สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทยปี 2552 และแนวโน้มปี 2553(อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม)

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday January 21, 2010 15:38 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

สถานการณ์ทั่วไป

ถึงแม้ว่าภาวะการณ์ทางเศรษฐกิจจะมีแนวโน้มถดถอยและชะลอตัว เนื่องจากมีปัจจัยลบสำคัญหลายประการที่ส่งผลกระทบต่อภาคการผลิต และการส่งออกอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มอาทิ ปัญหาค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นตั้งแต่ต้นปี ราคาสินค้าที่ทยอยปรับตัวสูงขึ้น ปัญหาเงินเฟ้อ อัตรา ดอกเบี้ย ราคาน้ำมัน อีกทั้งต้นทุนแรงงานที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับจีนและเวียดนาม ล้วนกระทบต่อการบริโภคของประชาชน แต่อาจจะไม่กระทบต่อ อุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูปของไทยมากนัก เนื่องจากยังมีการนำเข้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปราคาถูกมากกว่าร้อยละ 50 จากประเทศที่มีต้นทุนการผลิตต่ำ อย่างจีน ลาว และกัมพูชาเพื่อรองรับกลุ่มผู้ซื้อที่มีกำลังซื้อจำกัด ในปี 2552 อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทยส่งออกไปตลาดสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป อาเซียน และญี่ปุ่น มีสัดส่วนส่งออกร้อยละ 22.4, 19.6, 15.4 และ 7.0 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการสิ่งทอได้ลดการส่ง ออกไปสหรัฐอเมริกาหันมาส่งออกจำหน่ายในตลาดอาเซียน และญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น

การผลิต

ปี 2552 เมื่อพิจารณาจากดัชนีอุตสาหกรรม การผลิตเส้นใยสิ่งทอ ฯ การผลิตผ้าฯ และการผลิตเครื่องแต่งกายฯ ดัชนีผลผลิตชะลอตัวลง ร้อยละ 9.4 , 22.7 และ 15.8 ตามลำดับ ส่งผลให้การจำหน่ายปรับตัวลดลงร้อยละ 5.1, 19.5 และ 13.5 เมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากความ ไม่มั่นใจของผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจที่ยังซบเซาเมื่อเทียบกับปีก่อน ทำให้ผู้บริโภคชะลอการใช้จ่ายประกอบกับราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ต้นทุน การผลิตสูงขึ้น อีกทั้งผู้ประกอบการได้มีการนำเข้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปเพิ่มขึ้นซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินค้าราคาถูกจากประเทศจีน และเสื้อผ้าแฟชั่นจากฮ่องกง ทั้ง นี้คาดว่าในปี 2553 การผลิตและการจำหน่ายจะขยายตัวมากขึ้นกว่าปี 2552 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 5

การส่งออก

ปี 2552 คาดว่าอุตสาหกรรมสิ่งทอของไทยมีมูลค่าการส่งออกรวม 6,359.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 11.7 เมื่อเทียบกับปีก่อน มีมูลค่าการส่งออก 7,199.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ผลิตภัณฑ์สิ่งทอส่งออกที่สำคัญ ปี 2552 ได้แก่

1. เสื้อผ้าสำเร็จรูป คาดว่ามีมูลค่าการส่งออก 2,603.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 15.7 เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งมีมูลค่าส่งออก 3,088.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดส่งออกหลัก คือสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และ สหราชอาณาจักร มีสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 39.2, 6.8 และ 6.3 ตามลำดับ

2. ผ้าผืนและด้าย คาดว่ามีมูลค่าการส่งออก 1,864.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 7.4 เมื่อเทียบกับปีก่อนซึ่งมีมูลค่าส่งออก 2,012.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดส่งออกคือ จีน เวียดนาม และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สัดส่วนร้อยละ 6.9, 6.5 และ 6.1 ตามลำดับ โดยมี ผลิตภัณฑ์ที่สำคัญที่คาดว่าจะมีมูลค่าการส่งออกในปี 2553 ตามลำดับ ได้แก่

2.1 ผ้าผืน มีมูลค่าการส่งออก 1,141.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 5.2 เมื่อเทียบกับปีก่อนซึ่งมีมูลค่าส่งออก 1,204.0 ล้าน เหรียญสหรัฐฯ ตลาดส่งออกคือสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เวียดนาม และ จีน สัดส่วนร้อยละ 9.2, 8.1 และ 6.6 ตามลำดับ

