รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรม ประจำเดือนกันยายน 2552

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday October 20, 2009 14:26 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

สรุปประเด็นสำคัญ ดัชนีอุตสาหกรรมของเดือนสิงหาคม 2552

  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนสิงหาคม 2552 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 เมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคม 2552 แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนยังคงลดลงร้อยละ 8.6 ซึ่งหดตัวน้อยลงจากเดือนกรกฎาคมที่ลดลงร้อยละ 8.9 โดยอุตสาหกรรมส่วนใหญ่มีการปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น บางอุตสาหกรรมมีอัตราการขยายตัวของการผลิตเป็นบวก โดยเฉพาะการผลิตคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกันและอุตสาหกรรมสำคัญ คือ อุตสาหกรรมรถยนต์ มีดัชนีผลผลิตลดลงร้อยละ 20.2 ซึ่งติดลบน้อยลงกว่าในเดือนกรกฎาคม 2552 ที่การผลิตติดลบถึงร้อยละ 40.1 และการผลิตรถจักรยานยนต์มีดัชนีผลผลิตลดลงร้อยละ 15.6 ติดลบน้อยลงกว่าเดือนกรกฎาคม 2552 ที่การผลิตติดลบถึงร้อยละ 43.6
  • อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยในเดือนสิงหาคม 2552 อยู่ที่ระดับร้อยละ 57.3 หากพิจารณาเป็นรายสาขาอุตสาหกรรมจะพบว่า อัตราการใช้กำลังการผลิตในอุตสาหกรรมส่วนใหญ่เริ่มปรับตัวสูงขึ้นบ้าง

ประเด็นเศรษฐกิจอุตสาหกรรมสำคัญในเดือนกันยายน 2552

อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

  • การผลิตและการจำหน่าย คาดว่าจะยังทรงตัวหรือขยายตัวเพียงเล็กน้อย เนื่องจากเศรษฐกิจยังชะลอตัวในตลาดส่งออกหลักตามภาวะเศรษฐกิจโลก ยกเว้นตลาดญี่ปุ่นที่มีการปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น ซึ่งจะเห็นได้จากการส่งออกเครื่องนุ่งห่มไปตลาดญี่ปุ่นในรูปเงินบาทในช่วง 8 เดือนที่ผ่านมาขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.5
  • ทั้งนี้คาดว่าเครื่องนุ่งห่มสามารถขยายตัวได้อีกในตลาดญี่ปุ่น ปัจจัยสำคัญเนื่องจากภาษีที่ลดลงเป็นร้อยละ 0 ตามข้อตกลง JTEPA และ AJCEP ซึ่งญี่ปุ่นเองต้องการที่จะลดการนำเข้าจากประเทศจีนเพื่อลดความเสี่ยงเรื่องคุณภาพและการส่งมอบ ซึ่งจะเป็นโอกาสของผู้ประกอบการไทย และคาดว่าในไตรมาสที่ 4 การส่งออกจะขยายตัวในทิศทางที่เป็นบวกมากขึ้น

อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

  • เดือนกันยายน แนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ประมาณการว่าจะปรับตัวลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 7.62 เนื่องจากการปรับลดลงของเครื่องปรับอากาศ และตู้เย็นเป็นหลัก โดยคาดว่าจะปรับตัวลดลงร้อยละ 5.65 และ 11.88 ตามลำดับ แต่ปรับลดลงในอัตราที่น้อยลง ซึ่งเกิดจากตลาดส่งออกหลักมีกำลังซื้อกระเตื้องขึ้นเล็กน้อย ตลาดดังกล่าว เช่น ตลาดอียูและอาเซียน เป็นต้น
  • ขณะที่ แนวโน้มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ประมาณการว่าจะปรับตัวลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนเช่นกันโดยปรับตัวลดลงร้อยละ 5.16 โดยที่มีผลิตภัณฑ์บางตัวปรับตัวดีขึ้น เช่น HDD ปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่ชิ้นส่วน IC ยังคงปรับตัวลดลงค่อนข้างสูง จากการปรับตัวลดลงของ Other IC ที่ยังคงใช้สินค้าคงคลังขายออกสู่ตลาด

สถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรม

  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม

ก.ค. 52 = 168.1

ส.ค. 52 = 169.4

โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้น ได้แก่

  • Hard Disk Drive
  • ยานยนต์
  • อิเล็กทรอนิกส์
  • อัตราการใช้กำลังการผลิต

ก.ค. 52 = 56.8

ส.ค. 52 = 57.3

โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่

  • ยานยนต์
  • อิเล็กทรอนิกส์
  • Hard Disk Drive
1.อุตสาหกรรมอาหาร

ภาวะการผลิตและมูลค่าการส่งออกอุตสาหกรรมอาหาร คาดว่า จะลดลงจากเดือนก่อนตามคำ สั่งซื้อที่ชะลอตัวตามฤดูกาล สำ หรับการจำ หน่ายในประเทศมีแนวโน้มชะลอตัวจากการจับจ่ายใช้สอยของประชาชนที่ลดลง จากราคาน้ำมันที่มีความผันผวน

1. การผลิต

ภาวะการผลิตโดยรวม (ไม่รวมน้ำตาล) เดือนสิงหาคม ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนและเดือนก่อนร้อยละ 6.5 และ 5.5 แบ่งเป็น

กลุ่มสินค้าสำคัญที่อิงตลาดส่งออกเป็นหลัก เช่น สับปะรดกระป๋อง มีปริมาณการผลิตลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 47.0 ในส่วนสินค้าปลาทูน่ากระป๋อง มีปริมาณการผลิตลดลงร้อยละ 1.7 เช่นกัน เป็นผลจากคำสั่งซื้อของต่างประเทศที่ชะลอตัวลงตามฤดูกาล

กลุ่มสินค้าสำคัญที่อิงตลาดภายในประเทศ เช่น น้ำมันปาล์มและถั่วเหลือง มีปริมาณการกลั่นลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 24 และ 0.7 เนื่องจากความต้องการบริโภคลดลง

2. การตลาด

1) ตลาดในประเทศ เดือนสิงหาคม สินค้าอาหารและเกษตร มีปริมาณจำหน่ายเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 4.2 เนื่องจากราคาน้ำมันมีความผันผวนทำให้ผู้บริโภคเพิ่มการจับจ่ายใช้สอยด้านอื่นๆ

2) ตลาดต่างประเทศ เดือนสิงหาคม มูลค่าการส่งออกโดยรวมของอุตสาหกรรมอาหารในรูปเงินบาท (ไม่รวมน้ำตาล) ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อนร้อยละ 9.6 เนื่องจากสินค้าที่มีสหรัฐอเมริกาเป็นตลาดหลัก ยังคงได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ เช่น ปลาทูน่ากระป๋อง กุ้ง สดแช่เย็นแช่แข็ง และสับปะรดกระป๋อง ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 26.7 5.6 และ 0.8 และหากเปรียบเทียบกับเดือนก่อนลดลงในทิศทางเดียวกัน จากสาเหตุความต้องการที่ชะลอตัวตามฤดูกาล ในขณะที่ระดับราคายังทรงตัวหรือปรับลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน

3. แนวโน้ม

การผลิตและการส่งออกอุตสาหกรรมอาหาร คาดว่า จะปรับลดลงจากเดือนก่อน ตามคำสั่งซื้อที่ปรับลดลงตามฤดูกาล โดยยังมีปัจจัยลบจากสถานการณ์การส่งออกในผลิตภัณฑ์หลักๆ ที่อิงตลาดสหรัฐอเมริกา ซึ่งยังมีสัญญาณการฟื้นตัวจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยไม่ชัดเจน สำหรับการจำหน่ายสินค้าในประเทศจะมีแนวโน้มชะลอตัว เนื่องจากการจับจ่ายใช้สอยที่อาจชะลอตัวจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น

2. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

ภาวะการผลิตผลิตภัณฑ์สิ่งทอเดือนสิงหาคม 2552 การผลิตที่ลดลงจะเป็นสินค้าสำเร็จรูปทั้งเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าถัก และผ้าทอ ในขณะที่เส้นใยสิ่งทอฯ มีการผลิตที่เพิ่มขึ้น...

