สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 3 (กรกฎาคม — กันยายน) พ.ศ. 2552(อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์)

ข่าวเศรษฐกิจ Monday November 30, 2009 15:30 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

1. ภาวะทั่วไปของอุตสาหกรรม

ภาวะการผลิตสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 3 ปี 2552 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวลดลงร้อยละ 15.45 ซึ่งสินค้าส่วนใหญ่ที่ปรับตัวลดลงจากกลุ่มสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความเย็น เช่น เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น และคอมเพรสเซอร์ เป็นต้น

ส่วนสินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ สายไฟฟ้า และหม้อหุงข้าว โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.68 และ 12.32 เนื่องจากปัจจัยต่างๆที่มากระทบกับผลิตภัณฑ์นั้นๆที่มีผลทำให้แต่ละผลิตภัณฑ์มีปริมาณผลิตหรือมูลค่าสูงขึ้น กล่าวคือ สายไฟฟ้า สามารถปรับตัวเพิ่มขึ้นอาจ เนื่องมาจากความต้องการเพิ่มขึ้นในภาคการก่อสร้างในโครงการขนาดใหญ่ตามงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล นอกจากนี้ คำสั่งซื้อที่เข้ามาจาก ตลาดส่งออก อันได้แก่ ตลาดญี่ปุ่น อาเซียน และสหรัฐอเมริกา มีค่อนข้างสูงในไตรมาสที่ 3 ปี 2552 ทำให้มีการผลิตเพิ่มขึ้นสอดคล้องกับสินค้าคงคลังที่ ปรับตัวลดลงอีกด้วย

มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้ารวม ในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2552 มีมูลค่า 4,263.07 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ10.75 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากมูลค่าส่งออกในช่วงปี2550 ถึง 2552 เป็นรายไตรมาส พบว่า มูลค่าส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2552 มีมูลค่าส่งออกค่อนข้างใกล้เคียงกับไตรมาสที่ 3 ปี 2550 ซึ่งมีแนวโน้มดีขึ้นโดยลำดับตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ปี 2552ส่วนตลาดส่งออกของเครื่อง ใช้ไฟฟ้าที่มีสัดส่วนมากที่สุดในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2552 ได้แก่ ตลาดอาเซียนมีมูลค่าส่งออก 795.59 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวลดลง 14.56% จาก ช่วงเดียวกันของปีก่อน สินค้าหลักที่ส่งออกไปตลาดอาเซียน ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น และ มอเตอร์เล็ก เป็นต้น

ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 3 ปี 2552 จากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 3 พบว่ามี การปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.40 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.07 โดยสินค้าที่มีการ ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ HDD และ Semiconductor ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.00 และ 8.35 ตามลำดับ

ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2552 มูลค่าการจำหน่ายเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลกปรับตัวลดลง ร้อยละ 14.73 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี ก่อน ทั้งนี้ เนื่องจากการปรับตัวลดลงของทุกภูมิภาคทั่วโลกรวมถึงในเอเชียแปซิฟิก ทั้งที่ในช่วงปี 2549 - 2551 มีการผลิตและจำหน่าย Consumer Electronics ในอัตราที่มีการเจริญเติบโตสูงมาก ทำให้ชิ้นส่วนเหล่านี้มีอัตราการขยายตัวค่อนข้างดี อยู่ที่ประมาณ 3- 13% ซึ่งในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิกเป็นฐานการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เช่น จีน อาเซียน ญี่ปุ่น และเกาหลี เป็นต้น

มูลค่าส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2552 มีมูลค่ารวม 7,559.37 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.11 เมื่อ เทียบไตรมาสก่อน และปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 2.91 ตลาดส่งออกที่สำคัญของผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ จีน อา เซียน และสหรัฐอเมริกา เป็นต้น ซึ่งตลาดส่งออกสหรัฐอเมริกาเป็นไตรมาสที่ 2 แล้วที่มีมูลค่าส่งออกปรับตัวสูงขึ้นจากไตรมาสก่อน และมีมูลค่าส่ง ออกอยู่ใน 3 อันดับแรกของมูลค่าการส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ หลังจากในไตรมาสที่ 4 ปี 2551 และไตรมาสที่ 1 ปี 2552 ปรับตัวลดลงจากไตรมาส ก่อนๆ ค่อนข้างมาก ประมาณ 15%

