สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 2 (เมษายน — มิถุนายน) พ.ศ. 2552 (เศรษฐกิจโลก)

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday August 26, 2009 12:05 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

เศรษฐกิจโลก(1)

ภาพรวมเศรษฐกิจโลกในไตรมาส 2 ปี 2552 เศรษฐกิจหลาย ๆ ประเทศยังคงอยู่ในภาวะถดถอยต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน ยกเว้นประเทศจีนที่เศรษฐกิจยังคงขยายตัว และปัญหาการว่างงานของหลาย ๆ ประเทศมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น

ราคาน้ำมันดิบดูไบในไตรมาส 2 ปี 2552 อยู่ที่ 58.09 USD/Barrel ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2551 อยู่ที่ 119.45 USD/Barrel เนื่องจากเศรษฐกิจโลกที่ยังคงหดตัว ทำให้ความต้องการน้ำมันลดลง สำหรับสถานการณ์น้ำมันในตลาดโลกราคาน้ำมันยังคงแกว่งตัวขึ้นลง โดยล่าสุดราคาน้ำมันดิบ NYMEX ส่งมอบเดือนกันยายน มีราคาอยู่ที่ 71.94 USD/Barrel ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า เนื่องจากการแข็งค่าของเงินดอลล่าร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักและราคาน้ำมัน heating oil ที่ลดลงมีส่วนกดดันราคาน้ำมันดิบลดลง การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่ชัดเจน ส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมันให้ปรับเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย

เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา(2)

ภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในไตรมาส 2 ปี 2552 GDP หดตัวร้อยละ 3.9 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2551 ซึ่งขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 2.1 การบริโภคภาคเอกชนไตรมาส 2 ปี 2552 หดตัวร้อยละ 1.8 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2551 ที่ขยายตัวร้อยละ 0.6 เนื่องจากผู้บริโภคยังกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจรวมถึงอัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้น การลงทุนภาคเอกชนไตรมาส 2 ปี 2552 หดตัวร้อยละ 27.4 เป็นการหดตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2551 ที่หดตัวอยู่ร้อยละ 6.3 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในไตรมาส 2 ปี 2552 อยู่ที่ระดับ 48.3 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2551 อยู่ที่ระดับ 57.3 อัตราการใช้กำลังการผลิตภาคอุตสาหกรรมไตรมาส 2 ปี 2552 อยู่ที่ร้อยละ 68.4 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2551 อยู่ที่ร้อยละ 78.7 ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมไตรมาส 2 ปี 2552 อยู่ที่ระดับ 96.0 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2551 อยู่ที่ระดับ 110.7

การส่งออกไตรมาส 2 ปี 2552 มีมูลค่าลดลงร้อยละ 19.6 เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2551 ที่ขยายตัวร้อยละ 11.3 การส่งออกสินค้าโดยเฉพาะรถยนต์ลดลงอย่างมาก การนำเข้าไตรมาส 2 ปี 2552 มีมูลค่าลดลงร้อยละ 21.3 เป็นการลดลงเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2551 ที่ลดลงร้อยละ 2.3

หมายเหตุ

(1) - ข้อมูลบางส่วนของบางประเทศล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาส 1 ปี 2552

  • ที่มา www.eia.doe.gov www.thaioil.co.th

(2) - ที่มา www.worldbank.org www.imf.org www.bea.gov www.ceicdata.com

อัตราเงินเฟ้อไตรมาส 2 ปี 2552 อยู่ที่ร้อยละ -1.2 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2551 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 4.4 อันเนื่องมาจากราคาพลังงานและอาหารอยู่ในระดับต่ำ อัตราการว่างงานไตรมาส 2 ปี 2552 อยู่ที่ร้อยละ 9.3 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2551 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 5.4

ทางด้านสถานการณ์การเงิน มติที่ประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2552 ให้คงอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ร้อยละ 0.25 และยังคงรักษาอัตราดอบเบี้ยให้อยู่ในระดับต่ำต่อไปอีกระยะหนึ่ง

อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในไตรมาส 2 ปี 2552 ยังอยู่ในภาวะถดถอย แต่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยของสหรัฐฯ กำลังทุเลาลง จากมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจของรัฐบาล โดยมีสัญญาณจากภาคอุตสาหกรรมและอสังหาริมทรัพย์เริ่มมีเสถียรภาพ

เศรษฐกิจจีน(3)

เศรษฐกิจประเทศจีนในไตรมาส 2 ปี 2552 ขยายตัวร้อยละ 7.9 ขยายตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2551 ที่ขยายตัวร้อยละ 10.1 สาเหตุหลักมาจากการส่งออกที่ยังคงหดตัว มูลค่าการค้าปลีกในไตรมาส 2 ปี 2552 ขยายตัวร้อยละ 15.0 ขยายตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2551 ขยายตัวร้อยละ 22.2 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในไตรมาส 2 ปี 2552 อยู่ที่ระดับ 86.4 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส2 ปี 2551 อยู่ที่ระดับ 94.1 ขณะที่การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรในไตรมาส 2 ปี 2552 ขยายตัวร้อยละ 32.3 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2551 ที่ขยายตัวร้อยละ 26.0 เนื่องมาจากมาตรการการเร่งปล่อยสินเชื่อของรัฐบาล ทำให้การลงทุนเพิ่มขึ้น ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมไตรมาส 2 ปี 2552 อยู่ที่ระดับ 57.1 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2551 อยู่ที่ระดับ 58.8

การส่งออกไตรมาส 2 ปี 2552 มีมูลค่าลดลงร้อยละ 23.43 เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2551 ที่ขยายตัวร้อยละ 22.53 การส่งออกที่ยังคงหดตัว เนื่องจากการค้าโลกยังคงซบเซา การนำเข้าไตรมาส 2 ปี 2552 มีมูลค่าลดลงร้อยละ 20.20 เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2551 ที่ขยายตัวร้อยละ 32.62

ภาวะเงินเฟ้อของประเทศจีนในไตรมาส 2 ปี 2552 มีอัตราเงินเฟ้อโดยทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ -1.5 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ของปี 2551 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 7.8 เป็นผลมาจากราคาสินค้าในหมวดพลังงานอยู่ในระดับต่ำ อัตราการว่างงานในไตรมาส 2 ปี 2552 อยู่ที่ร้อยละ 4.3 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2551 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 4.0 อัตราการว่างงานยังคงทรงตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้า

ทางด้านสถานการณ์การเงิน ธนาคารกลางจีน (People’s Bank of China) ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 5.31 นอกจากนี้ธนาคารกลางจีนเตรียมคุมเข้มนโยบายการเงินและสินเชื่อหลังอัตราการปล่อยกู้จากธนาคารเพิ่มสูงขึ้นมากจนอาจทำให้เกิดภาวะฟองสบู่และหนี้เสียจำนวนมาก

หมายเหตุ

(3) - ที่มา www.stats.gov.cn, www.pbc.gov.cn, www.ceicdata.com

อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจจีนในไตรมาส 2 ปี 2552 ยังคงขยายตัวต่อเนื่องจากไตรมาสแรกจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลจีน รวมถึงการปล่อยกู้ในประเทศจีนที่มีมูลค่าสูงถึง 7.4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้มีการลงทุนเพิ่มขึ้นและชดเชยกับการส่งออกที่ยังคงหดตัว และจากการที่ธนาคารจีนเร่งปล่อยกู้ให้กับภาคอสังหาริมทรัพย์ ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดภาวะฟองสบู่ อันเนื่องมาจากการเก็งกำไรในตลาดอสังหาริมทรัพย์

เศรษฐกิจประเทศญี่ปุ่น(4)

