สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 3 (กรกฎาคม — กันยายน) พ.ศ. 2552(อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า)

ข่าวเศรษฐกิจ Monday November 30, 2009 14:37 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

1. สถานการณ์ปัจจุบัน

การผลิต

ปริมาณการผลิตเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในไตรมาสที่3ปี2552มีประมาณ1,640,115 เมตริกตัน (ไม่รวมผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กแผ่นเคลือบและท่อเหล็กเพื่อไม่ให้เกิดการนับซ้ำ) ลดลง ร้อยละ 18.0 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนและเมื่อพิจารณาใน รายผลิตภัณฑ์ พบว่า ผลิตภัณฑ์เหล็กส่วนใหญ่มีการผลิตที่ลดลง โดยผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตลดลงมากที่สุดในช่วงนี้ คือเหล็กแผ่นเคลือบอื่นๆ ลดลง ร้อยละ 50 รองลงมาคือผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป และเหล็กทรงยาว ลดลง ร้อยละ 27 และ 21 ตามลำดับ โดยเป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ ชะลอตัวส่งผลให้ความต้องการใช้ในประเทศของอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่สำคัญได้แก่ อุตสาหกรรมก่อสร้างอุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมไฟฟ้าและ อิเล็กทรอนิกส์ ลดลง นอกจากนี้ ยังเป็นผลมาจากปริมาณสต๊อกของผู้ใช้ซึ่งถึงแม้จะเริ่มลดลงไปบ้างแล้วเนื่องจากอุตสาหกรรมต่อเนื่องได้ลดคำสั่งซื้อ ตั้งแต่ช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2551 เป็นต้นมา แต่ยังคงมีปริมาณสินค้าคงคลังเหลืออยู่ สำหรับความต้องการของตลาดต่างประเทศก็ลดลงด้วยจากวิกฤติ เศรษฐกิจโลก ส่งผลให้กำลังซื้อของตลาดต่างประเทศหดตัวลง จึงทำให้ผู้ผลิตเหล็กในประเทศต้องลดการผลิตลง รายละเอียดตามตารางที่ 1

ตารางที่ 1 : ปริมาณการผลิตเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญไตรมาสที่ 3 ปี 2552 เทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 2551

หน่วย : เมตริกตัน

          ผลิตภัณฑ์                            ไตรมาสที่ 3           ไตรมาสที่ 3         อัตราการ
                                             ปี 2552                ปี 2551        เปลี่ยนแปลง

(ร้อยละ)

ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป(Semi-Finished Products)   960,285           1,313,639           -27%

เหล็กทรงยาว(Long Products)                     906,729           1,141,818           -21%

เหล็กทรงแบน(Flat Products)                   1,307,746           1,359,875            -4%
  เหล็กแผ่นรีดร้อน(Hot-rolled Flat)               733,387             868,583           -16%
  เหล็กแผ่นรีดเย็น(Cold-rolled Flat)              366,886             245,898            49%
  เหล็กแผ่นเคลือบ (Coated Steel)                 207,473             245,394           -15%
     เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี (Galvanized Sheet)      68,403              66,057             4%
     เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก (Tin plate)              101,135             103,024            -2%
เหล็กแผ่นเคลือบโครเมียม (Tin free)
     อื่นๆ (other coated steel)                  37,935              76,313           -50%

ท่อเหล็ก (Pipes & Tubes)                            N/A                 N/A            N/A
          รวม(ก)                            1,640,115           2,010,400           -18%

ที่มา : สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย

หมายเหตุ(ก) : ไม่รวมผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กแผ่นเคลือบ และท่อเหล็กเพื่อไม่ให้เกิดการนับซ้ำ

การใช้ในประเทศ(ข)

ปริมาณการใช้เหล็กและเหล็กกล้าในประเทศที่สำคัญในไตรมาสที่ 3 ปี 2552 ประมาณ 2,736,136 เมตริกตัน ลดลง ร้อยละ 26 เมื่อ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นผลมาจากความต้องการใช้ในประเทศของเหล็กทรงยาวที่ลดลง ร้อยละ 32 จากความต้องการใช้ของตลาด อสังหาริมทรัพย์ที่หดตัวอย่างต่อเนื่องตามการชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจและความเชื่อมั่นของนักลงทุนและผู้บริโภคที่อยู่ในระดับต่ำ สำหรับความต้องการ ใช้ในประเทศของเหล็กทรงแบนลดลง ร้อยละ 23 เนื่องจากความต้องการใช้ของอุตสาหกรรมที่สำคัญ เช่น ยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ที่ลดลง แต่หาก เปรียบเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าคือไตรมาสที่ 2 ปี2552 จะพบว่าปริมาณการผลิต การนำเข้า การส่งออก และ การบริโภค ขยายตัวเพิ่มขึ้นทั้งสิ้น