1. การผลิต

ภาวะการผลิตผลิตภัณฑ์สิ่งทอในเดือนสิงหาคม 2552 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนและเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตที่ลดลงจะเป็นสินค้าสำเร็จรูปทั้งเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าถัก (-7.7,-38.9%) และผ้าทอ (-11.8, -17.7%)ส่วนการผลิตที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ เส้นใยสิ่งทอฯ (+2.4, +3.1%) ยางยืด(+7.0,+14.2%) สำหรับผ้าผืนมีการผลิตทรงตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อน แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.2 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จะสังเกตได้ว่าการผลิตที่เพิ่มขึ้นนั้นส่วนใหญ่เป็นวัตถุดิบหลักที่ใช้ในการผลิตสินค้าสำเร็จรูป ซึ่งเป็น คำสั่งซื้อทั้งจากสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป

2. การจำหน่าย

การจำหน่ายในประเทศ เดือนสิงหาคม 2552 ยังมีทิศทางการขยายตัวที่ดีเมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยเฉพาะเสื้อเชิ้ต/เบลาส์สตรีและเด็กหญิงขยายตัวร้อยละ 8.2 ซึ่งยังมีความต้องการบริโภคค่อนข้างสูง อีกทั้งมีการนำเข้าค่อนข้างมากจากประเทศจีน แต่การจำหน่ายโดยรวมยังติดลบเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน

การส่งออก เดือนสิงหาคม 2552 ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 12.4 ผลิตภัณฑ์สิ่งทอที่ลดลง ได้แก่ เครื่องนุ่งห่ม (-19.7%) เสื้อผ้าสำเร็จรูป (-20.5%) ผ้าผืน (-8.8%) ด้ายเส้นใยประดิษฐ์ (-11. 8%) แต่ในขณะเดียวกันผลิตภัณฑ์สิ่งทอที่ส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ เส้นใยประดิษฐ์ (+4.4%)และผ้าปักและผ้าลูกไม้ (+22.8%) เป็นต้น ซึ่งการส่งออกปรับตัวลดลงในตลาดหลัก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา (-15.1%) สหภาพยุโรป (-22.2%) ญี่ปุ่น (-5.6%)และอาเซียน (-5.3%) และยังคงปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนที่ร้อยละ 18.5

3. แนวโน้ม

การผลิตและการจำหน่าย คาดว่าจะยังทรงตัวหรือขยายตัวเพียงเล็กน้อย เนื่องจากเศรษฐกิจยังชะลอตัวในตลาดส่งออกหลักตามภาวะเศรษฐกิจโลก ยกเว้นตลาดญี่ปุ่นที่มีการปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น ซึ่งจะเห็นได้จากการส่งออกเครื่องนุ่งห่มในช่วง 8 เดือนที่ผ่านมาขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.5 ทั้งนี้คาดว่าเครื่องนุ่งห่มสามารถขยายตัวได้อีกในตลาดญี่ปุ่น ปัจจัยสำคัญเนื่องจากภาษีที่ลดลงเป็นร้อยละ 0 ตามข้อตกลง JTEPA และ AJCEP ซึ่งญี่ปุ่นเองต้องการที่จะลดการนำเข้าจากประเทศจีนเพื่อลดความเสี่ยงเรื่องคุณภาพและการส่งมอบ ซึ่งจะเป็นโอกาสของผู้ประกอบการไทย และคาดว่าในไตรมาสที่ 4 การส่งออกจะขยายตัวในทิศทางที่เป็นบวกมากขึ้น

3. อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า

1.การผลิต

ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมเหล็กในเดือนสิงหาคม 2552 มีอัตราการเปลี่ยนแปลงที่ลดลง ร้อยละ 4.99 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนนี้มีค่า 112.54 เมื่อพิจารณาในรายผลิตภัณฑ์จะพบว่าผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตลดลงคือ กลุ่มเหล็กทรงแบน และ เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ ลดลงร้อยละ 11.62 และ 9.98 ตามลำดับ โดยผลิตภัณฑ์ทรงแบนที่ลดลงมากคือ เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน ลดลงร้อยละ 31.81 เป็นผลมาจากการปรับลดหลังจากเร่งผลิตและส่งมอบเป็นจำนวนมากในเดือนก่อนๆ และส่วนหนึ่งได้รับผลกระทบจากเรือบรรทุกสินค้าที่ขัดข้อง ทำให้ต้องเลื่อนการส่งมอบออกไป ส่วนกลุ่มเหล็กทรงยาว พบว่า ดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 10.65 โดยเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของการผลิตเหล็กข้ออ้อยที่เพิ่มขึ้น ถึงร้อยละ 45.31 รองลงมาคือ ลวดเหล็กเพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.54 และเหล็กลวด เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.22 เนื่องจากการก่อสร้างของภาคเอกชนเริ่มฟื้นตัว และเมื่อเทียบภาวะการผลิตของเดือนเดียวกันกับปีก่อน จะพบว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 13.89 โดยกลุ่มเหล็กทรงแบนลดลงร้อยละ 22.23 เหล็กโครงสร้างรูปพรรณและท่อเหล็ก ลดลงร้อยละ 10.48 ในขณะที่กลุ่มเหล็กทรงยาวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 4.12

2.ราคาเหล็ก

การเปลี่ยนแปลงของราคาเหล็ก (FOB) โดยเฉลี่ยที่สำคัญในตลาด CIS ณ ท่าทะเลดำ (Black Sea) ในช่วงเดือนกันยายน 2552 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ราคาโดยเฉลี่ยของผลิตภัณฑ์เหล็กสำคัญที่มีการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น คือ เหล็กแท่งบิลเล็ตเพิ่มขึ้น จาก 428 เป็น 445 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.97 เหล็กเส้นเพิ่มขึ้น จาก 458 เป็น 475 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ3.71 เหล็กแท่งแบนเพิ่มขึ้น จาก 398 เป็น 400 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.50 เหล็กแผ่นรีดร้อน เพิ่มขึ้นจาก 538 เป็น 560 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.09 เหล็กแผ่นรีดเย็น เพิ่มขึ้น จาก 600 เป็น 629 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.83ซึ่งจะเห็นได้ว่าราคาเหล็กทุกตัวมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงเดือนกันยายนเมื่อเทียบกับเดือนสิงหาคม

3. แนวโน้ม

สถานการณ์เหล็กภายในประเทศในเดือนกันยายน 2552 คาดว่าจะมีการปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากอุตสาหกรรมก่อสร้างเริ่มฟื้นตัวแม้ว่าจะยังอยู่ในช่วงฤดูฝนและอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่ใช้เหล็กเป็นวัตถุดิบ เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า อาหารกระป๋องได้มีคำสั่งซื้อเพิ่มมากขึ้น สำหรับราคาเหล็กในตลาดโลกมีแนวโน้มที่จะลดลงเนื่องจากกำลังซื้อยังคงอ่อนตัวเพราะภาวะเศรษฐกิจ

4. อุตสาหกรรมยานยนต์

รถยนต์

อุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนสิงหาคม 2552 ชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2551 อันเนื่องจากได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดี หากเปรียบเทียบกับเดือนกรกฎาคม 2552 อุตสาหกรรมรถยนต์สามารถขยายได้ ซึ่งถือเป็นสัญญาณที่ดีของอุตสาหกรรมยานยนต์ สำหรับข้อมูลสภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนสิงหาคม มีดังนี้

  • การผลิตรถยนต์ จำนวน 84,170 คัน ลดลงจากเดือนสิงหาคม 2551 ซึ่งมีการผลิต 103,737 คัน ร้อยละ 18.86 แต่มีปริมาณการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม 2552 ร้อยละ 12.25
  • การจำหน่ายรถยนต์ จำนวน 43,251 คัน ลดลงจากเดือนสิงหาคม 2551 ซึ่งมีการจำหน่าย 47,130 คัน ร้อยละ 8.23 และมีปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม 2552ร้อยละ 0.22
  • การส่งออกรถยนต์ จำนวน 43,106 คัน ลดลงจากเดือนสิงหาคม 2551 ซึ่งมีการส่งออก 67,579 คัน ร้อยละ 36.21 แต่มีปริมาณการส่งออกรถยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม 2552 ร้อยละ 17.92
  • แนวโน้ม ภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนกันยายน 2552 คาดว่าจะขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนสิงหาคม 2552

