สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 3 (กรกฎาคม — กันยายน) พ.ศ. 2552(เศรษฐกิจโลก)

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday November 25, 2009 15:14 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

เศรษฐกิจโลก(ก)

ภาพรวมเศรษฐกิจโลกในไตรมาส 3 ปี 2552 เศรษฐกิจมีสัญญาณการฟื้นตัว ซึ่งเป็นผลมาจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลประเทศต่าง ๆ ถึงแม้ว่าในหลาย ๆ ประเทศเศรษฐกิจยังคงอยู่ในภาวะถดถอย และปัญหาการว่างงานมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น ยกเว้นประเทศจีนที่เศรษฐกิจยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

ราคาน้ำมันดิบดูไบในไตรมาส 3 ปี 2552 อยู่ที่ 62.27 USD/Barrel ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2551 ซึ่งราคาอยู่ที่ 115.22 USD/Barrel เนื่องจากเศรษฐกิจโลกที่ยังคงหดตัว ทำให้ความต้องการน้ำมันลดลง สำหรับสถานการณ์น้ำมันในตลาดโลกราคาน้ำมันยังคงแกว่งตัวขึ้นลง โดยล่าสุดราคาน้ำมันดิบ NYMEX ส่งมอบเดือนธันวาคม มีราคาอยู่ที่ 77.43 USD/Barrel ปริมาณความต้องการน้ำมันในสหรัฐฯ ยังคงอยู่ในระดับต่ำถึงแม้ว่าเศรษฐกิจของสหรัฐฯ จะเริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัวแล้วก็ตาม

เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา(ข)

ภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในไตรมาส 3 ปี 2552 GDP หดตัวร้อยละ 2.3 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2551 ซึ่งขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 0.03 การบริโภคภาคเอกชนไตรมาส 3 ปี 2552 หดตัวร้อยละ 0.03 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2551 ที่หดตัวร้อยละ 0.7 เนื่องจากอัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้นผู้บริโภคยังกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจรวมถึงปัญหาการว่างงานที่เพิ่มขึ้น การลงทุนภาคเอกชนไตรมาส 3 ปี 2552 หดตัวร้อยละ 24.8 เป็นการหดตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2551 ซึ่งที่หดตัวอยู่ร้อยละ 8.1 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในไตรมาส 3 ปี 2552 อยู่ที่ระดับ 51.8 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2551 อยู่ที่ระดับ 57.3 อัตราการใช้กำลังการผลิตภาคอุตสาหกรรมไตรมาส 3 ปี 2552 อยู่ที่ร้อยละ 69.8 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2551 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 76.9 ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมไตรมาส 3 ปี 2552 อยู่ที่ระดับ 97.6 ลดลงเมื่อเทียบกับ ไตรมาส 3 ปี 2551 อยู่ที่ระดับ 108.1

การส่งออกไตรมาส 3 ปี 2552 มีมูลค่าลดลงร้อยละ 14.5 เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2551 ที่ขยายตัวร้อยละ 7.0 สำหรับการนำเข้าไตรมาส 3 ปี 2552 มีมูลค่าลดลงร้อยละ 17.0 มากกว่าไตรมาส 3 ปี 2551 ที่ลดลงร้อยละ 3.9

อัตราเงินเฟ้อไตรมาส 3 ปี 2552 อยู่ที่ร้อยละ -1.6 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2551 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 5.3 อันเนื่องมาจากราคาพลังงานและอาหารอยู่ในระดับต่ำ อัตราการว่างงานไตรมาส 3 ปี 2552 อยู่ที่ร้อยละ 9.6 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2551 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 6.1 โดยอัตราการว่างงานยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

หมายเหตุ

(ก) - ข้อมูลบางส่วนของบางประเทศล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาส 2 ปี 2552

  • ที่มา www.eia.doe.gov www.thaioil.co.th

(ข) - ที่มา www.worldbank.org www.imf.org www.bea.gov www.ceicdata.com

ทางด้านสถานการณ์การเงิน มติที่ประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2552 ให้คงอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ร้อยละ 0.25 เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจยังคงต้องการเครื่องมือเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง และเพื่อรักษาเสถียรภาพของราคา

อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในไตรมาส 3 ปี 2552 ยังอยู่ในภาวะถดถอย แต่เริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวซึ่งเป็นผลจากมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจของรัฐบาล ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แต่ภาวะสินเชื่อยังคงตึงตัวอยู่ ความเชื่อมั่นผู้บริโภคยังคงลดลง รวมถึงอัตราการว่างงานที่ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ยังไม่มีเสถียรภาพ

เศรษฐกิจจีน(ค)

เศรษฐกิจประเทศจีนในไตรมาส 3 ปี 2552 ขยายตัวร้อยละ 8.9 ซึ่งขยายตัวลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2551 ที่ขยายตัวร้อยละ 9.0 มูลค่าการค้าปลีกในไตรมาส 3 ปี 2552 ขยายตัวร้อยละ 15.4 ขยายตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2551 ที่ขยายตัวร้อยละ 23.2 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในไตรมาส 3 ปี 2552 อยู่ที่ระดับ 87.9 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2551 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 93.9 ขณะที่การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรในไตรมาส 3 ปี 2552 ขยายตัวร้อยละ 33.1 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2551 ที่ขยายตัวร้อยละ 27.4 ผลจากมาตรการการเร่งปล่อยสินเชื่อของรัฐบาล ทำให้มีการลงทุนเพิ่มขึ้น ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมไตรมาส 3 ปี 2552 อยู่ที่ระดับ 57.7 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับ ไตรมาส 3 ปี 2551 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 50.2

