1. การผลิต
การผลิตเส้นใยสิ่งทอรวมทั้งการทอสิ่งทอ (ISIC 1711) การผลิตผ้าที่ได้จากการถักนิตติ้งหรือโครเชท์ (ISIC 1730) การผลิตเครื่อง แต่งกายยกเว้นเครื่องแต่งกายที่ผลิตจากขนสัตว์ (ISIC 1810) เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม การผลิตเพิ่มขึ้นทั้ง 3 ISIC ร้อยละ 7.2, 8.2 และ 3.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ตามลำดับ ในขณะที่ดัชนีการส่งสินค้า(การจำหน่าย) เส้นใยสิ่งทอฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 และการผลิตเครื่อง แต่งกายฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.2 แสดงให้เห็นถึงการฟื้นตัวซึ่งคำสั่งซื้อที่เริ่มมีเข้ามาอย่างต่อเนื่อง และเร็วกว่าที่คาด ทำให้โรงงานอุตสาหกรรมหลายๆ แห่งต้องเพิ่มกำลังการผลิต ส่งผลให้ขาดแคลนแรงงานโดยเฉพาะเครื่องนุ่งห่มส่วนใหญ่แรงงานอยู่ในภาคเกษตรกรรม เมื่อราคาสินค้าเกษตรอยู่ในระดับ ดี ส่งผลให้แรงงานหันไปประกอบอาชีพเกษตรเหมือนเดิม และอีกส่วนหนึ่งไปอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมอื่นที่มีค่าจ้างแรงงานที่สูงกว่า เช่น ไฟฟ้าและอิเล็ค ทรอนิกส์ แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนการผลิตเส้นใยสิ่งทอฯ การผลิตผ้าฯ และการผลิตเครื่องแต่งกายฯ ลดลงร้อยละ 5.2 , 25.8 และ 18.8 ตามลำดับ และการจำหน่าย ลดลงร้อยละ 2.1, 16.1 และ 13.4 ตามลำดับ
2. การส่งออก
การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไตรมาสที่ 3 ปี 2552 มีมูลค่าการส่งออก 1,670.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5 เมื่อเทียบ กับไตรมาสก่อน มูลค่าการส่งออก 1,553.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่ลดลงร้อยละ 13.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีมูลค่าการ จำหน่าย 1,926.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยจำแนกผลิตภัณฑ์ที่สำคัญ ๆ ดังนี้
2.1 เสื้อผ้าสำเร็จรูป ไตรมาสที่ 3 ปี 2552 มีมูลค่าการส่งออก 669.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 7.9 เมื่อเทียบกับไตรมาส ก่อน ซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 620.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และลดลงร้อยละ 20.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนซึ่งมีมูลค่าการจำหน่าย 742.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากฝ้ายมีสัดส่วนการส่งออกมากที่สุดถึงร้อยละ 41.0 ของการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปทั้งหมด
2.2 ผ้าผืน ไตรมาสที่ 3 ปี 2552 มีมูลค่าการส่งออก 292.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่ลด ลงร้อยละ 5.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีมูลค่าการจำหน่าย 298.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
2.3 ด้ายและด้ายเส้นใยประดิษฐ์ ไตรมาสที่ 3 ปี 2552 มีมูลค่าการส่งออก 203.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7 เมื่อเทียบ กับไตรมาสก่อน แต่ลดลงร้อยละ 8.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 190.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
2.4 เส้นใยประดิษฐ์ ไตรมาสที่ 3 ปี 2552 มีมูลค่าการส่งออก 145.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.0 เมื่อเทียบกับไตรมาส ก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มีมูลค่าการส่งออก 124.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
3. ตลาดส่งออก
