สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 3 (กรกฎาคม — กันยายน) พ.ศ. 2552(อุตสาหกรรมยานยนต์)

ข่าวเศรษฐกิจ Monday November 30, 2009 15:07 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2552 คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องยนต์ดีเซลขนาดเล็ก ระบายความร้อนด้วยน้ำต้องเป็นไปตามมาตรฐานพ.ศ. .... ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ และส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ โดยมีสาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา กล่าวคือ เป็นการยกเลิกพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องยนต์ ดีเซลขนาดเล็กระบายความร้อนด้วยน้ำต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. 2547 และปรับปรุงการกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องยนต์ดีเซลขนาด เล็กระบายความร้อนด้วยน้ำต้องเป็นไปตามมาตรฐาน เลขที่ มอก. 787-2551 ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3868 (พ.ศ. 2551) ออก ตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกและกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องยนต์ดีเซลขนาด เล็กระบายความร้อนด้วยน้ำ ลงวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2551 (ที่มา : www.thaigov.go.th)

สถานการณ์ด้านการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2552 มีโครงการลงทุนที่ได้รับ อนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนรวม 15 โครงการ คิดเป็นเงินลงทุนรวม 2,873.70 ล้านบาท ชะลอตัวจากไตรมาสเดียวกันของ ปี 2551 ร้อยละ 24.47 อย่างไรก็ดีได้ส่งผลให้เกิดการจ้างแรงงานไทยเพิ่มขึ้น 909 คน ในจำนวนนี้มีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่มีเงินลงทุนมากกว่า 500 ล้านบาท จำนวน 1 โครงการ คือ โครงการของ บริษัท แคททาเลอร์ (ประเทศไทย) จำกัด โดยได้รับการส่งเสริมให้ผลิตไส้กรองไอเสีย สำหรับยานพาหนะ มีเงินลงทุน950 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทยกว่า 24 คน (รายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.boi.go.th)

อุตสาหกรรมรถยนต์

การผลิต ปริมาณการผลิตรถยนต์ของประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2552 (ม.ค.-ก.ย.)มีจำนวน 651,628 คัน เมื่อเปรียบ เทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2551 ลดลงร้อยละ 39.03 โดยมีการผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ลดลงร้อย ละ 32.11, 42.09 และ 27.95 ตามลำดับ ซึ่งจากปริมาณการผลิตรถยนต์โดยรวม เป็นการผลิตเพื่อการส่งออก 368,552 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อย ละ 56.56 ของปริมาณการผลิตทั้งหมด โดยแบ่งเป็นการผลิตรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน เพื่อการส่งออกร้อยละ 77.25 และการผลิตรถยนต์นั่งเพื่อการส่งออก ร้อยละ 22.75 สำหรับรถยนต์นั่งที่มีการผลิตเพื่อส่งออกมากที่สุด ได้แก่ รถยนต์นั่งที่มีขนาดเครื่องยนต์ 1,201-1,500 ซีซี รองลงมาคือ รถยนต์นั่งที่มี ขนาดเครื่องยนต์ 1,501-1,800 ซีซี และรถยนต์นั่งที่มีขนาดเครื่องยนต์ 2,001-2,500 ซีซีตามลำดับ เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สามของปี 2552 มี การผลิตรถยนต์ จำนวน 262,543 คัน เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการผลิตรถยนต์ลดลงร้อยละ 24.83 โดยมีการผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ลดลงร้อยละ 17.98, 28.15 และ 4.63 ตามลำดับ หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สามกับไตรมาสที่ สองของปี 2552 ปริมาณการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.10 โดยมีการผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 27.39, 44.37 และ 29.54 ตามลำดับ

การจำหน่าย ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ของประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2552 (ม.ค.-ก.ย.) มีจำนวน 366,484 คัน เมื่อ เปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2551 ลดลงร้อยละ 20.34 โดยมีการจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ และ รถยนต์ PPV รวม SUV ลดลงร้อยละ 7.62, 29.74, 26.80 และ 7.78 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สามของปี 2552 มีการจำหน่ายรถ ยนต์ จำนวน 135,056 คัน เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ลดลงร้อยละ 3.38 โดยมีการจำหน่ายรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ลดลงร้อยละ 8.69 และ 17.49 ตามลำดับ แต่มีการจำหน่ายรถยนต์นั่ง และรถยนต์ PPV รวม SUV เพิ่มขึ้นร้อย ละ 1.41 และ 31.69 ตามลำดับ หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สามกับไตรมาสที่สองของปี2552 ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.22 โดยมี การจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ และรถยนต์ PPV รวม SUV เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.95, 8.15, 20.24 และ 8.55 ตามลำดับ