แนวโน้มภาพรวมภาวะอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าช่วงไตรมาสที่ 4 ระหว่างเดือนตุลาคมถึงธันวาคม 2552 โดยดูจากดัชนีการส่งสินค้า ของสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า ประมาณการว่าจะทรงตัวร้อยละ0.92 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากสินค้าบางผลิตภัณฑ์ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.02 ขณะที่ อุตสาหกรรมตู้เย็นในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2552ยังคงปรับตัวลดลงร้อยละ 6.30 จาก ช่วงเดียวกันของปีก่อน

แนวโน้มภาพรวมภาวะอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2552 ประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.59 จากช่วง เดียวกันของปีก่อน หากพิจารณาเป็นรายผลิตภัณฑ์ พบว่า ส่วนประกอบและชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ HDD ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 10.42% แต่ IC ปรับตัวลดลงเพียง 5.24% ทั้งนี้เนื่องจากส่วนประกอบและชิ้นส่วนเป็นอุตสาหกรรมที่เชื่อมโยงกับความต้องการในตลาดโลก

2. อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า

2.1 การผลิต

ภาวะการผลิตสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 3 ปี 2552 มีดัชนีผลผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่ที่ 102.97 ทรงตัวเมื่อเทียบกับไตร มาสก่อนร้อยละ 0.83 โดยการปรับตัวลดลงในผลิตภัณฑ์พัดลมตามบ้าน เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน คอนเดนซิงยูนิต และเครื่องปรับอากาศแบบแยก ส่วน แฟนคอยล์ยูนิต ปรับตัวลดลง 39.01% 13.02% และ 13.61% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน

ขณะที่ ภาวะการผลิตสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ 15.45 ซึ่งสินค้าส่วนใหญ่ที่ ปรับตัวลดลงจากกลุ่มสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความเย็น เช่น เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น และคอมเพรสเซอร์ เป็นต้น

ส่วนสินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ สายไฟฟ้า และหม้อหุงข้าว โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.68 และ 12.32 เนื่องจากปัจจัยต่างๆที่มากระทบกับผลิตภัณฑ์นั้นๆที่มีผลทำให้แต่ละผลิตภัณฑ์มีปริมาณผลิตหรือมูลค่าสูงขึ้น กล่าวคือ สายไฟฟ้า สามารถปรับตัวเพิ่มขึ้นเนื่อง จากความต้องการเพิ่มขึ้นในภาคการก่อสร้างในโครงการขนาดใหญ่ตามงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล นอกจากนี้ คำสั่งซื้อที่เข้ามาจากตลาดส่ง ออก อันได้แก่ ตลาดญี่ปุ่น อาเซียน และสหรัฐอเมริกามีค่อนข้างสูงในไตรมาสที่ 3 ทำให้มีการผลิตเพิ่มขึ้นสอดคล้องกับสินค้าคงคลังที่ปรับตัวลดลงอีกด้วย

สำหรับหม้อหุงข้าว มีการปรับปรุงคุณภาพสินค้าอย่างต่อเนื่องให้เป็นระบบดิจิตอลมากขึ้นทำให้ราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้นตามไปด้วย ประกอบ กับปริมาณการผลิตเพิ่มสูงขึ้นจากคำสั่งซื้อของตลาดส่งออก ซึ่งส่วนใหญ่มีผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่ที่ออกจำหน่ายในประเทศพัฒนาแล้ว โดยส่วนใหญ่มีคำสั่งซื้อจาก ตลาดญี่ปุ่น และตลาดอียู ทำให้มูลค่าส่งออกโดยรวมของผลิตภัณฑ์นี้เพิ่มสูงขึ้น

ตารางที่ 1 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศไทยในไตรมาสที่ 3 ปี 2552
สินค้า                              ดัชนีผลผลิต            การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ     การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ
                              ไตรมาสที่ 3 ปี 2552        ไตรมาสที่ 2 ปี 52(ร้อยละ)    ไตรมาสที่ 3 ปี 51(ร้อยละ)
          เครื่องใช้ไฟฟ้า             102.97                     -0.83                     -15.45
เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน
 - คอนเดนซิ่งยูนิต                    190.36                    -13.61                     -16.51
เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน
 - แฟนคอยล์ซิ่งยูนิต                   180.31                    -13.20                     -18.72
คอมเพรสเซอร์                       147.85                      3.16                     -10.16
พัดลม                               23.12                    -39.01                       7.51
ตู้เย็น                              234.10                     -3.77                     -12.58
กระติกน้ำร้อน                        146.36                     20.87                     -22.60
หม้อหุงข้าวไฟฟ้า                      128.68                     21.66                      12.32
สายไฟฟ้า                           132.04                     17.75                      27.68
โทรทัศน์สี (ขนาดจอเล็กกว่า 20 นิ้ว)       11.73                      5.01                     -28.60
โทรทัศน์สี (ขนาดจอ 21 นิ้ว หรือมากกว่า)  158.12                     14.73                     -31.15

