหรัฐอเมริกา และฝรั่งเศส คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 61.76, 13.17 และ 5.06 ตามลำดับ

4. อัญมณีสังเคราะห์ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2552 มีมูลค่าการส่งออก 14.06 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 21.14 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 11.51 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง ออสเตรีย และอินเดีย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 37.96, 14.67 และ 10.99 ตามลำดับ

5. ทองคำที่ยังไม่ได้ขึ้นรูป ในไตรมาสที่ 1 ปี 2552 มีมูลค่าการส่งออก 2,950.59 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 142.06 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 351.64 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรเลีย และฮ่องกง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 46.37, 33.15 และ 19.70 ตามลำดับ

การนำเข้า

1. เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2552 (ดูตารางที่ 3 ประกอบ) มีมูลค่าการนำเข้า 764.93 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 68.62 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและลดลงร้อยละ 51.24 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน วัตถุดิบสำคัญ ได้แก่

1.1 เพชร ในไตรมาสที่ 1 ปี 2552 มีมูลค่าการนำเข้า 219.85 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 16.81 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 50.45 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ อินเดีย เบลเยี่ยม และฮ่องกง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 25.65, 21.36 และ 14.39 ตามลำดับ

1.2 พลอย ในไตรมาสที่ 1 ปี 2552 มีมูลค่าการนำเข้า 68.88 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.99 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 26.85 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง อินเดีย และจีน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 12.09, 10.92และ 8.88 ตามลำดับ

1.3 ทองคำ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2552 มีมูลค่าการนำเข้า 337.73 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 82.53 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 58.88 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ ออสเตรเลีย ฮ่องกง และสวิตเซอร์แลนด์ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 43.11, 29.79 และ 16.57 ตามลำดับ

1.4 เงิน ในไตรมาสที่ 1 ปี 2552 มีมูลค่าการนำเข้า 103.90 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 14.78 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 11.28 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ จีน เกาหลีใต้ และสวิตเซอร์แลนด์ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 52.07, 25.40 และ 8.33 ตามลำดับ

1.5 โลหะมีค่าและโลหะอื่นๆ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2552 มีมูลค่าการนำเข้า 11.10 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 71.52 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 82.51 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น ฮ่องกง และเยอรมนี คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 71.39, 19.35 และ 2.83 ตามลำดับ โดยการนำเข้าเพชร พลอย ทองคำ เงิน โลหะมีค่าและโลหะอื่นๆ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 96.88 ของการนำเข้าวัตถุดิบทั้งหมด

2. เครื่องประดับอัญมณี ในไตรมาสที่ 1 ปี 2552 มีมูลค่าทั้งสิ้น 161.10 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.36 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 21.62 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์สำคัญๆ ได้แก่

2.1 เครื่องประดับอัญมณีแท้ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2552 มีมูลค่าการนำเข้า 156.36ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 44.13 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 21.78 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ อิตาลี สหรัฐอเมริกา และฝรั่งเศส คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5.69, 1.98 และ 1.76 ตามลำดับ

2.2 เครื่องประดับอัญมณีเทียม ในไตรมาสที่ 1 ปี 2552 มีมูลค่าการนำเข้า 4.74ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 1.31 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ลดลงร้อยละ 15.94 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ จีน ฝรั่งเศส และอิตาลี คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 32.85, 10.69 และ 8.19 ตามลำดับ

สรุปและแนวโน้ม

ภาพรวมอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับในไตรมาสที่ 1 ปี 2552 ด้านการผลิตหดตัวลดลงร้อยละ 11.46 และการจำหน่ายหดตัวลดลงร้อยละ 12.70 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ด้านการส่งออกมีการขยายตัวสูงขึ้นคือ เพิ่มขึ้นร้อยละ 70.71 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เนื่องจากสินค้าในกลุ่มอัญมณี ได้แก่ พลอย เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีผลต่อมูลค่าการส่งออกในทางบวก คือ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 52.07 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ในไตรมาสที่ 1 นี้ราคาทองคำในตลาดโลกได้ปรับตัวสูงขึ้นเหนือระดับ 900 เหรียญสหรัฐฯ ต่อออนซ์ จนเกือบแตะระดับ 1,000 เหรียญสหรัฐฯ ต่อออนซ์ ซึ่งนับว่าเป็นราคาที่สูงเมื่อเทียบกับราคาทองคำช่วงไตรมาสก่อน อย่างไรก็ตาม ทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูปเป็นสินค้าวัตถุดิบ และไม่ได้เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มมากเท่าสินค้าสำเร็จรูปในอุตสาหกรรมนี้ เช่น เครื่องประดับแท้ ดังนั้นการให้ความสำคัญหรือส่งเสริมการนำเข้าวัตถุดิบ เช่น พลอยดิบ จึงเป็นสิ่งจำเป็น ทั้งนี้เครื่องประดับแท้ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกสำคัญแม้มูลค่าการส่งออกจะหดตัวร้อยละ 11.59 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่ฟื้นตัว ด้านการนำเข้าสินค้าซึ่งส่วนใหญ่เป็นวัตถุดิบในไตรมาสนี้ลดลงถึงร้อยละ 68.62 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา แนวโน้มภาพรวมการส่งออกในไตรมาสที่ 2 ปี 2552 ปัจจัยด้านลบ จากการที่ภาวะเศรษฐกิจโลกยังไม่ฟื้นตัว การบริโภคสินค้าอัญมณีซึ่งเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยในทางเศรษฐศาสตร์นี้ จึงได้รับผลกระทบในตลาดระดับกลาง แต่ในตลาดระดับบนยังมีศักยภาพดีอยู่ นอกจากนี้ราคาทองคำในตลาดโลกที่มีแนวโน้มลดลงต่ำกว่าระดับ 900 เหรียญสหรัฐฯ ต่อออนซ์ จะเป็นสาเหตุให้เกิดการนำเข้าทองคำยังไม่ขึ้นรูปเพิ่มขึ้นอย่างมากและส่งออกลดลง ปัจจัยด้านบวก จากการที่ผู้ประกอบการขยายตลาดใหม่ๆ สู่อินเดีย ตะวันออกกลาง และรัสเซีย และความสำเร็จจากการจัดงานบางกอกเจมส์แอนด์จิวเวลรี่แฟร์ ครั้งที่ 43 ที่เมืองทองธานี ระหว่างวันที่ 25 ก.พ.-วันที่ 1 มี.ค. 2552 ซึ่งคำสั่งซื้อที่มีเข้ามาจะมีส่วนช่วยให้มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นได้ ดังนั้นจึงคาดการณ์ว่าแนวโน้มการส่งออกในไตรมาสที่ 2 ปี 2552 จะทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา

ตารางที่ 1 การผลิตเครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณ และของที่เกี่ยวข้องกัน
           ดัชนี                          2551                    2552               อัตราการขยายตัว(%)
                            Q1       Q2        Q3       Q4       Q1             Q1(52)/         Q1(52)/
                                                                                Q4(51)          Q1(51)
ผลผลิต                      69.12    48.05    51.91     64.58    57.18          -11.46          -17.27
ส่งสินค้า                     71.4     52.02    46.87     72.67    63.44          -12.7           -11.15
สินค้าสำเร็จรูปคงคลัง           93.63    90.34    103.39    97.64    82.53          -15.48          -11.86
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
ฐานเฉลี่ย ปี 2543 และเป็นดัชนีที่ยังไม่ได้ปรับผลกระทบของฤดูกาล, Q1 2552 เป็นตัวเลขเบื้องต้น

ตารางที่ 2 มูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ
                                                     มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ                 อัตราการขยายตัว (%)
          รายการ                                  2551                     2552                Q1(52) เทียบ
                                     Q1        Q2        Q3        Q4        Q1            Q4(51)    Q1(51)
          อัญมณีและเครื่องประดับ        1913.5    1754.8      2290    2312.1      3947          70.71     106.3
1 อัญมณี                             459.27    399.49    475.66    306.19    300.08          -1.99    -34.66
   (1) เพชร                         291.4     274.5    316.83     220.9    176.03         -20.31    -39.59
   (2) พลอย                        163.81    122.85    153.73      79.3     120.6          52.07    -26.38
   (3) ไข่มุก                          4.06      2.14       5.1      5.99      3.46         -42.23    -14.76
2 เครื่องประดับแท้                     707.24    647.02    813.93    680.47    601.58         -11.59    -14.94
   (1) ทำด้วยเงิน                    189.23    211.29    238.19    221.91    175.37         -20.97     -7.32
   (2) ทำด้วยทอง                    484.77    396.21    534.96    422.25    395.59          -6.31     -18.4
   (3) ทำด้วยโลหะมีค่าอื่น ๆ             33.24     39.52     40.78     36.31     30.61          -15.7     -7.91
3 เครื่องประดับอัญมณีเทียม                43.22     46.86     52.59      55.1     49.38         -10.38     14.25
4 อัญมณีสังเคราะห์                      15.89     17.49      19.6     17.83     14.06         -21.14    -11.51
5 ทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูป                   653.3    613.85    897.62    1218.9    2950.6          142.1     351.6
6 โลหะมีค่าและของที่หุ้มด้วยโลหะมีค่าอื่น ๆ    34.54     30.07     30.56     33.59     31.31          -6.77     -9.34

ตารางที่ 3  มูลค่าการนำเข้าเครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ

          รายการ                                 มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ                อัตราการขยายตัว:(%)
                                                    2551                     2552      Q1 (52)เทียบ
                                      Q1        Q2        Q3        Q4        Q1     Q4(51)   Q1(51)
เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ   1568.7    1916.4    2909.9    2437.4    764.9    -68.6    -51.2
   1 เพชร                            443.7    378.83    460.46    264.28    219.9    -16.8    -50.5
   2 พลอย                            94.16     93.24    100.12     53.82    68.88    27.99    -26.9
   3 อัญมณีสังเคราะห์                    17.94      21.4      19.3      17.2    13.72    -20.3    -23.6
   4 ไข่มุก                             5.67       5.7      6.03      5.39      5.1    -5.41    -10.1
   5 ทองคำ                          820.39    1213.7    2103.3      1931    337.4    -82.5    -58.9
   6 เงิน                            117.11    147.94    163.29    121.93    103.9    -14.8    -11.3
   7 แพลทินัม                            6.3      6.91      6.06      4.81     5.02     4.35    -20.3
   8 โลหะมีค่า และโลหะอื่น ๆ             63.46     48.72     51.38     38.96     11.1    -71.5    -82.5
เครื่องประดับอัญมณี                      205.54    185.91    174.17    113.16    161.1    42.36    -21.6
  1 เครื่องประดับอัญมณีแท้                 199.9    180.13    166.62    108.48    156.4    44.13    -21.8
  2 เครื่องประดับอัญมณีเทียม                5.64      5.78      7.55      4.68     4.74     1.31    -15.9

ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรม

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