การส่งออก ปริมาณการส่งออกรถยนต์ของประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2552 (ม.ค.-ก.ย.) มีปริมาณการส่งออกรถยนต์ (CBU) จำนวน 363,796 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2551 ลดลงร้อยละ 39.32 ถ้าคิดเป็นมูลค่าการส่งออกมีมูลค่า 170,456.58 ล้านบาท ลดลงจากช่วง 9 เดือนแรกของปี 2551 ร้อยละ 37.96 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สามของปี 2552 มีปริมาณการส่งออก จำนวน 129,012 คัน คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 62,136.85 ล้านบาท เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการส่งออกลดลงร้อยละ 39.59 คิดเป็นมูลค่าลดลงร้อยละ 37.64 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สามกับไตรมาสที่สองของปี 2552 ปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.42 คิด เป็นมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.27

จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์พบว่ามูลค่าการส่งออกรถยนต์นั่งของไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2552 มีมูลค่า 94,093.44 ล้านบาทลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 25.70 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถยนต์ นั่ง ได้แก่ ออสเตรเลีย ซาอุดีอาระเบีย และฟิลิปปินส์ คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 21.27, 13.98 และ 9.73 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถ ยนต์นั่งไปออสเตรเลีย มีมูลค่าลดลงร้อยละ 45.81 แต่การส่งออกรถยนต์นั่งไปซาอุดีอาระเบีย และฟิลิปปินส์ มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 88.58 และ 2.45 ตามลำดับ มูลค่าการส่งออกรถแวนและปิกอัพของไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2552 มีมูลค่า 61,522.46 ล้านบาท ลดลงจากช่วง เดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 49.72 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถแวนและปิกอัพ ได้แก่ ออสเตรเลีย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย คิดเป็นสัด ส่วนการส่งออกร้อยละ 33.97, 5.04 และ 4.71 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถแวนและปิกอัพไปออสเตรเลีย และอินโดนีเซีย มีมูลค่าลดลงร้อยละ 15.88 และ 49.86 ตามลำดับ แต่การส่งออกรถแวนและปิกอัพไปมาเลเซีย มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.97 มูลค่าการส่งออกรถบัสและรถบรรทุกของ ไทยในช่วง 9 เดือนของแรกปี 2552 มีมูลค่า 18,565.95 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 18.98 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออก สำคัญของรถบัสและรถบรรทุก ได้แก่ ซาอุดิอาระเบีย ออสเตรเลีย และจอร์แดน คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 22.33, 21.02 และ 11.73 ตาม ลำดับ โดยการส่งออกรถบัสและบรรทุกไปออสเตรเลีย มีมูลค่าลดลงร้อยละ 45.21 แต่การส่งออกรถบัสและบรรทุกไปซาอุดิอาระเบีย และจอร์แดน มี มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.01 และ 387.77 ตามลำดับ

การนำเข้า การนำเข้ารถยนต์ของประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2552 (ม.ค.-ก.ย.) มีการนำเข้ารถยนต์นั่ง และรถโดยสาร และรถบรรทุกคิดเป็นมูลค่า 9,901.09 และ 8,372.29 ล้านบาทตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2551 พบว่า การนำเข้ารถ ยนต์นั่ง และรถโดยสารและรถบรรทุกลดลงร้อยละ 5.03 และ 34.28 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สามปี 2552 มีมูลค่าการนำเข้ารถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก 3,637.31 และ 3,152.41 ล้านบาท ตามลำดับเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว พบว่า มูลค่าการนำ เข้ารถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก ลดลงร้อยละ 2.60 และ 37.70 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบไตรมาสที่สามกับไตรมาสที่สองปี2552 มูลค่าการนำเข้ารถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.73 และ 24.47 ตามลำดับ แหล่งนำเข้ารถยนต์นั่งที่สำคัญในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2552 ได้แก่ ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ และเยอรมนี คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 34.16, 18.44 และ 10.11 ตามลำดับ โดยการนำเข้า รถยนต์นั่งจากญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ และเยอรมนี ลดลงร้อยละ 8.98, 8.23 และ 20.56 ตามลำดับ ส่วนแหล่งนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และเกาหลีใต้ คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 64.65, 7.78 และ 6.88 ตามลำดับ โดยการนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถ บรรทุกจากญี่ปุ่น และสิงคโปร์ ลดลงร้อยละ 19.39 และ40.42 ตามลำดับ แต่การนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกจากเกาหลีใต้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.37