สำหรับการผลิตรถยนต์ในเดือนกันยายน 2552 ประมาณการว่าจะมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 51 และส่งออกร้อยละ 49 นอกจากนี้ คาดว่าจะมีผู้ประกอบการบางรายเพิ่มจำนวนการผลิตรถยนต์ เพื่อรองรับกำลังซื้อในช่วงฤดูกาลจำหน่ายในประเทศ

รถจักรยานยนต์

อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนสิงหาคม 2552 ชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2551 ตามสภาพเศรษฐกิจของประเทศ โดยมีข้อมูลสภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนสิงหาคม ดังนี้

  • การผลิตรถจักรยานยนต์ จำนวน 135,161 คัน ลดลงจากเดือนสิงหาคม 2551 ซึ่งมีการผลิต 154,093 คัน ร้อยละ 12.29 และมีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2552 ร้อยละ 0.14
  • การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ จำนวน 121,348 คัน ลดลงจากเดือนสิงหาคม 2551 ซึ่งมีการจำหน่าย 143,118 คัน ร้อยละ 15.21 และมีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2552 ร้อยละ 12.64
  • การส่งออกรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป จำนวน 8,397 คัน ลดลงจากเดือนสิงหาคม 2551 ซึ่งมีการส่งออก 10,770 คัน ร้อยละ 22.03 แต่ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม 2552 ร้อยละ 85.12 ซึ่งเป็นการส่งออกรถจักรยานยนต์ไปยังตลาดสำ คัญ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร เป็นต้น
  • แนวโน้ม ภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนกันยายน 2552 คาดว่าจะทรงตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนสิงหาคม 2552 สำหรับการผลิตรถจักรยานยนต์ในเดือนกันยายน 2552 ประมาณการว่าจะมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 94 และส่งออกร้อยละ 6
5.อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์

“อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ยังคงซบเซาตามภาวะเศรษฐกิจในประเทศและภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว สำหรับการส่งออกถึงแม้ว่าจะเกิดปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจโลก แต่ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ของประเทศตลาดส่งออกหลักของไทยไม่ได้ลดลงมากนัก เนื่องจากเป็นประเทศกำลังพัฒนา ยังคงมีก่อสร้างที่เพิ่มสูงขึ้นเพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ”

1.การผลิตและการจำหน่ายในประเทศในเดือนสิงหาคม 2552 ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายในประเทศเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ร้อยละ 9.26 และ 5.56 ตามลำดับ แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ปริมาณการผลิตลดลงเล็กน้อยเพียงร้อยละ 0.67 แต่ปริมาณการจำหน่ายในประเทศเพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.05 จากการเพิ่มขึ้นของการผลิตและการจำหน่ายภายใน ประเทศ ซึ่งถึงแม้ว่าในช่วงนี้จะอยู่ในช่วงฤดูฝน แต่อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์เริ่มฟื้นตัวตามภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งปัจจัยสำคัญที่จะมีส่วนช่วยในการเติบโตของอุตสาหกรรม คือ หากรัฐบาลมีการเร่งการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานจะมีส่วนช่วยผลักดันให้มีการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศมากขึ้น

2.การส่งออก

มูลค่าการส่งออกปูนซีเมนต์ เดือนสิงหาคม 2552 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนและเดือนเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 25.73 และ 25.21 ตามลำดับ โดยเฉพาะในตลาดส่งออกที่สำคัญของไทย คือ บังคลาเทศ พม่า เวียดนาม และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

