เผยดัชนีอุตฯ ส.ค. -8.6% อัตราติดลบน้อยลง ลุ้นเป็นบวกในสิ้นปี Hard disk drive กลุ่มอาหารออร์เดอร์เข้ามาต่อเนื่อง ขณะที่รถ ยนต์ ผลิตและส่งออกมากขึ้น ชี้เป็นสัญญาณที่ดี
นายอาทิตย์ วุฒิคะโร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) และรองโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ขณะนี้ ภาพรวมของอุตสาหกรรมไทยถือว่ามีสัญญาณปรับตัวที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะยังคงติดลบ แต่ก็มีแนวโน้มอัตราติดลบที่ค่อยๆน้อยลง โดยดัชนีผลผลิต อุตสาหกรรม เดือนสิงหาคม ยังคงติดลบ 8.6% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ขณะที่สถิติดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบันติดลบน้อยลง เรื่อยๆ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน คือ เดือน ม.ค.-25.6% เดือน ก.พ.-23.1% เดือน มี.ค.-17.7% เดือนเม.ย.-12.8% เดือน พ. ค.-12.4% เดือนมิ.ย.-6.8% และ เดือน ก.ค.-9.0%
“หากพิจารณาดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเมื่อเทียบกับเดือนก่อนของปีเดียวกัน (2552) ตัวเลขชี้ให้เห็นแนวโน้มที่เป็นบวก ตั้งแต่เดือน ก. พ. คือบวก 0.5% เดือน มี.ค.14.2% เดือนเม.ย.เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบทำให้ติดลบ 8.7% แล้วจึงกลับมาเป็นบวก 9.2% และ 6.6% ในเดือน พ.ค. และมิ.ย.ตามลำดับ แม้เดือนก.ค.แกว่งตัวติดลบเล็กน้อย -1.3% แต่กลับมาเป็นบวกเล็กน้อย 0.8% ในเดือนส.ค.โดยคาดว่าภายในสิ้นปีดัชนีผล ผลิตอุตสาหกรรมเมื่อเทียบกับปีก่อนจะสามารถกลับมาเป็นบวกได้ เนื่องจากหลายสาขาอุตสาหกรรมมีคำสั่งซื้อเข้ามาอย่างต่อเนื่อง หลังจากอั้นมานาน ด้วยผลพวงของวิกฤตเศรษฐกิจโลก คำสั่งซื้อที่มีเข้ามาทำให้โรงงานเพิ่มกาผลิต อัตราการใช้กำลังการผลิตภาคอุตสาหกรรมจึงเพิ่มขึ้นเป็น 57.2% ใน เดือนส.ค. เทียบกับที่เคยต่ำสุด 50.0% เมื่อเดือน ก.พ.”
นายอาทิตย์ กล่าวว่า กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะ Hard disk drive เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้น 2.2% แต่หากเทียบกับเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาการผลิตเพิ่มขึ้น 7.3% เนื่องจากผู้ผลิตสินค้ากลุ่มนี้มีการปรับเปลี่ยนด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย และมีผลิตภัณฑ์ ใหม่ๆสอดคล้องกับการใช้งานนำเสนอให้ผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง และผลจากวิกฤติเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมาทำให้ยอดการผลิตลดลงมาก ผู้นำเข้าที่มีสต๊อก สินค้าอยู่เยอะ และค่อยทะยอยสินค้าในสต๊อกออกไป เมื่อภาวะเศรษฐกิจเริ่มมีสัญญาณดีขึ้น จึงมีการส่งคำส่งซื้อกลับมา
ค่อนข้างเร็วกว่าอุตสาหกรรมอื่นๆ และคาดว่าจะฟื้นกลับมาเป็นบวกได้ในต้นไตรมาสที่ 4 เนื่องจากประเทศไทยมีความแข็งแกร่งจากการ เป็นฐานการผลิตเพื่อการส่งออกที่สำคัญแห่งโลก ซึ่งจะทำให้ความต้องการจ้างงานในอุตสาหกรรมนี้เพิ่มมากขึ้น
กลุ่มก่อสร้าง โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์จากคอนกรีต เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้น 13.2% แต่หากเทียบกับเดือน กรกฎาคมที่ผ่านมาการผลิตเพิ่มขึ้น 7.8% เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว ผู้ประกอบการภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มีความมั่นใจมากขึ้น โดยเฉพาะ โครงการก่อสร้างต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชนเริ่มกระเตื่องขึ้นจากช่วงที่ผ่านมา