เศรษฐกิจประเทศญี่ปุ่นในไตรมาส 1 ปี 2552 GDP หดตัวร้อยละ 8.4 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2551 ที่ขยายตัวร้อยละ 1.2 การบริโภคภาคเอกชนในไตรมาส 1 ปี 2552 หดตัวร้อยละ 2.7 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2551 ที่ขยายตัวร้อยละ 1.6 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคไตรมาส 2 ปี 2552 อยู่ที่ระดับ 37.6 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2551 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 32.5 การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคภาคครัวเรือนในไตรมาส 1 ปี 2552 หดตัวร้อยละ 2.7 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2551 ที่ขยายตัวร้อยละ 1.7 การลงทุนภาคเอกชนในไตรมาส 1 ปี 2552 หดตัวร้อยละ 12.8 เป็นการหดตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2551 ที่หดตัวร้อยละ 5.4 ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมไตรมาส 2 ปี 2552 อยู่ที่ระดับ 78.30 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2551 อยู่ที่ระดับ 108.20

การส่งออกไตรมาส 2 ปี 2552 มีมูลค่าลดลงร้อยละ 38.5 เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2551 ที่ขยายตัวร้อยละ 1.8 เป็นการลดลงในตลาดส่งออกหลัก เช่น สหรัฐฯ และสหภาพยุโรป การนำเข้าไตรมาส2 ปี 2552 มีมูลค่าลดลงร้อยละ 40.1 เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2551 ที่ขยายตัวร้อยละ 11.2 ภาวะเงินเฟ้อของประเทศญี่ปุ่นในไตรมาส 2 ปี 2552 มีอัตราเงินเฟ้อโดยทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ-0.1 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ของปี 2551 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 1.4 เป็นผลมาจากราคาสินค้าบริโภคลดลง อัตราการว่างงานในไตรมาส 2 ปี 2552 อยู่ที่ร้อยละ 5.2 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2551 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 4.0

ทางด้านสถานการณ์การเงิน มติที่ประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน ของธนาคารกลางญี่ปุ่น (Bank of Japan) เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2552 ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 0.1

อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจญี่ปุ่นในไตรมาส 2 ปี 2552 คาดว่ายังคงอยู่ในภาวะถดถอย และยังไม่มีสัญญาณการฟื้นตัว โดยการส่งออกยังคงหดตัวเพิ่มขึ้น อัตราการว่างงานยังคงเพิ่มสูงขึ้นนอกจากนี้การใช้จ่ายภาคครัวเรือนที่เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจญี่ปุ่นก็ยังคงหดตัวเพิ่มขึ้นอีกด้วย

หมายเหตุ

(4) - ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาสที่ 1 ปี 2552

  • www.cao.go.jp www.boj.or.jp www.stat.go.jp www.ceicdata.com

เศรษฐกิจสหภาพยุโรป(5)

เศรษฐกิจกลุ่มประเทศยุโรปในไตรมาส 1 ปี 2552 GDP หดตัวร้อยละ 4.8 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2551 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.1 ในส่วนของ GDP ภาคอุตสาหกรรมในไตรมาส 1 ปี2552 หดตัวร้อยละ 18.5 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2551 ที่ขยายตัวร้อยละ 1.2 เนื่องจากการส่งออกที่หดตัวอย่างรุนแรง การบริโภคไตรมาส 1 ปี 2552 หดตัวร้อยละ 0.8 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2551ที่ขยายตัวร้อยละ 1.6 อุปสงค์ภายในประเทศในไตรมาส 1 ปี 2552 หดตัวร้อยละ 3.8 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2551 ที่ขยายตัวร้อยละ 1.8 ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมในไตรมาส 1 ปี 2552 อยู่ที่ระดับ91.9 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2551 อยู่ที่ระดับ 110.4 และในเดือนเมษายน และพฤษภาคม อยู่ที่ระดับ 89.1 และ 88.4 ตามลำดับ

การส่งออกไตรมาส 1 ปี 2552 มีมูลค่าลดลงร้อยละ 19.6 เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2551 ที่ขยายตัวร้อยละ 8.6 สำหรับมูลค่าการส่งออกในเดือนเมษายน และพฤษภาคม ลดลงร้อยละ 24.0 และ 21.0 ตามลำดับ การส่งออกที่ลดลงอย่างรุนแรงเป็นผลมาจากความต้องการของโลกหดตัว การนำเข้าไตรมาส 1 ปี 2552 มีมูลค่าลดลงร้อยละ 20.35 เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2551 ที่ขยายตัวร้อยละ 8.8 สำหรับมูลค่าการนำเข้าในเดือนเมษายน และพฤษภาคม ลดลงร้อยละ 26.4 และ 28.5 ตามลำดับ

ภาวะเงินเฟ้อทั่วไปของกลุ่มประเทศยุโรปในไตรมาส 2 ปี 2552 อยู่ที่ร้อยละ 0.2 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2551 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 3.6 สาเหตุที่อัตราเงินเฟ้อลดลงเป็นผลจากราคาพลังงานที่ลดลง อัตราการว่างงานในไตรมาส 2 ปี 2552 อยู่ที่ร้อยละ 9.0 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2551 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 6.9 เนื่องจากภาคเอกชนยังคงปรับลดจำนวนพนักงาน เพื่อชดเชยกับความต้องการสินค้าและบริการที่หดตัวลง

ทางด้านสถานการณ์การเงิน ธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank : ECB)ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 1.0 (เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2552)

อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจสหภาพยุโรปในไตรมาส 2 ปี 2552 คาดว่ายังคงอยู่ในภาวะถดถอย จากตัวเลขการส่งออกที่หดตัวเพิ่มขึ้น และอัตราการว่างงานที่เพิ่มสูงขึ้น และยังไม่มีสัญญาณใดที่จะบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจสหภาพยุโรปจะฟื้นตัว

หมายเหตุ

(5) - ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาสที่ 1 ปี 2552

  • ที่มา eurostat, www.ecb.int www.ceicdata.com

เศรษฐกิจของประเทศอุตสาหกรรมในเอเซีย

เศรษฐกิจฮ่องกง(6)

ภาวะเศรษฐกิจของฮ่องกง ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2552 GDP หดตัวที่ร้อยละ 7.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 โดยหดตัวเพิ่มขึ้นเป็นไตรมาสที่ 2 ติดต่อกัน เนื่องจากสภาวะวิกฤติทางตลาดการเงินทั่วโลกยังคงส่งผลกระทบกับเศรษฐกิจฮ่องกงทำให้การลงทุนและอุปสงค์ภายในประเทศหดตัวลงมาก โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชน โดยดัชนีภาคการผลิต(Industrial Production Index) ในไตรมาสที่1 ของปี 2552 อยู่ที่ระดับ 84.1 โดยขยายตัวลดลงร้อยละ 10.7 จากไตรมาสที่ 1 ของปี 2551

ภาวะเศรษฐกิจของฮ่องกงได้รับผลกระทบค่อนข้างรุนแรงจากวิกฤตการเงินของโลกในปัจจุบัน โดยผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(GDP) ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2552 ลดลงร้อยละ 7.8ในขณะที่เคยขยายตัวเป็นบวกอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด 10 ปีที่ผ่านมา

อัตราเงินเฟ้อขยายตัวในอัตราร้อยละ 1.4 ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2552 ในขณะที่เคยสูงถึงร้อยละ 4.3 ในช่วงปี 2551 ในขณะที่อัตราการว่างงานเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 5.6 และยอดขายปลีกขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9