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม, พฤศจิกายน 2552

เมื่อเปรียบเทียบกับดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า (Household electrical machinary) ของประเทศญี่ปุ่นไตรมาส ที่ 3 ปี 2552 ซึ่งรายงานโดย Ministry of Economic, Trade and Industry ประเทศญี่ปุ่น พบว่าดัชนีผลผลิตมีการปรับตัวลดลงร้อยละ 1.57 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนจากการปรับตัวลดลงของเครื่องปรับอากาศและเครื่องเล่นดีวีดี

เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวลดลงร้อยละ 16.24 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากสินค้ากลุ่มภาพและ เสียง ส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง เช่น กล้องถ่ายวิดีโอ เครื่องเล่นดีวีดี กล้องถ่ายรูปดิจิตอล เป็นต้น มีเพียงบางรายการที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น เช่น แอลซีดีทีวี ตู้ เย็น และพลาสมาทีวี ปรับตัวเพิ่มขึ้น 23.38% 9.05% และ 8.43% ตามลำดับ

ตารางที่ 2 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศญี่ปุ่นในไตรมาสที่ 3 ปี 2552
                                ดัชนีผลผลิต          การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ   การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ

ไตรมาสที่ 3 ปี 2552 ไตรมาสที่ 2 ปี 52(ร้อยละ) ไตรมาสที่ 3 ปี 51(ร้อยละ)

Household Electrical Machinary   81.50                    -1.57                   -16.24
เครื่องปรับอากาศ                     74.5                   -12.25                   -34.25
หม้อหุงข้าว                         104.3                     7.53                     7.75
ตู้เย็น                              77.1                     5.04                     9.05
พัดลม                              67.2                     0.30                    -11.46
เครื่องซักผ้า                         80.9                    -0.86                     -9.91
พลาสมา ทีวี                        176.3                    36.67                      8.43
แอลซีดี ทีวี                         243.8                    22.27                     23.38
เครื่องเล่นดีวีดี                       80.0                   -25.02                    -39.67
กล้องถ่ายวีดีโอ                       44.1                    10.25                    -44.18
กล้องถ่ายรูปดิจิตอล                   112.4                   -15.36                    -34.76

ที่มา : Ministry of Economic , Trade and Industry, Japan, พฤศจิกายน 2552

2.2 การตลาด

จากรายงานดัชนีการส่งสินค้าของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่าในไตรมาสที่ 3 ปี 2552ปรับตัวลดลงร้อยละ 3.75 เมื่อเทียบกับ ไตรมาสก่อนและเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ 12.05

สินค้าที่ปรับตัวลดลงในไตรมาสที่ 3 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน 3 อันดับแรก ได้แก่ พัดลม เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน คอนเดนซิ่ง ยูนิต และเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน แฟนคอยล์ซิ่งยูนิตปรับตัวลดลง 35.17% 19.43% และ 18.06% ตามลำดับ

ขณะที่ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สินค้าที่ปรับตัวลดลง 3 อันดับแรก ได้แก่โทรทัศน์สี(ขนาดจอ 21 นิ้ว หรือมากกว่า) โทรทัศน์ สี (ขนาดจอเล็กกว่า 20 นิ้ว) และ กระติกน้ำร้อน ปรับตัวลดลง 34.30% 25.59% และ 23.35% ตามลำดับ

ภาวะการตลาดของสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยรวมปรับตัวลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนนอกจากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจที่ทำให้ตลาดส่งออกมี การปรับตัวลดลงแล้ว ภาวะการตลาดในประเทศที่ชะลอลงจากภาวะเศรษฐกิจในประเทศ มีเพียงการจัดซื้อเพื่อทดแทนผลิตภัณฑ์เดิม และการทำตลาด จากงานโครงการ และมหกรรมสินค้าราคาประหยัดที่สามารถกระตุ้นยอดขายได้ส่วนหนึ่ง และสินค้ารุ่นใหม่ที่มีเป็นระบบดิจิตอลทำให้มีราคาสูงเพิ่มขึ้น แต่ เริ่มมีคำสั่งซื้อเข้าซึ่งคาดว่าสามารถเพิ่มยอดขายได้อีกทางหนึ่งด้วย