การส่งออกไตรมาส 3 ปี 2552 มีมูลค่าลดลงร้อยละ 20.3 เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2551 ที่ขยายตัวร้อยละ 23.1 การส่งออกที่ยังคงหดตัว เนื่องจากเศรษฐกิจโลกยังคงซบเซา สำหรับการนำเข้าไตรมาส 3 ปี 2552 มีมูลค่าลดลงร้อยละ 11.9 เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2551 ที่ขยายตัวร้อยละ 25.8

ภาวะเงินเฟ้อของประเทศจีนในไตรมาส 3 ปี 2552 มีอัตราเงินเฟ้อโดยทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ -1.3 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ของปี 2551 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 5.3 เป็นผลมาจากราคาสินค้าในหมวดพลังงานอยู่ในระดับต่ำ อัตราการว่างงานในไตรมาส 3 ปี 2552 อยู่ที่ร้อยละ 4.3 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2551 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 4.0 โดยอัตราการว่างงานยังคงทรงตัวต่อเนื่องติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 3

ทางด้านสถานการณ์การเงิน ธนาคารกลางจีน (People’s Bank of China) ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 5.31 ซึ่งธนาคารจะใช้นโยบายทางการเงินแบบผ่อนคลายควบคู่กับนโยบายกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องและมีเสถียรภาพ

หมายเหตุ

(ค) - ที่มา www.stats.gov.cn, www.pbc.gov.cn, www.ceicdata.com

อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจจีนในไตรมาส 3 ปี 2552 ยังคงขยายตัวต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 2 โดยอุปสงค์ในประเทศเป็นปัจจัยหลักในการขยายตัวของเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3 ซึ่งเป็นผลมาจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลจีน

เศรษฐกิจประเทศญี่ปุ่น(ง)

เศรษฐกิจประเทศญี่ปุ่นในไตรมาส 2 ปี 2552 GDP หดตัวร้อยละ 7.2 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2551 ที่ขยายตัวร้อยละ 0.7 การบริโภคภาคเอกชนในไตรมาส 2 ปี 2552 หดตัวร้อยละ 1.0 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2551 ที่ขยายตัวร้อยละ 0.3 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคไตรมาส 3 ปี 2552 อยู่ที่ระดับ 40.1 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2551 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 31.2 การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคภาคครัวเรือนในไตรมาส 2 ปี 2552 หดตัวร้อยละ 1.1 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2551 ที่ขยายตัวร้อยละ 0.3 การลงทุนภาคเอกชนในไตรมาส 2 ปี 2552 หดตัวร้อยละ 19.1 เป็นการหดตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2551 ที่หดตัวร้อยละ 3.1 ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมไตรมาส 3 ปี 2552 อยู่ที่ระดับ 83.9 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2551 อยู่ที่ระดับ 104.6

การส่งออกไตรมาส 3 ปี 2552 มีมูลค่าลดลงร้อยละ 34.4 เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2551 ที่ขยายตัวร้อยละ 3.2 สำหรับการนำเข้าไตรมาส 3 ปี 2552 มีมูลค่าลดลงร้อยละ 39.7 เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2551 ที่ขยายตัวร้อยละ 21.1

ภาวะเงินเฟ้อของประเทศญี่ปุ่นในไตรมาส 3 ปี 2552 มีอัตราเงินเฟ้อโดยทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ -2.2 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ของปี 2551 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 2.2 เป็นผลมาจากราคาสินค้าบริโภคลดลง อัตราการว่างงานในไตรมาส 3 ปี 2552 อยู่ที่ร้อยละ 5.4 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2551 ซึ่งอยู่ที่ ร้อยละ 4.0

ทางด้านสถานการณ์การเงิน มติที่ประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน ของธนาคารกลางญี่ปุ่น (Bank of Japan) เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2552 ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 0.1 เพื่อพยุงเศรษฐกิจ

อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจญี่ปุ่นในไตรมาส 3 ปี 2552 คาดว่ายังคงอยู่ในภาวะถดถอย แต่เศรษฐกิจมีแนวโน้มดีขึ้น โดยการส่งออกมีแนวโน้มหดตัวลดลง เป็นผลจากประเทศจีนยังคงต้องการสินค้าจากประเทศญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น

หมายเหตุ

(ง) - ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาสที่ 2 ปี 2552

  • www.cao.go.jp www.boj.or.jp www.stat.go.jp www.ceicdata.com

เศรษฐกิจสหภาพยุโรป(จ)

เศรษฐกิจกลุ่มประเทศยุโรปในไตรมาส 2 ปี 2552 GDP หดตัวร้อยละ 4.8 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2551 ที่ขยายตัวร้อยละ 1.4 ในส่วนของ GDP ภาคอุตสาหกรรมในไตรมาส 2 ปี 2552 หดตัวร้อยละ 21.5 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2551 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.5 การบริโภคไตรมาส 2 ปี 2552 หดตัวร้อยละ 0.9 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2551 ที่ขยายตัวร้อยละ 1.1 ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมในไตรมาส 2 ปี 2552 อยู่ที่ระดับ 88.9 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2551 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 107.7 และในเดือนกรกฎาคม และสิงหาคม อยู่ที่ระดับ 87.3 และ 86.6 ตามลำดับ

การส่งออกไตรมาส 2 ปี 2552 มีมูลค่าลดลงร้อยละ 20.7 เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2551 ที่ขยายตัวร้อยละ 8.9 สำหรับมูลค่าการส่งออกในเดือนกรกฎาคม และสิงหาคม ลดลงร้อยละ 17.2 และ 20.0 ตามลำดับ การส่งออกที่ลดลงอย่างมากเป็นผลมาจากความต้องการของโลกหดตัว สำหรับการนำเข้าไตรมาส 2 ปี 2552 มีมูลค่าลดลงร้อยละ 27.8 เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2551 ที่ขยายตัวร้อยละ 14.3 สำหรับมูลค่าการนำเข้าในเดือนกรกฎาคม และสิงหาคม ลดลงร้อยละ 30.9 และ 28.5 ตามลำดับ