การส่งออก มีมูลค่าการส่งออกสินค้าในไตรมาสที่ 2 ของปี 2552 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาลดลงร้อยละ 11.7 โดยตลาดหลักๆมูลค่าการส่งออกลดลงค่อนข้างมาก ตลาดหลัก ได้แก่ จีน(-6.3%),สหรัฐอเมริกา(-21.0%), ญี่ปุ่น(-16.8%), สหราชอาณาจักร (26.6%) , เยอรมัน(-17.8%) และ ไต้หวัน(-4.7%) ส่วนสินค้าส่งออกหลักก็ลดลงในทุกสินค้าเช่นกัน เนื่องจากผลกระทบวิกฤตเศรษฐกิจโลก ซึ่งจะเห็นได้จากช่วงปลายเดือนเมษายน ยอดส่งออกไปจีนเริ่มลดลงน้อยลง ซึ่งอาจต้องใช้เวลาหลายเดือน ถึงจะเห็นแนวโน้มได้ชัดเจนขึ้น

การส่งออกสินค้าหลักของฮ่องกง ไตรมาสที่ 2 ของปี 2552

          สินค้า                    มูลค่า usd:mn               การเปลี่ยนแปลง %
 Electrical Machinery, Etc.           35,542                      -7.1
 Machinery; Reactors, Boilers         11,083                      -0.5
 Precious Stones                       5,871                     -10.7
 Toys and Sports                       3,070                     -12.8
 Plastic                               2,908                     -20.7

หมายเหตุ

(6) - ที่มา http://www.censtatd.gov.hk/

  • ที่มา http://www.exim.go.th
  • ที่มา http://web.worldbank.org
  • ที่มา http://www.bot.or.th
  • ที่มา http://www.thaishipper.com
  • ที่มา http://www.gtis.com/gta
  • ที่มา http://www.ceicdata.com
  • ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาสที่ 1 ปี 2552

การนำเข้าสินค้าในไตรมาสที่ 2 ของปี 2552 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาลดลงเช่นกัน โดยมีมูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 14.3 ตลาดหลักลดลงทุกประเทศเช่นกัน ได้แก่ จีน(-12.9%), ญี่ปุ่น(-25.1%), ไต้หวัน(-10.1%), สหรัฐอเมริกา(-2.8%), เกาหลี(-22.9%)

การนำเข้าสินค้าหลักของฮ่องกง ไตรมาสที่ 2 ของปี 2552

          สินค้า                     มูลค่า usd:mn      การเปลี่ยนแปลง %
 Electrical Machinery, Etc.           35,240            -9.4
 Machinery; Reactors, Boilers         11,755            -1.8
 Precious Stones                       5,524           -15.8
 Plastic                               3,086           -22.4
 Toys and Sports                       2,718           -14.9

ด้านจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 1.5 ส่วนผลจากข้อตกลงความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ระหว่างฮ่องกงกับจีน(CEPA) จะเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจภาคบริการ 20 ชนิด ในตลาดจีน(จะเริ่มมีผลตั้งแต่ตุลาคม 2552)

นโยบายเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจของฮ่องกง เมื่อวันที่ 26 พ.ค. 2552 นาย John Tsang Chun-wah ตำแหน่ง Financial Secretary ของฮ่องกง ได้เปิดเผยรายละเอียดของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพิ่มเติม จำนวน 16.8 พันล้านดอลลาร์ฮ่องกง หลังจากที่ภาวะเศรษฐกิจของฮ่องกงในไตรมาสที่1 ของปี 2552 ถดถอยลง โดยการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพิ่มเติมของรัฐบาลฮ่องกง ดังกล่าว เป็นการออกมาตรการฯ ครั้งที่ 4 ในรอบ 15 เดือน ซึ่งเป็นงบประมาณทั้งสิ้น 87.6 พันล้านดอลลาร์ฮ่องกง คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 5.2 ของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(gross domestic product: GDP) โดยมาตรการที่จะช่วยเหลือผู้ประกอบการฮ่องกง เช่น การจัดสรรงบประมาณจำนวน 1.7 พันล้านดอลลาร์ฮ่องกง เพื่อดำ เนินมาตรการยกเว้นการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนบริษัทในภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับอาหาร การคมนาคมขนส่ง การท่องเที่ยว และการบันเทิง เป็นระยะเวลา 1 ปี , การขยายวงเงินการรับประกันเงินกู้ของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก(SMEs) จากเดิมร้อยละ 70 เป็นร้อยละ 80 ของวงเงินกู้ทั้งหมด , การอัดฉีดเงินจำนวน 1 พันล้านดอลลาร์ฮ่องกง เข้าสู่กองทุน SME Export Marketing Fund เพื่อส่งเสริมการส่งออกของผู้ประกอบการ SMEs ของฮ่องกง , การจัดสรรงบประมาณจำนวน 670 ล้านดอลลาร์ฮ่องกง เพื่อยกเว้นการจัดเก็บค่าธรรมเนียมใบอนุญาตการดำเนินกิจการของกิจการที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการเงินโลกและการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์A(H1N1) , การจัดสรรงบประมาณ 100 ล้านดอลลาร์ฮ่องกง เพื่อดำเนินมาตรการปรับลดอัตราค่าเช่าพื้นที่ของภาครัฐ และ การจัดสรรงบประมาณจำนวน 50 ล้านดอลลาร์ฮ่องกง เพื่อดำเนินมาตรการยกเว้นการจัดเก็บดอกเบี้ยสำหรับผู้ประกอบการที่ยื่นเรื่องขอผ่อนผันการจ่ายคืนเงินกู้ออกไปเป็นระยะเวลา 2 ปี

เกาหลีใต้(7)

เศรษฐกิจของประเทศเกาหลีใต้ในไตรมาส 2 ของปี 2552 GDP หดตัวร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 และเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ของปี 2552 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3โดยเป็นอัตราการขยายตัวที่มากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2547 โดยการขยายตัวเพิ่มขึ้นของ GDP จากไตรมาสก่อนหน้าเป็นผลมาจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลเกาหลีใต้ที่เริ่มส่งผลใรไตรมาสนี้และเป็นผลให้เศรษฐกิจของเกาหลีใต้เริ่มฟื้นตัว โดยดัชนีภาคการผลิตของเกาหลีใต้ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2552 อยู่ที่ระดับ 102.0 เป็นการหดตัวร้อยละ 17.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ของปี 2551

ดัชนีราคาผู้บริโภคของเกาหลีใต้ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2552 เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 111.6 เป็นการปรับตัวลดลงตามราคาค่าขนส่งและคมนาคมที่ลดลง

การส่งออกของเกาหลีใต้ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2552 มูลค่าการส่งออกลดลงอยู่ที่ร้อยละ20.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 โดยมีมูลค่าการส่งออก 91,103 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ส่วนใหญ่เป็นการส่งออกสินค้าประเภท Electrical Machinery ที่มีมูลค่าการส่งออก 21,750 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าประเภทนี้ลดลงร้อยละ 16.5 รองลงมาคือ อุตสาหกรรมประเภท Ships and Boatsที่มูลค่าการส่งออกในไตรมาสนี้ยังคงเพิ่มขึ้นตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ของปี 2552 โดยเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 24.4 แต่สินค้าส่งออกหลักอื่นๆ ลดลงมากแทบทุกสินค้า โดยตลาดส่งออกหลักยังคงเป็นประเทศจีนกว่า 20,959 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือร้อยละ 23.0 รองลงมาคือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่นและฮ่องกง ที่มีการส่งออกร้อยละ10.4, 5.6 และ 5.0 ตามลำดับ ซึ่งตลาดส่งออกหลักยังคงมีมูลค่าการส่งออกลดลงอย่างต่อเนื่องเช่นกัน เช่น จีน สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่นและฮ่องกง โดยมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 20.2, 23.0, 32.5 และ 14.9 ตามลำดับ

