สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 2 (เมษายน — มิถุนายน) พ.ศ. 2552 (อุตสาหกรรมยานยนต์)

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday August 27, 2009 14:43 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

สาระสำคัญของร่างประกาศ คือ

1. แก้ไขความหมายของคำว่า “รูปร่างของรถยนต์” ใน (2.1) ของข้อ 2 (5) ในประกาศฉบับเดิม

2. เพิ่มเติมความหมายของคำว่า “แบบ” (model) ใน (2) ของข้อ 2 (5) ในประกาศฉบับเดิม

3. แก้ไขภาคผนวก ข. เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์การถอดแยกส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบของแชสซีส์ที่มีเครื่องยนต์ติดตั้งของแทรกเตอร์ตามประเภท 87.01 ให้ใช้เฉพาะแทรกเตอร์เพื่อการเกษตร เท่านั้น สำหรับแชสซีส์ที่มีเครื่องยนต์ติดตั้งของแทรกเตอร์เดินบนถนนสำหรับลากรถกึ่งรถพ่วง (truck tractor) ตามประเภทย่อย 8701.20 ให้ใช้หลักเกณฑ์การถอดแยกส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบตามภาคผนวก ก.

4. เพิ่มบทเฉพาะกาลให้การขอผ่อนผันหรือขอต่ออายุการถอดแยกส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบของยานยนต์ ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังพิจารณาอนุมัติ ให้สามารถพิจารณาดำเนินการต่อไปได้

  • คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เห็นชอบให้เปิดประเภทกิจการประกอบรถยนต์ขึ้นใหม่ เพื่อจูงใจให้ผู้ผลิตรถยนต์ย้ายฐานการผลิตจากประเทศอื่นๆ เข้ามาลงทุนในประเทศไทย และส่งเสริมให้ประเทศไทยมีฐานการผลิตรถยนต์เพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ เพื่อให้การลงทุนในกิจการใหม่ดังกล่าว เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว มีการลงทุนในสายการผลิตใหม่ และมีรูปแบบเป็นการลงทุนขนาดใหญ่ มีปริมาณการผลิตที่สูงมากพอที่จะทำให้เกิดการใช้ชิ้นส่วนในประเทศเพิ่มขึ้นได้ในอนาคต จึงได้กำหนดเงื่อนไขการส่งเสริมการลงทุน (ที่มา www.boi.go.th) ดังนี้

1. จะต้องมีปริมาณการผลิตจริง (Actual Production) ไม่น้อยกว่า 100,000 คันต่อปีในปีใดปีหนึ่ง ภายในระยะเวลา 5 ปีแรกของการผลิต

2. จะต้องมีการลงทุนสร้างสายการประกอบรถยนต์ (Asswembly Line) ใหม่

3. จะต้องมีขนาดการลงทุน โดยไม่ร่วมค่าที่ดินและเงินทุนหมุนเวียนไม่น้อยกว่า 10,000 ล้านบาท

4. จะต้องมีการผลิตรถยนต์แบบใหม่ที่ยังไม่เคยมีการผลิตในประเทศไทย และมีการผลิตรถยนต์ที่มีการติดตั้งระบบเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น มีการติดตั้งระบบ Hybrid Drive, ระบบ Brake Energy Regeneration หรือระบบ Electronic Stability Control เป็นต้น ในโครงการตามที่คณะกรรมการให้ความเห็นชอบ

5. จะต้องเสนอแผนการลงทุนผลิตชิ้นส่วนหรือการใช้ชิ้นส่วน และจะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ

6. ไม่อนุญาตให้ขยายเวลาการดำเนินการตามที่กำหนดในบัตรส่งเสริม

7. จะต้องยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนภายในปี 2553

สำหรับสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรทุกเขต ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นระยะเวลา 5 ปี หากมีขนาดการลงทุนที่ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียนไม่น้อยกว่า 10,000 ล้านบาท และได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นระยะเวลา 6 ปี หากมีขนาดการลงทุนที่ไม่ร่วมค่าที่ดินและเงินทุนหมุนเวียนไม่น้อยกว่า 15,000 ล้านบาท ไม่ว่าจะตั้งในเขตใด ทั้งนี้ ให้ได้รับเพิ่มเติมอีกกรณีละ 1 ปี หากยื่นคำขอภายในปี 2552 โดยมูลค่าภาษีที่ยกเว้นไม่เกินมูลค่าเงินลงทุนของโครงการ