ภาวะเงินเฟ้อทั่วไปของกลุ่มประเทศยุโรปในไตรมาส 3 ปี 2552 อยู่ที่ร้อยละ 0.4 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2551 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 3.8 สาเหตุที่อัตราเงินเฟ้อลดลงเป็นผลจากราคาพลังงานที่ลดลงอัตราการว่างงานในไตรมาส 3 ปี 2552 อยู่ที่ร้อยละ 9.2 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2551 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 7.2

ทางด้านสถานการณ์การเงิน ธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank : ECB) ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 1.0 (เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2552) เนื่องจากเศรษฐกิจมีแนวโน้มที่ดีขึ้นและเพื่อรักษาเสถียรภาพด้านราคา

อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจสหภาพยุโรปในไตรมาส 3 ปี 2552 คาดว่ายังคงอยู่ในภาวะถดถอยเนื่องจากอัตราการว่างงานที่เพิ่มสูงขึ้น แต่ก็มีแนวโน้มที่ดีขึ้นจากการใช้มาตรการสนับสนุนของรัฐบาล และธนาคารกลาง เพื่อช่วยการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหภาพยุโรป

หมายเหตุ

(จ)- ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาสที่ 2 ปี 2552

  • ที่มา eurostat, www.ecb.int www.ceicdata.com

เศรษฐกิจของประเทศอุตสาหกรรมในเอเซีย

เศรษฐกิจฮ่องกง(ฉ)

ภาวะเศรษฐกิจของฮ่องกงเริ่มมีแนวโน้มดีขึ้น โดยในไตรมาสที่ 2 ของปี 2552 GDP หดตัวที่ร้อยละ 3.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ของปี 2552 GDP ขยายตัวร้อยละ 3.3 ซึ่งเป็นผลจากกิจกรรมทางการเงิน การบริโภคภายในประเทศที่กลับมาขยายตัวร้อยละ 4.0 และภาวะเศรษฐกิจของโลกที่เริ่มฟื้นตัว สำหรับดัชนีผู้บริโภคในไตรมาสที่ 2 หดตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เมื่อพิจารณาในเดือนกันยายน 2552 นั้นมีการขยายตัวร้อยละ 0.5 อัตราเงินเฟ้อขยายตัวในอัตราร้อยละ 1.2 ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2552

ภาคอุตสาหกรรมการผลิตในไตรมาสที่ 2 ปี 2552 ลดลงร้อยละ 9.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปีในขณะที่อัตราการว่างงานยังคงเพิ่มสูงขึ้นที่ร้อยละ 5.4 เนื่องจากแรงกดดันจากค่าจ้างแรงงานที่น้อยลงอย่างต่อเนื่อง

การส่งออกมีมูลค่าการส่งออกสินค้า 85,859 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2552 โดยลดลงร้อยละ 13.1 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ปี 2552 นั้นการส่งออกขยายตัวร้อยละ 5.5 สำหรับตลาดการส่งออกหลักที่สำคัญได้แก่ จีน สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่นและสหราชอาณาจักร มีมูลค่าการส่งออกลดลงทุกตลาด โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาที่ลดลงถึงร้อยละ 23.8 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน สินค้าส่งออกสำคัญของฮ่องกงได้แก่ เครื่องใช้และอุปกรณ์ไฟฟ้ามีมูลค่าการส่งออก 36,931 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งมีสัดส่วนถึงร้อยละ 43.0 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดรองลงมาคือ เครื่องจักรกลมีมูลค่าส่งออก 10,667 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และอัญมณีมีมูลค่าส่งออก 5,591 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 12.4 และ 6.5 ตามลำดับ

การนำเข้าสินค้าในไตรมาสที่ 3 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาลดลงร้อยละ 9.9 โดยตลาดนำเข้าที่สำคัญยังคงมีมูลค่าการนำเข้าลดลง โดยเฉพาะจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ที่การนำเข้าลดลงร้อยละ 11.2 14.6 และ 14.6 ตามลำดับ แต่สำหรับมาเลเซีย และประเทศไทยการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 5.4 และ 4.4 ตามลำดับเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน สำหรับสินค้านำเข้าที่สำคัญคือ เครื่องใช้และอุปกรณ์ไฟฟ้า เครื่องจักรกล และอัญมณี ซึ่งมีมูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 3.47 5.85 และ 7.96 ตามลำดับ จากมูลค่าการนำเข้าและส่งออกส่งผลให้ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2552 นี้ฮ่องกงขาดดุลการค้าเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปี 2552

หมายเหตุ

(ฉ) - ที่มา http://www.censtatd.gov.hk/

  • ที่มา http://www.thaishipper.com
  • ที่มา http://www.gtis.com/gta
  • ที่มา http://www.ceicdata.com
  • ที่มา http://www.bangkokbank.com
  • ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาสที่ 2 ปี 2552

เกาหลีใต้(ช)