ตลาดส่งออกที่สำคัญของอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย มีดังนี้
สหรัฐอเมริกา ยังคงเป็นตลาดส่งออกสิ่งทอหลักของไทย ซึ่งการส่งออกสิ่งทอของไทยไปสหรัฐอเมริกา ในไตรมาสที่ 3 ปี 2552 มีมูลค่า 371.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 29.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งสัดส่วน การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทยส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกาคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 22.3 ของการส่งออกสิ่งทอทั้งหมดของไทย สินค้าที่ส่งออก ส่วนใหญ่ เป็นเสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องยกทรง รัดทรง และส่วนประกอบ เคหะสิ่งทอและผ้าผืน ตามลำดับ
สหภาพยุโรป ไตรมาสที่ 3 ปี 2552 มีมูลค่าการส่งออก 319.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่ลด ลงร้อยละ 15.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 19.1 ของการส่งออกสิ่งทอทั้งหมด สินค้าส่งออกส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเสื้อ ผ้าสำเร็จรูป ผ้าผืน เครื่องยกทรง รัดทรงและส่วนประกอบ เป็นต้น
อาเซียน ไตรมาสที่ 3 ปี 2552 มีมูลค่าการส่งออก 268.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่ม ขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 16.0 ของการส่งออกสิ่งทอทั้งหมด สินค้าส่งออกส่วนใหญ่เป็น กลุ่มผ้าผืน เส้นใยประดิษฐ์ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ และสิ่งทออื่นๆ เป็นต้น
ญี่ปุ่น ไตรมาสที่ 3 ปี 2552 มีมูลค่าการส่งออก 107.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่ลดลงร้อย ละ 12.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 6.5 ของการส่งออกสิ่งทอทั้งหมด โดยสินค้าส่งออกของไทยส่วนใหญ่เป็นกลุ่ม ของเสื้อผ้าสำเร็จรูป ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ และสิ่งทออื่นๆ เป็นต้น
4. การนำเข้า
การนำเข้าสิ่งทอในไตรมาสที่ 3 ปี 2552 (วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต เช่น เส้นใยฯ เส้นด้ายฯ ผ้าผืน และผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่นๆ) ส่วนใหญ่ ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน รวมถึงเสื้อผ้าสำเร็จรูปในไตรมาสที่ 3 ปี 2552 มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน ผลิตภัณฑ์สำคัญที่นำเข้า ได้แก่
4.1 สิ่งทอ มีมูลค่าการนำเข้าสิ่งทอ (เส้นใยฯ เส้นด้ายฯ ผ้าผืน และ ผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่นๆ)รวมทั้งสิ้น 951.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่ลดลงร้อยละ 28.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าถึงร้อยละ 93 ของ มูลค่าการนำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มโดยรวม ผลิตภัณฑ์สำคัญที่นำเข้ามี ดังนี้
4.1.1 เส้นใยที่ใช้ในการทอ มีมูลค่านำเข้า 157.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งมีมูลค่านำเข้า 133.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และลดลงร้อยละ 33.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ตลาดนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐ อเมริกา ออสเตรเลีย และบราซิล สัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 34.8, 12.9 และ 6.9 ตามลำดับ