ขณะที่ กลุ่มอาหารแปรรูปจากเนื้อสัตว์ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตและการจำหน่ายเพิ่มขึ้น 3.1% และ 8.0% ตาม ลำดับ เนื่องจากเริ่มมีคำสั่งซื้อกลับเข้ามาอย่างมาก อีกทั้งผู้ประกอบการได้เร่งทำโปรโมชั่นต่างๆ เพื่อเรียกลูกค้าและเป็นการกระตุ้นการบริโภคไปใน ตัว ขณะที่การส่งออกมีทิศทางเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์เนื้อไก่ปรุงสุกที่ผู้บิโภคให้ความนิยมเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งราคายังถูกกว่าอาหารประเภทอื่นๆในกลุ่ม นี้ นอกจากนี้ประเด็นเรื่องค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ทำให้ผู้ส่งออกต้องเร่งส่งออกให้มากเพื่อชดเชยราคาส่งออกที่หดตัวลง
ส่วน กลุ่มอาหารประป๋อง เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้น 3.4% และ 4.3% ตามลำดับ ซึ่งผลิตภัณฑ์ ปลาซาร์ดีนกระป๋องเป็นตัวหลักในการทำให้มีอัตราการขยายตัว เนื่องจากปีนี้มีวัตถุดิบที่มากกว่าปีก่อนๆ ผู้ประกอบการจึงเร่งผลิตและกระจายสินค้าตาม ออร์เดอร์ที่รับเข้ามาอย่างต่อเนื้อง แม้ภาวะเศรษฐกิจโลกจะชะลอตัว แต่สำหรับผลิตภัณฑ์ปลาซาดีนกระป๋องถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่จำเป็น ผู้บริโภคส่วนใหญ่ เห็นว่าต้องมีไว้ติดบ้าน จึงทำให้มีการฟื้นตัวที่ดี
และ อุตสาหกรรมรถยนต์ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตได้ติดน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด กล่าวคือ -20.2% เทียบกับที่เคยติด ลบไม่ต่ำกว่า -40% ในช่วงที่ผ่านมา ทั้งนี้เนื่องจากมีการปรับปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นเพื่อรับกับการส่งออกที่มียอดคำสั่งซื้อกลับเข้ามามากขึ้น
สำหรับภาพรวมดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนสิงหาคมคม 2552 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนพบว่า ดัชนีผลผลิต (มูลค่าเพิ่ม) อยู่ที่ ระดับ 169.36 ลดลง -8.6% จากระดับ 185.36 ดัชนีผลผลิต (มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ระดับ 169.49 ลดลง -7.8% จากระดับ 183.78 ดัชนีการส่ง สินค้า อยู่ที่ระดับ 171.00 ลดลง -3.8% จากระดับ 177.76 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 166.50 ลดลง -21.8% จากระดับ 212.79 ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 185.00 ลดลง -55.9% จากระดับ 419.67 ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 108.90 ลดลง -4.7% จากระดับ 114.25 ดัชนีผลิตภาพแรงงานในภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 148.56 เพิ่มขึ้น6.9% จากระดับ 138.96 ขณะที่อัตราการใช้ กำลังการผลิตอยู่ที่ 57.2%
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมและอัตราการใช้กำลังการผลิต
Index ---------------- 2551 ----------------- ----------------------------2552 ---------------------------- ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม 185.36 184.79 181.1 167.73 148.97 139.13 139.79 159.71 146.7 159.2 170.1 167.8 169.4 อัตราการเปลี่ยนแปลง (MOM) % 0.5 -0.3 -2 -7.4 -11.2 -6.6 0.5 14.2 -8.7 9.2 6.6 -1.3 0.8 อัตราการเปลี่ยนแปลง (YOY) % 5.4 2.2 -0.4 -8.7 -19.7 -25.6 -23.1 -17.7 -12.8 -12.4 -6.8 -9 -8.6 อัตราการใช้กำลังการผลิต % 61.8 61.1 60.8 55.8 53 51.7 50 54.4 51.4 55 55.7 57 57.2 --สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร-- -พห-