สศอ. แนะรัฐใช้นโยบายให้ตรงจุด หลังผู้ประกอบการหวั่นเกิดวิกฤติซ้ำ

ข่าวเศรษฐกิจ Friday September 11, 2009 14:36 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม(สศอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม จัดประชุมวิชาการ สศอ. (OIE Forum 2009) ในหัวข้อ “เหลียวหลังแลหน้า...เชื่อมั่นอนาคตอุตสาหกรรมไทย” โดยมี ดร.โอฬาร ไชยประวัติ ที่ปรึกษากิติมศักดิ์ สถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง และดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ ผู้อำนวยการสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรมหาวิทยาลัย มาร่วมบรรยายพิเศษเพื่อชี้ทางรอดของภาคอุตสาหกรรมไทยภายใต้ภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ มีหลายประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้

ดร.โอฬาร ไชยประวัติ กล่าวว่า “จากปัญหาวิกฤติการเงินในสหรัฐอเมริกาในปี 2551 ทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย การส่งออกของไทยลดลง ดังนั้น การปรับตัวของภาคอุตสาหกรรมจึงเป็นสิ่งสำคัญ ในที่นี้ขอกล่าวว่า “เงินทองเป็นของมายา ข้าวปลา เสื้อผ้า เป็นของจริง” ที่เติมเสื้อผ้าเข้าไป เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรม เงินทองเป็นของมายา ยามปกติ ในยามผิดปกติ เช่น วิกฤติเศรษฐกิจเงินทองและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับเงินทองเป็นเรื่องสำคัญที่จะทำให้เราผ่านพ้นวิกฤติ หรือจมปลัก เช่นนโยบายที่ IMF เสนอนโยบาย ในช่วงวิกฤติต้มยำกุ้ง รายจ่ายรัฐบาลมากขึ้น เก็บภาษีน้อยลง ดอกเบี้ยต่ำ ปล่อยสินเชื่อให้น้อยลง ซึ่งสามารถทำให้ประเทศไทยผ่านพ้นวิกฤตินั้นมาได้

อย่างไรก็ตามในขณะนี้ประเทศไทยได้เข้าใกล้จุดที่ต่ำสุด มาแล้ว และคิดว่าเศรษฐกิจน่าจะฟื้นตัวในรูปตัว U ซึ่งต้องประกอบกับนโยบายทางการเงินที่ถูกต้องด้วยจึงจะพาเศรษฐกิจฟื้นตัวในรูปตัว U อย่างเร็วที่สุด แต่ต้องร่วมไม้ร่วมมืออย่างแข็งขันแก้ปัญหาให้ตรงจุด”

“วิกฤติเศรษฐกิจไทยปี 2552 และแนวทางแก้ไข”

“ผลกระทบของ Lehman Brothers Crisis (15 ก.ย. 2551) ต่อการตกต่ำของเศรษฐกิจไทยปี 2552 Lehman Brothers มีความสัมพันธ์กับประเทศไทย คือเป็นที่ปรึกษาในเรื่อง NPL เมื่อ 11 ปีก่อน แนะนำให้

จัดพอร์ตการซื้อขาย NPL ใหญ่ๆ เพื่อไม่ให้ผู้อื่นสามารถซื้อได้ โดยส่วนใหญ่ Lehman Brothers ได้ถือครองหุ้นนั้น และเก็บเอากำไรเป็นจำนวนมากพอสมควรรัฐบาลและนักเศรษฐศาสตร์ของไทยหาแนวทางแก้ไข คือ นโยบายการคลังด้วยการลดภาษี เพิ่มการใช้จ่ายของรัฐบาล ซึ่งเป็นนโยบายเร่งด่วน ขอเรียกว่า “ยาแก้ปวดหัว พาราเซตามอล” เพราะเมื่อเกิดปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำจะต้องเอานโยบายนี้มาใช้เป็นอันดับแรก นักเศรษฐศาสตร์หลายคนพยายามที่จะเข้าใจกลไกของการทำงานนโยบายนี้ หรือ ยาพาราเซตามอลทำงานอย่างไร การจ้างคนงานหนึ่งคนมาขุดดิน และจ่ายค่าจ้างให้ไป อีกวันก็ให้มาขุดแล้วกลบ จ่ายค่าจ้างไป ถ้ามองในแง่ของผลงานก็จะไม่ได้อะไรเพิ่มขึ้น แต่สิ่งที่เกิดขึ้นตือการหมุนเวียนของเงินที่เกิดจากการใช้จ่ายค่าจ้างของคนงานนั้น จะเป็นแบบทวีคูณ

