ดัชนีอุตฯฟื้นจริง ก.ย. ปิดบวกครั้งแรกในรอบ 11 เดือน

ข่าวเศรษฐกิจ Monday November 2, 2009 14:47 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

สศอ.เผยดัชนีอุตฯ ปิดบวกครั้งแรกหลังซึมยาว 11 เดือน Hard disk drive มีเฮคำสั่งซื้อล่วงหน้ากลับเข้ามา ขณะที่อุตฯปิโตรเลียม- เหล็ก ยอดผลิตและจำหน่ายเพิ่มตามสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตสูงถึง 60.1%

นายอาทิตย์ วุฒิคะโร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) และรองโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ดัชนีผล ผลิตอุตสาหกรรม(ดัชนีอุตฯ) เดือนกันยายน ขยายตัวเพิ่มขึ้น 1% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยขยายตัวเป็นบวกครั้งแรกในรอบ 11 เดือน หลังจากเผชิญภาวะวิกฤตเศรษฐกิจโลกมาตั้งแต่เมื่อกลางปี 2551 ที่ผ่านมา ซึ่งสัญญาณการฟื้นตัวครั้งนี้เนื่องจากทิศทางของเศรษฐกิจโลกที่เริ่มฟื้นอย่างมี เสถียรภาพมากขึ้น จากมาตรการการกระตุ้นทางเศรษฐกิจของทั่วโลกเริ่มมีผล จึงทำให้ภาพรวมของภาคอุตสาหกรรมไทยฟื้นตัวตามไปด้วย อุตสาหกรรม หลักโดยเฉพาะการผลิต Hard Disk Drive การกลั่นปิโตรเลียม และการผลิตเหล็ก ยอดผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้นอย่างคึกคัก ขณะที่การผลิตยานยนต์ เริ่มฟื้นอย่างต่อเนื่อง ยอดผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้น 11 เดือน จากแนวโน้มที่ดีดังกล่าว สศอ. เชื่อว่าในเดือนต่อๆ ไป ดัชนีอุตฯ จะเป็นบวกเพิ่มขึ้น และในทางนโยบาย นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้สั่งการให้หน่วยงานต่างๆ ของกระทรวงทั้งในส่วนกลางและส่วน ภูมิภาค เร่งทำงานตามแผนงาน โครงการต่างๆ ในปีงบประมาณ 2553 เพื่อเสริมสร้างให้การฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรมเป็นไปอย่างแข็งแกร่ง ต่อ เนื่อง โดยให้นำยุทธศาสตร์คลังสมองเพื่อชาติ ที่เน้นการทำงานร่วมกับภาคเอกชนมาใช้

“ถือเป็น 11 เดือนเต็มๆ กว่าดัชนีอุตสาหกรรมจะเป็นบวก หลังจากติดลบครั้งแรก -0.4% เมื่อเดือนตุลาคม จากนั้นอัตราการขยายตัวติด ลบมาตลอด คือ -8.4% ,-19.7% ในเดือนพ.ย.และ ธ.ค. ตามลำดับ จนมาถึงจุดต่ำสุด -25.6% ในเดือน ม.ค.จากนั้นจึงค่อยๆฟื้นตัว จากอัตรา การขยายตัวติดลบลดลง โดยเดือน ก.พ. -23.1% เดือน มี.ค.-17.7% เดือนเม.ย.-12.8% เดือน พ.ค.-12.4% เดือนมิ.ย.-6.8% เดือน ก. ค.-9.0% เดือนส.ค. -8.6% และ ขยายตัวเพิ่มขึ้น 1% ในเดือนกันยายน ขณะที่หากพิจารณาดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ตัวเลข ชี้ให้เห็นแนวโน้มที่เป็นบวก ตั้งแต่เดือน ก.พ. คือบวก 0.5% เดือน มี.ค.14.2% เดือนเม.ย.เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบทำให้ติดลบ -8.7% แล้วจึง กลับมาเป็นบวก 9.2% และ 6.6% ในเดือน พ.ค. และมิ.ย.ตามลำดับ แม้เดือนก.ค.แกว่งตัวติดลบเล็กน้อย -1.3% แต่กลับมาเป็นบวกเล็กน้อย 0.8% ในเดือนส.ค.และเดือนก.ย.บวก 10.1% เนื่องจากหลายสาขาอุตสาหกรรมมีคำสั่งซื้อเข้ามาอย่างต่อเนื่อง หลังจากอั้นมานานด้วย

ผลพวงของวิกฤตเศรษฐกิจโลก คำสั่งซื้อที่มีเข้ามาทำให้โรงงานเพิ่มการผลิต อัตราการใช้กำลังการผลิตภาคอุตสาหกรรมจึงเพิ่มขึ้นเป็น 60.1% ในเดือนก.ย. เทียบกับที่เคยต่ำสุด 50.0% เมื่อเดือน ก.พ.”