การส่งออกสินค้าหลักของเกาหลีใต้ ไตรมาสที่ 2 ของปี 2552

          สินค้า                     มูลค่า usd:mn     การเปลี่ยนแปลง %
 Electrical Machinery, Etc.           21,750           -16.5
 Ships and Boats                      13,299            24.4
 Machinery; Reactors, Boilers          9,041           -28.0
 Vehicles, Not Railway                 8,330           -39.6
 Optical, Medical Instruments          7,041            -4.8

(7) - ที่มา http://global.kita.net/

  • ที่มา http://www.exim.go.th
  • ที่มา http://web.worldbank.org
  • ที่มา http://www.gtis.com/gta
  • ที่มา http://www.bot.or.th
  • ที่มา http://www.ceicdata.com
  • ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาสที่ 1 ปี 2552

มูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 36.2 โดยมีมูลค่าการนำเข้าในไตรมาสที่ 2 ของปี 2552 ทั้งสิ้น 73,278 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็นการนำเข้าสินค้าประเภท Mineral Fuel, Oil ที่มีมูลค่าการนำเข้า 18,222 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือร้อยละ 24.9 ของการนำเข้าทั้งหมด ซึ่งมูลค่าการนำเข้าสินค้าประเภทนี้ลดลงถึงร้อยละ 51.0 รองลงมาคือสินค้าประเภท Electrical Machinery, Machinery(Reactors, Boilers) และ Iron and Steel ตามลำดับ ที่มีสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 18.2, 10.7 และ 5.2 ตามลำดับ ในขณะที่การนำเข้าส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศ จีน ร้อยละ 17.4, ญี่ปุ่น ร้อยละ 15.8 และ สหรัฐอเมริกา ร้อยละ 9.6

การนำเข้าสินค้าหลักของเกาหลีใต้ ไตรมาสที่ 2 ของปี 2552

          สินค้า                     มูลค่า usd:mn      การเปลี่ยนแปลง %
 Mineral Fuel, Oil                     18,222           -51.0
 Electrical Machinery, Etc.            13,343           -20.8
 Machinery; Reactors, Boilers           7,871           -26.1
 Iron and Steel                         3,837           -60.4
 Optical, Medical Instruments           2,538           -25.6

ด้านการเงินการคลังของเกาหลีใต้ อัตราดอกเบี้ยยังคงอยู่ในระดับร้อยละ 2.0 ตั้งแต่ที่ได้มีการประกาศปรับลดลงมาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ โดยระดับร้อยละ 2.0 นี้ถือว่าต่ำที่สุดเท่าที่เคยปรับลดมาด้านแรงงาน อัตราการว่างงานในเดือนมิถุนายน ของปี 2552 อยู่ที่ร้อยละ 3.9 ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 เมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายน ของปี 2551 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคม(จากสำนักงานสถิติแห่งชาติของเกาหลีใต้) โดยผู้ว่างงานในเดือนมิถุนายนมีจำนวนทั้งสิ้น 960,000 คน

สิงค์โปร์(8)

เศรษฐกิจประเทศสิงค์โปร์ กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมของสิงคโปร์ เปิดเผยว่าไตรมาสที่ 2 ของปี 2552 เศรษฐกิจของสิงคโปร์ขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 5 ไตรมาส หรือกว่า 1 ปี โดยขยายตัวร้อยละ 20.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ของปี 2552 แสดงให้เห็นว่าสิงคโปร์กำลังพ้นจากภาวะถดถอยที่เลวร้ายที่สุด ทำให้ประเมินว่าตลอดปีนี้เศรษฐกิจของสิงคโปร์จะติดลบน้อยลงเหลือร้อยละ 4-6จากเดิมที่คาดว่าจะติดลบร้อยละ 6-9 อย่างไรก็ตาม แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 เศรษฐกิจ

(8) - ที่มา http://web.worldbank.org

  • ที่มา http://www.exim.go.th
  • ที่มา http://apecthai.org
  • ที่มา http://www.thaishipper.com
  • ที่มา http://www.gtis.com/gta
  • ที่มา http://www.ceicdata.com
  • ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาสที่ 1 ปี 2552

สิงคโปร์ยังคงติดลบร้อยละ 3.7 ซึ่งการปรับขึ้นของเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 อาจจะต้องคอยระวังดูต่อไปเพราะภาพรวมตลอดปียังคงอ่อนแอ เนื่องจากภาคบริการซึ่งมีสัดส่วน 2 ใน 3 ของเศรษฐกิจสิงคโปร์ยังคงติดลบร้อยละ 5.1 เนื่องจากการบริโภคในสหรัฐและยุโรปซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักของสิงคโปร์ยังคงซบเซาและสิงคโปร์เป็นประเทศแรกในเอเชียที่เข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย เนื่องจากเศรษฐกิจสิงคโปร์พึ่งพาการส่งออกสูงมาก และจากข้อมูลในไตรมาสที่ 2 ปี 2552 นี้ทำให้สิงคโปร์เป็นเอเชียชาติแรกเช่นกันที่จะฟื้นตัวทั้งนี้ ในทางเทคนิคแสดงให้เห็นว่าภาวะถดถอยของสิงคโปร์สิ้นสุดลงแล้วและเศรษฐกิจกำลังเติบโต ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ประเทศในเอเชียมีการรายงานจีดีพีในทางบวก

ภาคอุตสาหกรรมการผลิตของสิงคโปร์ในเดือนมิถุนายน 2552 ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 9.3 เมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายน ปี 2551 และลดลงร้อยละ 9.2 เมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคมปี 2552 โดยผลผลิตภาคอุตสาหกรรมถือว่าลดลงในทุกกลุ่มยกเว้นกลุ่มไบโอเมติคอลที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.6ขณะที่ผลผลิตในภาคการขนส่ง, อุตสาหกรรมทั่วไป, เคมีภัณฑ์, สินค้าอิเลคทรอนิกส์ และ วิศวกรรม ลดลงร้อยละ 12.4, 1.5, 8.9, 20.4 และ 18.1 ตามลำดับ จึงส่งผลให้ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2552 ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม ลดลงร้อยละ 14.0 ทั้งนี้ Mr. Lim Hng Kiang รัฐมนตรีกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมสิงคโปร์ได้สร้างความมั่นใจให้แก่บริษัทนานาชาติและ SMEs ว่า ภาคการผลิตเป็นภาคสำคัญในการส่งเสริมให้เศรษฐกิจมีการเจริญเติบโต แม้ว่าความต้องการสั่งซื้อจากต่างประเทศจะลดลง และอัตราการจ้างงานของภาคการผลิตในช่วงไตรมาสแรก ของปี 2552 ลดลงประมาณ 22,100 อัตรา อย่างไรก็ดี Singapore Manufacturers’ Federation จะดำเนินการร่วมกับภาครัฐในการศึกษาและร่างแผนการ/แนวโน้มการผลิตของประเทศสำหรับ 5 ปีข้างหน้าเพื่อช่วยให้ผู้ผลิตมองเห็นทิศทางในการดำเนินธุรกิจในอนาคต

การค้าปลีกในเดือนเมษายน 2552 ลดลงร้อยละ 11.7 นับเป็นการลดลงมากที่สุดในรอบ10 ปีที่ผ่านมา สินค้าที่ลดลงมาก ได้แก่ รถยนต์ ลดลงร้อยละ 10.2, อุปกรณ์การสื่อสารโทรคมนาคม ลดลงร้อยละ 12.1 , นาฬิกาและเครื่องประดับ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.3 โดยคาดว่าการค้าปลีกในเดือนต่อๆไปจะลดลงอีก เนื่องจากอัตราการว่างงานจะสูงขึ้นประมาณร้อยละ 4- 4.5 และค่าจ้าง/เงินเดือนจะลดลงอีกร้อยละ 3.7

