อุตฯ เริ่มส่งสัญญาณฟื้นต่อเนื่อง กลุ่ม Hard disk drive ออร์เดอร์ทะลัก ครวญแรงงานขาดหวั่นเสียลูกค้า ขณะที่ กลุ่มอาหารทะเล แปรรูป-ยา-ปูนซีเมนต์ ทิศทางสวย
นายอาทิตย์ วุฒิคะโร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) และรองโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ขณะนี้ ภาพรวมของอุตสาหกรรมไทยถือว่ามีสัญญาณปรับตัวที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจที่ประกาศออกมาจากหลายหน่วยงานมีทิศทาง เดียวกัน ซึ่งระบุว่าเศรษฐกิจเริ่มฟื้นแม้ว่าจะยังคงติดลบ แต่ก็มีแนวโน้มอัตราติดลบที่ค่อยๆน้อยลง เช่นเดียวกันกับดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม เดือนกรกฏา คม ยังคงติดลบ 9.0% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน แกว่งตัวเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนก่อน (มิ.ย.-6.8%) ขณะที่สถิติดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบันติดลบน้อยลงเรื่อยๆ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน คือ เดือน ม.ค.-25.6% เดือน ก.พ.-23.1% เดือน มี.ค.-17.7% เดือนเม.ย. -12.8% เดือน พ.ค.-12.4% เดือนมิ.ย.-6.8% ซึ่งถือเป็นสัญญาณที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากพิจารณาดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเมื่อ เทียบกับเดือนก่อนของปีเดียวกัน (2552)ตัวเลขชี้ให้เห็นแนวโน้มที่เป็นบวก ตั้งแต่เดือน ก.พ. คือบวก 0.5% เดือน มี.ค. 14.2% เดือนเม.ย.เกิด เหตุการณ์ความไม่สงบทำให้ติดลบ 8.7% แล้วจึงกลับมาเป็นบวก 9.2% และ 6.6% ในเดือน พ.ค. และมิ.ย.ตามลำดับ แม้เดือนก.ค.แกว่งตัวติดลบ เล็กน้อย 1.3% แต่ก็เนื่องจากภาคอุตสาหกรรมปรับกระบวนการผลิตเพื่อรองรับออเดอร์ใหม่ คาดว่าภายในสิ้นปีดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเมื่อเทียบกับ เดือนเดียวกันของปีก่อนจะสามารถกลับมาเป็นบวกได้ เนื่องจากหลายสาขาอุตสาหกรรมมีคำสั่งซื้อเข้ามาอย่างต่อเนื่อง หลังจากอั้นมานานด้วยผลพวง ของวิกฤตเศรษฐกิจโลก คำสั่งซื้อที่มีเข้ามาทำให้โรงงานเพิ่มกาผลิต อัตราการใช้กำลังการผลิตภาคอุตสาหกรรมจึงเพิ่มขึ้นเป็น 57.0% ในเดือนก.ค. เทียบกับที่เคยต่ำสุด 50.0% เมื่อเดือน ก.พ.