อุตสาหกรรมรถยนต์ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2552 ชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2551 เนื่องจากได้รับผลกระทบจาก สภาพเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ส่งผลให้สภาพเศรษฐกิจของประเทศไทยชะลอตัวด้วย โดยตลาดรถยนต์ภายในประเทศมีการชะลอตัว ตามสภาพเศรษฐกิจ ที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ประกอบกับในช่วงต้นปี 2552 สถาบันทางการเงินมีความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ ในขณะที่ตลาด ส่งออกก็ชะลอตัวเช่นกัน โดยเฉพาะตลาดส่งออกสำคัญ เช่น ออสเตรเลีย และเอเชีย เป็นต้น อย่างไรก็ดี หากพิจารณาเปรียบเทียบไตรมาสที่สามกับ ไตรมาสที่สองของปี 2552 พบว่า อุตสาหกรรมรถยนต์มีขยายตัว ซึ่งถือเป็นสัญญาณที่ดีของการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมรถยนต์ สำหรับตลาดภายในประเทศ ในไตรมาสนี้มีผู้ประกอบการได้แนะนำรถยนต์รุ่นใหม่โดยใช้เทคโนโลยีไฮบริด (รถยนต์ Hybrid - รถยนต์ที่ใช้แหล่งกำเนิดพลังงานตั้งแต่ 2 แหล่งขึ้น ไปโดยทั่วไปจะใช้พลังงานจากน้ำมันเชื้อเพลิงและพลังงานไฟฟ้า) แนวโน้มอุตสาหกรรมรถยนต์ในไตรมาสที่สี่ ปี 2552 คาดว่าจะขยายตัวเมื่อเปรียบ เทียบกับไตรมาสที่สาม ปี 2552 เนื่องจากเป็นฤดูกาลจำหน่ายและมีการจัดงาน Motor Expo 2009 ที่กำหนดจัดขึ้นในช่วงต้นเดือนธันวาคมนี้ โดยคาด ว่าบริษัทรถยนต์ค่ายต่างๆ จะมีการแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่ หรือจัดกิจกรรมส่งเสริมทางการตลาดเพื่อกระตุ้นยอดขายในช่วงสิ้นปี ในขณะที่การส่งออกคาด ว่าจะฟื้นตัวได้ตามภาวะเศรษฐกิจโลก สำหรับข้อมูลที่ได้จากแผนการผลิตผู้ประกอบการรถยนต์ คาดว่าจะมีการผลิตรถยนต์ในไตรมาสที่สี่ ปี 2552 ประมาณ 3.2 แสนคัน โดยเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศประมาณร้อยละ 52 และผลิตเพื่อการส่งออกประมาณ ร้อยละ 48

อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์

การผลิต ปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2552 (ม.ค.-ก.ย.) มีจำนวน 1,164,371 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2551 ลดลงร้อยละ 18.98 โดยมีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และแบบสปอร์ต 1,069,697 และ 94,674 คัน ลดลงร้อยละ 19.50 และ 12.50 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สามของปี 2552 มีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์จำนวน 416,672 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ลดลงร้อยละ 16.75 โดยมีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และแบบสปอร์ต ลดลง ร้อยละ 15.88 และ 29.16 ตามลำดับ หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สามกับไตรมาสที่สองปี 2552 มีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.91 โดยเป็นการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.93 แต่การผลิตรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต ลดลงร้อยละ 11.17

การจำหน่าย ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2552 (ม.ค.-ก.ย.) มีจำนวน 1,137,855 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2551 ลดลงร้อยละ 14.04 โดยมีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว 558,878 คัน รถจักรยานยนต์แบบสกูตเตอร์ 528,703 คัน และรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต 50,274 คัน ลดลงร้อยละ 17.79, 9.61 และ 14.76 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สามของปี 2552 มีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์จำนวน 389,358 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ลด ลงร้อยละ 13.67 โดยมีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว แบบสกูตเตอร์ และแบบสปอร์ต ลดลงร้อยละ 20.83, 4.83 และ 12.98 ตามลำดับ หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สามกับไตรมาสที่สองของปี 2551 มีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 0.73 โดยมีการจำหน่ายรถ จักรยานยนต์แบบครอบครัว และแบบสกูตเตอร์ลดลงร้อยละ 1.52 และ 0.23 ตามลำดับ แต่การจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.90