International Enterprise Singapore ได้ประกาศการค้ารวมระหว่างประเทศของสิงคโปร์ช่วงเดือนมกราคม-พฤษภาคม ปี 2552 มีมูลค่า 281,799.81 ล้านเหรียญสิงคโปร์ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ -27.65 โดยการค้าลดลงจากประเทศคู่ค้าสำคัญ 10 อันดับแรกคือ มาเลเซีย มูลค่า 30,876.47 ล้านเหรียญสิงคโปร์ ลดลงร้อยละ -34.90, จีน มูลค่า 27,940.32 ล้านเหรียญฯ ลดลงร้อยละ-25.09, สหรัฐฯ มูลค่า 26,491.29 ล้านเหรียญฯ ลดลงร้อยละ -28.64, อินโดนีเซีย มูลค่า 22,319.46 ล้านเหรียญฯ ลดลงร้อยละ -27.03, ฮ่องกง มูลค่า 18,154.99 ล้านเหรียญฯ ลดลงร้อยละ -19.35, ญี่ปุ่น มูลค่า 16,314.13 ล้านเหรียญฯ ลดลงร้อยละ -35.65, เกาหลีใต้ มูลค่า 13,692.43 ล้านเหรียญฯ ลดลงร้อยละ-26.89, ไต้หวัน มูลค่า 10,603.15 ล้านเหรียญฯ ลดลงร้อยละ -30.50, ไทย มูลค่า 9,730.69 ล้านเหรียญฯลดลงร้อยละ -30.38 และ อินเดีย มูลค่า 9,059.79 ล้านเหรียญฯ ลดลงร้อยละ -29.74 ส่วนการค้ากับประเทศไทย ในช่วงเดือนมกราคม-พฤษภาคม ปี 2552 โดยสิงคโปร์นำเข้าจากไทยมูลค่า 4,210.71 ล้านเหรียญสิงคโปร์ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ -31.40 สัดส่วนตลาดร้อยละ 3.12 (ประเทศคู่ค้านำเข้าอันดับ 1 คือ สหรัฐฯ รองลงมาได้แก่ มาเลเซีย จีน ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ ไต้หวัน ฝรั่งเศส ซาอุดิอาระเบีย เยอรมนี และไทย-อันดับที่ 11 ซึ่งนำเข้าจากทุกประเทศข้างต้นลดลง ยกเว้นฝรั่งเศส เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.97) และสิงคโปร์ส่งออกไปยังไทยมูลค่า 5,519.98 ล้านเหรียญสิงคโปร์ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ -29.57 สัดส่วนตลาดร้อยละ 3.76 (ประเทศคู่ค้าส่งออกอันดับ 1 คือ ฮ่องกง รองลงมาได้แก่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย จีน สหรัฐฯ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย อินเดีย และ ไทย อันดับ 10 ซึ่งส่งออกไปยังทุกประเทศข้างต้นลดลง)

ดัชนีผู้บริโภค (CPI) ในเดือนพฤษภาคม 2552 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 (เทียบกับเดือนเมษายน2552) ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นครั้งแรกหลังจากช่วง 7 เดือนที่ผ่านมา ราคาสินค้าที่มีราคาสูงขึ้น ได้แก่ รถยนต์และน้ำมัน(ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2552 เพิ่มขึ้น 20 เซนต์/ลิตร) ทำให้ค่าใช้จ่ายเดินทางและค่าสินค้าบริโภคเพิ่มขึ้น ทั้งนี้คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั้งปี 2552 จะอยู่ที่ร้อยละ -1 ถึง 0.2

การส่งออกของสิงค์โปร์ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2552 การส่งออกลดลงอย่างมากโดยทีมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 32.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 ส่วนใหญ่เป็นการส่งออกสินค้าประเภท Electrical Machinery ที่มีมูลค่าการส่งออก 18,119 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือร้อยละ 32.0 รองลงมาคือสินค้าประเภท Machinery (Reactors, Boilers) และ Mineral Fuel แต่การส่งออกสินค้า 5 อันดับแรกลดลงในระดับที่สูงทุกสินค้า รวมทั้งตลาดส่งออกก็ลดลงมากเช่นกัน โดยส่วนใหญ่ส่งออกไปยังประเทศฮ่องกง โดยมีมูลค่าการส่งออก 6,276 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือร้อยละ 11.1 ของการส่งออกทั้งหมด โดยมูลค่าการส่งออกไปยังประเทศฮ่องกงลดลงร้อยละ 28.4 รองลงมาคือการส่งออกไปยังประเทศมาเลเซีย 5,863 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 40.8 รองลงมาคือ อินโดนีเซียและจีน

สำหรับการส่งออกในเดือนพฤษภาคม 2552 ลดลงเล็กน้อย โดย International Enterprise Singapore ได้ประกาศข้อมูลการส่งออกสินค้าต่างๆ ดังนี้ (1) สินค้าทั่วไป(ไม่ใช่น้ำมัน) ลดลงร้อยละ 12.1 (2) สินค้าอิเล็คทรอนิกส์ ลดลงร้อยละ 21.8 และ (3) สินค้าที่ไม่ใช่อิเล็คทรอนิกส์(รวมเภสัชภัณฑ์และปิโตรเคมี) ลดลงร้อยละ 5.6 โดยการส่งออกสินค้าทั่วไป(ไม่ใช่น้ำมัน)ไปยังประเทศคู่ค้าสำคัญๆลดลงอย่างมาก ได้แก่ สหรัฐฯ มาเลเซีย และญี่ปุ่น แต่การส่งออกไปยังสหภาพยุโรป เกาหลีใต้ และอินเดียมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย

การส่งออกสินค้าหลักของสิงคโปร์ ไตรมาสที่ 1 ของปี 2552
  สินค้า                                       มูลค่า usd:mn     การเปลี่ยนแปลง %
Electrical Machinery, Etc.                     18,119           -36.1
Machinery; Reactors, Boilers                   10,120           -29.3
Mineral Fuel, Oil                               7,842           -43.9
Special Classification Provisions, Nesoi        2,893           -42.6
Organic Chemicals                               2,313           -30.8

การนำเข้าในไตรมาสที่ 1 ของปี 2552 มีมูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 32.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 โดยมีมูลค่าการนำเข้า 52,608 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าสินค้าประเภท Electrical Machinery ที่มีมูลค่าการนำเข้า 13,350 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รองลงมาคือสินค้าประเภท Mineral Fuel และ Machinery (Reactors, Boiler) ตามลำดับ การนำเข้าสินค้าส่วนใหญ่ลดลงมี เพียง Precious Stones เท่านั้นที่มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น

การนำเข้าสินค้าหลักของสิงคโปร์ ไตรมาสที่ 1 ของปี 2552
  สินค้า                               มูลค่า usd:mn     การเปลี่ยนแปลง %
Electrical Machinery, Etc.              13,350           -36.9
Mineral Fuel, Oil                       11,916           -40.5
Machinery; Reactors, Boilers             8,688           -25.4
Aircraft, Spacecraft                     2,426           -10.9
Precious Stones                          1,635            32.3

อินโดนีเซีย(9)

เศรษฐกิจอินโดนีเซียในไตรมาสที่ 1 ของปี 2552 ยังคงขยายตัวร้อยละ 4.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 ทั้งนี้ รัฐบาลอินโดนีเซียคาดว่าวิกฤตเศรษฐกิจโลกจะส่งผลให้เศรษฐกิจอินโดนีเซียปี 2552 ชะลอการขยายตัวลงเหลือร้อยละ 4.5-4.7 เทียบกับร้อยละ 6.1 ในปี 2551 ขณะที่ดัชนีภาคการผลิตในไตรมาสที่ 1 ของปี 2552 อยู่ที่ระดับ 124.6 ขยายตัวร้อยละ 0.2 จากไตรมาสที่ 1 ของปี 2552