ภาวะเศรษฐกิจของประเทศเกาหลีใต้ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2552 ขยายตัวร้อยละ 0.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ของปี 2551 การขยายตัวนี้เป็นผลมาจากการปรับตัวดีขึ้นของภาคการส่งออก รวมทั้งปริมาณความต้องการภายในประเทศและการใช้จ่ายของภาคเอกชนที่มากขึ้น โดยธนาคารกลางเกาหลีใต้คาดการณ์ว่า ถ้าเศรษฐกิจภายในประเทศยังสามารถฟื้นตัวได้อย่างคงที่ต่อไปอาจจะส่งผลทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2552 ขยายตัวถึงร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับปีที่แล้วโดยมีดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 3 ของปี 2552 อยู่ที่ระดับ 124.2 เป็นการขยายตัวร้อยละ 4.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ของปี 2551

ดัชนีราคาผู้บริโภคในไตรมาสที่ 3 ของปี 2552 อยู่ที่ระดับ 113.3 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ของปี 2551 โดยในเดือนกันยายนดัชนีราคาผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 113.5 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันในปีก่อน

การส่งออกของเกาหลีใต้ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2552 มูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 17 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ของปี 2551 โดยมีมูลค่าการส่งออกรวม 95,451 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้าออกสำคัญยังคงเป็นสินค้าประเภท Electrical Machinery ที่มีมูลค่าการส่งออกถึง 24,480 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือร้อยละ 25.7 ของสินค้าส่งออกทั้งหมด รองลงมาคือสินค้าประเภท Machinery (Reactors, Boilers) และ Vehicles (Not Railway) ที่มีสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 10.3 และ 10 ตามลำดับ ในส่วนของตลาดสินค้าออกที่สำคัญ ประเทศจีนยังคงเป็นตลาดส่งออกหลัก โดยคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 25 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด รองลงมาคือ สหรัฐอเมริกา, ญี่ปุ่น, ฮ่องกงและสิงคโปร์ ที่มีสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 10.3, 6.2, 6 และ 3.9 ตามลำดับ

การนำเข้าสินค้าในไตรมาสที่ 3 ของปี 2552 มีมูลค่าการนำเข้ารวม 84,827 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 31 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ของปี 2551 โดยส่วนใหญ่ยังเป็นการนำเข้าสินค้าประเภทMineral Fuel, Oil ที่มีมูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 44.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ของปี 2551 รองลงมา

หมายเหตุ

(ช) - ที่มา http://www.gtis.com/gta

  • ที่มา http://www.ceicdata.com
  • ที่มา http://apecthai.org
  • ที่มา http//www.exim.go.th
  • ที่มา http//www.bok.or.kr

คือสินค้าประเภท Electrical Machinery, Machinery (Reactors, Boilers) และ Iron and Steel ที่มีมูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 13.5, 15.2 และ 60.7 ตามลำดับ ในขณะที่การนำเข้าส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศจีน, ญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา โดยมีมูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 35.8, 21 และ 23.3 ตามลำดับ

ด้านการเงินการคลัง ธนาคารกลางของเกาหลีใต้ยังคงรักษาระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 2.0 แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจและการเงินจะเริ่มส่งสัญญาณการปรับตัวที่ดีขึ้นแล้วก็ตาม เนื่องจากธนาคารกลางเห็นว่าสถานการณ์ยังมีความไม่แน่นอนอยู่ทั้งภายในและภายนอกประเทศ

ทางด้านแรงงาน อัตราการว่างงานในเดือนกันยายนอยู่ที่ร้อยละ 3.4 เพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายนของปี 2551 ที่เท่ากับร้อยละ 0.4 โดยในเดือนกันยายนนี้มีจำนวนผู้ว่างงานทั้งสิ้น 826,000 คน

สิงค์โปร์(ซ)

เศรษฐกิจประเทศสิงค์โปร์ไตรมาสที่ 2 ของปี 2552 เศรษฐกิจของสิงคโปร์หดตัวร้อยละ 3.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 โดย GDP ภาคอุตสาหกรรมหดตัวร้อยละ 1.1 ซึ่งหดตัวลดลงมากจากไตรมาสที่ 1 ของปี 2552 โดยกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมของสิงคโปร์ ได้คาดการณ์การเจริญเติบโตเศรษฐกิจสิงคโปร์ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2552 ว่าจะขยายตัวร้อยละ 0.8 และ GDP ภาคอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 8.3 ซึ่งการเจริญเติบโตมีผลมาจากการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของการผลิต Biomedical และอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงการปรับตัวที่ดีขึ้นด้านการค้าและการท่องเที่ยว ดังนั้น กระทรวงการค้าฯ จึงปรับการคาดการณ์การเจริญเติบโตเศรษฐกิจปี 2552 เป็นร้อยละ -2.5 ถึง -2.0 (จากเดิมร้อยละ -6.0 ถึง -4.0)

ภาคอุตสาหกรรมการผลิตของสิงคโปร์ ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 2 ของปี 2552 ลดลงร้อยละ 2.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 โดยในเดือนกันยายน 2552 ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม ลดลงร้อยละ 7.7 เมื่อเทียบกับเดือนกันยายน ปี 2551 โดยผลผลิตได้มีการปรับตัวลดลงในทุกกลุ่มอุตสาหกรรม ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ลดลงร้อยละ 1.1 อุตสาหกรรมการผลิตทั่วไปลดลงร้อยละ 3.8 เคมีภัณฑ์ลดลงร้อยละ 8.7 กลุ่มไบโอเมดิคอลลดลงร้อยละ 13.9 ภาคการขนส่งลดลง ร้อยละ 8.1 และกลุ่มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับวิศวกรรมการวัดคุม (Precision Engineering) ลดลงร้อยละ 14.3 โดยผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเมื่อเทียบกับเดือนสิงหาคมลดลงร้อยละ 9.1 และในช่วง 9 เดือนแรก ของปี 2552 ลดลงร้อยละ 6.9 โดยผลผลิตลดลงในเกือบทุกกลุ่มอุตสาหกรรม ยกเว้นกลุ่มไบโอเมดิคอล