นโยบายทางการเงิน การคลังที่ใช้ในปัจจุบัน คือ การเพิ่มค่าใช้จ่ายของภาครับบาล และเก็บภาษีลดลง ซึ่งจะเห็นได้ว่านนโยบายที่เกิดจากกระทรวงการคลังที่ออกมานั้นจะมีแต่การลดภาษี ประเทศอเมริกา ใช้นโยบาย cash for tanker นี้เพิ่มรายจ่ายรัฐบาล ด้วยการให้ประชาชนรับเช็คหากต้องการเปลี่ยนรถเป็นรถเล็กที่ไม่กินน้ำมัน ซึ่งถือว่า Win Win ทั้งผู้ชื้อ และผู้ผลิต ได้ประโยชน์กันถ้วนหน้า แต่เป็นการเพิ่มรายจ่ายให้แก่รัฐบาล ประกอบกับนโยบายสินเชื่อ ขณะที่ประเทศเวียดนามก็มีนโยบายที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งเป็นสินค้าตู้เย็น ส่วนประเทศไทยกำลังจะทำสินค้าแอร์ แต่ยังไม่ทำเป็นระบบจึงยังคงไม่เห็นผล”

“เงินตราต่างประเทศและทุนสำรองระหว่างประเทศมาจากไหน”

“กฎหมายที่ออกมาหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ว่าคนใดก็ตามที่อยู่ในประเทศไทย เมื่อมีการรับเงินตราต่างประเทศ จะไม่สามารถนำเงินตราต่างประเทศนั้นมาใช้จ่ายในประเทศได้ ต้องแลกเปลี่ยนเป็นเงินไทยก่อน ในเวลา 7 หรือ 14 วัน โดยแลกเปลี่ยนกับธนาคาร ซึ่งทุกประเทศในโลกไม่ได้ใช้กฎนี้ เช่น กัมพูชา เวียดนาม สามารถใช้เงินดอลลาร์สหรัฐได้ ประเทศไทยได้ดำเนินมาตรการบางส่วนที่ทำให้คนไทยสามารถถือเงินตราต่างประเทศได้ แต่ก็มีข้อกำหนดอยู่ ดังนั้น เงินตราต่างประเทศที่ได้จากการส่งออก ต้องไปแลกเปลี่ยนเป็นเงินไทย เงินตราต่างประเทศนั้นจะถูกเก็บไว้ใน ธปท.

“อัตราแลกเปลี่ยน และการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยน”

“อัตราแลกเปลี่ยน คือ ราคาของเงินบาท กำหนดด้วยอุปสงค์ และอุปทานในตลาด ถ้ามี supply มากกว่า demand เงินบาทจะแข็งค่า ส่วน การกำหนดอัตราแลกเปลี่ยน กำหนดค่าเงินบาทให้เหมาะสมเป็นระยะ โดยมีการแทรกแซงอยู่เป็นระยะ และเป็นหน้าที่ของ รมต.คลัง องค์กรที่จะแทรกแซงคือ ธปท. องค์กรของรัฐบาล หน่วยงานอื่นที่รัฐบาลให้ดำเนินการ เพื่อไม่ให้ค่าเงินบาทแข็งเกินไป”

“ค่าเงินบาทมีผลต่อรายได้และอำนาจซื้อของประชาชน”