2.2 ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ มีมูลค่าการส่งออก 722.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 10.6 เมื่อเทียบกับปีก่อนซึ่งมีมูลค่าส่งออก 808.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดส่งออกคือ บราซิล ตุรกี และจีน สัดส่วนร้อยละ 11.2, 9.2 และ 7.5 ตามลำดับ

3. เส้นใยประดิษฐ์ มีมูลค่าการส่งออก 497.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งมีมูลค่าส่งออก 495.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดส่งออกคือ อินโดนีเซีย เวียดนาม และตุรกี สัดส่วนร้อยละ 16.0, 15.0 และ 7.5 ตามลำดับ

4. เคหะสิ่งทอ มีมูลค่าการส่งออก 317.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 12.1 เมื่อเทียบกับปีก่อนซึ่งมีมูลค่าส่งออก 361.5 ล้าน เหรียญสหรัฐฯ ตลาดส่งออกคือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย สัดส่วนร้อยละ 34.9, 12.4 และ 5.1 ตามลำดับ

5. สิ่งทออื่นๆ มีมูลค่าการส่งออก 442.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 16.3 เมื่อเทียบกับปีก่อนซึ่งมีมูลค่าส่งออก 525.4 ล้าน เหรียญสหรัฐฯ ตลาดส่งออกคือ ญี่ปุ่น จีน และอินเดีย สัดส่วนร้อยละ 18.6, 11.1 และ 8.5 ตามลำดับ

ตลาดส่งออก

ตลาดส่งออกที่สำคัญๆ ของการส่งออกผลิตภัณฑ์สิ่งทอ ปี 2552 ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เป็นตลาดส่งออกหลักของไทย ซึ่งการส่งออกสิ่งทอไป สหรัฐอเมริกา มีมูลค่า 1,423.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 26.3 เมื่อเทียบกับปีก่อน คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 22.4 ของการส่งออกสิ่ง ทอทั้งหมดของไทย โดยสินค้าส่งออกของไทยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มของเสื้อผ้าสำเร็จรูปเครื่องยกทรง รัดทรงและส่วนประกอบ และเคหะสิ่งทอ

สหภาพยุโรป มีมูลค่าการส่งออก 1,244.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 12.5 เมื่อเทียบกับปีก่อน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 19.6 ของ การส่งออกสิ่งทอทั้งหมด โดยสินค้าส่งออกของไทยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มของเสื้อผ้าสำเร็จรูป ผ้าผืน เครื่องยกทรง รัดทรงและส่วนประกอบ และสิ่งทออื่นๆ

ญี่ปุ่น มีมูลค่าการส่งออก 448.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 4.7 เมื่อเทียบกับปีก่อน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 7.0 ของการส่งออกสิ่ง ทอทั้งหมด โดยสินค้าส่งออกของไทยส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มของเสื้อผ้าสำเร็จรูป สิ่งทออื่นๆ ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ และเคหะสิ่งทอ

อาเซียน มีมูลค่าการส่งออก 982.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 13.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 15.4 ของการส่งออกสิ่งทอทั้งหมด โดยสินค้าส่งออกของไทยส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มของผ้าผืน เส้นใยประดิษฐ์ ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ และสิ่งทออื่นๆ

การนำเข้า

ปี 2552 คาดว่าจะมีการนำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มคิดเป็นมูลค่าการนำเข้าทั้งหมด 3,012.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงร้อยละ 19.1 เมื่อเทียบกับปีก่อน ผลิตภัณฑ์สิ่งทอฯ สำคัญที่นำเข้า ได้แก่

เส้นใยที่ใช้ในการทอ มีมูลค่าการนำเข้า 636.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 29.6 เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งมีมูลค่าการนำเข้า 903.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดนำเข้าคือ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และ บราซิล คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 33.5, 14.5 และ 6.7 ตามลำดับ

ด้ายทอผ้า มีมูลค่าการนำเข้า 443.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 23.3 เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งมีมูลค่าการนำเข้า 578.3 ล้าน เหรียญสหรัฐฯ ตลาดนำเข้าคือ จีน ญี่ปุ่น และ ไต้หวัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 21.9, 16.1 และ 14.0 ตามลำดับ