  • สถานการณ์ด้านการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2552 มีโครงการลงทุนที่ได้รับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน รวม 15 โครงการ คิดเป็นเงินลงทุนรวม 7,058.30 ล้านบาท ชะลอตัวจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 71.19 ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทยเพิ่มขึ้นกว่า 1,648 คน แบ่งเป็นโครงการลงทุนผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ 14 โครงการ และโครงการผลิตชิ้นส่วนสำหรับรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล 1 โครงการ สำหรับไตรมาสนี้มีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่มีเงินลงทุนมากกว่า 1,000 ล้านบาท จำนวน 2 โครงการ ประกอบด้วย (รวบรวมข้อมูลจาก www.boi.go.th)
  • โครงการผลิตชิ้นส่วนยางและพลาสติกขึ้นรูปสำหรับยานพาหนะ และชิ้นส่วนพลาสติกขึ้นรูปสำหรับยานพาหนะ ของบริษัท ออโต้ อินทีเรียร์ โปรดักส์ จำกัด เงินลงทุน 2,078.40 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทย 558 คน ซึ่งใช้วัตถุดิบเป็นเม็ดพลาสติกและแผ่น PVC เพื่อป้อนการผลิตให้กับรถยนต์ขนาดเล็ก (B-car) และรถ Pick-up ที่จะเริ่มมีการผลิตประมาณปลายปี 2552
  • โครงการผลิตชิ้นส่วนยานพาหนะ ซึ่งเป็นการร่วมทุนระหว่างกลุ่มไทยซัมมิทผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์รายใหญ่ของไทย และบริษัท เพรสโกเงียว จำกัด ผู้ผลิตชิ้นส่วนโลหะรถบรรทุกของญี่ปุ่น เงินลงทุน 2,480 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทย 349 คน โดยทำการผลิตชิ้นส่วนของ Chassis มีกำลังการผลิต 1,384,000 ชิ้นต่อปีและ Rear Axle โดยสินค้าที่ผลิตจะจำหน่ายในประเทศเป็นส่วนใหญ่

อุตสาหกรรมรถยนต์

การผลิต ปริมาณการผลิตรถยนต์ของประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2552 (ม.ค.-มิ.ย.) มีจำนวน 389,088 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2551 ลดลงร้อยละ 45.92 โดยมีการผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ลดลงร้อยละ 39.42, 48.71 และ 37.02 ตามลำดับ ซึ่งจากปริมาณการผลิตรถยนต์โดยรวม เป็นการผลิตเพื่อการส่งออก 225,608 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 57.98 ของปริมาณการผลิตทั้งหมด โดยแบ่งเป็นการผลิตรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน (รวมรถยนต์ PPV) เพื่อการส่งออกร้อยละ 76.18 และการผลิตรถยนต์นั่งเพื่อการส่งออกร้อยละ 23.82 สำหรับรถยนต์นั่งที่มีการผลิตเพื่อส่งออกมากที่สุด ได้แก่ รถยนต์นั่งที่มีขนาดเครื่องยนต์ 1,201-1,500 ซี.ซี. รองลงมาคือ รถยนต์นั่งที่มีขนาดเครื่องยนต์ 1,501-1,800 ซี.ซี. และรถยนต์นั่งที่มีขนาดเครื่องยนต์ 1,801-2,000 ซี.ซี. ตามลำดับ เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สองของปี 2552 มีการผลิตรถยนต์ จำนวน 190,116 คัน เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการผลิตรถยนต์ลดลงร้อยละ 46.27 โดยมีการผลิตรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ และรถยนต์นั่ง ลดลงร้อยละ 51.72, 42.36 และ 33.15 ตามลำดับ หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกของปี 2552 ปริมาณการผลิตรถยนต์ลดลงร้อยละ 4.45 โดยมีการผลิตรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ และรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน ลดลงร้อยละ 16.53 และ 14.69 ตามลำดับ แต่มีการผลิตรถยนต์นั่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.21