(9) - ที่มา http://apecthai.org

  • ที่มา http://www.exim.go.th
  • ที่มา http://web.worldbank.org
  • ที่มา http://www.bot.or.th
  • ที่มา http://www.gtis.com/gta
  • ที่มา http://www.ceicdata.com
  • ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาสที่ 1 ปี 2552

ดัชนีราคาผู้บริโภคในไตรมาสที่ 2 ของปี 2552 อยู่ที่ระดับ 107.7 โดยเป็นระดับที่ขยายตัวลดลงร้อยละ 0.8 จากไตรมาสที่ 2 ของปี 2552 การส่งออกของอินโดนีเซียในไตรมาสที่ 1 ของปี 2552 ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง และลดลงมากในไตรมาสที่ 1 ของปี 2552 โดยมีมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 31.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ของปี2551 มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 29,029 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งการส่งออกส่วนใหญ่ยังคงเป็นการส่งออกของอุตสาหกรรม Mineral Fuel, Fats and Oils, Electrical Machinery และ Machinery(Reactors, Boilers) สินค้าที่ส่งออกส่วนใหญ่มีมูลค่าการส่งออกลดลงมากโดยเฉพาะ Fats and Oils โดยมีตลาดส่งออกหลักคือ ญี่ปุ่น ที่มีมูลค่าการส่งออก 3,752 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รองลงมาคือ สหรัฐอเมริกา สิงค์โปร์ และ จีน ซึ่งตลาดหลักดังกล่าวมีมูลค่าการส่งออกลดลงเกินร้อยละ 20

การส่งออกสินค้าหลักของอินโดนีเซีย ไตรมาสที่ 1 ของปี 2552
  สินค้า                           มูลค่า usd:mn      การเปลี่ยนแปลง %
Mineral Fuel, Oil                     5,565           -40.5
Fats and Oils                         2,101           -53.3
Electrical Machinery, Etc.            1,550           -15.8
Ores, Slag, Ash                       1,160            10.8
Machinery; Reactors, Boilers            993           -11.6

ในขณะที่มูลค่าการนำเข้ายังคงเพิ่มขึ้นมาก โดยในไตรมาสที่ 1 ของปี 2552 มูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 35.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 โดยมีมูลค่าการนำเข้าทั้งสิ้น 19,094 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยส่วนใหญ่นำเข้าสินค้าประเภท Machinery (Reactors, Boilers), Mineral Fuel, Electrical Machinery และ Iron and Steel ตามลำดับ และเป็นการนำเข้าจากประเทศ สิงค์โปร์ จีน ญี่ปุ่นสหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ มาเลเซีย และประเทศไทย ตามลำดับ

การนำเข้าสินค้าหลักของอินโดนีเซีย ไตรมาสที่ 1 ของปี 2552
  สินค้า                               มูลค่า usd:mn    การเปลี่ยนแปลง %
Machinery; Reactors, Boilers           3,505           -15.4
Mineral Fuel, Oil                      3,210           -54.3
Electrical Machinery, Etc.             2,344           -27.6
Iron and Steel                           839           -58.7
Iron and Steel Products                  796             4.4

ด้านการเงินการคลังของประเทศอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2552 ธนาคารกลางอินโดนีเซียประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากร้อยละ 7.25 เหลือร้อยละ 7.0 นับเป็นการปรับลดครั้งที่ 7 รวมร้อยละ 2.5 ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2551 เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคและการลงทุนในประเทศ ประกอบกับแรงกดดันด้านเงินเฟ้อลดลง นอกจากนี้ ธนาคารกลางอินโดนีเซียคาดว่าอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยจะลดลงจากร้อยละ 10.1 ในปี 2551 เหลือราวร้อยละ 5-7 ในปี 2552

มาเลเซีย(10)

ภาวะเศรษฐกิจของประเทศมาเลเซียในไตรมาสที่ 1 ของปี 2552 เศรษฐกิจหดตัวร้อยละ 6.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 ซึ่งเป็นผลมาจากการภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง และการส่งออกสินค้าไปสหรัฐฯ และญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศคู่ค้าหลักยังคงชะลอตัว ทั้งนี้รัฐบาลมาเลเซียคาดว่าเศรษฐกิจมาเลเซียจะหดตัวร้อยละ 1 ในปี 2552 และคาดการณ์ว่าอัตราการว่างงานจะเพิ่มขึ้นจากร้อยละ3.7 ในปี 2551 เป็นร้อยละ 4.5 ในปี 2552 โดยดัชนีภาคการผลิตในไตรมาสที่ 1 ของปี 2552 อยู่ที่ระดับ94.6 เป็นระดับที่หดตัวร้อยละ 15.6 จากไตรมาสที่ 1 ของปี 2551

การส่งออกในไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 มีมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 12.58 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 โดยในไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 มีมูลค่าการส่งออก 42,603 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยส่วนใหญ่เป็นการส่งออกในกลุ่มของ Electrical Machinery ที่มีมูลค่าการส่งออก 10,850 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือร้อยละ 25.47 ของการส่งออกทั้งหมด รองลงมาคือสินค้าประเภท Mineral Fuel และ Machinery (Reactors, Boilers) โดยมีมูลค่าการส่งออก 8,252 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และ 6,944 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตามลำดับ โดยส่งออกไปประเทศญี่ปุ่นมากที่สุด ที่มีมูลค่าการส่งออก 6,015 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือร้อยละ 14.12 ของการส่งออกทั้งหมด รองลงมาคือ สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา จีน และ ไทย

การส่งออกสินค้าหลักของมาเลเซีย ไตรมาสที่ 4 ของปี 2551
  สินค้า                            มูลค่า usd:mn      การเปลี่ยนแปลง %
Electrical Machinery, Etc.           10,850           -19.4
Mineral Fuel, Oil                     8,252             8.8
Machinery; Reactors, Boilers          6,944           -24.3
Fats and Oils                         2,881           -20.6
Rubber                                1,191           -17.7

(10) - ที่มา http://apecthai.org

  • ที่มา http://www.exim.go.th
  • ที่มา http://www.exim.go.th
  • ที่มา http://web.worldbank.org
  • ที่มา http://www.bot.or.th
  • ที่มา http://www.ceicdata.com
  • ที่มา http://www.gtis.com/gta
  • ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาสที่ 1 ปี 2552

ส่วนการนำเข้าในไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 มีมูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 17.02 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 โดยใน ไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 มีมูลค่าการนำเข้าทั้งสิ้น 33,413 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศจีน ร้อยละ 13.85 รองลงมาคือ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและสิงค์โปร์

การนำเข้าสินค้าหลักของมาเลเซีย ไตรมาสที่ 1 ของปี 2552
  สินค้า                           มูลค่า usd:mn      การเปลี่ยนแปลง %
Electrical Machinery, Etc.          10,572           -19.6
Machinery; Reactors, Boilers         4,736           -24.1
Mineral Fuel, Oil                    2,634           -30.5
Iron and Steel                       1,217           -15.3
Vehicles, Not Railway                1,074            21.7

ดัชนีราคาผู้บริโภคของมาเลเซียในไตรมาสที่ 1 ของปี 2552 อยู่ที่ระดับ 111.8 โดยเป็นระดับที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 เป็นการเพิ่มขึ้นตามราคาค่าอาหารและการขนส่งที่เพิ่มขึ้น โดยดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนมิถุนายนอยู่ที่ระดับ 111.8 ลดลงร้อยละ 1.4 เมื่อเทียบกับปีก่อน และ