การส่งออก ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) ของประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2552 (ม.ค.-ก.ย.) มี จำนวน 396,560 คัน (เป็นการส่งออก CBU จำนวน 92,542 คัน และ CKD จำนวน 304,018 ชุด) เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2551 ลดลงร้อยละ 62.47 คิดเป็นมูลค่าการส่งออก มีมูลค่า 14,311.88 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 25.58 เมื่อพิจารณาใน ไตรมาสที่สามของปี 2552 มีปริมาณการส่งออก 147,424 คัน คิดเป็นมูลค่าการส่งออกมีมูลค่า 3,956.88 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีที่แล้ว ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 44.33 คิดเป็นมูลค่าลดลงร้อยละ 29.42 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สามกับไตรมาสที่สอง ของปี 2552 ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.18 แต่เมื่อคิดเป็นมูลค่าลดลงร้อยละ 16.34

การนำเข้า การนำเข้ารถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2552 (ม.ค.-ก.ย.) มีการนำเข้ารถจักรยานยนต์คิด เป็นมูลค่า 195.93 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2551 ลดลงร้อยละ 40.19 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สามของปี 2552 มี มูลค่าการนำเข้ารถจักรยานยนต์ 48.37 ล้านบาท เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 60.96 หากเปรียบเทียบไตร มาสที่สามกับไตรมาสที่สองของปี 2552 มูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 21.93 แหล่งนำเข้ารถจักรยานยนต์ที่สำคัญในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2552 ได้แก่ ญี่ปุ่น เยอรมนี และ สหรัฐอเมริกา มีสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 27.42, 25.13 และ 20.37 ตามลำดับ โดยการนำเข้ารถจักรยานยนต์จาก ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา ลดลงร้อยละ 37.48 และ 12.24 ตามลำดับ แต่การนำเข้ารถจักรยานยนต์จากเยอรมนี เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.01

ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2552 อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2551 ตามสภาพเศรษฐกิจ ของโลกที่ชะลอตัว ทำให้เศรษฐกิจของประเทศไทย และคู่ค้าที่สำคัญชะลอตัวตามไปด้วย สำหรับตลาดภายในประเทศที่ชะลอตัว สอดคล้องกับรายได้ของ ลูกค้าหลักของรถจักรยานยนต์ นั่นคือ เกษตรกร ที่รายได้ปรับตัวลดลงตามราคาสินค้าเกษตร ในขณะที่ตลาดส่งออกชะลอตัว ทั้งการส่งออกรถ จักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) และรถจักรยานยนต์ในลักษณะชิ้นส่วนครบชุด (CKD) มีปริมาณการส่งออกลดลง สำหรับสถานการณ์อุตสาหกรรมรถ จักรยานยนต์ในไตรมาสที่สี่ ปี 2552 คาดว่าจะขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่สาม ปี 2552 เนื่องจากมีการจัดงาน Motor Expo 2009 ใน ช่วงปลายปี 2552 ซึ่งคาดว่าผู้ประกอบการรถจักรยานยนต์จะมีการจัดกิจกรรมทางการตลาดเพื่อกระตุ้นยอดขายภายในประเทศ อีกทั้งรัฐบาลได้ออก มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบที่ 2 ซึ่งคาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ในไตรมาสนี้ สำหรับข้อมูลที่ได้จากแผนการผลิตผู้ประกอบการรถจักรยานยนต์ คาดว่า จะมีการผลิตรถจักรยานยนต์ CBU ในไตรมาสที่สี่ ปี 2552 ประมาณ 3.9 แสนคัน โดยเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศประมาณร้อยละ 94 และ ผลิตเพื่อการส่งออกประมาณร้อยละ 6

อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์

การส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์ ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2552 ( ม.ค.-ก.ย.) การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) มี มูลค่า 70,037.97 ล้านบาท ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2551 ร้อยละ 31.92 การส่งออกเครื่องยนต์ มีมูลค่า 8,740.38 ล้านบาท ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2551 ร้อยละ 40.01 และการส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ 9,346.06 ล้านบาท เพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2551 ร้อยละ 24.62 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สามของปี 2552 การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถ ยนต์ (OEM) มีมูลค่า 29,490.02 ล้านบาท การส่งออกเครื่องยนต์ มีมูลค่า 3,977.10 ล้านบาท และการส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ มีมูลค่า 3,185.92 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 2551 การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) และเครื่องยนต์ ลดลงร้อย ละ 19.18 และ 29.54 ตามลำดับ แต่การส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.27 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สามกับไตรมาสที่สองของปี 2552 มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) และเครื่องยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.45 และ 35.07 ตามลำดับ แต่การส่งออกชิ้นส่วน อะไหล่รถยนต์ ลดลงร้อยละ 0.58 จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า มูลค่าการส่งออก ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ของไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2552 มีมูลค่า 87,945.82 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 33.25 ตลาดส่งออกที่สำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ได้แก่ ญี่ปุ่น มาเลเซีย และอินโดนีเซีย คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 13.96, 12.68 และ 9.02 ตามลำดับโดยการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ไปญี่ปุ่น มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ลดลงร้อยละ 51.46, 14.68 และ 49.27 ตามลำดับ