การนำเข้า

มูลค่าและปริมาณการนำเข้าเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในไตรมาสที่ 3 ปี 2552 มีจำนวนประมาณ 44,478 ล้านบาท และ 1,933,832 เมตริกตัน โดยมูลค่าและปริมาณการนำเข้าลดลง ร้อยละ 57 และ 32 ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าลดลงมากที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน (HR sections ) ลดลง ร้อยละ 84.7 เหล็กแผ่นเคลือบโครเมียม (Tin free) ลดลง ร้อยละ 80.5 และผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูปชนิดอื่นๆ ลดลง ร้อยละ 74.5

ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้ามากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีแบบจุ่มร้อนมีมูลค่า 5,862 ล้านบาท เหล็กแท่งแบน มีมูลค่า 5,699 ล้านบาท และเหล็กแผ่นบางรีดร้อน มีมูลค่า 4,392 ล้านบาทรายละเอียดตามตารางที่ 2

หมายเหตุ (ข)ข้อมูลการใช้ในประเทศจะเป็นปริมาณการใช้ปรากฎ(Apparent Steel Use) ซึ่งรวมสต๊อกไว้ด้วย

ตารางที่ 2 : ปริมาณและมูลค่าการนำเข้าเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญไตรมาสที่ 3 ปี 2552 เทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 2551

หน่วย : ปริมาณ: เมตริกตัน

มูลค่า : ล้านบาท

          ผลิตภัณฑ์                          ไตรมาสที่ 3 ปี 2552       ไตรมาสที่ 3 ปี 2551   อัตราการเปลี่ยนแปลง(ร้อยละ)   ตลาดนำเข้าที่สำคัญ
                                           ปริมาณ      มูลค่า        ปริมาณ      มูลค่า      ปริมาณ    มูลค่า
ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป
  (Semi-Finished Products)               763,524   10,159.38    1,024,195  31,161.82   -25.5%  -67.4%           รัสเซีย ยูเครน
 - เหล็กแท่งเล็ก (Billet)                   266,360    3,904.44      310,148   8,818.61   -14.1%  -55.7%           รัสเซีย ยูเครน
 - เหล็กแท่งแบน (Slab)                     459,513    5,699.45      633,352  20,162.44   -27.4%  -71.7%           รัสเซีย ยูเครน
 - อื่นๆ (Others)                           37,651      555.49       80,695   2,180.77   -53.3%  -74.5%           รัสเซีย ยูเครน

เหล็กทรงยาว (Long Products)               153,038    3,685.16      216,489   8,042.77   -29.3%  -54.2%           ญี่ปุ่น จีน
 - เหล็กเส้น (Bar)                          49,289    1,375.03       68,497   2,475.33   -28.0%  -44.5%           ญี่ปุ่น จีน
  • เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน
   (HR sections )                          1,818       68.30        8,770     445.12   -79.3%  -84.7%           ลักเซมเบอร์ กญี่ปุ่น
 - เหล็กลวด (Wire rods)                   101,931    2,241.83      139,222   5,122.32   -26.8%  -56.2%           ญี่ปุ่น จีน

เหล็กทรงแบน (Flat Products )              953,890   26,119.78    1,472,450  54,386.09   -35.2%  -52.0%           ญี่ปุ่น เกาหลีใต้
เหล็กแผ่นรีดร้อน (Hot-Rolled Flat Products)  431,853    9,113.34      720,652  23,117.97   -40.1%  -60.6%           ญี่ปุ่น เกาหลีใต้
- เหล็กแผ่นหนารีดร้อน(HR plate)               22,195      764.37       34,225   1,572.37   -35.2%  -51.4%           ญี่ปุ่น จีน
- เหล็กแผ่นบางรีดร้อน (HR sheet)             252,360    4,392.79      428,662  14,011.65   -41.1%  -68.6%           ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย
- เหล็กแผ่นบางรีดร้อนชนิดผ่านการกัดล้างและชุบน้ำมัน
  (HR sheet P&O )                        157,299    3,956.19      257,766   7,533.95   -39.0%  -47.5%           ญี่ปุ่น เกาหลีใต้