หมายเหตุ

(ซ) - ที่มา http://web.worldbank.org

  • ที่มา http://www.exim.go.th
  • ที่มา http://apecthai.org
  • ที่มา http://www.thaishipper.com
  • ที่มา http://www.gtis.com/gta
  • ที่มา http://www.ceicdata.com
  • ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาสที่ 2 ปี 2552

การค้าปลีกในเดือนสิงหาคม 2552 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ขณะที่ดัชนีค้าปลีกที่ไม่รวมกลุ่มยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 เป็นการปรับเพิ่มขึ้นในหลายกลุ่ม เช่น ห้างสรรพสินค้า ร้านค้าปลีกสถานีบริการน้ำมัน เครื่องแต่งกายและกลุ่มเฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์ภายในบ้าน ส่วนกลุ่มที่ยอดค้าปลีกลดลงได้แก่ ร้านขายของชำและร้านค้าทั่วไป สินค้าอาหารและเครื่องดื่ม สินค้าสันทนาการ และอุปกรณ์สื่อสารและคอมพิวเตอร์

ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในเดือนกันยายน 2552 อยู่ที่ระดับ 110.7 ลดลงร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบกับเดือนกันยายน 2551 โดยค่าใช้จ่ายด้านการขนส่งและการสื่อสารลดลงร้อยละ 0.2 แต่ราคาอาหารราคาอุปกรณ์และค่าใช้จ่ายด้านการศึกษา ค่าดูแลรักษาสุขภาพเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 2.0 และ 2.1 ตามลำดับ ขณะที่ราคาด้านที่อยู่อาศัยกับสินค้านันทนาการและอื่นๆ ลดลงร้อยละ 2.5 และ 1.8 ตามลำดับ ส่วนค่าเครื่องแต่งกายอยู่ในระดับคงที่เมื่อเทียบจากปีก่อน โดยดัชนีราคาผู้บริโภคเมื่อเทียบกับเดือนสิงหาคม ลดลงร้อยละ 0.1 โดยราคาสินค้าลดลงในหลายรายการยกเว้นกลุ่มอาหาร การดูแลสุขภาพและนันทนาการ โดยใน 9 เดือนแรก ของปี 2552 ดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4

การส่งออกของสิงค์โปร์ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2552 การส่งออกยังคงลดลงในระดับสูงโดยที่มูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 30.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 ส่วนใหญ่เป็นการส่งออกสินค้าประเภท Electrical Machinery ที่มีมูลค่าการส่งออก 28,062 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือร้อยละ 32.7 ของการส่งออกทั้งหมด รองลงมาคือ สินค้าประเภท Mineral Fuel และ Machinery (Reactors, Boilers) โดยส่วนใหญ่ส่งออกไปยังประเทศฮ่องกง โดยมีมูลค่าการส่งออก 7,305 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือร้อยละ 11.5 ของการส่งออกทั้งหมด โดยมูลค่าการส่งออกไปยังประเทศฮ่องกงลดลงร้อยละ 20.5 รองลงมาคือการส่งออกไปยังประเทศมาเลเซีย 7,275 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 36.7 รองลงมาคือ จีนและอินโดนีเซีย

การนำเข้าในไตรมาสที่ 2 ของปี 2552 มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 35.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 โดยมีมูลค่าการนำเข้า 86,748 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าสินค้าประเภท Mineral Fuel ที่มีมูลค่าการนำเข้า 25,400 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 91.0 รองลงมาคือสินค้าประเภท Electrical Machinery และ Machinery (Reactors, Boiler) ตามลำดับการนำเข้าสินค้าส่วนใหญ่ขยายตัวเพิ่มขึ้นมาก

อินโดนีเซีย(ฌ)

เศรษฐกิจอินโดนีเซียในไตรมาสที่ 2 ของปี 2552 ยังคงขยายตัวร้อยละ 4.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่2 ของปี 2551 ขยายตัวลดลงเพียงเล็กน้อยจากไตรมาสที่ 1 ปี 2552 เป็นผลมาจากการขยายตัวที่ลดลงของการบริโภคภาคเอกชน และการลงทุนภาคเอกชน ทั้งนี้ ธนาคารกลางอินโดนีเซียคาดการณ์ว่า GDP ในปี2552 จะขยายตัวร้อยละ 4.0-5.0 ขณะที่ดัชนีภาคการผลิตในไตรมาสที่ 2 ของปี 2552 ขยายตัวร้อยละ 0.7 จากไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 การขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยในไตรมาสที่ 2 ที่ระดับร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

การส่งออกของอินโดนีเซียในไตรมาสที่ 2 ของปี 2552 เริ่มมีแนวโน้มดีขึ้นจากไตรมาสที่ 1 โดยการส่งออกในไตรมาสที่ 2 นี้มีมูลค่า 27,044 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งลดลงร้อยละ 26.2 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออกส่วนใหญ่ยังคงเป็นการส่งออกของอุตสาหกรรม สินค้าเชื้อเพลิง,เครื่องใช้และอุปกรณ์ไฟฟ้า เครื่องจักรกล และยาง สินค้าที่ส่งออกส่วนใหญ่มีมูลค่าการส่งออกลดลงมากโดยเฉพาะยาง โดยตลาดส่งออกหลักคือ ญี่ปุ่น ที่มีมูลค่าการส่งออก 4,103 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รองลงมาคือ จีน สหรัฐอเมริกา และ สิงค์โปร์ ซึ่งตลาดหลักโดยส่วนใหญ่มีมูลค่าการส่งออกลดลงมากกว่าร้อยละ 20 ยกเว้น จีน ที่มีมูลค่าการส่งออกลดลงเพียงเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.2

