อุตฯ เริ่มส่งสัญญาณฟื้นชัด ติดลบน้อยลง 5 เดือนต่อเนื่อง กลุ่ม Hard disk drive-อาหารทะเลแปรรูป-ผงซักฟอก-เครื่องประดับ รับออร์เดอร์คึก มองภาพรวมอุตฯ เป็นบวกได้ในสิ้นปี
นายอาทิตย์ วุฒิคะโร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) และรองโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ขณะนี้ ภาพรวมของอุตสาหกรรมไทยถือว่ามีสัญญาณฟื้นตัวอย่างชัดเจนแม้ว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมยังคงติดลบ โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนมิถุนายนติด ลบ -6.76% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน แต่เริ่มติดลบน้อยลงเรื่อยๆเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน คือ เดือน ม.ค.ที่ติดลบ -25.6% เดือน ก.พ.- 23.07% เดือน มี.ค. -17.74% เดือนเม.ย. -12.84% และเดือน พ.ค.-12.39% ซึ่งถือเป็นสัญญาณที่ดีเป็นอย่างยิ่งคาดว่าภายในสิ้นปีดัชนีผลผลิต อุตสาหกรรมจะสามรถกลับมาเป็นบวกได้ โดยหลายกลุ่มอุตสาหกรรมมีคำสั่งซื้อกลับเข้ามาอย่างต่อเนื่อง หลังจากได้รับผลกระทบจากภาวะวิกฤต เศรษฐกิจโลก
Hard disk drive เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้น 11.3% ขณะที่การจำหน่ายลดลงเล็กน้อย -3.8% เนื่องจากผู้ผลิตสินค้ากลุ่มนี้มีการปรับเปลี่ยนด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย และมีผลิตภัณฑ์ใหม่ๆสอดคล้องกับการใช้งานนำเสนอให้ผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง ส่งผล ต่อการผลิตที่กลับมาคึกคักอีกครั้ง และมีคำสั่งซื้อล่วงหน้ากลับเข้ามาจำนวนมากขึ้น ผู้ผลิตจึงเร่งผลิตเพื่อสามารถส่งมอบสินค้าได้ทันตามกำหนด ส่งผลให้ ระดับสินค้าคงคลัง (Stock) เพิ่มขึ้นสูง 187.7%
ขณะที่อัตราการขยายตัว 6 เดือนแรกของปี 2552 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนการผลิตและการจำหน่ายยังคงติดลบ -7.6% และ -9.0% ตามลำดับ เนื่องจากฐานการผลิตและการส่งออกเมื่อปีที่ผ่านมาอยู่ในระดับสูง จึงจำให้อัตรากการขยายตัวช่วง 6 เดือนแรกยังคงติดลบ สำหรับช่วงครึ่งปีหลังคาดว่าจะฟื้นตัวในทิศทางที่เป็นบวก เนื่องจากประเทศไทยมีความแข็งแกร่งจากการเป็นฐานการผลิตเพื่อการส่งออกที่สำคัญแห่ง โลก ซึ่งจะช่วยให้ภาวะการจ้างงานในอุตสาหกรรมนี้กลับฟื้นคืนมาอีกครั้งด้วย
อาหารทะเลแปรรูป เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตและจำหน่ายมีทิศทางการขยายตัวที่ดีขึ้น 11.11% และ 5.77% ตาม ลำดับ แม้จะได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกทำให้มีการชะลอตัวเล็กน้อยสำหรับช่วงที่ผ่านมา ขณะที่การขยายตัว 6 เดือนแรกของปี 2552 เมื่อ เทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน การผลิตและจำหน่ายปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.9% และ 8.0% ตามลำดับ เนื่องจากมีคำสั่งซื้อกลับเข้ามามากขึ้น สำหรับแนวโน้มครึ่งปี หลังคาดว่าจะกลับมาคึกคักอีกครั้ง โดยเฉพาะสินค้าทูน่ากระป๋องและกุ้งแช่แข็ง ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญจะได้รับคำสั่งซื้อมากขึ้น อันเป็นผลมาจาก ประเทศคู่ค้าที่สำคัญเริ่มมีสัญญาณฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพมากขึ้น ทำให้ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นในการจับจ่ายใช้สอยสินค้าตามไปด้วย
กลุ่มการผลิตผงซักฟอกและสบู่ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตและจำหน่าย เพิ่มขึ้น 11.0% และ 11.5% ตามลำดับ เนื่อง จากผู้บริโภคมีความเข้าใจสถานการณ์ทางเศรษฐกิจปัจจุบันมากขึ้น จึงมีการจับจ่ายใช้สอยสินค้าอุปโภคที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตอย่างเป็นปกติ สำหรับแนวโน้มช่วงครึ่งปีหลังคาดว่าจะยังมีทิศทางที่ขยายตัวได้ดี อย่างไรก็ตามต้องพิจารณาปัจจัยด้านราคาน้ำมันอย่างใกล้ชิด เนื่องจากส่งผลกระทบได้ ทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อราคาสินค้า
ขณะที่ กลุ่มเครื่องประดับเพชรพลอยและทองรูปพรรณ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้น 39.60% และ 48.10% เนื่องจากสินค้ากลุ่มนี้เป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญตลาดหลักยังเป็นกลุ่มประเทศแถบยุโรปและอเมริกา รวมทั้งกลุ่มประเทศเศรษฐีน้ำมันแถบตะวัน ออกกลางที่มีกำลังซื้อค่อนข้างสูง ซึ่งลูกค้ากลุ่มนี้ให้ความมั่นใจสินค้าจากประเทศไทยเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะความประณีตงดงามของรูปแบบผลิตภัณฑ์ และฝีมือของช่างไทยเป็นสิ่งดึงดูดใจลูกค้ามาช้านาน
สำหรับภาพรวมดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนมิถุนายน 2552 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนพบว่า ดัชนีผลผลิต (มูลค่าเพิ่ม) อยู่ที่ ระดับ 170.14 ลดลง -6.76% จากระดับ 182.48 ดัชนีผลผลิต (มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ระดับ 166.27 ลดลง -12.06% จากระดับ 189.08 ดัชนีการ ส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 165.41 ลดลง 13.60% จากระดับ 191.45 ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 186.75 ลดลง -54.00% จากระดับ 406.00 ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 110.89 ลดลง -4.74% จากระดับ 116.41 ดัชนีผลิตภาพแรงงานในภาค อุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 136.43 ลดลง -4.07% จากระดับ 142.22 ขณะที่ ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 176.99 เพิ่มขึ้น 5.45% จากระดับ167.85 ส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ 55.70%
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมและอัตราการใช้กำลังการผลิต
Index ------------------- 2551 ------------------- ---------------------- 2552 ------------------------------ ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม 181.11 167.73 148.97 139.13 139.79 159.71 146.66 159.24 170.14 อัตราการเปลี่ยนแปลง (MOM) 0.50% -0.30% -2.00% -7.40% -11.20% -6.60% 0.50% 14.20% -8.70% 9.20% 6.62% อัตราการเปลี่ยนแปลง (YOY) 5.40% 2.20% -0.40% -8.70% -19.70% -25.60% -23.07% -17.74% -12.84% -12.39% -6.76% อัตราการใช้กำลังการผลิต 61.80% 61.10% 60.80% 55.80% 53.00% 51.70% 50.00% 54.40% 51.41% 54.95% 55.70% ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม --สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร-- -พห-