ตารางที่ 3 ดัชนีการส่งสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศไทยไตรมาสที่ 3 ปี 2552
          สินค้า                     ดัชนีการส่งสินค้า        การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ     การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ
                                  ไตรมาสที่ 3 ปี 2552     ไตรมาสที่ 2 ปี 52(ร้อยละ)     ไตรมาสที่ 3 ปี 51(ร้อยละ)
เครื่องใช้ไฟฟ้า                         116.44                     -3.75                     -12.05
เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนคอนเดนซิ่งยูนิต   191.65                    -19.43                     -20.18
เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนแฟนคอยล์ซิ่งยูนิต  185.93                    -18.06                     -22.26
คอมเพรสเซอร์                         169.93                     -0.57                       2.41
พัดลม                                 26.62                    -35.17                       0.71
ตู้เย็น                                243.92                      0.19                     -10.97
กระติกน้ำร้อน                          140.53                     22.12                     -23.35
หม้อหุงข้าวไฟฟ้า                        122.20                     13.70                       6.37
สายไฟฟ้า                             134.99                     24.04                      39.48
โทรทัศน์สี (ขนาดจอเล็กกว่า 20 นิ้ว)         11.71                      0.86                     -25.59
โทรทัศน์สี (ขนาดจอ 21 นิ้ว หรือมากกว่า)    154.58                     14.42                     -34.30

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม, พฤศจิกายน 2552

การส่งออก

มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้ารวม ในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2552 มีมูลค่า 4,263.07 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน ร้อยละ 14.48 และปรับตัวลดลงร้อยละ10.75 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมูลค่าส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2552 มีมูลค่า ส่งออกค่อนข้างใกล้เคียงกับไตรมาสที่ 3 ปี 2550 ซึ่งมีแนวโน้มดีขึ้นโดยลำดับตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ปี 2552

สำหรับสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุด 3 อันดับแรกในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2552 ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ กล้องถ่าย โทรทัศน์ กล้องถ่ายบันทึกวีดีโอภาพนิ่ง วีดีโออื่นๆ และเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า สำหรับตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า รวมถึงแป้นและแผงควบคุม โดยมีมูลค่าส่ง ออก 497.02 ล้านเหรียญสหรัฐ 405.57 ล้านเหรียญสหรัฐ และ 388.19 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามลำดับ โดยเครื่องปรับอากาศมีการปรับตัวลดลงจาก ช่วงเดียวกันของปีก่อน 20.38% ทั้งนี้เนื่องจากตลาดส่งออกหลักของเครื่องปรับอากาศที่ส่งไปยังตลาดอียูนั้นปรับตัวลดลงจากกำลังซื้อที่ปรับลดลงในช่วง ต้นปี 2552 โดยไตรมาสที่ 3 ปี 2552 เครื่องปรับอากาศส่งออกขายตลาดอาเซียนเป็นอันดับหนึ่ง มีมูลค่าการส่งออกสูงสุดคือ 116.32 ล้านเหรียญ สหรัฐ

ขณะที่ เครื่องรับโทรทัศน์ที่ส่งออกเป็นอันดับต้นๆในหลายปีที่ผ่านมา ปรับตัวลดลงในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2552 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน เพียงร้อยละ 4.04 โดยมีมูลค่าส่งออก 345.79 ล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจากตลาดสหรัฐอเมริกาที่มีมูลค่าการส่งออกค่อนข้างสูงแต่ยังคงทรง ตัวปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยปรับตัวลดลง 0.75% เท่านั้น นอกจากนี้ ตลาดส่งออกญี่ปุ่น และอียูมีอัตราการขยายตัวค่อนข้าง สูงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อาจเนื่องมาจากการปรับเปลี่ยนทั้งระบบและสัญญาณภาพและเสียงเป็นแบบดิจิตอลทั่วโลกก็เป็นได้

ตลาดส่งออกของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีสัดส่วนมากที่สุดในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2552 ได้แก่ ตลาดอาเซียน มีมูลค่าส่งออก 795.59 ล้าน เหรียญสหรัฐ ปรับตัวลดลง 14.56% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนสินค้าหลักที่ส่งออกไปตลาดอาเซียน ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น และ มอเตอร์ เล็ก เป็นต้น

ตลาดที่มีมูลค่าส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้ามากเป็นอันดับรองลงมา ได้แก่ ตลาดอียู มีมูลค่าส่งออก 596.52 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวลดลง 12.23%

3. อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์

3.1 การผลิต

ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 3 ปี 2552 จากรายงานของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่าดัชนีผลผลิต อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 3 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.40 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนปรับตัว เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.07 โดยสินค้าที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ HDD และ Semiconductor ปรับตัวลดลงร้อยละ 6.00 และ 8.35 ตามลำดับ

ในไตรมาสที่ 3 ปี 2552 เริ่มมีสัญญาณฟื้นตัวที่ชัดเจน โดยดูได้จากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมของผลิตภัณฑ์แต่ละผลิตภัณฑ์มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่ยังคงมีบางผลิตภัณฑ์ เช่น Other IC ที่ยังคงปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ถึงแม้จะเริ่มมีสัญญาณฟื้นตัว ในแต่ละรายไตรมาสแล้วก็ตาม

อย่างไรก็ตาม ส่วนประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ ได้แก่ HDD มีการปรับตัวสูงขึ้นตั้งแต่ช่วงไตรมาสที่ 2 เป็นต้นมา เนื่องจากความต้อง การสินค้าอิเล็กทรอนิกส์สำเร็จรูป เช่น Computer Notebook, SmartPhone, MobilePhone และ Portable Navigation Devices เป็น ต้น เป็นแรงหนุนทำให้เริ่มมีคำสั่งซื้อกลับเข้ามาในช่วงแรก สอดคล้องกับสินค้าคงคลังที่ลดระดับลงในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2551 ดังนั้นจึงมีการผลิตเพิ่ม เติม นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีของส่วนประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องที่ชะลอการผลิตออกสู่ตลาดในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจก่อน หน้านี้ กลับมาผลิต ในช่วงที่ความเชื่อมั่นกลับมาบ้างแล้วในช่วงนี้ ทำให้ปริมาณการผลิตส่วนนี้เป็นแรงหนุนเสริมการผลิตที่เพิ่มขึ้นอีกอย่างหนึ่ง ขณะที่ ผลิตภัณฑ์ลักษณะเดิมก็ยังคงมีการจำหน่ายอยู่ซึ่งยังคงมีการผลิตปริมาณค่อนข้างสูงและจำหน่ายในราคาเฉลี่ยที่ลดต่ำลงเพื่อการช่วงชิงและรักษาระดับส่วน แบ่งตลาดไว้

3.2 การตลาด

จากรายงานดัชนีการส่งสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมสะท้อนภาวะตลาดของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตร มาสที่ 3 ปี2552 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนภาวะตลาดของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.55 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี ก่อนมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.69

จากรายงานของสมาคมอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ (Semiconductor Industry Association) ของสหรัฐอเมริกาให้ข้อคิดเห็น ว่า อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ทางการเงินที่สหรัฐอเมริกา ส่งผลต่อเนื่องถึงอัตราการเจริญเติบโตของยอดขายเซมิคอนดักเตอร์ใน ช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2552 ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง หากแต่ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นและมีการใช้จ่ายมากขึ้นของทั้งภาคธุรกิจและผู้บริโภค ทำ ให้ผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจไม่กระทบต่อการจำหน่ายเซมิคอนดักเตอร์มากขึ้นกว่าไตรมาสก่อนๆ

ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2552 มูลค่าการจำหน่ายเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลกปรับตัวลดลง ร้อยละ 14.73 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี ก่อน ทั้งนี้ เนื่องจากการปรับตัวลดลงของทุกภูมิภาคทั่วโลกรวมถึงในเอเชียแปซิฟิกทั้งที่ในช่วงปี 2549 - 2551 มีการผลิตและจำหน่าย Consumer Electronics ในอัตราที่มีการเจริญเติบโตสูงมาก ทำให้ชิ้นส่วนเหล่านี้มีอัตราการขยายตัวค่อนข้างดี อยู่ที่ประมาณ 3- 13% ซึ่งในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิกเป็นฐานการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เช่น จีน อาเซียน ญี่ปุ่น และเกาหลี เป็นต้น