ในขณะที่มูลค่าการนำเข้าลดลง โดยในไตรมาสที่ 2 ของปี 2552 มูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 37.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 โดยมีมูลค่าการนำเข้าทั้งสิ้น 22,283 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยส่วนใหญ่นำเข้าสินค้าประเภท สินค้าเชื้อเพลิง เครื่องจักรกล และเครื่องใช้และอุปกรณ์ไฟฟ้า ตามลำดับ ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล ซึ่งเพิ่มขึ้นเป็น 8,900 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จาก 7,600 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในไตรมาสก่อน ตลาดการนำเข้าหลักนั้นมาจาก สิงค์โปร์ จีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา มาเลเซีย เกาหลีใต้ และประเทศไทย ตามลำดับ

ด้านการเงินการคลังของประเทศอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2552 ธนาคารกลางอินโดนีเซียประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีกร้อยละ 0.25 จากร้อยละ 7.0 เหลือร้อยละ 6.75 นับเป็นการปรับลดครั้งที่ 8 ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2551 เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคและการลงทุนในประเทศประกอบกับแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ โดยอัตราเงินเฟ้อเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนขยายตัวเพียงร้อยละ 3.7 ซึ่งขยายตัวลดลงมากจากร้อยละ 7.9 ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2552

หมายเหตุ

(ฌ) - ที่มา http://apecthai.org

  • ที่มา http://www.bi.go.id
  • ที่มา http://web.worldbank.org
  • ที่มา http://www.bot.or.th
  • ที่มา http://www.gtis.com/gta
  • ที่มา http://www.ceicdata.com
  • ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาสที่ 2 ปี 2552

มาเลเซีย(ญ)

เศรษฐกิจของประเทศมาเลเซีย ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2552 หดตัวร้อยละ 3.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 ถือว่าหดตัวน้อยกว่าในไตรมาสที่ 1 เนื่องจากการใช้จ่ายในการบริโภคของภาคเอกชนรวมทั้งภาครัฐบาลมีการขยายตัวดีขึ้น แต่อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยลบทางด้านการลงทุนของภาคเอกชนและความต้องการจากภายนอกประเทศที่ลดลง

ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 2 ของปี 2552 อยู่ที่ระดับ 97.3 ลดลงร้อยละ 10.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนสิงหาคมเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี 2551 ลดลงร้อยละ 5.7 เนื่องมาจากการหดตัวของดัชนีผลผลิตน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติและการหดตัวของผลผลิตในกลุ่มเฟอร์นิเจอร์ ไม้ กระดาษและสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ภาพรวมของดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมสำหรับในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2552 หดตัวลงร้อยละ 11.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดือนเดียวกันของปีก่อน

การส่งออกในไตรมาสที่ 2 ของปี 2552 มีมูลค่าการส่งออกรวมทั้งสิ้น 36,411 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 33.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ประเทศคู่ค้าหลักของมาเลเซียมีความต้องการสินค้าลดลง, สินค้ามีระดับราคาลดลง รวมทั้งฐานที่สูงจากตัวเลขการส่งออกที่ดีในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 ในส่วนของประเทศคู่ค้าหลักนั้นสินค้าส่วนใหญ่ส่งออกไปยังสิงคโปร์ มีมูลค่าการส่งออก 5,116 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 36.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 รองลงมา คือ จีน, สหรัฐอเมริกา, และญี่ปุ่น ตามลำดับ โดยมีมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 24.0, 41.3 และ 39.0 ตามลำดับ สินค้าที่ส่งออกหลักส่วนใหญ่เป็นสินค้าประเภท Electrical Machinery มีมูลค่าการส่งออก 10,551 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 28.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 รองลงมาคือ Machinery (Reactors, Boilers) มีมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 31.5 และ Mineral Fuel, Oil ที่มีมูลค่า ลดลงมากถึงร้อยละ 52.9

ด้านการนำเข้า ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2552 ประเทศมาเลเซียมีมูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 31 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 มีมูลค่าการนำเข้าทั้งสิ้น 28,924 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ส่วนใหญ่นำเข้าสินค้าประเภท Electrical Machinery ซึ่งมีมูลค่าการนำเข้า 8,910 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ ร้อยละ 30.8 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด รองลงมา คือสินค้าประเภท Machinery (Reactors, Boilers), Mineral Fuel, Oil ที่มีสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 14.5 และ 7.3 ตามลำดับ โดยมีตลาดนำเข้าหลักคือ ประเทศจีน มีมูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 20.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 รองลงมาคือ ญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา ตามลำดับ โดยมีมูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 32.2 และ 25.7 ตามลำดับ

หมายเหตุ

(ญ) - ที่มา http://www.gtis.com/gta

  • ที่มา http://www.ceicdata.com
  • ที่มา http://apecthai.org
  • ที่มา http://www.exim.go.th
  • ที่มา http://www.bnm.gov.my/
  • ที่มา http://www.statistics.gov.my/
  • ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาสที่ 2 ปี 2552

ดัชนีราคาผู้บริโภคของมาเลเซียในไตรมาสที่ 3 ของปี 2552 อยู่ที่ระดับ 112.1 ถือเป็นระดับที่ลดลงร้อยละ 2.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยมีดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือนกันยายนอยู่ที่ระดับ 112.4 ลดลงร้อยละ 2.0 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน

ด้านการเงินการคลัง อัตราดอกเบี้ยยังคงอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.0 โดย Malaysian Institute of Economic Research สถาบันวิจัยชั้นนำของมาเลเซียคาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยจะคงอยู่ที่ระดับนี้ไปอย่างน้อยจนถึงปี 2010 หรือเมื่อภาวะเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศเริ่มฟื้นตัว

