สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 3 (กรกฎาคม — กันยายน) พ.ศ. 2552(อุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน)

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday December 3, 2009 15:19 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

1. การผลิต

ปริมาณการผลิตของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2552 มีปริมาณการผลิต 2.49 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาส ก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 15.88 และ 4.96 ตามลำดับ ทั้งนี้ปริมาณการผลิตที่ลดลง เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจทั้งในและต่าง ประเทศยังไม่ฟื้นตัว อีกทั้งภาคอสังหาริมทรัพย์โดยรวมยังชะลอตัว และราคาน้ำมันที่ผันผวน ทำให้ผู้ประกอบการชะลอการลงทุนและการผลิตออกไป

2. การตลาด

2.1 การจำหน่ายในประเทศ

ปริมาณการจำหน่ายในประเทศของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในไตรมาสที่ 3 ปี 2552 มีปริมาณการจำหน่าย 0.87 ล้านชิ้น เมื่อ เทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 3.33 และ 14.71 ตามลำดับ ทั้งนี้ปริมาณการจำหน่ายในประเทศที่ลดลง เนื่องจาก การฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศยังไม่ชัดเจน ทำให้ผู้บริโภคระมัดระวังและชะลอการจับจ่ายใช้สอยออกไป

2.2 การส่งออก

การส่งออกของสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2552 มีมูลค่าการส่งออกรวมทั้งสิ้น 567.69 ล้าน เหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.04 แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 8.76 มูลค่าการส่งออกที่เพิ่ม ขึ้น เนื่องจากอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นของตลาดหลักของไทย โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร ที่เศรษฐกิจกระเตื้องขึ้น อีกทั้งการส่งออกไปยัง ตลาดรองของไทย โดยเฉพาะออสเตรเลียและประเทศแถบตะวันออกกลาง ขยายตัวได้ดีสำหรับรายละเอียดการส่งออกในแต่ละประเภทผลิตภัณฑ์ของ สินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน แบ่งเป็น 3 กลุ่มประเภทสินค้า ดังนี้

1) กลุ่มเครื่องเรือนและชิ้นส่วนเครื่องเรือน ประกอบด้วย เครื่องเรือนไม้ เครื่องเรือนอื่นๆ และชิ้นส่วนเครื่องเรือน ในไตรมาสนี้ มี มูลค่าการส่งออก 237.37 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 42 ของมูลค่าการส่งออกในสินค้ากลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนทั้งหมด เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.86 แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 15.81 สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีสัดส่วนในการส่งออกมากที่สุดในกลุ่มนี้ คือ สินค้าประเภทเครื่องเรือนไม้ โดยตลาดส่งออกที่สำคัญของกลุ่มสินค้าประเภทเครื่องเรือน และชิ้นส่วนเครื่องเรือน คือ ประเทศญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย

2) กลุ่มผลิตภัณฑ์ไม้ ประกอบด้วยเครื่องใช้ทำด้วยไม้ อุปกรณ์ก่อสร้างไม้ กรอบรูปไม้และ รูปแกะสลักไม้ ในไตรมาสนี้มีมูลค่าการส่งออก 68.17 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกร้อยละ 12 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าประเภทไม้และเครื่องเรือนทั้งหมด เมื่อเทียบกับไตร มาสก่อนมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.01 แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 23.78 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีสัด ส่วนการส่งออกมากที่สุดในกลุ่มนี้ คือ กรอบรูปไม้ ตลาดส่งออกที่สำคัญของกลุ่มสินค้าผลิตภัณฑ์ไม้ คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และ สวิตเซอร์แลนด์

3) กลุ่มไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูป แผ่นไม้วีเนียร์ไม้อัด ไฟเบอร์บอร์ด (Fiber Board) และ ผลิตภัณฑ์ไม้อื่น ๆ โดยไตรมาสนี้มีมูลค่าการส่งออก 262.15 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกคิดเป็นร้อยละ 46 ของมูลค่าการส่งออกสินค้า ประเภทไม้และเครื่องเรือนทั้งหมด มูลค่าการส่งออกเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.65 และ 4.53 ตาม ลำดับ โดยผลิตภัณฑ์ที่มีสัดส่วนในการส่งออกมากที่สุดในกลุ่มนี้ คือไม้แปรรูป รองลงมาคือ ไฟเบอร์บอร์ดและไม้อัด สำหรับตลาดส่งออกที่สำคัญของกลุ่มไม้ แปรรูปและผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น ได้แก่ ประเทศจีน มาเลเซีย และเวียดนาม

