การผลิต
การผลิตเครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณและของที่เกี่ยวข้องกัน ในไตรมาสที่ 3 ปี 2552 (ดูตารางที่ 1 ประกอบ) เมื่อพิจารณาจากดัชนีอุตสาหกรรมเครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณ และของที่เกี่ยวข้องกัน ดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.00 ดัชนีส่งสินค้าหรือดัชนีการจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.54 และดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.91 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เนื่องจากเป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่ฟื้นตัว ดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.13 ดัชนีส่งสินค้าหรือดัชนีการจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 46.32 และดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังลดลงร้อยละ 26.80 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
การตลาด
การส่งออก
ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2552 (ดูตารางที่ 2 ประกอบ) ไทยส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 2,594.40ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 101.17 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.29 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากการส่งออกเครื่องประดับแท้ที่มีมูลค่า 664.12 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเป็นผลจากการส่งออกทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูปที่มีมูลค่า 1,481.08 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 32.70 และ 230.49 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ตามลำดับ ผลิตภัณฑ์สำคัญๆ ได้แก่
1. อัญมณี ในไตรมาสที่ 3 ปี 2552 มีมูลค่าการส่งออก 362.40 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.58 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 23.81 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง เบลเยี่ยม และอิสราเอล คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 43.34, 15.79 และ 8.38 ตามลำดับ ซึ่งผลิตภัณฑ์อัญมณีที่สำคัญมีดังนี้
1.1 เพชร ในไตรมาสที่ 3 ปี 2552 มีมูลค่าการส่งออก 233.80 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.85 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 26.21 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง เบลเยี่ยม และอิสราเอล คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 37.12, 24.18และ 12.79 ตามลำดับ
1.2 พลอย ในไตรมาสที่ 3 ปี 2552 มีมูลค่าการส่งออก 125.55 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 53.09 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 18.33 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง สหรัฐอเมริกา และอินเดีย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 53.96, 11.01 และ 9.01 ตามลำดับ
2. เครื่องประดับแท้ ในไตรมาสที่ 3 ปี 2552 มีมูลค่าการส่งออก 664.12 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.70 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและลดลงร้อยละ 18.41 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง และสหราชอาณาจักร คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 30.19, 16.77 และ 6.93 ตามลำดับ ซึ่งผลิตภัณฑ์เครื่องประดับแท้ที่สำคัญ มีดังนี้
2.1 ทำด้วยเงิน ในไตรมาสที่ 3 ปี 2552 มีมูลค่าการส่งออก 268.96 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.80 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.92 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เดนมาร์ก และออสเตรเลีย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 43.15, 9.80 และ 8.84 ตามลำดับ
2.2 ทำด้วยทอง ในไตรมาสที่ 3 ปี 2552 มีมูลค่าการส่งออก 355.26 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.42 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 33.59 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง สหรัฐอเมริกา และอิตาลี คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 28.42, 18.64 และ 9.31 ตามลำดับ
3. เครื่องประดับอัญมณีเทียม ในไตรมาสที่ 3 ปี 2552 มีมูลค่าการส่งออก 56.70ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.48 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.82 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ลิกเตนสไตน์ สหรัฐอเมริกา และฝรั่งเศส คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 51.42, 21.53 และ 5.01 ตามลำดับ
4. อัญมณีสังเคราะห์ ในไตรมาสที่ 3 ปี 2552 มีมูลค่าการส่งออก 14.49 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 12.50 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 26.07 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง อินเดีย และออสเตรีย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 37.79, 12.73 และ 9.29 ตามลำดับ
5. ทองคำที่ยังไม่ได้ขึ้นรูป ในไตรมาสที่ 3 ปี 2552 มีมูลค่าการส่งออก 1481.08ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 230.49 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 65.00 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรเลีย และฮ่องกง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 42.02, 38.08 และ 18.55 ตามลำดับ
การนำเข้า
1. เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ ในไตรมาสที่ 3 ปี 2552 (ดูตารางที่ 3 ประกอบ)มีมูลค่าการนำเข้า 1,323.83 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 12.19 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 54.51 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยการนำเข้ามาเพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้าสำเร็จรูป ได้แก่
1.1 เพชร ในไตรมาสที่ 3 ปี 2552 มีมูลค่าการนำเข้า 206.15 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.55 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 55.23 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ อินเดีย เบลเยี่ยม และอิสราเอล คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 34.67, 17.69 และ 13.30 ตามลำดับ