ฟิลิปปินส์(ฎ)

เศรษฐกิจประเทศฟิลิปปินส์ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2552 ขยายตัวร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่2 ของปี 2551 เนื่องจากแผนกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลที่เน้นการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ทำให้ภาคก่อสร้างและเหมืองแร่ฟื้นตัว รวมทั้งมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายของภาคครัวเรือน โดยตัวบ่งชี้ทางเศรษฐกิจต่างๆ เริ่มส่งสัญญาณที่ดีขึ้นเล็กน้อย ทั้งยอดจำหน่ายยานพาหนะและพลังงานที่เพิ่มขึ้น การใช้กำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้น และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและภาคธุรกิจต่อภาคเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามฟิลิปปินส์ยังมีอัตราการว่างงานในระดับที่สูงในเดือนกรกฎาคม คือ อยู่ที่ระดับร้อยละ 7.6 รวมทั้งภาคการส่งออกยังปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง

การผลิตของภาคอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 2 ของปี 2552 อยู่ที่ระดับ 122.2 หดตัวลงร้อยละ 18.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 ทั้งนี้รัฐบาลฟิลิปปินส์คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี หลังจากแผนกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลเริ่มเห็นผลเป็นรูปธรรมและเศรษฐกิจโลกเริ่มดีขึ้น

ด้านการส่งออก ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2552 ฟิลิปปินส์มีมูลค่าการส่งออกรวม 9,297 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 28.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 โดยการส่งออกสินค้าสำคัญยังปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นสินค้าส่งออกหลักอย่าง Electrical Machinery และ Special Classification Provisions ที่ปรับตัวลดลงร้อยละ 16.4 และ 38.7 ตามลำดับ และการส่งออกส่วนใหญ่ส่งออกไปยังประเทศสหรัฐอเมริกามีมูลค่าการส่งออก 1,540 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 24.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 รองลงมา คือ ญี่ปุ่นและจีน ที่มีมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 23.7 และ 41.6 ตามลำดับ

หมายเหตุ

(ฎ) - ที่มา http://www.gtis.com/gta

  • ที่มา http://www.ceicdata.com
  • ที่มา http://www.exim.go.th
  • ที่มา http://www.bsp.gov.ph/
  • ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังคงเป็นไตรมาสที่ 2 ปี 2552

ด้านการนำเข้า ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2552 ฟิลิปปินส์มีมูลค่าการนำเข้ารวม 10,765 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 27.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 การนำเข้าส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น ร้อยละ 11.8 ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมด, สหรัฐอเมริกา ร้อยละ 11.3, และจีนร้อยละ 8.7 โดยสินค้านำเข้าหลักเป็นสินค้าประเภท Mineral Fuel, Oil มีมูลค่าการนำเข้า 1,926 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 44 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 รองลงมาเป็นสินค้าประเภท Electrical Machinery, Special Classification Provisions, Nesoi, Machinery (Reactors, Boilers) ตามลำดับ ที่มีมูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ11.8, 37.3 และร้อยละ25 ตามลำดับ ทั้งนี้ฟิลิปปินส์ได้มีการวางแผนเตรียมนำเข้าข้าวจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น เนื่องจากพื้นที่ทางการเกษตรได้รับความเสียหายจากภัยพิบัติ ทำให้ปริมาณข้าวสำรองในประเทศอาจไม่เพียงพอในปี 2553

ดัชนีราคาผู้บริโภคของฟิลิปปินส์ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2552 อยู่ที่ระดับ 160.5 เป็นระดับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ของปี 2551 เป็นผลมาจากราคาอาหาร เครื่องดื่มและบุหรี่ที่ปรับตัวสูงขึ้น

ด้านการเงินการคลังธนาคารกลางฟิลิปปินส์ได้ชะลอการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 4.0 อย่างไรก็ตามมีการคาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยอาจมีการปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากชาวฟิลิปปินส์จะมีรายจ่ายเกี่ยวกับการซ่อมแซมบ้านเรือนที่ได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติ

อินเดีย(ฏ)

เศรษฐกิจของอินเดียในไตรมาสที่ 2 ของปี 2552 ขยายตัวร้อยละ 6.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 และขยายตัวร้อยละ 6.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสแรก โดยการขยายตัวทางเศรษฐกิจยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งขยายตัวร้อยละ 9 ต่อปี แต่ถือว่าภาวะเศรษฐกิจดีกว่าหลายประเทศในเอเชียเนื่องจากอินเดียเน้นเศรษฐกิจหรือการบริโภคภายในมากกว่าการส่งออก อย่างไรก็ตาม ภาวะแห้งแล้งที่เลวร้ายที่สุดในรอบ 7 ปีที่เกิดขึ้นในขณะนี้ทำให้อาจเกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจในอีกหลายเดือนข้างหน้าเพราะภาคการเกษตรเป็นภาคการค้าที่สำคัญของอินเดีย โดยภาคการเกษตรของอินเดียในไตรมาสที่ 2 ของปี 2552 ผลผลิตลดลงเนื่องจากฝนตกน้อยและเกิดภาวะแห้งแล้ง ภาคการเกษตรจึงขยายตัวร้อยละ 2.4 ขณะที่ภาคการผลิตขยายตัวร้อยละ 3.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา

หมายเหตุ

(ฏ) - ที่มา www.gtis.com/gta

  • ที่มา http://www.apecthai.org
  • ที่มา http://web.worldbank.org
  • ที่มา http://www.bot.or.th
  • ที่มา http://www.gtis.com/gta
  • ที่มา http://www.ceicdata.com
  • ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาสที่ 2 ปี 2552