2.3 การนำเข้า

มูลค่าการนำเข้าในไตรมาสที่ 3 ปี 2552 มีจำนวน 122.33 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.64 แต่เมื่อ เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 32.41 การนำเข้าสินค้าประเภทไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ส่วนใหญ่จะเป็นการนำเข้าวัตถุดิบไม้ท่อนประเภท ไม้เนื้อแข็ง ได้แก่ ไม้แปรรูปและไม้ซุง ซึ่งนำเข้ามาผลิตสินค้าต่อเนื่อง เช่น เครื่องเรือนประเภทต่าง ๆ โดยไม้แปรรูปส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศ มาเลเซีย ลาว และนิวซีแลนด์ สำหรับไม้ซุงส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศเมียนมาร์และมาเลเซีย และในส่วนของผลิตภัณฑ์ไม้อัดและไม้วีเนียร์นำเข้าจาก ประเทศจีน มาเลเซีย และอินโดนีเซีย

3. สรุปและแนวโน้ม

การผลิตของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยในไตรมาสที่ 3 ปี 2552 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนลดลง เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจ ภายในประเทศและเศรษฐกิจโลกยังไม่ฟื้นตัวประกอบกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ภายในประเทศโดยรวมยังซบเซา ส่งผลให้ผู้ประกอบการชะลอการผลิตออก ไป การจำหน่ายในประเทศของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยในไตรมาสที่ 3ปี 2552 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนลดลง เนื่องจากผู้บริโภควิตก กับภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศที่ยังไม่ฟื้นตัวดีนัก จึงชะลอการจับจ่ายใช้สอยออกไป

สำหรับแนวโน้มการผลิตและการจำหน่ายในประเทศของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยในไตรมาสที่ 4 ปี 2552 คาดว่าจะขยาย ตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากเศรษฐกิจภายในและต่างประเทศอยู่ในสภาวะเริ่มฟื้นตัว และราคาน้ำมันยังมีความผันผวน ปัจจัยบวก คือ อัตรา ดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาลงตลาดบนที่ยังมีศักยภาพ และมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ของรัฐบาล

การส่งออกของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยในไตรมาสที่ 3 ปี 2552 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนเพิ่มขึ้น เนื่องจากเศรษฐกิจ ของตลาดหลักของไทย ได้แก่ สหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร มีสัญญาณฟื้นตัว อีกทั้งตลาดรองของไทย โดยเฉพาะออสเตรเลียและประเทศแถบ ตะวันออกกลาง มีศักยภาพ

สำหรับแนวโน้มการส่งออกของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในไตรมาสที่ 4 ปี 2552 คาดว่าจะขยายตัว เนื่องจากการเริ่มฟื้นตัวของ ตลาดต่างประเทศหลักของไทย น่าจะส่งผลให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์กระเตื้องขึ้น และส่งผลให้อุปสงค์ของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนเพิ่มขึ้นด้วยเช่น กัน อย่างไรก็ตามปัจจัยลบ คือ ราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มสูงขึ้นและเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น

ในสภาวะที่เศรษฐกิจภายในประเทศและเศรษฐกิจโลกเริ่มมีสัญญาณฟื้นตัว การบริหารจัดการวัตถุดิบและโลจิสติกส์ การพัฒนาบุคลากร การ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการใช้พลังงานอย่างสะอาดและคุ้มค่า เพื่อลดต้นทุนและเพื่อตอบสนองต่อกระแสปกป้องสิ่งแวดล้อมทั่วโลก การดำเนินธุรกิจ ออนไลน์เพื่อขยายตลาด ตลอดจนการพัฒนาการออกแบบ เพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้า นับว่าเป็นสิ่งจำเป็น รวมถึงการรวมตัวในรูปของคลัสเตอร์ การหา พันธมิตรทางธุรกิจ และการศึกษาหาตลาดเฉพาะใหม่ๆ ที่มีกำลังซื้อสูง เช่น รัสเซียและอินเดีย เป็นต้น

ตารางที่ 1 การผลิตของเครื่องเรือนทำด้วยไม้

หน่วย : ล้านชิ้น

  ผลิตภัณฑ์                              ไตรมาส                      ปี 2551               ปี 2552
                             3/2551   2/2552   3/2552           (ม.ค.-ก.ย.)           (ม.ค.-ก.ย.)
เครื่องเรือนทำด้วยไม้               2.62     2.96     2.49              7.49                  7.92
%  เทียบกับไตรมาสก่อน                             -15.88
%  เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน                    -4.96                                    5.74
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