การจำหน่าย ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ของประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2552 (ม.ค.-มิ.ย.) มีจำนวน 231,428 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2551 ลดลงร้อยละ 27.74 โดยมีการจำหน่ายรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ รถยนต์ PPV รวม SUV และรถยนต์นั่ง ลดลงร้อยละ37.96, 31.52, 21.35 และ 12.24 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สองของปี 2552 มีการจำหน่ายรถยนต์ จำนวน 123,654 คัน เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ลดลงร้อยละ 22.47 โดยมีการจำหน่ายรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ รถยนต์นั่ง และรถยนต์ PPV รวม SUV ลดลงร้อยละ 32.68, 28.45, 8.63 และ 8.57 ตามลำดับ หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกของปี 2552 ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.73 โดยมีการจำหน่ายรถยนต์นั่งรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน รถยนต์ PPV รวม SUV และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.47, 13.30, 12.88 และ 3.39 ตามลำดับ

การส่งออก ปริมาณการส่งออกรถยนต์ของประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2552 (ม.ค.-มิ.ย.) มีปริมาณการส่งออกรถยนต์ (CBU) จำนวน 234,784 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2551 ลดลงร้อยละ 39.17 ถ้าคิดเป็นมูลค่าการส่งออกมีมูลค่า 108,319.73 ล้านบาท ลดลงจากช่วงครึ่งปีแรก 2551 ร้อยละ 38.14 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สองของปี 2552 มีปริมาณการส่งออก จำนวน 95,979 คัน คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 44,938.63 ล้านบาท เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการส่งออกลดลงร้อยละ 49.06 คิดเป็นมูลค่าลดลงร้อยละ 47.87 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกของปี 2552 ปริมาณการส่งออกลดลงร้อยละ 30.85 คิดเป็นมูลค่าลดลงร้อยละ 29.10

จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์พบว่ามูลค่าการส่งออกรถยนต์นั่งของไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2552 มีมูลค่า 57,888.19 ล้านบาท ลดลงจากช่วงครึ่งปีแรกของปี 2551 ร้อยละ 29.09 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถยนต์นั่ง ได้แก่ ออสเตรเลีย ซาอุดีอาระเบีย และฟิลิปปินส์ คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 19.98, 15.98 และ 7.97 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถยนต์นั่งไปออสเตรเลีย และฟิลิปปินส์ มีมูลค่าลดลงร้อยละ 54.78 และ 18.20 ตามลำดับ แต่การส่งออกรถยนต์นั่งไปซาอุดีอาระเบีย มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 128.56 มูลค่าการส่งออกรถแวนและปิกอัพของไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2552 มีมูลค่า 38,009.60 ล้านบาท ลดลงจากช่วงครึ่งปีแรกของปี 2551 ร้อยละ 44.99 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถแวนและปิกอัพ ได้แก่ ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 27.28, 5.13 และ 4.85 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถแวนและปิกอัพไปออสเตรเลีย และอินโดนีเซีย มีมูลค่าลดลงร้อยละ 25.64และ 19.57 ตามลำดับ แต่การส่งออกรถแวนและปิกอัพไปมาเลเซีย มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 113.07 มูลค่าการส่งออกรถบัสและรถบรรทุกของไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2552 มีมูลค่า 12,689.49 ล้านบาท ลดลงจากช่วงครึ่งปีแรกของปี 2552 ร้อยละ 2.38 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถบัสและรถบรรทุก ได้แก่ ออสเตรเลีย ซาอุดิอาระเบีย และจอร์แดน คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 21.02, 18.93 และ 14.35 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถบัสและบรรทุกไปออสเตรเลีย และซาอุดิอาระเบีย มีมูลค่าลดลงร้อยละ 36.83 และ 1.59 ตามลำดับ แต่การส่งออกรถบัสและรถบรรทุกไปจอร์แดนมีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 39,838.97 ซึ่งเป็นตลาดส่งออกที่มีการขยายตัวสูง