ผ้าผืน มีมูลค่าการนำเข้า 1,267.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 19.7 เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งมีมูลค่าการนำเข้า 1,578.7 ล้าน เหรียญสหรัฐฯ ตลาดนำเข้าคือ จีน ไต้หวัน และ ญี่ปุ่น สัดส่วนร้อยละ 43.8, 17.6 และ 7.2 ตามลำดับ

เสื้อผ้าสำเร็จรูป มีมูลค่าการนำเข้า 291.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งมีมูลค่าการนำเข้า 288.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดนำเข้าคือ จีน ฮ่องกง และ ญี่ปุ่นสัดส่วนร้อยละ 50.7, 9.3 และ 4.2 ตามลำดับ

เครื่องจักรสิ่งทอ มีมูลค่านำเข้า 230.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 32.1 เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งมีมูลค่าการนำเข้า 339.8 ล้าน เหรียญสหรัฐฯ ตลาดนำเข้าคือ ญี่ปุ่น เยอรมนี และ จีน สัดส่วนร้อยละ 30.7, 16.1 และ 12.8 ตามลำดับ

สรุปและแนวโน้ม

สถานการณ์ในปี 2552 การผลิต และการจำหน่ายรวมถึงการส่งออก ปรับตัวลดลงทั้งเส้นใยสิ่งทอฯ การผลิตผ้าฯ และเสื้อผ้าสำเร็จรูป อันเป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหลักยังชะลอตัว สถานการณ์ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับความไม่ชัดเจนด้านการเมืองส่งผลให้ภาคประชาชนระมัดระวังการใช้จ่าย หันไปเลือกซื้อสินค้าที่มีราคาไม่แพงมากนักเหมาะกับกำลังซื้อที่มี จำกัด แต่การผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป ยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจของไทยเข้าสู่ภาวะชะลอตัวก็ตาม ทั้งนี้ผู้ประกอบการเสื้อผ้าสำเร็จ รูปยังคงผลิตเพิ่มขึ้นเพื่อขยายส่งออกไปตลาดอาเซียน และญี่ปุ่น ตามคำสั่งซื้อ

สำหรับแนวโน้มการผลิตสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปในปี 2553 คาดว่าจะมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นซึ่งจะเน้นในตลาดอาเซียนและญี่ปุ่นมากขึ้น เพื่อ ลดผลกระทบจากตลาดสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปชะลอตัว

สำหรับผลกระทบจากค่าเงินเวียดนามลดลง ย่อมทำให้ราคาสินค้าเวียดนามถูกลงประกอบกับค่าเงินบาทของไทยแข็งค่าขึ้นเป็นลำดับ ทำให้ สินค้าไทยเสียเปรียบในเรื่องราคา โดยเฉพาะสิ่งทอ ผ้าผืนและเสื้อผ้าสำเร็จรูป การที่เวียดนามลดค่าเงินด่องในระยะสั้นอาจดูเหมือนเป็นการเพิ่มขีด ความสามารถในการแข่งขันด้านราคาให้กับสินค้าจากเวียดนาม แต่สินค้าไทยสามารถแข่งขันได้ด้วยคุณภาพ ซึ่งหากจะแข่งขันด้านราคา เวียดนามก็จะ ต้องเผชิญกับสินค้าจากจีนซึ่งมีราคาไม่แพงเช่นกัน

ตารางที่ 1 ดัชนีการผลิตเส้นใยสิ่งทอรวมทั้งการทอสิ่งทอ
ดัชนี                2546       2547       2548       2549       2550       2551     2552*  อัตราการขยายตัว(%)

เทียบปี 2551

ผลผลิต              94.8       92.1       89.1       83.5       75.0       68.1      61.7      -9.4
การส่งสินค้า          97.1       95.5       92.1       85.1       77.7       72.6      68.9      -5.1
สินค้าสำเร็จรูปคงคลัง  150.5      153.5      157.2      147.5      171.6      160.3     148.5      -7.4

ตารางที่ 2 ดัชนีการผลิตผ้าที่ได้จากการถักนิตติ้งและโครเชท์
ดัชนี                2546       2547       2548       2549       2550       2551     2552*  อัตราการขยายตัว(%)

