สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 3 (กรกฎาคม — กันยายน) พ.ศ. 2552(ภาวะอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์)

ข่าวเศรษฐกิจ Monday November 30, 2009 15:41 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ในช่วงไตรมาสที่ 3 อุตสาหกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรม บรรจุภัณฑ์ และอุตสาหกรรมสิ่งทอ มีการปรับตัวดีขึ้นรวมทั้งเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าก็ดีขึ้น เช่นกัน จึงส่งผลให้ภาคการผลิต การจำหน่าย นำเข้า และส่งออก ของอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์เป็นไปในทิศทางที่ดีเช่นกัน

ผลิตภัณฑ์เคมีพื้นฐานที่มีการนำมาใช้เป็นวัตถุดิบ หรือส่วนประกอบในการผลิตผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่สำคัญได้แก่ โซดาไฟ คลอรีน ไฮโดรคลอ ริก(กรดเกลือ) และกรดซัลฟูริก ซึ่งสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ได้สำรวจข้อมูลการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์โซดาไฟ โดยในไตรมาสที่ 3 ปริมาณการผลิต และการจำหน่ายมีปริมาณเพิ่มขึ้น ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

การผลิต

โซดาไฟ

หน่วย: ตัน

โซดาไฟ      2550       2551         --------------- ปี 2551 --------------           --------- ปี 2552---------     Q3/52เทียบกับ
                                    Q1          Q2          Q3          Q4          Q1          Q2         Q3     Q2/52(ร้อยละ)
การผลิต   571,599.9    842,967   221,325.7   239,833.6   227,467.5   154,340.2   183,735.1    247,693   255,106.4     2.99
การจำหน่าย  479,821  741,487.7   193,136.1   198,740.2   212,688.9   136,922.5   154,164.8  194,221.3   213,710.7    10.03

ที่มา :สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

การผลิตโซดาไฟในไตรมาสที่ 3 ปี 2552 มีปริมาณ 255,106.4 ตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 2.99 และการจำหน่ายโซดาไฟ ในไตรมาสที่ 3 ปี 2552 มีปริมาณ 213,710.7 ตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 10.03 การผลิตและการจำหน่ายเพิ่มขึ้นเนื่องจากอุตสาหกรรม ต่อเนื่องมีการขยายตัวทำให้ต้องใช้วัตถุดิบเคมีภัณฑ์เพิ่มขึ้น

หมายเหตุ : โซดาไฟเป็นวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเรา และยังใช้ประโยชน์ได้อีกมาก มาย เช่น ในการผลิตเยื่อและกระดาษ สบู่และผลิตภัณฑ์ซักฟอก เคมีภัณฑ์ การทำความสะอาด โรงกลั่นน้ำมัน การใช้งานทางอุตสาหกรรมโลหะ อุตสาหกรรมอาหาร เส้นใยเรยอน สิ่งทอ และอื่น ๆ

การตลาด

การนำเข้า

ไตรมาส 3 ปี 2552 การนำเข้าเคมีภัณฑ์อนินทรีย์มีมูลค่า 9,635 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.46 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่ลดลง ร้อยละ 61.84 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เคมีภัณฑ์อินทรีย์มีมูลค่าการนำเข้า 24,154 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.7 เมื่อเทียบกับไตรมาส ที่แล้ว แต่ลดลงร้อยละ 22.11 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อุตสาหกรรมปุ๋ยเคมีมีมูลค่านำเข้า 13,111 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 19.05 เมื่อ เทียบกับไตรมาสที่แล้ว เนื่องจากราคานำเข้าปุ๋ยเคมีแพงขึ้นตามราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น และเป็นนอกฤดูการทำนาปี และลดลงร้อยละ 55.82 เมื่อ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อุตสาหกรรมสีมีการนำเข้า 9,415 เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.92 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วเนื่องจากอุตสาหกรรมก่อสร้าง อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็คทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ดีขึ้น ส่งผลให้มีการใช้สีเพิ่มขึ้น แต่ลดลงร้อยละ 14.04 เมื่อ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเครื่องสำอางมีมูลค่านำเข้า 5,855 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.66 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว ผู้บริโภคใน ปัจจุบันนิยมหันมาใช้เครื่องสำอางที่มีราคาถูกกว่าเครื่องสำอางแบรนด์เนมกันเพิ่มมากขึ้น โดยผลิตภัณฑ์ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นได้ดีคือผลิตภัณฑ์ครีมกันแดด ครีมลบเลือนริ้วรอย ผลิตภัณฑ์เพื่อทำให้ผิวขาว และผลิตภัณฑ์สำหรับผู้ชาย แต่ลดลงร้อยละ 3.98 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

การส่งออก

ไตรมาส 3 ปี 2552 การส่งออกเคมีภัณฑ์อนินทรีย์มีมูลค่า 3,151 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 0.53 มื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และลดลง ร้อยละ 24.81 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์อินทรีย์มีมูลค่าส่งออก 9,514 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.61 เมื่อเทียบกับ ไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.25 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อุตสาหกรรมปุ๋ยเคมีมีมูลค่าการส่งออก 644 นบาท ลดลงร้อยละ 12.97 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และลดลงร้อยละ 15.19 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนอุตสาหกรรมสีมีมูลค่าส่งออก 2,776 ล้านบาท เพิ่ม ขึ้นร้อยละ 15.85 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่ลดลงร้อยละ 6.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนเครื่องสำอางหรือสิ่งปรุงแต่งสำหรับ ประทินร่างกายมีมูลค่าส่งออก 11,436 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.93 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.82 เมื่อเทียบกับช่วง เดียวกันของปีก่อน เนื่องจากเครื่องสำอางของไทยเป็นที่ยอมรับของต่างประเทศมากขึ้น อีกทั้งมาตรฐานการผลิตที่ดี ตลาดส่งออกที่สำคัญของไทยคือ ตลาดเอเชียและกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง เป็นต้น

แนวโน้ม

แนวโน้มของอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ในไตรมาสที่ 4 ปี 2552 ทั้งการผลิต การจำหน่าย นำเข้าและส่งออกน่าจะปรับตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้น เนื่องจากเป็นช่วงเทศกาลปีใหม่ ตรุษจีน และวาเลนไทน์ทำให้ประชาชนน่าจะมีการจับจ่ายใช้สอยกันเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งมาตรการกระตุ้นของภาครัฐใน เรื่องโครงการไทยเข้มแข็ง การยืดระยะเวลาในการช่วยเหลือค่าน้ำ ค่าไฟฟ้าออกไปอีก 6 เดือนและเงินช่วยเหลือผู้สูงอายุ น่าจะเป็นแรงผลักทำให้ ระบบเศรษฐกิจเดินหน้าได้ และจากตัวเลขทางเศรษฐกิจของโลกที่ปรับตัวดีขึ้น คำสั่งซื้อจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นก็น่าจะเป็นแรงบวกเพิ่มขึ้นอีกสำหรับ เศรษฐกิจของไทยแต่สิ่งที่จะต้องตระหนักถึงก็ยังคงเป็นเรื่องเกี่ยวกับราคาน้ำมัน อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นอาจทำให้การส่งออกลดลง และที่ สำคัญคือความไม่แน่นอนทางการเมือง ความขัดแย้งกันระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งปัจจัยดังกล่าวอาจจะส่งผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของ ประเทศได้

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