การนำเข้า การนำเข้ารถยนต์ของประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2552 (ม.ค.-มิ.ย.) มีการนำเข้ารถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก คิดเป็นมูลค่า 6,263.78 และ 5,219.88 ล้านบาทตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2551 พบว่า การนำเข้ารถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก ลดลงร้อยละ 6.38 และ 32.03 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สองปี 2552 มีมูลค่าการนำเข้ารถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก 2,803.80 และ 2,532.73 ล้านบาท ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว พบว่า มูลค่าการนำเข้ารถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก ลดลงร้อยละ 20.81 และ 32.37 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกปี2552 มูลค่าการนำเข้ารถยนต์นั่งลดลงร้อยละ 18.96 และ 5.75 ตามลำดับ แหล่งนำเข้ารถยนต์นั่งที่สำคัญในช่วงครึ่งปีแรก 2552 ได้แก่ ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ และแอฟริกาใต้ คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 31.30, 18.85 และ14.24 ตามลำดับ โดยการนำเข้ารถยนต์นั่งจาก ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ ลดลงร้อยละ 20.07 และ 6.47 ตามลำดับ ส่วนแหล่งนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกที่สำคัญในช่วงครึ่งปีแรก 2552 ได้แก่ ญี่ปุ่น เยอรมนี และสหรัฐอเมริกา คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 62.81, 8.49 และ 7.45 ตามลำดับ โดยการนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกจากญี่ปุ่น ลดลงร้อยะ 28.01 แต่การนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกจากเยอรมนี และสหรัฐอเมริกา เพิ่มขึ้นร้อยละ 63.70 และ 4,168.25 ตามลำดับ

อุตสาหกรรมรถยนต์ครึ่งปีแรกปี 2552 ชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสภาพเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ส่งผลให้สภาพเศรษฐกิจประเทศไทยชะลอตัวด้วย โดยตลาดรถยนต์ภายในประเทศมีการชะลอตัว อันเป็นผลจากวิกฤตเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค และความเข้มงวดของสถาบันการเงินต่างๆ ต่อการปล่อยสินเชื่อซื้อรถยนต์ในขณะที่ตลาดส่งออกก็ชะลอตัวเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะตลาดส่งออกสำคัญ เช่น ออสเตรเลีย เอเชียอย่างไรก็ดี การส่งออกรถยนต์ไปกลุ่มประเทศตะวันออกกลางยังมีการขยายตัวประมาณร้อยละ 5 ซึ่งส่วนใหญ่กว่าร้อยกว่า 98 เป็นการส่งออกรถปิกอัพ 1 ตัน หากพิจารณาการจำหน่ายภายในประเทศในไตรมาสที่สองเปรียบเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2552 มีการขยายตัวในทุกตลาดรถยนต์ ซึ่งถือเป็นสัญญาณที่ดีของการเริ่มฟื้นตัวของตลาดรถยนต์ภายในประเทศ สำหรับแนวโน้มอุตสาหกรรมรถยนต์ในครึ่งปีหลังของปี 2552 คาดว่าการผลิตรถยนต์มีการขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับครึ่งปีแรกของปี 2552 ซึ่งกว่าร้อยละ 60 เป็นการผลิตรถยนต์เพื่อการส่งออก ในขณะที่ตลาดภายในประเทศยังชะลอตัวตามสภาพเศรษฐกิจของประเทศ แต่ก็มีแนวโน้มการชะลอตัวน้อยลง ทั้งนี้คาดว่าผู้ประกอบการจะมีการกระตุ้นตลาดภายในประเทศด้วยการแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่เข้าสู่ตลาด สำหรับอุตสาหกรรมรถยนต์ทั้งปี 2552 คาดว่าชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยทางผู้ประกอบการได้มีการปรับเป้าหมายการผลิตรถยนต์เหลือ 940,000 คัน แบ่งเป็นการผลิตเพื่อการจำหน่ายในประเทศ 430,000 คัน และการผลิตเพื่อการส่งออก 510,000 คัน หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 46 และ 54 ตามลำดับ

อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์

การผลิต ปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2552 (ม.ค.-มิ.ย.)มีจำนวน 747,699 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2551 ลดลงร้อยละ 20.17 โดยมีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว 676,172 คัน และรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต 71,527 คัน ลดลงร้อยละ 21.47 และ 5.30 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สองของปี 2552 มีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์จำนวน 362,613 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ลดลงร้อยละ 27.51 โดยการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัวและรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ตลดลงร้อยละ 27.58 และ 26.58 ตามลำดับ หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกปี 2552 มีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 5.84 โดยเป็นการผลิตรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ตและแบบครอบครัวลดลงร้อยละ 42.69 และ 0.90 ตามลำดับ