“ลองตั้งสมมุติฐานถ้าค่าเงินบาทอ่อน 37 บาท ทำให้ผู้ส่งออกได้เงินบาทมากขึ้น จ่ายค่าจ้างคนงานได้มากขึ้น การใช้จ่ายของแรงงานมากขึ้น การจับจ่ายจะถูกหมุนเวียนไปให้เกษตรกรต่อไป รายได้ของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกและบริการนั้นแตกต่างกับเงินที่ได้จากเช็ค 2000 เพราะรายได้ที่ได้รับเพิ่มจากค่าเงินบาทนั้น ต้องทำงาน และได้ผลผลิตมา แต่อำนาจซื้อของคนได้รับเช็ค 2000 นั้นจะไปชดเชยกับการส่งออกที่ลดลง

“นโยบายการคลังของ Kane คือรัฐบาลขาดดุลการคลัง”

นโยบายค่าเงินบาท ให้ค่าเงินบาทอ่อน เพื่อเพิ่มรายได้ของประชาชน และผู้ประกอบการ ไปใช้จ่าย โดยเฉพาะสินค้าที่ยอดส่งออกลดลง

1. นโยบายต่อต้านเศรษฐกิจตกต่ำของไทย

  • นโยบายการคลังขยายตัว

ลงทุนอย่างทั่วถึง และกระจายไปยังส่วนต่างๆ ของประเทศ ซึ่งมีข้อจำกัดอยู่หลายเรื่องการระดมเงินเพื่อแก้ไขการขาดดุลการคลัง ด้วยการออกพันธบัตรรัฐบาล ถ้าธนาคารชาติช่วยการขาดดุลการคลัง เช่นในสหรัฐธนาคารชาติช่วยซื้อพันธบัตรรัฐบาล ด้วยการพิมพ์เงินขึ้นไปซื้อพันธบัตรรัฐบาล เนื่องจากเกิดวิกฤติตกต่ำอย่างรุนแรง

  • นโยบายสินเชื่อขยายตัว

ธปท. ให้เงินกู้แก่ธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้น ตัวอย่างของประเทศญี่ปุ่นเอาเงินของธนาคารชาติให้แก่ธนาคารพาณิชย์ด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ถูกมาก

ประเทศจีน ให้ธนาคารของรัฐบาลปล่อยสินเชื่อ การเพิ่มรายจ่ายของรัฐบาลด้วยการก่อสร้างต่างๆ นั้นค่อนข้างจะเห็นผลในระยะยาว จึงได้มีนโยบายสินเชื่อ ด้วยการปล่อยสินเชื่อให้กับประชาชนในการใช้จ่าย ซื้อรถ ซื้อเครื่องซักผ้า ก่อนการลงทุนในการสร้าง infra structure

  • นโยบายค่าเงินบาทอ่อน

1. เพิ่มเงินและอำนาจซื้อแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก กระตุ้นให้เกิดการใช้จ่าย เสริมจากการใช้จ่ายของรัฐบาล และการปล่อยสินเชื่อ ซึ่ง future income มาใช้ในการลงทุน ให้เกิดผลผลิตเพิ่มขึ้นเกิดเป็นรายได้ และมาจ่ายเป็นดอกเบี้ย เงินต้นที่กู้ยืมมาได้ ลดภาระของรัฐบาลลง

2. เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในอนาคต

3. การแทรกแซงเพื่อไม่ให้ค่าเงินบาทอ่อน ด้วยการซื้อเงินตราต่างประเทศนั้นไม่ได้ทำให้เกิดภาระของประเทศ เพราะสามารถนำเงินตราต่างประเทศที่ได้แทรกแซงค่าเงินบาทไปลงทุนในต่างประเทศ ไม่ทำให้เกิดการเสียเงินสำรองของประเทศ แต่กลับทำให้เงินสำรองในประเทศเพิ่ม

“กลยุทธ์แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำและคนว่างงานของไทยปี 2552”

ยอดส่งออกเป็นดอลลาร์สหรัฐลดลง คิดเป็นเงินไทย 1.2 ล้านล้านบาท พยายามหายามาชดเชยอย่างน้อย 3 ขนาน ด้วยการใช้นโยบายการคลัง การเพิ่มรายจ่ายรัฐบาล ซึ่งคาดว่าจะได้ประมาณ 400,000 ล้านบาท นโยบายสินเชื่อสำหรับผู้ส่งออก ซึ่งคาดว่าจะได้ประมาณ 400,000 ล้านบาท และสุดท้ายคือ นโยบายค่าเงินบาทอ่อน ซึ่งจะชดเชยได้ 400,000 ล้านบาท เมื่อทำได้ครบทั้ง 3 นโยบายจะทำให้เศรษฐกิจไทยฟื้นกลับมาได้” อย่างไรก็ตาม ถือว่าไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ยากนักที่ตั้งใจทำ