หมายเหตุ : จากการสำรวจโรงงาน 43 โรงงาน

ตารางที่ 2 การจำหน่ายในประเทศของเครื่องเรือนทำด้วย ไม้

หน่วย : ล้านชิ้น

  ผลิตภัณฑ์                              ไตรมาส                          ปี 2551        ปี 2552
                              3/2551    2/2552    3/2552           (ม.ค.-ก.ย.)    (ม.ค.-ก.ย.)
เครื่องเรือนทำด้วยไม้                1.02      0.90      0.87               2.47           2.98
%  เทียบกับไตรมาสก่อน                                 -3.33
%  เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน                      -14.71                             20.65
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จากการสำรวจโรงงาน 43 โรงงาน

ตารางที่ 3 มูลค่าการส่งออกไม้และเครื่องเรือน

หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐฯ

  รายการ                     ไตรมาส               เทียบกับ     เทียบกับไตรมาส     ปี 2551      ปี 2552  เทียบกับช่วงเดียวกัน

ไตรมาสก่อน เดียวกันของปีก่อน (ม.ค.-ก.ย.) (ม.ค.-ก.ย.) ของปีก่อน

3/2551 2/2552 3/2552

1.เครื่องเรือนและชิ้นส่วน  281.95   201.40   237.37      17.86         -15.81         827.01      630.18      -23.80
 1.1 เครื่องเรือนไม้     144.23   115.66   132.64      14.68          -8.04         416.73      358.50      -13.97
 1.2 เครื่องเรือนอื่น ๆ    62.10    44.86    51.31      14.38         -17.38         184.20      140.02      -23.98
 1.3 ชิ้นส่วนเครื่องเรือน   75.62    40.88    53.42      30.68         -29.36         226.08      131.66      -41.76
2. ผลิตภัณฑ์ไม้           89.44    61.41    68.17      11.01         -23.78         265.39      194.90      -26.56
 2.1 เครื่องใช้ทำด้วยไม้   22.48    15.03    18.02      19.89         -19.84          67.68       48.62      -28.16
 2.2 อุปกรณ์ก่อสร้างไม้    28.23    16.07    18.21      13.32         -35.49          89.33       54.93      -38.51
 2.3 กรอบรูปไม้         22.76    19.57    20.43       4.39         -10.24          59.98       57.55       -4.05
 2.4 รูปแกะสลักไม้       15.97    10.74    11.51       7.17         -27.93          48.40       33.80      -30.17
3.ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น   250.78   230.67   262.15      13.65           4.53         734.19      659.35      -10.19
 3.1 ไม้แปรรูป          69.89    81.90   100.29      22.45          43.50         210.12      231.60       10.22
 3.2 แผ่นไม้วีเนียร์        1.54     0.48     0.86      79.17         -44.16           5.21        1.86      -64.30
 3.3 ไม้อัด             69.82    58.24    57.03      -2.08         -18.32         214.58      165.87      -22.70
 3.4 Fiber Board      68.24    59.44    67.28      13.19          -1.41         205.23      164.17      -20.01
 3.5 ผลิตภัณฑ์ไม้อื่นๆ      41.29    30.61    36.69      19.86         -11.14          99.05       95.85       -3.23
          รวม        622.17   493.48   567.69      15.04          -8.76       1,826.59    1,484.43      -18.73

ตารางที่ 4 มูลค่าการนำเข้าไม้และเครื่องเรือน

หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐฯ

  รายการ             ไตรมาส             เทียบกับ       เทียบกับไตรมาส      ปี 2551     ปี 2552   เทียบกับช่วงเดียวกัน
                                       ไตรมาสก่อน    เดียวกันของปีก่อน   (ม.ค.-ก.ย.) (ม.ค.-ก.ย.)    ของปีก่อน

3/2551 2/2552 3/2552

ไม้ซุง         37.04    14.76    12.92     -12.47        -65.12          94.37       38.59       -59.11
ไม้แปรรูป      96.30    68.24    70.02       2.61        -27.29         282.73      212.15       -24.96
ไม้อัด วีเนียร์   33.26    22.80    27.04      18.60        -18.70          97.41       72.97       -25.09
ผลิตภัณฑ์ไม้อื่นๆ  14.39    11.10    12.35      11.26        -14.18          43.61       37.77       -13.39
รวม         180.99   116.90   122.33       4.64        -32.41         518.12      361.48       -30.23
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