เหล็กแผ่นรีดเย็น (Cold-Rolled Flat Products) 174,549    6,132.61      256,703  11,639.31   -32.0%  -47.3%           ญี่ปุ่น เกาหลีใต้
- เหล็กแผ่นรีดเย็น (CR carbon steel)         147,212    3,768.48      226,728   8,332.80   -35.1%  -54.8%           ญี่ปุ่น  เกาหลีใต้
- เหล็กแผ่นรีดเย็นไร้ สนิม (CR stainless steel) 27,337    2,364.13       29,975   3,306.51    -8.8%  -28.5%           ญี่ปุ่น  เกาหลีใต้

เหล็กแผ่นเคลือบ  (Coated Steel Products)     47,488   10,873.83      495,094  19,628.82   -29.8%  -44.6%           ญี่ปุ่น เกาหลีใต้
- เคลือบสังกะสีแบบจุ่ม ร้อน (Galv. Sheet (HDG))193,940    5,862.06      280,843   9,906.98   -30.9%  -40.8%           ญี่ปุ่น เกาหลีใต้
- เคลือบสังกะสีด้วยไฟฟ้า (Galv. Sheet (EG))    46,171    1,305.90       52,801   2,077.71   -12.6%  -37.1%           ญี่ปุ่น ไต้หวัน
- เคลือบดีบุก (Tin plate)                    26,261      892.23       38,336   1,724.23   -31.5%  -48.3%           จีน ญี่ปุ่น
- เคลือบโครเมียม (Tin free)                  4,197      187.13       19,275     957.65   -78.2%  -80.5%           เกาหลีใต้ ไต้หวัน
- อื่นๆ (Others)                            76,918    2,626.52      103,838   4,962.24   -25.9%  -47.1%           ญี่ปุ่น เกาหลีใต้

ท่อเหล็ก (Pipe)                             63,380    4,513.78      134,633  10,591.03   -52.9%  -57.4%           จีน ญี่ปุ่น
- ท่อเหล็กไร้ตะเข็บ (Pipe-Seamless)           38,722    2,659.76       90,325   6,989.09   -57.1%  -61.9%           จีน ญี่ปุ่น
- ท่อเหล็กมีตะเข็บ (Pipe- Welded)             24,658    1,854.03       44,307   3,601.93   -44.3%  -48.5%           เกาหลีใต้ จีน
          รวม                          1,933,832   44,478.10    2,847,766 104,181.70   -32.1%  -57.3%           ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีน

ที่มา : กรมศุลกากร

การส่งออก

มูลค่าและปริมาณการส่งออกเหล็กและเหล็กกล้าในไตรมาสที่ 3 ปี 2552 มีจำนวนประมาณ 9,892 ล้านบาท และ 325,297 เมตริกตัน โดยมูลค่าและปริมาณการส่งออก ลดลง ร้อยละ 57 และ 41 ตามลำดับ เนื่องจากตลาดส่งออกที่สำคัญของไทย ได้แก่ ตลาดในกลุ่มอาเซียน ตะวันออก กลางประสบปัญหาเศรษฐกิจถดถอย ส่งผลให้ความต้องการใช้ลดลง

ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกลดลงมากที่สุดในช่วงนี้เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ เหล็กแผ่นแบน ซึ่งไม่มีการส่งออกเลย รอง ลงมาคือเหล็กแผ่นบางรีดร้อน ชนิดผ่านการกัดล้างและชุบน้ำมัน ลดลง ร้อยละ 92 เหล็กแผ่นหนารีดร้อน ลดลง ร้อยละ 91 และเหล็กแท่งเล็ก ลดลง ร้อยละ 88

ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นมากที่สุดในช่วงนี้เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนได้แก่ ท่อเหล็กไร้ตะเข็บ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 60 รอง ลงมาคือ เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก เพิ่มขึ้น ร้อยละ55 สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีการมูลค่าการส่งออกมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ท่อเหล็กมีตะเข็บ มีมูลค่า 2,962 ล้านบาทรองลงมาคือ เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน มีมูลค่า 1,237 ล้านบาท และท่อไร้ตะเข็บ มีมูลค่า 927 ล้านบาท