1.2 พลอย ในไตรมาสที่ 3 ปี 2552 มีมูลค่าการนำเข้า 76.37 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 65.63 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 23.72 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อินเดีย และฮ่องกง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 17.34, 13.38และ 13.59 ตามลำดับ
1.3 ทองคำ ในไตรมาสที่ 3 ปี 2552 มีมูลค่าการนำเข้า 875.41 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 22.44 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 58.38 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรเลีย และฮ่องกง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 49.14, 20.44 และ 8.28 ตามลำดับ
1.4 เงิน ในไตรมาสที่ 3 ปี 2552 มีมูลค่าการนำเข้า 125.20 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.86 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 23.33 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ จีน เกาหลีใต้ และสวิตเซอร์แลนด์ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 47.93, 22.99 และ 13.40 ตามลำดับ
1.5 โลหะมีค่าและโลหะอื่นๆ ในไตรมาสที่ 3 ปี 2552 มีมูลค่าการนำเข้า 18.04 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.45 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 64.89 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น เยอรมนี และฮ่องกง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 66.69, 14.32 และ 10.68 ตามลำดับ
โดยการนำเข้า เพชร พลอย ทองคำ เงิน โลหะมีค่าและโลหะอื่นๆ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 98.29 ของการนำเข้าวัตถุดิบทั้งหมด
2. เครื่องประดับอัญมณี ในไตรมาสที่ 3 ปี 2552 มีมูลค่าทั้งสิ้น 147.91 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.94 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 15.08 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์สำคัญๆ ได้แก่
2.1 เครื่องประดับอัญมณีแท้ ในไตรมาสที่ 3 ปี 2552 มีมูลค่าการนำเข้า 141.07 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.57 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 15.33 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ อิตาลี ฮ่องกง และสิงคโปร์ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 6.96, 5.19 และ 3.60 ตามลำดับ
2.2 เครื่องประดับอัญมณีเทียม ในไตรมาสที่ 3 ปี 2552 มีมูลค่าการนำเข้า 6.84 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 60.94 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 9.40 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ จีน เกาหลีใต้ และฝรั่งเศส คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 25.29, 21.31 และ 8.86 ตามลำดับ
นโยบายภาครัฐ
รัฐบาลได้มีมาตรการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มวัตถุดิบซึ่งรัฐบาลมีมติ ค.ร.ม. เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2552 และกรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ร่วมกับสมาคมผู้ค้าอัญมณีไทยและเครื่องประดับ ได้จัดงานบางกอกเจมส์แอนด์ จิวเวลรี่ แฟร์ ครั้งที่ 44 ระหว่างวันที่ 15-19 กันยายน 2552 ที่ศูนย์แสดงสินค้าอิมแพคชาแลนเจอร์ 1-3 เมืองทองธานี ซึ่งนับเป็นมาตรการด้านส่งเสริมการตลาด
นอกจากนี้รัฐบาลยังมีมาตรการช่วยเหลือสภาพคล่องของผู้ส่งออกอัญมณีผ่านโครงการสนับสนุนสินเชื่ออุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับหรือเจมส์ไฟแนนซ์วงเงินสินเชื่อ 3,000-5000 ล้านบาท โดยธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ธพว.) จะให้การสนับสนุนวงเงิน เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ขาดสภาพคล่อง ซึ่งมีการลงนามความร่วมมือ (MOU) โครงการดังกล่าว ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเมื่อวันที่ 9 กันยายนที่ผ่านมา ขณะนี้คณะทำงานซึ่งมาจากภาครัฐและเอกชนอยู่ระหว่างเร่งพิจารณาเงื่อนไขและรายละเอียดของโครงการ อาทิ วงเงินแต่ละราย ระยะเวลาการรับจำนำและไถ่ถอนสินค้า อัตราดอกเบี้ย ซึ่งหากไม่มาไถ่ถอนคืนสามารถขายทอดตลาดได้ เป็นต้น
สรุปและแนวโน้ม
ภาพรวมอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับในไตรมาสที่ 3 ปี 2552 ด้านการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.00 และการจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.54 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ด้านการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 101.17 มื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เป็นผลจากการส่งออกอัญมณี เครื่องประดับแท้ และทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูป เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 43.58 32.70 และ 230.49 ตามลำดับ สำหรับสาเหตุที่การส่งออกทองคำยังไม่ขึ้นรูปเพิ่มขึ้นอย่างมาก นื่องจากราคาทองคำในตลาดโลกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่า 1,000 เหรียญสหรัฐฯ ต่อออนซ์ ส่งผลให้ผู้ประกอบการส่งออกมากกว่าการนำเข้า ทั้งนี้มูลค่าเครื่องประดับแท้มีสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 25.60 ส่วนการนำเข้าสินค้าซึ่งส่วนใหญ่เป็นวัตถุดิบในไตรมาสนี้ลดลงร้อยละ 12.19 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา และลดลงร้อยละ 54.51 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
แนวโน้มภาพรวมการส่งออกในไตรมาสที่ 4 ปี 2552 มีปัจจัยด้านบวก คือ แนวโน้มราคาทองคำในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นจากไตรมาสก่อนมาอยู่ที่ระดับ 1,000 เหรียญสหรัฐฯ ต่อออนซ์ จะส่งผลให้มีการส่งออกทองคำยังไม่ขึ้นรูปเพิ่มขึ้น ความสำเร็จของการจัดงานบางกอกเจมส์แอนด์จิวเวลรี่ แฟร์ ครั้งที่ 44 อีกทั้งคำสั่งซื้อที่มีมากสำหรับช่วงเทศกาลคริสต์มาส จะเป็นสาเหตุให้การส่งออกเพิ่มขึ้น อย่างไรตามยังคงมีปัจจัยด้านลบ คือ นวโน้มการแข็งค่าของค่าเงินบาทและแนวโน้มราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ดังนั้นจึงคาดว่าการส่งออกในไตรมาสที่ 4 ปี 2552 จะมีแนวโน้มทรงตัว
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--