เทียบปี 2551

ผลผลิต             113.4      129.1      136.4      130.1      138.0      158.7     122.7     -22.7
การส่งสินค้า          94.7       96.7      102.5       98.5      100.7       98.2      79.1     -19.5
สินค้าสำเร็จรูปคงคลัง  109.5      117.1      123.5      126.5      118.5      123.7     122.3      -1.1

ตารางที่ 3 ดัชนีการผลิตเครื่องแต่งกายยกเว้นเครื่องแต่งกายที่ผลิตจากขนสัตว์
ดัชนี               2546       2547        2548       2549       2550       2551     2552*  อัตราการขยายตัว(%)

เทียบปี 2551

ผลผลิต            120.9       134.8      147.2      148.7      154.8      162.1    136.5      -15.8
การส่งสินค้า        112.7       121.6      133.2      134.4      136.3      140.7    121.8      -13.5
สินค้าสำเร็จรูปคงคลัง 140.2       183.4      200.0      237.5      255.5      342.7    392.6       14.5

ที่มา : ตารางที่ 1-3 สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม

หมายเหตุ : ฐานเฉลี่ยปี 2543 และเป็นดัชนีที่ยังไม่ได้ปรับผลกระทบของฤดูกาล (*) ตัวเลขเบื้องต้น

ตารางที่ 4 มูลค่าการส่งออกของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย

มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ

รายการ                    2548      2549       2550       2551      2552*   อัตราการขยายตัว(%)เทียบ 2551
สิ่งทอ                   6,693.5   6,834.6    6,967.2    7,199.6    6,418.9              -10.8
1 เครื่องนุ่งห่ม            3,469.0   3,545.3    3,367.6    3,505.2    3,050.4              -13.0
(1) เสื้อผ้าสำเร็จรูป       3,150.2   3,198.8    2,987.1    3,088.4    2,685.9              -13.0
(2) เครื่องยกทรง รัดทรงฯ    249.9     277.4      308.9      335.6      290.4              -13.5
(3) ถุงเท้าและถุงน่อง         59.4      58.3       60.2       66.3       60.7               -8.5
(4) ถุงมือผ้า                 9.5      10.7       11.3       14.9       13.3              -11.0
2 ผ้าผืนและด้าย           1,832.8   1,822.8    2,005.4    2,012.6    1,853.3               -7.9
(1) ผ้าผืน                1,078.9  1,104.0    1,162.5    1,204.0    1,132.3               -6.0
(2) ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์     754.0    718.8      842.9      808.6      721.0              -10.8
3 เคหะสิ่งทอ                240.9    283.5      332.5      361.5      314.8              -12.9
4 เส้นใยประดิษฐ์             443.6    450.5      520.1      495.4      480.1               -3.1
5 ผ้าอื่นๆ                   237.1    291.7      267.7      233.4      247.6                6.1
6 สิ่งทออื่นๆ                 470.0    440.8      473.8      528.4      445.3              -15.7

ตารางที่ 5 มูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์สิ่งทอไทย

มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ

รายการ                     2548     2549      2550      2551    2552*   อัตราการขยายตัว(%)เทียบ 2550
เครื่องจักรสิ่งทอ              420.2    404.6     344.4     339.3     230.8           -32.1
ด้ายและเส้นใย             1,297.9  1,256.4   1,254.7   1,607.3   1,211.8           -24.6
1 เส้นใยใช้ในการทอ          760.1    698.2     680.2     903.4     636.4           -29.6
2 ด้ายทอผ้าฯ                439.1    455.9     468.5     578.3     443.3           -23.3
3 วัตถุทออื่น ๆ                98.8    102.3     106.0     125.7     132.1             5.1
ผ้าผืน                    1,338.9  1,368.5   1,437.8   1,578.7   1,267.6           -19.7
ผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่น ๆ            145.1    149.6     185.2     249.0     241.3            -3.1
เสื้อผ้าสำเร็จรูป              148.3    200.0     248.6     288.5     291.6             1.1
รวมสิ่งทอ                 2,782.0  2,774.4   2,877.7   3,435.1   2,720.7           -20.8
รวมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม     2,930.3  2,974.5   3,126.3   3,723.7   3,012.3           -19.1

ที่มา : ตารางที่ 4- 5 ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

หมายเหตุ : 2552* เป็นตัวเลขเบื้องต้น

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