เป็นที่สังเกตว่า การปรับตัวลดลงของภูมิภาคอเมริกานั้นปรับตัวลดลงค่อนข้างมากแต่มีอัตราชะลอลงอย่างเห็นได้ชัด กล่าวคือ จากช่วงไตร มาสที่ 1 ที่มีการปรับตัวลดลง 24.14% ไตรมาสที่ 2 ปรับตัวลดลง 17.39% และในไตรมาสที่ 3 การจำหน่ายในภูมิภาคนี้ ค่อนข้างทรงตัวปรับตัวลดลง เพียงเล็กน้อย 0.86 เท่านั้น การปรับตัวลดลงในอัตราที่ชะลอลงเช่นนี้เป็นการส่งสัญญาณว่าชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเกี่ยวพันกับการผลิตชิ้นส่วน อิเล็กทรอนิกส์ในภูมิภาคเอเชียค่อนข้างมาก โดยที่ขณะนี้มีการเร่งผลิตให้ทันกับความต้องการในช่วงปลายปี 2552

การส่งออก

มูลค่าส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2552 มีมูลค่ารวม 7,559.37 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.11 เมื่อ เทียบไตรมาสก่อน และปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 2.91

มูลค่าส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ที่มีอัตราการปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ครบชุด วงจรรวมและ ไมโครแอสแซมบลี และโทรสาร เป็นต้น โดยเฉพาะวงจรรวมและไมโครแอสแซมบลีมีความต้องการจากตลาดส่งออกอาเซียน และญี่ปุ่นมีส่วนผลักดันให้ มูลค่าการส่งออกวงจรรวมและไมโครแอสแซมบลีโดยรวม ปรับตัวเพิ่มขึ้น 4.82% ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีเนื่องจากความต้องการชิ้นส่วนและส่วนประกอบจะ สะท้อนภาพความต้องการของสินค้าสำเร็จรูปเพื่อส่งออกขายไปยังทั่วโลกในอนาคต

ตลาดส่งออกที่สำคัญของผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ จีน อาเซียน และสหรัฐอเมริกา เป็นต้น เป็นที่น่าสังเกตว่า ตลาดส่งออกสหรัฐ อเมริกานั้นนับเป็นไตรมาสที่ 2 แล้ว ที่มีมูลค่าส่งออกปรับตัวสูงขึ้นจากไตรมาสก่อน และมีมูลค่าส่งออกอยู่ใน 3 อันดับแรกของมูลค่าการส่งออก อิเล็กทรอนิกส์รวมหลังจากในไตรมาสที่ 4 ปี 2551 และไตรมาสที่ 1 ปี 2552 ปรับตัวลดลงจากไตรมาสก่อนๆ ค่อนข้างมากประมาณ 15%

แนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2552

จากการประมาณการดัชนีการส่งสินค้าประจำเดือนพฤศจิกายน 2552 ของแบบจำลองดัชนีชี้นำภาวะอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ของสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า แนวโน้มภาพรวมภาวะอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าช่วงไตรมาสที่ 4 ระหว่างเดือนตุลาคมถึงธันวาคม 2552 โดยดูจากดัชนีการส่งสินค้าของสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า ประมาณการว่าจะทรงตัวร้อยละ 0.92 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากสินค้าบางผลิตภัณฑ์ ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.02 ทั้งนี้ จากดัชนีชี้นำที่ส่งสัญญาณดีขึ้น เช่น มูลค่าการนำเข้า คอมเพรสเซอร์ ซึ่งคอมเพรสเซอร์เครื่องทำความเย็นถือเป็นส่วนประกอบหลักและดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งสอดคล้องกับการประมาณการภาวะอุตสาหกรรมเครื่องคอมเพรสเซอร์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.64 เช่นกันขณะที่ อุตสาหกรรมตู้เย็นในช่วงไตรมาส ที่ 4 ปี 2552 ยังคงปรับตัวลดลงร้อยละ 6.30 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

ภาวะอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2552 ประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.59 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากตัวแปรดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐส่งสัญญาณชะลอลงซึ่งตัวแปรดังกล่าวนำมาพิจารณาในการประมาณการไตรมาสที่ 4 ของปี 2552 ด้วย

หากพิจารณาเป็นรายผลิตภัณฑ์ พบว่า ส่วนประกอบและชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ HDD ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 10.42% แต่ IC ปรับตัว ลดลงเพียง 5.24% ทั้งนี้เนื่องจากส่วนประกอบและชิ้นส่วนเป็นอุตสาหกรรมที่เชื่อมโยงกับความต้องการในตลาดโลก ซึ่งตัวแปรที่ชี้นำส่วนใหญ่มาจาก อุตสาหกรรมของประเทศที่มีความรุดหน้าทางเทคโนโลยี ได้แก่ ตัวแปรดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมของกลุ่มประเทศ OECD ดัชนีผลผลิต Electronic Index ของญี่ปุ่น

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