ด้านการลงทุนของอินเดีย ธนาคารกลางอินเดียเปิดเผยถึงตัวเลขการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ(FDI) ในเดือนสิงหาคม 2552 ว่ามีจำนวนทั้งสิ้น 3.26 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 40.5 เมื่อเทียบกับเดือนสิงหาคม 2551 เป็นผลให้ตัวเลขการลงทุน FDI ในช่วง 5 เดือนแรก ลดลงร้อยละ 3.41 อยู่ที่จำนวน 14.14 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยยอดการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์เดือนสิงหาคม มีจำนวนทั้งสิ้น 926 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 56.15

ดัชนีราคาผู้บริโภคของอินเดียในไตรมาสที่ 2 ของปี 2552 อยู่ที่ระดับ 151.3 เป็นระดับที่ขยายตัวร้อยละ 8.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 โดยยังเป็นการเพิ่มขึ้นมากของราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม และพลังงาน

ทางด้านการส่งออกของประเทศอินเดียในเดือนสิงหาคม ของปี 2552 มีมูลค่าลดลงร้อยละ 19.4 เมื่อเทียบกับเดือนสิงหาคมของปี 2551 และมีมูลค่าส่งออกทั้งสิ้น 14.28 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยลดลงเป็นเดือนที่ 11 ติดต่อกัน เนื่องจากปริมาณความต้องการสินค้าจากต่างประเทศยังคงซบเซาถึงแม้จะมีการกระตุ้นเศรษฐกิจจากรัฐบาล แต่ถือว่าเป็นการลดลงที่ชะลอตัวจากเดือนกรกฎาคม 2552 ที่หดตัวร้อยละ 28.4

ส่วนทางด้านการนำเข้าในเดือนสิงหาคม ของปี 2552 มีมูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 32.4 เมื่อเทียบกับเดือนสิงหาคม ของปี 2552 โดยมีมูลค่าการนำเข้าทั้งสิ้น 22.66 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยมูลค่าการนำเข้าสินค้าน้ำมันลดลงร้อยละ 45.5 และมูลค่าการนำเข้าสินค้าที่ไม่ใช่น้ำมันลดลงร้อยละ 25.5

สรุปเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจต่างประเทศที่สำคัญ

 ประเทศ         ปี2550                         ปี 2551                                     ปี 2552
                       ไตรมาส1    ไตรมาส2    ไตรมาส3   ไตรมาส4     ทั้งปี        ไตรมาส1   ไตรมาส2   ไตรมาส3
Real GDP(%yoy)
 สหรัฐอเมริกา       2.0      2.1        1.6      0.03     -1.9       0.5           -3.3      -3.8      -2.3
 สหภาพยุโรป        2.7      2.2        1.4       0.4     -1.8       0.6           -4.9      -4.8       n.a.
 ญี่ปุ่น              2.4      1.4        0.7      -0.3     -4.5      -0.7           -8.4      -7.2       n.a.
 จีน              13.2     10.6       10.1       9.0      6.8       9.1            6.1       7.9       8.9
 ฮ่องกง            6.4      7.3        4.1       1.5     -2.6       2.4           -7.8      -3.8       n.a.
 เกาหลีใต้          5.0      5.8        4.8       3.1     -3.5       2.5           -4.4      -2.5       0.6
 สิงค์โปร์           7.8      6.7        2.5       0.0     -4.2       1.1           -9.5      -3.7       n.a.
 อินโดนีเซีย         6.1      6.3        6.4       6.4      5.2       5.9            4.4       4.0       n.a.
 มาเลเซีย          6.2      7.4        6.6       4.8      0.1       4.7           -6.2      -3.9       n.a.
 ฟิลิปปินส์           6.9      3.9        4.2       4.6      2.9       3.9            0.6       1.5       n.a.
 อินเดีย            9.4      8.8        8.2       7.8      4.8       7.3            4.1       6.0       n.a.

 MPI (YoY%)     ปี2550                    ปี 2551                                         ปี 2552
                       ไตรมาส1    ไตรมาส2   ไตรมาส3  ไตรมาส4       ทั้งปี        ไตรมาส1   ไตรมาส2   ไตรมาส3
 สหรัฐอเมริกา       1.5      1.4       -0.4      -3.2     -6.6      -2.2          -11.6     -12.9      -9.7
 สหภาพยุโรป        3.7      2.9        0.1      -4.0    -10.0      -2.8          -16.7     -17.4       n.a.
 ญี่ปุ่น              3.0      3.5        1.6      -3.3    -15.0      -3.3          -34.0     -27.7     -19.9
 จีน               2.0     -1.2       -5.4     -13.7    -31.3     -12.9          -12.6      -2.1      15.3
 ฮ่องกง           -1.5     -4.5       -4.2      -7.0    -10.6       -11          -10.1      -9.5       n.a.
 เกาหลีใต้          6.7     10.9        8.9       5.5    -11.3       3.5          -15.5      -6.2       n.a.
 สิงค์โปร์           5.9     12.3       -5.6     -11.0    -10.7      -4.2          -24.1      -2.4       n.a.
 อินโดนีเซีย         5.4      5.8        3.3       1.6      0.5       2.9           0.2        0.7       n.a.
 มาเลเซีย          2.3      6.9        3.1       1.4     -9.1       0.6          -14.4     -10.9       n.a.
 ฟิลิปปินส์          -3.4     -0.4        7.9      10.4     -0.2       4.4          -22.2     -18.2       n.a.
 อินเดีย            9.4      6.7        5.2       4.6      0.7       4.3           0.1        5.5       n.a.

ที่มา : CEIC

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