ประเทศไทยถือเป็นฐานการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์เพื่อส่งออกของบริษัทรถยนต์หลากหลายค่ายถึงแม้ว่าในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2552 จะมี การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ลดลง แต่ทั้งนี้ก็เป็นไปตามสภาพเศรษฐกิจของโลก และประเทศคู่ค้าหลัก แต่เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบไตรมาส ที่สามกับไตรมาสที่สองของปี 2552 การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์มีการขยายตัว ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีของการฟื้นตัว

การส่งออกชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) และชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ของ ประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2552 (ม.ค.-ก.ย.) มีมูลค่า 8,389.85 และ 300.98 ล้านบาท ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2551 การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) และชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ ลดลงร้อยละ 46.13 และ 41.18 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สามของปี 2552 มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) และชิ้นส่วนอะไหล่รถ จักรยานยนต์มีมูลค่า 2,947.85 และ 98.98 ล้านบาท ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถ จักรยานยนต์ (OEM) และชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ ลดลงร้อยละ 41.25 และ 37.15 ตามลำดับ หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สามกับไตรมาสที่สอง ของปี 2552 การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) และอะไหล่รถจักรยานยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.54 และ 1.00 ตามลำดับ จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่ามูลค่าการส่งออกส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ของไทยใน ช่วง 9 เดือนแรกของปี 2552 มีมูลค่า 12,638.87 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 30.06 ตลาดส่งออกที่สำคัญของส่วนประกอบ รถจักรยานยนต์ ได้แก่ อินโดนีเซีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์ คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 29.11, 17.97 และ 10.59 ตามลำดับ โดยการส่ง ออกส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ไปอินโดนีเซีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์ ลดลง ร้อยละ 21.62, 8.07 และ 14.41 ตามลำดับ การส่งออกชิ้นส่วนเพื่อ ประกอบรถจักรยานยนต์เริ่มส่งสัญญาณที่ดีในไตรมาสที่ 3 ปี 2552 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ 2 ปี 2552 เนื่องจากเริ่มมีความต้องการชิ้นส่วนรถ ยนต์จักรยานยนต์เพิ่มขึ้นในตลาดหลัก เช่น เวียดนาม เป็นต้น

การนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์ การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ของประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2552 (ม.ค.-ก.ย.) มี มูลค่า 74,320.70 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2551 ลดลงร้อยละ 26.41 เมื่อพิจารณาไตรมาสที่สามของปี 2552 ส่วน ประกอบและอุปกรณ์รถยนต์มีมูลค่า 31,900.70 ล้านบาท เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ลด ลงร้อยละ 9.23 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สามกับไตรมาสที่สองของปี 2552 มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 46.57 แหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ที่สำคัญในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2552 ได้แก่ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้า ร้อยละ 60.28, 7.07 และ 6.59 ตามลำดับ โดยการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์จากญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ลดลงร้อยละ 26.72, 12.72 และ 27.60 ตามลำดับ

การนำเข้าชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ฯ การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ของประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2552 (ม.ค.-ก.ย.) มีมูลค่า 8,142.41 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2551 ลดลงร้อยละ 22.92 เมื่อพิจารณาไตรมาสที่ สามของปี2552 ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ มีมูลค่า 3,135.80 ล้านบาท เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการนำเข้าส่วน ประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ลดลงร้อยละ 22.75 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สามกับไตรมาสที่สองของปี 2552 มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบ และอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 49.32 แหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ที่สำคัญในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2552 ได้แก่ ญี่ปุ่น, จีน และไต้หวัน คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 37.47, 20.95 และ 8.98 ตามลำดับ โดยการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถ จักรยานยนต์ฯ จากญี่ปุ่น จีน และไต้หวัน ลดลงร้อยละ 10.76, 29.85 และ 21.44 ตามลำดับ