การจำหน่าย ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2552(ม.ค.-มิ.ย.) มีจำนวน 748,497 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2551 ลดลงร้อยละ 14.23 โดยมีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว 369,815 คัน รถจักรยานยนต์แบบสกูตเตอร์ 345,945 คันและรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต 32,737 คัน ลดลงร้อยละ 16.13, 11.94 และ 15.69 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สองของปี 2552 มีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์จำนวน 392,205 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ลดลงร้อยละ 11.75 โดยมีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว รถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต และรถจักรยานยนต์สกูตเตอร์ ลดลงร้อยละ 15.35, 7.35 และ 14.45 ตามลำดับ หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกของปี 2552 มีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.08 โดยมีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว รถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต และรถจักรยานยนต์แบบสกูตเตอร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.95, 12.55 และ 8.60 ตามลำดับ

การส่งออก ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) ของประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2552 (ม.ค.-มิ.ย.) มีจำนวน 249,136 คัน (เป็นการส่งออก CBU จำนวน 72,142 คัน และ CKD จำนวน 176,994 ชุด) เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2551 ลดลงร้อยละ 68.54 คิดเป็นมูลค่าการส่งออก มีมูลค่า 10,355.00 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 24.00 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สองของปี 2552 ฟมีปริมาณการส่งออก 129,119 คัน คิดเป็นมูลค่าการส่งออกมีมูลค่า4,729.90 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 66.36 คิดเป็นมูลค่าลดลงร้อยละ 15.91 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกของปี 2552 ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.58 แต่คิดเป็นมูลค่าลดลงร้อยละ 31.59 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถจักรยานยนต์ในช่วงครึ่งปีแรก 2552 ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เนเธอร์แลนด์ และเวียดนาม คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 30.52, 19.53 และ 8.52 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU) ไปสหรัฐอเมริกา เนเธอร์แลนด์ และเวียดนาม เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.25, 86.59 และ 61.47 ตามลำดับ

การนำเข้า การนำเข้ารถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2552 (ม.ค.-มิ.ย.) มีการนำเข้ารถจักรยานยนต์คิดเป็นมูลค่า 147.56 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2551 ลดลงร้อยละ 27.55 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สองของปี 2551 มีมูลค่าการนำเข้ารถจักรยานยนต์ 61.96 ล้านบาท เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 2.79 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกของปี 2551 มูลค่าการนำเข้ารถจักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 27.62 แหล่งนำเข้ารถจักรยานยนต์ที่สำคัญในช่วงครึ่งปีแรก 2552 ได้แก่ ญี่ปุ่น เยอรมนี และสหรัฐอเมริกา มีสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 31.95, 24.50 และ 20.42 ตามลำดับ โดยการนำเข้ารถจักรยานยนต์จากญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา ลดลงร้อยละ 15.45 และ 4.91 ตามลำดับ แต่การนำเข้ารถจักรยานยนต์จากเยอรมนีเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.55

อุตสาหกรรมรถยนต์ครึ่งปีแรกปี 2552 ชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาซึ่งเป็นไปตามสภาพเศรษฐกิจของประเทศที่ถอดถอย ทำให้ผู้บริโภคมีความระมัดระวังในการใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับภาคการเกษตร ซึ่งเป็นตลาดหลักของรถจักรยานยนต์มีผลผลิต และราคาพืชผลทางการเกษตรมีแนวโน้มตกต่ำ ทำให้รายได้ของเกษตรกรลดต่ำลง สำหรับตลาดส่งออกมีการส่งออกรถจักรยานยนต์ชะลอตัวเช่นกัน ซึ่งเป็นไปตามสภาพเศรษฐกิจโลกที่อยู่ในช่วงชะลอตัว สำหรับแนวโน้มอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในครึ่งปีหลังของปี 2552 คาดว่าจะทรงตัวเมื่อเปรียบเทียบกับครึ่งปีแรกของปี 2552 ซึ่งเป็นไปตามสภาพเศรษฐกิจของประเทศที่ยังชะลอตัว อย่างไรก็ดี หากพิจารณาการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ภายในประเทศของไตรมาสที่สองเปรียบเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2552 มีการขยายตัวในทุกตลาดรถจักรยานยนต์ ซึ่งถือเป็นสัญญาณที่ดีของการเริ่มฟื้นตัวของตลาดรถจักรยานยนต์ สำหรับอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ทั้งปี 2552 คาดว่าชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาโดยทางผู้ประกอบการได้มีการปรับเป้าหมายการผลิตรถจักรยานยนต์ (CBU) เหลือ 1,500,000 คัน แบ่งเป็นการผลิตเพื่อการจำหน่ายในประเทศ 1,400,000 คัน และการผลิตเพื่อการส่งออก 100,000 คัน หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 46 และ 54 ตามลำดับ

อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์

การส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์ ในช่วงครึ่งปีแรก 2552 ( ม.ค.-มิ.ย.) การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) มีมูลค่า 40,547.95 ล้านบาท ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2551 ร้อยละ 38.93 การส่งออกเครื่องยนต์มีมูลค่า 4,763.28 ล้านบาท ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2551 ร้อยละ 46.62 และการส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์มีมูลค่า 6,160.14 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2551 ร้อยละ 36.82 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สองของปี 2552 การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) มีมูลค่า 21,771.56 ล้านบาท การส่งออกเครื่องยนต์ มีมูลค่า 2,944.56 ล้านบาท และการส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ มีมูลค่า 3,204.62 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) และเครื่องยนต์ ลดลงร้อยละ 37.30 และ 31.97 ตามลำดับ แต่การส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 47.19 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกของปี 2552 มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) เครื่องยนต์ และชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.95, 61.90 และ 8.43 ตามลำดับ จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์พบว่า มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ของไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2552 มีมูลค่า52,169.74 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 36.79 ตลาดส่งออกที่สำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ได้แก่ ญี่ปุ่น มาเลเซีย และอินโดนีเซีย คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 13.44, 12.99 และ 9.54 ตามลำดับ โดยการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ไปญี่ปุ่นมาเลเซีย และอินโดนีเซีย ลดลงร้อยละ 46.13, 21.04 และ 47.74 ตามลำดับ

การส่งออกชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ ในช่วงครึ่งปีแรก 2552 (ม.ค.-มิ.ย.) การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) มีมูลค่า 5,442.00 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2551 ลดลงร้อยละ 48.45 การส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีมูลค่า 202.00 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2551 ลดลงร้อยละ 42.94 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สองของปี 2552 การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) มีมูลค่า 2,716.00 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 53.78 การส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์มีมูลค่า 98.00 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ลดลงร้อยละ 26.56 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกของปี 2552 การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) และชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ ลดลงร้อยละ 0.37 และ 5.77 ตามลำดับ จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่ามูลค่าการส่งออกส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ของไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2552 มีมูลค่า 7,966.83 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 31.09 ตลาดส่งออกที่สำคัญของส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ ได้แก่ อินโดนีเซีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์ คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 29.33, 16.19 และ 11.07 ตามลำดับ โดยการส่งออกส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ไปอินโดนีเซีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์ ลดลงร้อยละ 4.95, 23.39 และ 11.42 ตามลำดับ

การนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์ การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ของประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2552 (ม.ค.-มิ.ย.) มีมูลค่า 42,420.00 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2551 ลดลงร้อยละ 35.55 เมื่อพิจารณาไตรมาสที่สองของปี 2552 ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์มีมูลค่า 21,765.47 ล้านบาท เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ลดลงร้อยละ 33.14 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกของปี 2552 มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.38 แหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ที่สำคัญในช่วงครึ่งปีแรก 2552 ได้แก่ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ58.20, 7.27 และ 6.78 ตามลำดับ โดยการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์จากญี่ปุ่น อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ ลดลงร้อยละ 38.37, 18.36 และ 30.29 ตามลำดับ

การนำเข้าชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ฯ การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ของประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2552 (ม.ค.-มิ.ย.) มีมูลค่า 5,006.61 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2551 ลดลงร้อยละ 22.98 เมื่อพิจารณาไตรมาสที่สองของปี 2552 ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ มีมูลค่า 2,100.08 ล้านบาท เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ลดลงร้อยละ 33.58 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกของปี 2552 มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ลดลงร้อยละ 27.75 แหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ที่สำคัญในช่วงครึ่งปีแรก 2552 ได้แก่ ญี่ปุ่น, จีน และไต้หวัน คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 43.07, 18.17 และ 8.26 ตามลำดับ โดยการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ จากญี่ปุ่น, จีน และไต้หวัน ลดลงร้อยละ 3.72, 36.75 และ22.63 ตามลำดับ

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