ฟิลิปปินส์(11)

เศรษฐกิจของประเทศฟิลิปปินส์ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2552 GDP ขยายตัวร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 โดยดัชนีภาคการผลิตอยู่ที่ระดับ 111.8 เป็นระดับที่หดตัวลงร้อยละ 18.6 จากไตรมาสที่ 1 ของปี 2551

ด้านการเงินครึ่งแรกของปี 2552 ฟิลิปปินส์ขาดดุลงบประมาณ 1.534 แสนล้านเปโซ(ประมาณ1.088 แสนล้านบาท) หรือขาดดุลสูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 752.2 โดยนายมาร์การิโต้ เทเวสรัฐมนตรีคลังฟิลิปปินส์ระบุว่าการขาดดุลยังอยู่ในเพดานที่กำหนดไว้ 1.551 แสนล้านเปโซ และเมื่อ พิจารณาการขาดดุลช่วง 6 เดือนแรกแล้ว คาดว่าจะสามารถรักษาการขาดดุลตลอดปีนี้ไว้ตามเป้าหมายคือ2.5 แสนล้านเปโซหรือร้อยละ 3.2 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP)

(11) - ที่มา www.bsp.gov.ph/

  • ที่มา http://www.exim.go.th
  • ที่มา http://web.worldbank.org
  • ที่มา http://www.bot.or.th
  • ที่มา http://www.gtis.com/gta
  • ที่มา http://www.ceicdata.com
  • ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาสที่ 1 ปี 2552

ดัชนีราคาผู้บริโภคของฟิลิปปินส์ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2552 อยู่ที่ระดับ 159.8 เป็นระดับที่ขยายตัวร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าในทุกหมวดเนื่องจากปัจจัยทางด้านสภาพอากาศที่ส่งผลให้ราคาสินค้าอาหารปรับตัวสูงขึ้น ขณะเดียวกันปริมาณความต้องการของสินค้ากลุ่มเครื่องแต่งกายและการศึกษาเพิ่มสูงขึ้น

ทางด้านการส่งออกของฟิลิปปินส์ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2552 มีมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 36.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 โดยในไตรมาสที่ 1 ของปี 2552 มีมูลค่าการส่งออก 7,924 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยสินค้าที่ส่งออกมาก ได้แก่สินค้าประเภท Special Classification Provisions, Nesoi ที่มีมูลค่าการส่งออก 2,146 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือร้อยละ 27.1 รองลงมาคือสินค้าประเภท Electrical Machinery และ Machinery (Reactors, Boilers) โดยการส่งออกลดลงในทุกสินค้าที่สำคัญ และการส่งออกส่วนใหญ่ส่งออกไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา 1,419 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือร้อยละ 17.9 ของการส่งออกทั้งหมด รองลงมาคือ ญี่ปุ่น และ จีน

การส่งออกสินค้าหลักของฟิลิปปินส์ ไตรมาสที่ 1 ของปี 2552
  สินค้า                                   มูลค่า usd:mn     การเปลี่ยนแปลง %
Special Classification Provisions, Nesoi    2,146            -46.5
Electrical Machinery, Etc.                  1,913            -34.9
Machinery; Reactors, Boilers                  964            -36.9
Vehicles, Not Railway                         391            -36.9
Wood                                          229              4.5

ส่วนทางด้านการนำเข้าในไตรมาสที่ 1 ของปี 2552 มีมูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 34.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 ซึ่งในไตรมาสที่ 1 ของปี 2552 มีมูลค่าการนำเข้า 9,599 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าจากประเทศสหรัฐอเมริกา 1,396 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือร้อยละ 14.6 รองลงมาคือ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ จีนและไต้หวัน โดยสินค้าที่นำเข้าส่วนใหญ่เป็นสินค้าประเภท Special Classification Provisions, Nesoi มีมูลค่าการนำเข้า 1,936 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือร้อยละ 20.2 ของการนำเข้าทั้งหมด

การนำเข้าสินค้าหลักของฟิลิปปินส์ ไตรมาสที่ 1 ของปี 2552
  สินค้า                                         มูลค่า usd:mn     การเปลี่ยนแปลง %
Special Classification Provisions, Nesoi           1,936           -39.5
Electrical Machinery, Etc.                         1,394           -43.0
Mineral Fuel, Oil                                  1,378           -54.9
Machinery; Reactors, Boilers                         877           -34.1
Cereals                                              500            37.8

อินเดีย (12)

เศรษฐกิจของประเทศอินเดียในไตรมาสที่ 1 ของปี 2552 ขยายตัวร้อยละ 4.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 และดัชนีภาคการผลิตขยายตัวร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 เนื่องจากปีงบประมาณของอินเดียสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคมของทุกปี ได้เริ่มส่งสัญญาที่ดีตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 และไตรมาสที่ 4 ปัจจัยที่สำคัญและมีส่วนช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ได้แก่ การบริโภคของภาครัฐในไตรมาสที่ 4 (ซึ่งมีส่วนอย่างสำคัญต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ) มีการขยายตัวถึงร้อยละ 22 มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล เช่น การดำเนินโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาล การลดภาษีสรรพสามิตทุกประเภทลงร้อยละ 4 การปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อการซื้อบ้านและรัฐบาลแบกรับภาระดอกเบี้ยร้อยละ 2 ในเงินกู้ของภาคธุรกิจส่งออก เป็นต้น เริ่มมีส่งผลดีต่อการฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรมที่สำคัญ เช่น ซีเมนต์ เหล็กยานยนต์ การก่อสร้าง เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน เป็นต้น โดยขณะนี้เริ่มมีสัญญาที่ดีในหลายสาขาโดยเฉพาะในสาขาสินค้าคงทน เช่น บริษัท LG มียอดการขายเพิ่มขึ้นร้อยละ 29 ในช่วงมกราคม-กุมภาพันธ์ของปี 2552 โดยยอดขายโทรทัศน์ LCD ขยายตัวถึงร้อยละ 153 และคาดว่ายอดขายสินค้าคงทนในปี 2552 จะขยายตัวถึงร้อยละ 28 ขณะที่บริษัทซัมซุงได้แถลงว่าในช่วงมกราคม-กุมภาพันธ์ ของปี 2552 มียอดขายเพิ่มขึ้นร้อยละ 30 ทั้งนี้เป็นผลสืบเนื่องโดยตรงจากการลดภาษีสรรพสามิตทำให้บริษัทต่างๆ หันมาแข่งกันตัดราคาลงเป็นอย่างมาก

นอกจากนั้นเทศกาลแต่งงานของอินเดียที่กำลังมาถึง (กุมภาพันธ์ —มิถุนายน) ซึ่งโดยวัฒนธรรมอินเดียถือเป็นการเริ่มต้นชีวิตใหม่และต้องซื้อสินค้าคงทนใหม่ทั้งหมดเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้ยอดขายสินค้าคงทนขยายตัว ขณะที่บริษัท ทา ทา มอเตอร์ส ของอินเดีย ผลประกอบการรายได้ในไตรมาสแรกของปี 2552 หดตัวร้อยละ 7 เหลือเพียง 48,034 ล้านบาท ส่วนยอดขายรถในอินเดียยังเพิ่มสูงขึ้นไปถึง 1.2 แสนคัน แต่ยอดส่งออกกลับหดตัวร้อยละ 43 เหลือเพียง 5 พันคันเท่านั้น จากผลของภาวะเศรษฐกิจโลก แต่ทางบริษัทยังยืนยันที่จะพัฒนารถยนต์ต่อไปไม่หยุดเพื่อหาช่องเจาะตลาดเพิ่ม แต่การเลือกตั้งโลกสภา (สภาผู้แทนราษฎร) ที่กำลังจะมีขึ้นเร็วๆ นี้ ซึ่งคาดว่าจะมีเงินสะพัดกว่า 100,000 ล้านรูปี จะส่งผลดีต่อรถประเภท off-road ซึ่งเป็นเครื่องมือหาเสียงที่จำเป็นมากสำหรับการหาเสียงในท้องถิ่นชนบทที่ห่างไกลของอินเดียก็คาดว่าจะมียอดขายเพิ่มขึ้นเช่นกัน ทั้งนี้ธุรกิจรถเช่าและรถแท๊กซีก็คาดว่าจะมีการใช้บริการ