ขณะที่ ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ ผู้อำนวยการสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรมหาวิทยาลัย กล่าวภายในงานเดียวกัน ว่า “Moving Toward Liquid Phase Industry”การเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรม ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลง environment เดิมนั้นเป็นแบบ solid เปลี่ยนเป็น liquid จากการที่โลกเป็น globalization (Connectivity Interactivity) การเปลี่ยนเป็น liquid ทำให้เกิดการไหลไปมา เกิดปฏิกิริยาย้อนกลับได้ การปฏิสัมพันธ์ใกล้ชิดกันมากขึ้น เกิดการแตกตัว การรวมตัว การระเบิดตัวรวมกัน ทำให้ทุกอย่างเป็นของไม่ยั่งยืน ทำให้ทุกคนรอไม่ได้ เกิดพฤติกรรมชิงสุกก่อนห่าม คือพฤติกรรมที่เกิดจากโลกเปลี่ยนโครงสร้างจาก solid เป็น liquid ในปัจจุบันเราสามารถเชื่อมโยง space หลาย space ได้ Culture เปลี่ยนแปลงไป การบริโภคที่มากจนเกินไป เนื่องจากการเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเฉียบพลัน การแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยน solid เป็น liquid กลายเป็นทุนนิยมยุคใหม่ สามารถประมวลได้ดังนี้

1. เกิดการกระจายตัวของอำนาจมากขึ้น เอเชียมีบทบาทมากขึ้น จีนจะมีความเป็นมหาอำนาจมากขึ้น ผ่านอาเซียน ลาตินอเมริกา แอฟริกา โลกจะมีหลายขั้วมากขึ้น ประเทศไทยที่เป็นประเทศเล็กก็ต้องคิดว่าจะไปรวมกับขั้วอำนาจใด

2. เกิดความเสี่ยง โลกาภิวัตน์ความเสี่ยง เมื่อมี growth ย่อมมีความเสี่ยงเกิดขึ้นเสมอ เช่น climate change จะทำให้เกิดคนยากจนเพิ่มขึ้น ในปัจจุบันเราได้อยู่ในชุมชนของความเสี่ยงอย่างสมบูรณ์แล้ว ความเสี่ยงมีหลายมิติ มิติของพื้นที่ มิติของเวลา มิติทางสังคม โอกาสจะเกิดมิติมีได้ตลอด เช่นอีก 2-3 ปี ความเสี่ยงเรื่องพลังงาน น้ำ อาหาร

“ประเทศไทยจะเตรียมพร้อมอย่างไร”

ความเสี่ยง บางเรื่องเป็นความเสี่ยงของโลก แต่อาจเป็นโอกาสของไทย เช่น climate change สิ่งที่สำคัญต้องดูว่าความเสี่ยงของไทย เป็นโอกาสของคนอื่น กรอบของอุตสาหกรรมจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง รูปแบบการประเมินความเสี่ยงจึงเป็นสิ่งสำคัญ ความเป็นชาติรัฐปรับบทบาทลดลง ทำให้เกิดการทับซ้อนกัน ได้ด้วยกัน เสียด้วยกัน มีความเป็นส่วนกลางในบริบทของโลกด้วย ต้องทำเพื่อชุมชน สังคม และสุดท้ายของโลก เกิดกติกาที่เป็นของโลก เช่นมาตรฐานโลก ทำให้เกิดความเป็นส่วนตัวมากขึ้นการพึ่งพารัฐบาลน้อยลง เมื่อมีคนกำหนดกฎ กติกาจากผู้มีอำนาจแทนเรา ดังนั้น จึงต้องพึงระวัง และรู้เท่าทัน ให้มากจึงจะสามารถอยู่รอดปลอดภัย

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร-- -พห-


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