3.แนวโน้ม

การผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศในเดือนกันยายน และเดือนตุลาคม 2552 มีแนวโน้มยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก เนื่องจากยังอยู่ในช่วงฤดูฝน แต่เนื่องจากธุรกิจการก่อสร้างยังมีปัจจัยบวกจากมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ของภาครัฐ และถึงแม้การลงทุนในโครงการสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ของภาครัฐจะยังล่าช้า แต่ยังมีงานโครงสร้างขนาดเล็ก เช่น การปรับปรุงหรือก่อสร้างถนนภายในหมู่บ้านตามจังหวัดต่างๆ สำหรับโครงการขนาดใหญ่ต่างๆ ที่รัฐบาลมีแผนการดำเนินการส่วนใหญ่อาจเริ่มก่อสร้างได้จริงประมาณต้นปี 2553 หากรัฐบาลมีการเร่งการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานจะมีส่วนช่วยผลักดันให้มีการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศมากขึ้น สำหรับการส่งออก ถึงแม้ว่าเศรษฐกิจโลกอยู่ในภาวะชะลอตัวแต่ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ของประเทศในแถบอาเซียน ยังคงมีโอกาสที่จะขยายตัวได้ เนื่องจากประเทศเหล่านี้เป็นประเทศกำลังพัฒนา ยังคงมีความจำเป็นต้องใช้ปูนซีเมนต์ เนื่องจากมีกิจกรรมการก่อสร้างที่เพิ่มสูงขึ้นเพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ

6. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
  • แนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ประมาณการว่าจะปรับตัวลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 7.62 เนื่องจากการปรับลดลงของเครื่องปรับอากาศ และตู้เย็นเป็นหลัก โดยคาดว่าจะปรับตัวลดลงร้อยละ 5.65 และ 11.88 ตามลำดับ แต่ปรับลดลงในอัตราที่น้อยลง ซึ่งเกิดจากตลาดส่งออกหลักมีกำลังซื้อกระเตื้องขึ้นเล็กน้อย ตลาดดังกล่าว เช่น ตลาดอียูและอาเซียน เป็นต้น
  • ขณะที่ แนวโน้มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ประมาณการว่าจะปรับตัวลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนเช่นกัน โดยปรับตัวลดลงร้อยละ 5.16 โดยที่มีผลิตภัณฑ์บางตัวปรับตัวดีขึ้น เช่น HDD ปรับตัวสูงขึ้น ส่วน ชิ้นส่วน ICยังคงปรับตัวลดลงค่อนข้างสูง จากการปรับตัวลดลงของOther IC ที่ยังคงใช้สินค้าคงคลังขายออกสู่ตลาด
ตารางที่ 1 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์หลักที่มีมูลค่าการส่งออกมากเป็นอันดับต้นๆ ในเดือน ส.ค. 2552
          เครื่องใช้ไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์          มูลค่า           %MoM            %YoY
          อุปกรณ์คอมพิวเตอร์              1,496.18           17.38           -2.12
          IC                            619.93            3.59            2.63
          กล้องถ่ายโทรทัศน์                 155.55           45.31           57.97
          เครื่องปรับอากาศ                 143.22          -21.09          -26.05
          รวมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 3,862.17            5.70           -5.62

ที่มา กรมศุลกากร

1.การผลิต

ภาพรวมภาวะการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของเดือนสิงหาคม 2552 ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนโดยปรับตัวลดลงร้อยละ 2.92 เนื่องจากสินค้าส่วนใหญ่ยังคงปรับตัวลดลงยกเว้นพัดลม หม้อหุงข้าว สายไฟฟ้า และ HDD เป็นต้น ขณะที่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.27 โดยอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าปรับตัวลดลงในอัตราน้อยลง ร้อยละ 17.43 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ปรับตัวลดลง ร้อยละ 4.75 สำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ค่อนข้างทรงตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 0.88 และเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.58 โดยมีภาวะการผลิตปรับตัวดีขึ้นทุกผลิตภัณฑ์ ยกเว้น Other IC เนื่องจากปัจจุบันการใช้สินค้าคงคลังที่มีอยู่ทำให้ขณะนี้ การปรับลดลงของสินค้าคงคลังค่อนข้างมากจากปีก่อนๆ