ตารางการผลิตยานยนต์

หน่วย : คัน

 ประเภทยานยนต์             2550         2551  2551 ม.ค.-ก.ย.     2552ม.ค.-ก.ย.   % เปลี่ยนแปลง
รถยนต์                  1,287,346   1,394,029   1,068,730          651,628           -39.03
รถยนต์นั่ง                  315,444     401,474     308,255          209,271           -32.11
รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน (ก)       948,388     974,775     746,375          432,198           -42.09
รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ       23,514      17,780      14,100           10,159           -27.95
รถจักรยานยนต์            1,653,139   1,923,651   1,437,077        1,164,371           -18.98
ครอบครัว (ข)            1,563,788   1,765,761   1,328,873        1,069,697           -19.50
สปอร์ต                     89,351     157,890     108,204           94,674           -12.50

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

หมายเหตุ : (ก) เป็นปริมาณการผลิตรวมรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน, Double cap และ PPV

(ข) เป็นปริมาณการผลิตรวมรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และแบบสกูตเตอร์

ตารางการจำหน่ายยานยนต์ในประเทศ

หน่วย : คัน

 ประเภทยานยนต์                2550       2551    2551ม.ค.-ก.ย.     2552ม.ค.-ก.ย.     % เปลี่ยนแปลง
รถยนต์                      631,251    614,078      460,066           366,484           -20.34
  รถยนต์นั่ง                  170,118    225,841      165,413           152,806            -7.62
  รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน (ค)       382,636    311,470      237,121           166,594           -29.74
  รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ (ฅ)   42,619     40,806       31,408            22,992           -26.80
  รถยนต์ PPV และ SUV         35,878     35,961       26,124            24,092            -7.78
รถจักรยานยนต์              1,598,876   1,703,375   1,323,659         1,137,855           -14.04
  ครอบครัว                  856,028     870,833     679,780            558,878          -17.79
  สกูตเตอร์                  727,869     757,920     584,897            528,703           -9.61
  สปอร์ต                     14,979      74,622      58,982             50,274          -14.76

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

หมายเหตุ : (ค) เป็นปริมาณการจำหน่ายรวมรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และ Double cap

(ฅ) เป็นปริมาณการจำหน่ายรวมรถยนต์โดยสาร และรถยนต์บรรทุกอื่นๆ

ตารางการส่งออกยานยนต์

  ประเภทยานยนต์                  2550         2551   2551ม.ค.-ก.ย.     2552ม.ค.-ก.ย.   % เปลี่ยนแปลง
รถยนต์ (CBU) (คัน)              690,100      776,241    599,518           363,796           -39.32
มูลค่า (ล้านบาท)
  รถยนต์                    306,595.20   351,640.71    274,752.22        170,456.58        -37.96
  ส่วนประกอบและอุปกรณ์ (OEM)  112,341.89   132,813.75    102,881.76         70,037.97        -31.92
  เครื่องยนต์                  10,504.23    18,029.30     14,568.58          8,740.38        -40.01
  ชิ้นส่วนอะไหล่                 7,630.59    11,007.08      7,500.07          9,346.06         24.62
รถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) (คัน)  1,789,485    1,255,212      1,056,622          396,560        -62.47
มูลค่า (ล้านบาท)
  รถจักรยานยนต์ (CBU&CKD)     26,400.00    26,551.98     19,230.59         14,311.88        -25.58
  ส่วนประกอบและอุปกรณ์ (OEM)   14,220.13    20,081.97     15,575.11          8,389.85        -46.13
  ชิ้นส่วนอะไหล่                 1,033.67       644.21        511.72            300.98        -41.18

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

ตารางการนำเข้ายานยนต์

หน่วย : ล้านบาท

ประเภทยานยนต์                                  2550       2551     2551ม.ค.-ก.ย.   2552ม.ค.-ก.ย.  % เปลี่ยนแปลง
รถยนต์นั่ง                                     8,578.32   15,459.99   10,424.97        9,901.09        -5.03
รถยนต์โดยสารและรถบรรทุก                      14,162.56   16,393.35   12,739.28        8,372.29       -34.28
ส่วนประกอบและอุปกรณ์                         116,100.67  133,439.28  100,989.79       74,320.70       -26.41
รถจักรยานยนต์                                 2,266.57      438.39      327.58          195.93       -40.19
ส่วนประกอบและอุปกรณ์ รถจักรยานยนต์ และรถจักรยาน  10,039.47   14,166.23   10,563.38        8,142.41       -22.92
ที่มา: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