2. สรุป

สถานการณ์เหล็กโดยรวมในไตรมาสที่ 3 ของปี 2552 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนพบว่าการผลิตโดยรวมลดลง ร้อยละ 18 ความต้องการใช้ในประเทศ ลดลง ร้อยละ 26 สำหรับมูลค่าและปริมาณการนำเข้า ลดลง ร้อยละ 57 และ 32 ตามลำดับ โดยเป็นผลมาจากการลด ลงของการนำเข้าเหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน ลดลง ร้อยละ 79 รองลงมาคือ เหล็กแผ่นเคลือบโครเมียม ลดลงร้อยละ 78 และท่อเหล็กไร้ ตะเข็บ ลดลง ร้อยละ 57 สำหรับมูลค่าและปริมาณการส่งออกโดยรวม ลดลงร้อยละ 57 และ 41โดยเป็นผลมาจากการลดลงของเหล็กแท่งแบน ซึ่งใน ไตรมาสนี้ไม่มีการส่งออกเลยรองลงมาคือเหล็กแผ่นบางรีดร้อน ชนิดผ่านการกัดล้างและชุบน้ำมัน ลดลง ร้อยละ 87 และเหล็กแท่งเหล็ก ลดลง ร้อย ละ 74

สำหรับสถานการณ์ราคาผลิตภัณฑ์เหล็กที่สำคัญ(FOB) ในตลาดโลกจาก CIS ณ ท่า Black Sea ณ วันที่ 29 ตุลาคม 2552 เป็นดังนี้

  • ราคาเศษเหล็ก ( EU Shredded) 240 เหรียญสหรัฐ ( ณ วันที่ 22 ตุลาคม 2552)
  • ราคาเหล็กแท่งเล็กบิลเล็ต 385 เหรียญสหรัฐต่อตัน
  • ราคาเหล็กเส้น 435 เหรียญสหรัฐต่อตัน
  • ราคาเหล็กแท่งแบน 398 เหรียญสหรัฐต่อตัน
  • ราคาเหล็กแผ่นรีดร้อน 500 เหรียญสหรัฐต่อตัน
  • ราคาเหล็กแผ่นรีดเย็น 606 เหรียญสหรัฐต่อตัน

ซึ่งพบว่าราคาผลิตภัณฑ์เหล็กเริ่มปรับตัวสูงขึ้นตั้งแต่ประมาณเดือนมิถุนายน 2552 หลังจากลดลงมาตลอดตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2551 ทั้งนี้ เป็นผลมาจากแนวโน้มสถานการณ์ทางเศรษฐกิจโลกที่เริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัว สต๊อกที่มีอยู่เริ่มลดลงจึงทำให้มีคำสั่งซื้อเพิ่มมากขึ้น

สำหรับสถานการณ์เหล็กโลก หลังการประชุมประจำปีที่นครปักกิ่ง สมาคมเหล็กโลกได้ออกผลประมาณการความต้องการเหล็กฉบับล่าสุด โดยคาดว่า การบริโภคเหล็กปรากฏของโลกน่าจะลดลง 8.6% จากปี 2008 เหลือ 1,103.7 ล้านตันในปีนี้ อย่างไรก็ตาม สมาคมคาดว่า การบริโภค เหล็กจะพื้นตัวในปีหน้า โดยการบริโภคเหล็กปรากฏในปี 2010 จะเพิ่มขึ้นเป็น 1,205.6 ล้านตัน ซึ่งใกล้เคียงกับปริมาณการบริโภคในปี 2008 ที่ 1,207.0 ล้านตัน