4.1.2 ด้ายทอผ้าฯ มีมูลค่านำเข้า 112.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งมีมูลค่า นำเข้า 96.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่ลดลงร้อยละ 25.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ตลาดนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น และไต้หวัน สัด ส่วนการนำเข้าร้อยละ 222.0, 15.6 และ 13.9 ตามลำดับ
4.1.3 ผ้าผืน มีมูลค่านำเข้า 293.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งมีมูลค่านำเข้า 293.2 ล้าน เหรียญสหรัฐฯ แต่ลดลงร้อยละ 30.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ตลาดนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ จีน ไต้หวัน และญี่ปุ่น สัดส่วนการนำเข้าร้อย ละ 44.0,17.7 และ 7.2 ตามลำดับ
4.1.4 วัตถุทออื่นๆ มีมูลค่านำเข้า 28.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 12.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งมีมูลค่านำ เข้า 32.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และลดลงร้อยละ 15.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ตลาดนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ อินเดีย ญี่ปุ่น และจีน สัด ส่วนการนำเข้าร้อยละ 15.9, 15.4 และ 11.8 ตามลำดับ
4.2 เสื้อผ้าสำเร็จรูป มีมูลค่านำเข้าทั้งสิ้น 73.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งมีมูลค่านำเข้า 55.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่ลดลงร้อยละ 11.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 7.0 ของการนำเข้าสิ่งทอและเครื่อง นุ่งห่มทั้งหมด ตลาดนำเข้าหลักคือ จีน ฮ่องกง และอิตาลี สัดส่วนร้อยละ 50.3, 9.1 และ 4.1 ตามลำดับ
5. สรุปและแนวโน้ม
ในไตรมาสที่ 3 ปี 2552 อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มเริ่มมีคำสั่งซื้อเข้ามาเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 การผลิตเริ่มฟื้นตัวแม้ ว่าในหลาย ๆ ประเทศจะประสบปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจก็ตาม สิ่งทอไทยยังขยายตัวในตลาดอาเซียน ร้อยละ 8.1 ตลาดสหภาพยุโรป ร้อยละ 1.4 และ ตลาดญี่ปุ่นร้อยละ 4.2 ทั้งนี้ปี 2552 แม้ว่าในไตรมาสที่ 3 การส่งออกจะลดลงเล็กน้อย แต่จากข้อมูลรายงานภาวะอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2552 พบว่ายังมีการเปิดกิจการใหม่ ในปีนี้(มกราคม — กรกฎาคม) จำนวน 87 แห่ง จำนวนแรงงานทั้งสิ้น 8,769 คนและปิดกิจการเพียง 18 แห่งเท่านั้น โรงงานที่ปิดกิจการ ได้แก่ โรงงานผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป โรงงานทอผ้า และโรงงานถักผ้า ตาม ลำดับ อีกทั้งยังมีโรงงานที่ขยายกิจการซึ่งส่วนใหญ่เป็นโรงงานผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปจำนวน 5 โรง มีจำนวนคนงาน 1,620 คน
สำหรับแนวโน้มในไตรมาสที่ 4 ปี 2552 คาดว่าภาคการผลิต การส่งออกจะปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะเครื่องนุ่งห่ม ซึ่งคาดว่าจะขยายตัว เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 แต่คาดว่าคำสั่งซื้อจะลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจของตลาด นำเข้าหลัก อย่างสหรัฐอเมริกายังไม่กระเตื้องมากนัก แต่ภาพรวมยังทรงตัวเมื่อเทียบปีที่ผ่านมา
ดัชนี 2551 2552 อัตราการขยายตัว(%)
Q3*/52 เทียบ
Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3* Q2/52 Q3/51 ผลผลิต 72.6 69.9 68.8 61.1 55.8 60.8 65.2 7.2 -5.2 การส่งสินค้า 78.9 71.9 73.8 65.8 63.2 68.9 72.2 4.8 -2.1 สินค้าสำเร็จรูปคงคลัง 158.4 159.3 60.9 162.8 160.7 151.3 143.3 -5.3 -10.9 ตารางที่ 2 ดัชนีการผลิตผ้าที่ได้จากการถักนิตติ้งและโครเชท์ ดัชนี 2551 2552 อัตราการขยายตัว(%)