2. การตลาด

มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เดือนสิงหาคม 2552 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ร้อยละ 5.70 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวลดลง ร้อยละ 5.62 โดยมีมูลค่าการส่งออกรวมคือ 3,862.17 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมูลค่าการส่งออกรวมเครื่องใช้ไฟฟ้า ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนร้อยละ 1.07 และเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ 9.90 โดยมีมูลค่าการส่งออกรวมของเครื่องใช้ไฟฟ้าคือ 1,368.40 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับมูลค่าการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ มีมูลค่า 2,493.76 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับเดือนก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.83 และเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ 3.09 โดยผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีมูลค่าส่งออกมากที่สุดได้แก่ อุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ รองลงมาคือวงจรรวมและไมโครแอสแซมบลี (Integrated Circuit) ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกคือ 1,496.18 และ 619.93 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามลำดับ

3. แนวโน้ม

แนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ประมาณการว่าจะปรับตัวลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 7.62 เนื่องจากการปรับลดลงของเครื่องปรับอากาศและตู้เย็นเป็นหลัก โดยคาดว่าจะปรับตัวลดลงร้อยละ 5.65 และ 11.88 ตามลำดับแต่ปรับลดลงในอัตราที่น้อยลง ซึ่งเกิดจากตลาดส่งออกหลักมีกำลังซื้อกระเตื้องขึ้นเล็กน้อย ตลาดดังกล่าว เช่น ตลาดอียูและอาเซียน เป็นต้น

ขณะที่ แนวโน้มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ประมาณการว่าจะปรับตัวลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนเช่นกัน โดยปรับตัวลดลงร้อยละ 5.16 โดยที่มีผลิตภัณฑ์บางตัวปรับตัวดีขึ้น เช่น HDD ปรับตัวสูงขึ้น ส่วน ชิ้นส่วน IC ยังคงปรับตัวลดลงค่อนข้างสูง จากการปรับตัวลดลงของ Other IC ที่ยังคงใช้สินค้าคงคลังขายออกสู่ตลาด

  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในเดือนสิงหาคม 2552 มีค่า 169.4 เพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม2552 (168.1) ร้อยละ 0.8 แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (185.4) ร้อยละ 8.6
  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคม 2552 ได้แก่ Hard Disk Drive ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ โทรทัศน์สี ปูนซีเมนต์ เป็นต้น
  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ เบียร์ ยานยนต์ เครื่องแต่งกาย อิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เป็นต้น
  • อัตราการใช้กำลังการผลิตในเดือนสิงหาคม 2552 อยู่ที่ระดับร้อยละ 57.3 เพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม 2552 (ร้อยละ 56.8) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (ร้อยละ 61.8)
  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม 2552 ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ยาสูบ ปิโตรเลียม ผลิตภัณฑ์ยาง ยานยนต์ เป็นต้น
  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ Hard Disk Drive ผลิตภัณฑ์จากคอนกรีต ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ เป็นต้น

สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรมเดือนสิงหาคม 2552

  • ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนสิงหาคม 2552 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกรกฎาคม 2552 มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการจำนวน 346 ราย เพิ่มขึ้นในจำนวนที่น้อยกว่าเดือนกรกฎาคม 2552 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 387 ราย หรือคิดเป็นจำนวนน้อยกว่าร้อยละ 10.59 มียอดเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 17,867 ล้านบาท ลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2552 ซึ่งมีการลงทุน 18,623 ล้านบาท ร้อยละ 4.06 และการจ้างงานรวมมีจำนวน 7,151 คน ลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2552 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 9,037 คน ร้อยละ 20.87
  • ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนสิงหาคม 2552 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการเพิ่มขึ้นในจำนวนที่น้อยกว่าเดือนสิงหาคม 2551 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 349 ราย หรือคิดเป็นจำนวนน้อยกว่าร้อยละ 0.86 การจ้างงานรวมลดลงจากเดือนสิงหาคม 2551 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 12,477 คน ร้อยละ 42.69 แต่มียอดเงินลงทุนรวมเพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2551 ซึ่งมีการลงทุน 11,800 ล้านบาท ร้อยละ 51.42
  • อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุดในเดือนสิงหาคม 2552 คืออุตสาหกรรมซ่อมรถยนต์ พ่นสีรถยนต์ จำนวน 26 โรงงาน และอุตสาหกรรม ขุด ตักดินทราย สำหรับใช้ในการก่อสร้าง จำนวน 25 โรงงาน
  • อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการโดยมีการลงทุนสูงสุดในเดือนสิงหาคม 2552 คือ อุตสาหกรรมผลิตนมข้น นมระเหย นมสดสเตอริไลส์ นมยูเอชที เงินทุน 3,323 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมผลิตเครื่องเรือนจากไม้ เงินลงทุน 3,245 ล้านบาท
  • อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการและมีการจ้างงานสูงสุดในเดือนสิงหาคม 2552 คือ อุตสาหกรรมพิมพ์สิ่งพิมพ์ จำนวนคนงาน 694 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมซ่อมรถยนต์ พ่นสีรถยนต์ จำนวนคนงาน 491 คน
  • ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนสิงหาคม 2552 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกรกฎาคม 2552 มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 92 ราย น้อยกว่าเดือนกรกฎาคม 2552 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 144 ราย คิดเป็นร้อยละ 36.11 มีเงินทุนของการเลิกกิจการจำนวน 360 ล้านบาท น้อยกว่าเดือนกรกฎาคม 2552 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 1,636 ล้านบาท และการเลิกจ้างงานมีจำนวน 972 คน น้อยกว่าเดือนกรกฎาคม 2552 ซึ่งเลิกจ้างงานจำนวน 4,586 คน
  • ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนสิงหาคม 2552 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการน้อยกว่าเดือนสิงหาคม 2551 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 184 ราย คิดเป็นร้อยละ 50.0 มีเงินทุนของการเลิกกิจการน้อยกว่าเดือนสิงหาคม 2551 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 1,837 ล้านบาท และมีการเลิกจ้างงานน้อยกว่าเดือนสิงหาคม 2551 ที่การเลิกจ้างงานมีจำนวน 4,508 คน
  • อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเลิกกิจการมากที่สุดในเดือนสิงหาคม 2552 คืออุตสาหกรรมทำผลิตภัณฑ์คอนกรีต คอนกรีตผสม ผลิตภัณฑ์ยิมซั่ม ปูนปลาสเตอร์จำนวน 11 ราย รองลงมาคือ อุตสาหกรรมซ่อมยานที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์หรือส่วนประกอบ จำนวน 8 ราย
  • อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการโดยที่มีเงินลงทุนสูงสุดในเดือนสิงหาคม 2552 คืออุตสาหกรรมซ่อมยานที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์หรือส่วนประกอบ เงินทุน 37 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมทำผลิตภัณฑ์คอนกรีต คอนกรีตผสม ผลิตภัณฑ์ยิมซั่มปูนปลาสเตอร์ เงินทุน 30 ล้านบาท
  • อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการและจำนวนคนงานสูงสุดในเดือนสิงหาคม 2552 คือ อุตสาหกรรมทำผลิตภัณฑ์คอนกรีต คอนกรีตผสม ผลิตภัณฑ์ยิมซั่ม ปูนปลาสเตอร์คนงาน 96 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมทำผลิตภัณฑ์จากสิ่งทอเป็นเครื่องใช้ในบ้านคนงาน 90 คน
  • ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในช่วงเดือนมกราคม — กันยายน 2552 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มีจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก สกท. ทั้งสิ้น 687 โครงการ น้อยกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีจำนวน 799 โครงการ ร้อยละ 14.02 และมีเงินลงทุน 176,000 ล้านบาท น้อยกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีเงินลงทุน 268,800 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 34.52
  • การกระจายหุ้นของโครงการที่ได้รับการอนุมัติให้การส่งเสริมในเดือนมกราคม-กันยายน 2552
          การร่วมทุน                  จำนวน(โครงการ)          มูลค่าเงินลงทุน(ล้านบาท)
          1.โครงการคนไทย 100%            226                      56,8000
          2.โครงการต่างชาติ 100%           250                      59,500
          3.โครงการร่วมทุนไทยและต่างชาติ     211                      59,600
  • ประเภทกิจการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมากที่สุดในเดือนมกราคม-กันยายน 2552 คือ หมวดบริการและสาธารณูปโภค มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 66,800 ล้านบาท รองลงมา คือ หมวดผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 43,900 ล้านบาท

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