บริษัท ArcelorMittal ซึ่งเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดของโลกกำลังจะเปลี่ยนเป้าหมายจากประเทศพัฒนาแล้วไปยังกลุ่มประเทศตลาดเกิด ใหม่ โดยบริษัทตั้งเป้าที่จะเพิ่มสัดส่วนการผลิตในประเทศกำลังพัฒนา จากเดิม 40% ของการผลิตรวมของบริษัท เป็น 50% ในอนาคต นาย Lakshmi Mittal ซีอีโอของบริษัทได้กล่าวกับกลุ่มผู้บริหารในการประชุมในเมืองนิวยอร์คว่า ในขณะที่สหรัฐฯและยุโรปกำลังขะมักเขม้นกับการวิจัยและพัฒนา เทคโนโลยีการผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กใหม่ๆ แต่จีน รวมถึงกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่จะเป็นผู้ผลักดันของการเติบโตของอุตสาหกรรมเหล็กใน อนาคต ด้วยสาเหตุนี้เอง บริษัทจึงต้องการที่จะเพิ่มกำลังการผลิตของตนในประเทศกำลังพัฒนาและมีความจำเป็นที่จะต้องทบทวนแผนการลงทุนใน ประเทศที่พัฒนาแล้ว

ในส่วนของแร่เหล็ก จากงานเสวนาประจำปีระหว่างตัวแทนของอุตสาหกรรมเหล็กญี่ปุ่นและจีนเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2552 อุตสาหกรรม เหล็กของญี่ปุ่นและจีนได้ร่วมกันแสดงจุดยืนที่จะต่อต้านแผนการร่วมกิจการเหมืองแร่เหล็กระหว่าง BHP Billiton กับ Rio Tinto โดยก่อนหน้านี้ สหพันธ์เหล็กและเหล็กกล้าญี่ปุ่น (JISF) และสมาคมเหล็กและเหล็กกล้าจีน (CISA) ต่างเคยออกแถลงการโจมตีแผนการรวมกิจการของบริษัทเหมือง แร่ทั้งสองมาแล้ว โดยอ้างว่าการรวมตัวครั้งนี้จะทำให้เกิดการผูกขาดในตลาดแร่เหล็กหลังจากนั้นในวันที่16 กรกฎาคม กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม (METI)ญี่ปุ่น ร่วมกับสหพันธ์เหล็กและเหล็กกล้าญี่ปุ่นได้ทำการประชุมร่วมกับกระทรวงพาณิชย์จีน สมาคมเหล็กและเหล็กกล้าจีน และผู้ ผลิตเหล็กจีน เช่น บริษัท Baosteel ซึ่งนอกจากกรณีแผนการรวมกิจการของบริษัทเหมืองแล้ว ฝ่ายญี่ปุ่นก็มีความกังวลเกี่ยวกับผลผลิตเหล็กของจีนที่ กำลังเพิ่มขึ้น โดยฝ่ายญี่ปุ่นรับทราบว่า ในขณะที่ผลผลิตเหล็กจีนเพิ่มขึ้นแต่ปริมาณการส่งออกเหล็กของจีนกลับลดลง ซึ่งฝ่ายญี่ปุ่นต้องการสอบถามให้แน่ใจ ว่า ผลผลิตส่วนเกินทั้งหมดจะถูกบริโภคภายในประเทศจีน โดยจะไม่มีสินค้าเหล็กทะลักไปยังตลาดส่งออกในอนาคตอันใกล้

3.แนวโน้ม

แนวโน้มสถานการณ์เหล็กโดยรวมในประเทศในไตรมาสที่ 4 ของ ปี 2552 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ของ ปี 2552 คาดการณ์ว่า ทั้ง เหล็กทรงยาวและเหล็กทรงแบนจะมีการผลิตและความต้องการใช้ในประเทศขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากการเร่งใช้งบประมาณและแผนการกระตุ้น เศรษฐกิจของภาครัฐจึงมีผลทำให้อุตสาหกรรมก่อสร้างซึ่งเป็นผู้ใช้เหล็กทรงยาวที่สำคัญมีแนวโน้มฟื้นตัวขึ้น ขณะเดียวกันอุตสาหกรรมต่อเนื่องซึ่งเป็นผู้ใช้ เหล็กทรงแบนที่สำคัญ ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้ามีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นแล้ว และเมื่อพิจารณาในด้านการส่งออก คาดการณ์ว่าการส่งออก จะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเนื่องจากความต้องการเหล็กในตลาดโลกเริ่มกลับมาแล้ว อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสถานการณ์เหล็กไทยใน ไตรมาสที่ 4 จากการที่ระดับราคาน้ำมันเริ่มเพิ่มสูงขึ้น และราคาวัตถุดิบที่มีความผันผวนอยู่ตลอดเวลา ส่งผลให้ผู้ผลิตมีต้นทุนสูงขึ้น

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