Q3*/52 เทียบ
Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3* Q2/52 Q3/51 ผลผลิต 155.6 142.0 173.7 163.8 110.8 119.1 128.8 8.2 -25.8 การส่งสินค้า 99.8 98.9 93.6 100.4 77.1 81.7 78.6 -3.8 -16.1 สินค้าสำเร็จรูปคงคลัง 123.4 110.7 127.2 133.5 140.7 124.7 110.2 -11.7 -13.3 ตารางที่ 3 ดัชนีการผลิตเครื่องแต่งกายยกเว้นเครื่องแต่งกายที่ผลิตจากขนสัตว์ ดัชนี 2551 2552 อัตราการขยายตัว(%)
Q3*/52 เทียบ
Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3* Q2/52 Q3/51 ผลผลิต 162.5 158.0 171.0 156.8 138.9 134.0 138.8 3.5 -18.8 การส่งสินค้า 134.8 145.2 146.3 136.6 123.4 118.1 126.6 7.2 -13.4 สินค้าสำเร็จรูปคงคลัง 330.7 339.7 344.7 355.9 385.3 393.3 397.2 1.0 15.2 ที่มา : ตารางที่ 1-3 สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : * เป็นตัวเลขเบื้องต้น
ชื่อสินค้า --------------------- มูลค่า : ล้านเหรียญฯ----------------------- อัตราขยายตัว (%) 2551 2552 Q3*/52 เทียบ Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3* Q2/52 Q3/51 สิ่งทอ 1,758.9 1,839.1 1,926.9 1,674.8 1,504.9 1,553.6 1,670.3 7.5 -13.3 1 เครื่องนุ่งห่ม 837.8 875.0 947.0 845.4 764.7 709.8 758.6 6.9 -19.9 (1) เสื้อผ้าสำเร็จรูป 736.2 772.1 837.9 742.2 675.7 620.7 669.5 7.9 -20.1 (2) เครื่องยกทรง รัดทรงและส่วนประกอบ 83.4 83.3 86.0 82.8 70.5 72.0 70.3 -2.5 -18.3 (3) ถุงเท้าและถุงน่อง 14.7 15.9 19.0 16.7 15.3 13.9 15.5 11.7 -18.4 (4) ถุงมือผ้า 3.5 3.7 4.1 3.6 3.2 3.3 3.4 3.3 -17.7 2 ผ้าผืนและด้าย 508.7 509.9 532.4 461.6 410.0 469.2 496.1 5.7 -6.8 (1) ผ้าผืน 298.2 298.2 309.2 298.4 270.6 278.4 292.6 5.1 -5.4 (2) ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ 210.5 211.7 223.2 163.1 139.4 190.8 203.6 6.7 -8.8 3 เคหะสิ่งทอ 86.6 88.0 98.8 88.0 70.9 79.0 80.7 2.2 -18.3 4 เส้นใยประดิษฐ์ 137.2 146.9 127.9 83.4 92.5 124.1 145.3 17.0 13.6 5 ผ้าปักและผ้าลูกไม้ 30.3 40.1 40.6 37.6 28.2 29.1 37.1 27.5 -8.6 6 ตาข่ายจับปลา 19.3 24.3 20.8 21.1 19.2 21.3 21.8 2.3 4.6 7 ผ้าคลุมไหล่ ผ้าพันคอ 1.6 2.3 1.8 2.3 1.7 1.9 1.7 -8.9 -6.3 8 ผ้าแบบสำหรับตัดเสื้อและ 11.9 13.8 14.1 14.6 11.6 13.2 16.0 21.5 13.2 9 สิ่งทออื่นๆ 125.4 138.8 143.4 120.8 106.1 105.9 113.0 6.6 -21.2 ตารางที่ 5 : มูลค่าการนำเข้าสินค้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ปี 2551-2552 แยกรายไตรมาส ชื่อสินค้า ---------------- มูลค่า : ล้านเหรียญฯ ---------------- อัตราขยายตัว (%) 2551 2552 Q3*/52 เทียบ Q1 Q2 Q2/52 Q2/52 Q1 Q2* Q3* Q152 Q251 1 เครื่องจักรสิ่งทอ 81.7 85.0 81.4 91.7 54.2 44.5 56.1 26.1 -31.0 2 ด้ายและเส้นใย 407.7 432.9 419.3 347.4 255.6 263.3 298.2 13.3 -28.9 - เส้นใยใช้ในการทอ 232.2 244.3 235.0 191.7 136.6 133.6 157.0 17.5 -33.2 - ด้ายทอผ้าและด้ายเส้นเล็ก 146.2 157.3 150.6 124.1 88.9 96.9 112.6 16.2 -25.2 - วัตถุทออื่น ๆ 29.3 31.2 33.6 31.5 30.1 32.8 28.5 -12.9 -15.1 3 ผ้าผืน 372.5 417.3 420.0 368.9 275.8 293.2 293.2 0.0 -30.2 4 ผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่น ๆ 70.2 70.0 82.3 66.0 70.7 55.9 73.0 30.6 -11.2 5 เสื้อผ้าสำเร็จรูป 59.6 58.3 66.4 64.8 44.8 57.5 62.2 8.3 -6.2 ที่มา : ตาราง ที่ 4-5 สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--