กลุ่ม Hard disk drive เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตและจำหน่ายปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.6% และ 8.9% โดยอัตราการ ผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้น 3 เดือนติดต่อกันเนื่องจากผู้ผลิตสินค้ากลุ่มนี้มีการปรับเปลี่ยนด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย และมีผลิตภัณฑ์ใหม่ๆสอดคล้องกับการใช้งานนำ เสนอให้ผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อการผลิตที่กลับมาคึกคักอีกครั้ง และมีคำสั่งซื้อล่วงหน้ากลับเข้ามาจำนวนมากขึ้น อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการเริ่ม มีความกังวลเรื่องปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ซึ่งขณะนี้ได้มีการประกาศรับแรงงานเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะพนักงานฝ่ายผลิตเพื่อให้สามารถผลิต สินค้าและส่งมอบสินค้าได้ทันตามคำสั่งซื้อ
ขณะที่อัตราการขยายตัว 7 เดือนแรกของปี 2552 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนการผลิตและการจำหน่ายยังคงติดลบ -6.3% และ -6.5% ตามลำดับ เนื่องจากฐานการผลิตและการส่งออกเมื่อปีที่ผ่านมาอยู่ในระดับสูง คาดว่าในไตรมาสที่ 3 อัตราการผลิตและจำหน่ายจะติดลบ น้อยลง และจะฟื้นกลับมาเป็นบวกได้ในต้นไตรมาสที่ 4 เนื่องจากประเทศไทยมีความแข็งแกร่งจากการเป็นฐานการผลิตเพื่อการส่งออกที่สำคัญแห่งโลก ซึ่งจะช่วยให้ภาวะการจ้างงานในอุตสาหกรรมนี้กลับฟื้นคืนมาอีกครั้งด้วย
นายอาทิตย์ กล่าวว่า อาหารทะเลแปรรูป เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตและจำหน่ายมีทิศทางการขยายตัวที่ดีขึ้น 5.4% และ 12.7% ตามลำดับ เนื่องจากเป็นสินค้าที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิต โดยเฉพาะปลาซาร์ดีนกระป๋องซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์หลักในกลุ่มนี้ การผลิตและ จำหน่าย เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้น 18.8% และ 6.0% ตามลำดับ แม้จะได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกทำให้มีการชะลอตัว เล็กน้อยสำหรับช่วงที่ผ่านมา แต่สินค้าในกลุ่มนี้ยังคงได้รับความนิยมจากประเทศคู่ค้าหลัก
การผลิตผลิตภัณฑ์ยา เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตและจำหน่ายปรับตัวเพิ่มขึ้น 6.6% และ 13.8% ตามลำดับ เนื่องจากมี ความต้องการใช้สูงขึ้นเป็นอย่างมากจากผลพวงการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ทำให้มีการเร่งผลิตสินค้าออกมาให้สอดคล้องกับความ ต้องการ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์เพื่อการป้องกันไข้หวัด เช่น ฟ้าทะลายโจร ยาแก้ไข้ ยาแก้หวัด เป็นต้น
ขณะที่ การผลิตปูนซีเมนต์ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตและจำหน่ายปรับตัวเพิ่มขึ้น 5.8% และ 1.0% ตามลำดับ เนื่อง จากโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของรัฐบาลหลายโครงการที่มีความล้าช้าได้มีการเร่งงานมากขึ้น เพื่อให้สามารถส่งมอบงานได้ตามระยะเวลาที่กำหนด อีก ทั้งการก่อสร้างของภาคเอกชนเริ่มมีทิศทางกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง หลังจากมีมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ โดยภาครัฐออกมาช่วยกระตุ้นตลาด และ สร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภค
สำหรับภาพรวมดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนกรกฎาคม 2552 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนพบว่า ดัชนีผลผลิต (มูลค่าเพิ่ม) อยู่ที่ ระดับ 167.78 ลดลง -9.02% จากระดับ 184.42 ดัชนีผลผลิต (มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ระดับ 165.59 ลดลง -13.44% จากระดับ 191.30 ดัชนีการ ส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 165.90 ลดลง -9.65% จากระดับ 183.62 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 173.43 ลดลง -7.01% จากระดับ 186.50 ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 201.43 ลดลง -81.36% จากระดับ 1080.86 ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ ระดับ 110.28 ลดลง -5.58% จากระดับ 116.80 ดัชนีผลิตภาพแรงงานในภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 143.21 ลดลง 0.96% จากระดับ 141.58 ขณะที่อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ 56.97%
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมและอัตราการใช้กำลังการผลิต
Index --------------2551---------------- --------------------- 2552 ---------------------- ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม 185.36 184.79 181.1 167.73 148.97 139.13 139.79 159.71 146.7 159.2 170.1 167.8 อัตราการเปลี่ยนแปลง(MOM)% 0.5 -0.3 -2 -7.4 -11.2 -6.6 0.5 14.2 -8.7 9.2 6.6 -1.3 อัตราการเปลี่ยนแปลง(YOY)% 5.4 2.2 -0.4 -8.7 -19.7 -25.6 -23.1 -17.7 -12.8 -12.4 -6.8 -9 อัตราการใช้กำลังการผลิต% 61.8 61.1 60.8 55.8 53 51.7 50 54.4 51.4 55 55.7 57
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--