สศอ. เผยดัชนีอุตฯ พ.ค. -12.39% อุตฯ หลักรับออร์เดอร์เพิ่มขึ้น

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday July 8, 2009 14:40 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ดัชนีอุตฯ เดือน พ.ค. 52 ติดลบน้อยลงเหลือ -12.39% อุตฯหลักหลายกลุ่มรับออร์เดอร์เพิ่ม Hard disk เร่งกำลังการผลิตหลังยอด สั่งซื้อทะลัก 50% คาดไตรมาส 3 มีลุ้นเป็นบวก

นายอาทิตย์ วุฒิคะโร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.)และรองโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ดัชนีผล ผลิตอุตสาหกรรมเดือน พ.ค. 52 ยังติดลบ -12.39% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ถือว่าเริ่มมีสัญญาณที่ดีขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากการติด ลบที่เริ่มน้อยลงเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน คือ เดือน ม.ค.ที่ติดลบ -25.6% เดือนก.พ.-23.07% เดือนมี.ค. -17.74% และเดือนเม.ย. -12.84% ซึ่งถือว่าการฟื้นตัวขึ้นใกล้เข้าสู่ภาวะปกติ โดยอุตสาหกรรมหลักๆ เช่น Hard disk การผลิตยานยนต์ การผลิตสิ่งทอ เริ่มมีคำสั่งซื้อกลับเข้ามามากขึ้น แม้จะติดลบอยู่ก็ตาม

การผลิต Hard disk เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนก็เริ่มมีทิศทางปรับเพิ่มขึ้น โดยปริมาณการผลิตขยายตัวเพิ่มขึ้น 5.4% การ จำหน่ายขยายตัวเพิ่มขึ้น 8.0% เนื่องจากมีคำสั่งซื้อเข้ามามาก โดยเฉพาะจากฐานลูกค้าเดิมที่เคยสั่งซื้อก่อนวิกฤตเศรษฐกิจ ได้แก่ ตลาดสหรัฐ อเมริกา และยุโรป หลังจากที่ผ่านมาได้เน้นขายสินค้าในสต๊อกเท่านั้น โดยคำสั่งซื้อส่วนใหญ่เริ่มกลับเข้ามาในช่วงไตรมาส 2 ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้น มากกว่าไตรมาส 1 ถึง 50% และคาดว่ายอดคำสั่งซื้อจะกลับเข้ามาคึกคักในช่วงไตรมาส 3 เป็นต้นไป ซึ่งใกล้กับระดับปกติก่อนเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ สำหรับมูลค่าการส่งออก 5 เดือนแรกยังคงลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน -22.3% โดยมีประเทศจีนเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ และมีทิศทางการนำเข้าที่ดี ขึ้นจากช่วงต้นปีที่ผ่านมา

การผลิตยานยนต์ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ภาวะการผลิตและการจำหน่ายรถยนต์ปรับลดลง -50.2% และ -44.4% ตาม ลำดับ เนื่องจากอุตสาหกรรมรถยนต์ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกส่งผลโดยเฉพาะรถปิกอัพ 1 ตัน ยอดจำหน่ายหดตัวลงจากปีก่อน -45.2% สำหรับตลาดรถยนต์นั่งขนาดเครื่องยนต์ไม่เกิน 1800 CC. ยอดจำหน่ายหดตัวลงจากปีก่อน -36.1% อย่างไรก็ตามจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่มี เข้ามาอย่างต่อเนื่องของทั่วโลก เริ่มมีผลทำให้ผู้บริโภคที่เคยชะลอการตัดสินใจซื้อรถยนต์ในช่วงก่อนหน้านี้ มีความมั่นใจในการซื้อรถยนต์มากขึ้น

สำหรับในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2552 ภาวะการผลิตรถยนต์หดตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึง -48.8% เป็นไปในทิศทางเดียวกับ มูลค่าการส่งออก ซึ่งลดลง -33.7% โดยมีประเทศในกลุ่มอาเซียนเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ แต่ในเดือนพฤษภาคมเริ่มมีแนวโน้มการนำเข้าที่สูงขึ้นกว่าช่วง ต้นปีที่ผ่านมา

การผลิตสิ่งทอ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ภาวะการผลิตและการจำหน่ายยังคงปรับตัวลดลง -13.4%และ -3.0% ตามลำดับ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลก ทำให้อุตสาหกรรมสิ่งทอหดตัวเป็นอย่างมาก ซึ่งส่งผลกระทบต่อโรงงานทำให้มีการเลิกจ้างแรงงานบางส่วนจนถึงต้องปิด กิจการ อย่างไรก็ตามไตรมาส 2 ภาวะเศรษฐกิจเริ่มมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น ส่งผลให้โรงงานได้รับคำสั่งซื้อจากแบรนด์ใหญ่ๆ เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตร มาสแรก ทำให้อุตสาหกรรมต้นน้ำปรับตัวดีขึ้นตามไปด้วย สำหรับในช่วง 5 เดือนแรกของปีการส่งออกลดลงเฉลี่ย -9.5% ซึ่งตลาดอาเซียนยังเป็นตลาด ส่งออกที่สำคัญ

โดยสรุปดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนพฤษภาคม 2552 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ดัชนีผลผลิต (มูลค่าเพิ่ม) อยู่ที่ระดับ 159.24 ลดลง -12.39% จากระดับ 181.76 ดัชนีผลผลิต (มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ระดับ 155.86 ลดลง -17.87% จากระดับ 189.76 ดัชนีการส่ง สินค้า อยู่ที่ระดับ 157.66 ลดลง -15.81% จากระดับ 187.27 ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 108.31 ลดลง -5.56% จากระดับ 114.69 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 179 ลดลง -0.19% จากระดับ 179.45 ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 195.07 ลดลง-0.12% จากระดับ 195.30 ขณะที่ดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 156.51 เพิ่มขึ้น 4.88% จากระดับ 149.23 ส่วนอัตราการใช้ กำลังการผลิต อยู่ที่ 54.95 %

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมและอัตราการใช้กำลังการผลิต

            Index         -------------------- 2551  -----------------------    ------------------- 2552 ---------------------
                         ก.ค.     ส.ค.     ก.ย.     ต.ค.     พ.ย.      ธ.ค.     ม.ค.      ก.พ.      มี.ค.      เม.ย.     พ.ค.
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม      184.42   185.36    184.79   181.11   167.73    148.97   139.13    139.79    159.71    146.66    159.24
อัตราการเปลี่ยนแปลง (MOM)   1.10%    0.50%    -0.30%   -2.00%   -7.40%   -11.20%   -6.60%     0.50%    14.20%    -8.70%     9.20%
อัตราการเปลี่ยนแปลง (YOY)  10.20%    5.40%     2.20%   -0.40%   -8.70%   -19.70%  -25.60%   -23.07%   -17.74%   -12.84%   -12.39%
อัตราการใช้กำลังการผลิต     65.20%   61.80%    61.10%   60.80%   55.80%    53.00%   51.70%    50.00%    54.40%    51.41%    54.95%

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