นายอาทิตย์ กล่าวว่า การผลิต Hard disk drive เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตและจำหน่ายปรับตัวเพิ่มขึ้น 13.2% และ 10.7% เนื่องจากเมื่อปีก่อนเริ่มได้รับผลกระทบจากภาวะวิกฤติเศรษฐกิจโลก ผู้ประกอบการส่วนใหญ่แทบจะปรับตัวไม่ทัน จึงส่งผลต่อภาวะการจ้าง งานที่ทำให้หลายแห่งมีการปรับลดพนักงานลงอย่างมาก แต่สำหรับปีนี้ทิศทางการฟื้นตัวกลับเข้ามาแล้วหลังจากเกิดการอั้นมานานเกือบปี ผู้นำเข้าจากทั่ว โลกมีความมั่นใจสั่งซื้อสินค้าจากไทยเป็นจำนวนมาก และเริ่มมีคำสั่งซื้อล่วงหน้ากลับเข้ามาแล้ว ไม่น้อยกว่า 3 เดือน โดยคำสั่งซื้อที่กลับเข้ามานั้นเนื่อง มาจากการที่ไทยเป็นนี้มีการปรับเปลี่ยนด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย และมีผลิตภัณฑ์ใหม่ๆสอดคล้องกับการใช้งานของผู้บริโภคอย่างต่อเนื่องนั่นเอง

การกลั่นปิโตรเลียม เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้นมากถึง 23.4% และ 32.9% เนื่องจากภาวะ เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวส่งผลต่อความต้องการใช้น้ำมันที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกระบวนการขนส่งสินค้า อีกทั้งเมื่อช่วงเดียวกันของปีก่อนนั้นภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ โลกเริ่มส่งผลกระทบมายังประเทศไทยทำให้ผู้บริโภคไม่มั่นใจในสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ จึงทำให้การใช้น้ำมันสำเร็จรูปลดลงตามไปด้วยเช่นกัน

การผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์จากเหล็ก เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตและจำหน่ายโดยรวมเพิ่มขึ้น 24.2% และ 26.7% ตามลำดับ เนื่องจากปัจจัยเรื่องราคาเหล็กโลกปีนี้เริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้น ผู้ผลิตจึงมีความมั่นใจผลิตสินค้าออกมาไว้ในสต๊อก อีกทั้งทิศทางการจำหน่ายมี แนวโน้มดีขึ้น จากภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เริ่มฟื้นตัว รวมทั้งปัจจัยจากโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของรัฐบาลหลายโครงการเริ่มดำเนินการไปในบางส่วน แล้ว จึงส่งผลให้การผลิตและจำหน่ายคึกคักกว่าปีก่อน

ขณะที่ การผลิตยานยนต์ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตได้ติดลบน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด กล่าวคือ -17.2% เทียบกับที่ เคยติดลบไม่ต่ำกว่า -40% ในช่วงที่ผ่านมา ทั้งนี้เนื่องจากมีการปรับปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นเพื่อรับกับการส่งออกที่มียอดคำสั่งซื้อกลับเข้ามามากขึ้น

สำหรับภาพรวมดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนกันยายน 2552 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนพบว่า ดัชนีผลผลิต (มูลค่าเพิ่ม) อยู่ที่ ระดับ 186.59 เพิ่มขึ้น 1% จากระดับ 184.79 ดัชนีผลผลิต (มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ระดับ 185.59 ลดลง -0.5% จากระดับ 186.59 ดัชนีการส่ง สินค้า อยู่ที่ระดับ 189.37 เพิ่มขึ้น0.9% จากระดับ 187.72 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 167.24 ลดลง -20.7% จากระดับ 210.81 ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 172.43 ลดลง -52.8% จากระดับ 365.49 ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 114.11 ลดลง -2.9% จากระดับ 117.46 ดัชนีผลิตภาพแรงงานในภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 155.80 เพิ่มขึ้น 13.3% จากระดับ 137.55 ขณะที่อัตราการ ใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ 60.1%

ตัวอย่างอุตสาหกรรมที่ดัชนีอุตสาหกรรมเป็นบวก และปรับตัวได้ดีเข้าใกล้บวก

 ลำดับ             อุตสาหกรรมที่เป็นบวก           เปลี่ยนแปลง                 อุตสาหกรรมที่ปรับตัวได้ดี          เปลี่ยนแปลง
                                               (YOY)                       เข้าใกล้บวก                 (YOY)
   1    การผลิต Hard Disk Dive                 13.20%     การผลิตยางนอกและยางใน การหล่อยางและซ่อมยาง    -0.90%
   2    การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม      21.70%     การผลิตเยื่อกระดาษและกระดาษ                   -1.30%
   3    การผลิตเครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณ          42.10%     การผลิตสบู่และผงซักฟอก                         -2.90%
   4    การแปรรูปและถนอมสัตว์น้ำ                  14.30%     การผลิตเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์                      -3.40%
   5    การผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์จากเหล็ก            24.20%     การผลิตผลิตภัณฑ์ยาและเวชภัณฑ์                    -4.70%

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมและอัตราการใช้กำลังการผลิต

     Index               -----------  2551  ----------     -------------------------------- 2552 -----------------------------
                          ก.ย     ต.ค.    พ.ย.    ธ.ค.      ม.ค.    ก.พ.     มี.ค.   เม.ย.   พ.ค.    มิ.ย.    ก.ค.    ส.ค.   ก.ย.
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม       184.79  181.11   167.7  148.97    139.13  139.79  159.71  146.66   159.2   170.1   167.8   169.4  186.6
อัตราการเปลี่ยนแปลง(MOM) %   -0.3      -2    -7.4   -11.2      -6.6     0.5    14.2    -8.7     9.2     6.6    -1.3     0.8   10.1
อัตราการเปลี่ยนแปลง(YOY) %    2.2    -0.4    -8.7   -19.7     -25.6   -23.1   -17.7   -12.8   -12.4    -6.8      -9    -8.6    1.0
อัตราการใช้กำลังการผลิต %     61.1     60.8   55.8      53      51.7      50    54.4    51.4      55    55.7      57    57.2   60.1

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