(12) - ที่มา www.gtis.com/gta

  • ที่มา http://www.exim.go.th
  • ที่มา http://web.worldbank.org
  • ที่มา http://www.bot.or.th
  • ที่มา http://www.gtis.com/gta
  • ที่มา http://www.ceicdata.com
  • ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาสที่ 1 ปี 2552

เพิ่มขึ้นตามไปด้วย สำหรับสื่อโฆษณาต่างๆ คาดว่าจะมีรายได้กว่า 4,000 ล้านรูปี นอกจากนั้น การเลือกตั้งแต่ละครั้งรัฐบาลจะต้องใช้เงินกว่า 12,000 ล้านรูปีเพื่อจัดการเลือกตั้ง

ดัชนีราคาผู้บริโภคของอินเดียในไตรมาสที่ 2 ของปี 2552 อยู่ที่ระดับ 151.3 เป็นระดับที่ขยายตัวร้อยละ 8.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 โดยยังเป็นการเพิ่มขึ้นมากของราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม และพลังงาน

ทางด้านการส่งออกของประเทศอินเดียในเดือนพฤษภาคม ของปี 2552 มีมูลค่าลดลงร้อยละ 29.2 เมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคม ของปี 2551 และมีมูลค่าส่งออกทั้งสิ้น 11,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยลดลงเป็นเดือนที่ 8 ติดต่อกัน เนื่องจากปริมาณความต้องการสินค้าจากต่างประเทศยังคงซบเซา โดยไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 มูลค่าการส่งออกหดตัวร้อยละ 12.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 เป็นไตรมาสแรกที่เริ่มมีการหดตัวจากภาวะเศรษฐกิจโลก สินค้าที่ส่งออกมาก ได้แก่สินค้าประเภท Mineral Fuel ที่มีมูลค่าการส่งออก 4,792 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือร้อยละ 13.6 ซึ่งการส่งออกสินค้าประเภทนี้หดตัวร้อยละ 32.7 รองลงมาคือสินค้าประเภท Precious Stones ที่การส่งออกหดตัวร้อยละ 22.8 โดยในไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 การส่งออกส่วนใหญ่ส่งออกไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา 4,773 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือร้อยละ 13.5 ของการส่งออกทั้งหมด รองลงมาคือ สหรัฐอาหรับฯ และ จีน

การส่งออกสินค้าหลักของอินเดีย ไตรมาสที่ 4 ของปี 2551
  สินค้า                               มูลค่า usd:mn             การเปลี่ยนแปลง %
Mineral Fuel, Oil                      4,792                    -32.7
Precious Stones                        3,893                    -22.8
Machinery; Reactors, Boilers           1,906                     13.9
Organic Chemicals                      1,707                     -3.3
Electrical Machinery, Etc.             1,673                     23.1

ส่วนทางด้านการนำเข้าในไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 ขยายตัวร้อยละ 5.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 ซึ่งในไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 มีมูลค่าการนำเข้า 63,669 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าจากประเทศจีน 6,755 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 10.6 ของการนำเข้าทั้งหมดรองลงมาคือ อเมริกา และซาอุดิอาระเบีย ที่มีสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 7.3 และ 6.4 ของการนำเข้าทั้งหมดตามลำดับ โดยสินค้าที่นำเข้าส่วนใหญ่เป็นสินค้าประเภท Mineral Fuel มีมูลค่าการนำเข้า 20,276 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือร้อยละ 31.9 ของการนำเข้าทั้งหมด รองลงมาคือสินค้าประเภท Precious Stones และ Machinery(Reactors, Boilers) ตามลำดับ

การนำเข้าสินค้าหลักของอินเดีย ไตรมาสที่ 4 ของปี 2551
  สินค้า                              มูลค่า usd:mn              การเปลี่ยนแปลง %
Mineral Fuel, Oil                     20,276                     -6.4
Precious Stones                        7,166                     35.7
Machinery; Reactors, Boilers           6,027                     -9.3
Electrical Machinery, Etc.             5,017                     -4.4
Fertilizers                            3,901                    135.8

สรุปเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจต่างประเทศที่สำคัญ

ประเทศ          ปี 2550        ---------------------  ปี 2551 -----------------     ปี 2552
                              ไตรมาส 1   ไตรมาส 2   ไตรมาส 3   ไตรมาส 4   ทั้งปี     ไตรมาส 1    ไตรมาส 2
GDP (%yoy)
สหรัฐอเมริกา       2.0           2.5        2.1         0.7       -0.8      1.1      -3.3        -3.9
สหภาพยุโรป        2.7           2.2        1.5         0.4       -1.7      0.6      -4.8         n.a.
ญี่ปุ่น              2.4           1.5        0.7        -0.2       -4.3     -0.6      -8.3         n.a.
จีน              13.2          10.6       10.4         9.9        9.0     10.0       6.1         7.9
ฮ่องกง            6.2           7.0        4.2         1.7       -2.5      2.5      -7.5         n.a.
เกาหลีใต้          5.0           5.8        4.8         3.1       -3.5      2.5      -4.4        -2.5
สิงค์โปร์           7.5           6.5        2.5         0.04      -4.3      1.1     -10.7        -3.7
อินโดนีเซีย         6.1           6.1        6.2         6.2        5.1      5.9       4.3         n.a.
มาเลเซีย          6.2           7.2        6.5         4.6        0.1      4.5      -6.4         n.a.
ฟิลิปปินส์           6.9           4.5        4.3         4.8        4.4      4.5       0.5         n.a.
อินเดีย            9.3           8.7        7.8         7.4        4.3      7.1       4.1         n.a.

MPI (YoY%)      ปี 2550        ---------------------  ปี 2551 -----------------     ปี 2552
                              ไตรมาส 1   ไตรมาส 2   ไตรมาส 3   ไตรมาส 4   ทั้งปี     ไตรมาส 1    ไตรมาส 2
สหรัฐอเมริกา       1.5            1.4        -0.4       -3.2      -6.6     -2.2      -11.6       -13.3
สหภาพยุโรป        3.7            2.8         0.0       -3.7      -9.8     -2.7      -16.8         n.a.
ญี่ปุ่น              3.0            3.5         1.6       -3.3     -15.0     -3.3      -34.0       -27.6
จีน               2.0           -1.2        -5.4      -13.7     -31.3    -12.9      -12.6        -2.1
ฮ่องกง           -1.5           -4.5        -4.3       -6.9      -6.8    -11.0      -10.7         n.a.
เกาหลีใต้          6.7           10.4         8.5        5.4     -12.0      3.0      -17.6         n.a.
สิงค์โปร์           5.7           11.6        -5.7      -11.6     -11.4     -4.2      -27.7        -2.4
อินโดนีเซีย         5.4            5.7         3.2        1.6       1.5      2.9        0.2         n.a.
มาเลเซีย          2.3            6.9         3.1        1.4      -9.5      0.5      -15.6         n.a.
ฟิลิปปินส์          -3.4           -0.3         7.4        9.9       1.4      4.7      -18.6         n.a.
อินเดีย            9.4            6.7         5.2        4.6       0.7      4.3        0.1         n.a.
ที่มา : CEIC

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