สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 4/2552 (ตุลาคม — ธันวาคม) พ.ศ. 2552(อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์)

ข่าวเศรษฐกิจ Friday February 19, 2010 13:54 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

1. ภาวะทั่วไปของอุตสาหกรรม

ภาวะการผลิตสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 4 ปี 2552 มีดัชนีผลผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่ที่ 101.64 ปรับตัวลดลงจากไตรมาสก่อนร้อยละ 1.29 และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.40 ซึ่งสินค้าส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเกือบทุกผลิตภัณฑ์ ยกเว้น กระติกน้ำร้อน โทรทัศน์สี(ขนาดจอเล็กกว่า 20 นิ้ว) และ โทรทัศน์สี (ขนาดจอ 21 นิ้ว หรือมากกว่า) ที่ยังคงปรับตัวลดลงอยู่ที่ร้อยละ 0.48, 20.57 และ 7.71 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

การปรับตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนปรับตัวลดลงเกือบทุกผลิตภัณฑ์ ยกเว้นผลิตภัณฑ์เช่น กระติกน้ำร้อน หม้อหุงข้าว ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.52 และ17.73 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เนื่องจากส่วนหนึ่งเป็นเพราะขณะนี้ปริมาณการขายในประเทศเริ่มกระเตื้องขึ้นจากราคาขายที่ไม่สูงมากนัก และมีแนวโน้มปรับเปลี่ยนรุ่นใหม่ๆ โดยเฉพาะหม้อหุงข้าวที่มีระบบดิจิตอลมากขึ้น ทำให้กระตุ้นปริมาณการผลิตมากขึ้นเล็กน้อย

มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้ารวม ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2552 มีมูลค่า 4,442.00 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 4.20 และปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ13.30 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

สำหรับตลาดส่งออกหลักและมีสัดส่วนมากที่สุดในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2552 ได้แก่ ตลาดอาเซียน มีมูลค่าส่งออก 888.11 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวเพิ่มขึ้น 3.23% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนสินค้าหลักที่ส่งออกไปตลาดอาเซียน ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น และ เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า สำหรับตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า รวมถึงแป้นและแผงควบคุม เป็นต้น

ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 4 ปี 2552 จากรายงานของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 4 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.94 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.60 โดยสินค้าที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน คือ Other IC Hard Disk Drive และ Printer เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.47 7.02 และ 1.31 ตามลำดับ

มูลค่าส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2552 มีมูลค่ารวม 7,858.36 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.96 เมื่อเทียบไตรมาสก่อน และปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 20.20 ตลาดส่งออกที่สำคัญของผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ จีน อียู และสหรัฐอเมริกา เป็นต้น

แนวโน้มภาพรวมภาวะอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าช่วงไตรมาสที่ 1 ระหว่างเดือนมกราคมถึงมีนาคม 2553 โดยดูจากดัชนีการส่งสินค้าของสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า ประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.51 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนของอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น และจากดัชนีชี้นำที่ส่งสัญญาณปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ มูลค่าการนำเข้าคอมเพรสเซอร์ ซึ่งคอมเพรสเซอร์เครื่องทำความเย็นถือเป็นส่วนประกอบหลักและดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งสอดคล้องกับการประมาณการภาวะอุตสาหกรรมเครื่องคอมเพรสเซอร์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น เช่นกัน

ภาวะอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2553 ประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.30 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนเนื่องจากตัวแปรดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐส่งสัญญาณดีขึ้นซึ่งตัวแปรดังกล่าวนำมาพิจารณาในการประมาณการไตรมาสที่ 1 ปี 2553

2. อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า

2.1 การผลิต

ภาวะการผลิตสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 4 ปี 2552 มีดัชนีผลผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่ที่ 101.64 ปรับตัวลดลงจากไตรมาสก่อนร้อยละ 1.29 และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.40 ซึ่งสินค้าส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเกือบทุกผลิตภัณฑ์ ยกเว้น กระติกน้ำร้อน โทรทัศน์สี(ขนาดจอเล็กกว่า 20 นิ้ว) และ โทรทัศน์สี (ขนาดจอ 21 นิ้ว หรือมากกว่า) ที่ยังคงปรับตัวลดลงอยู่ที่ร้อยละ 0.48, 20.57 และ 7.71 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

การปรับตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนปรับตัวลดลงเกือบทุกผลิตภัณฑ์ ยกเว้นผลิตภัณฑ์เช่น กระติกน้ำร้อน หม้อหุงข้าว ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.52 และ17.73 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เนื่องจากส่วนหนึ่งเป็นเพราะขณะนี้ปริมาณการขายในประเทศเริ่มกระเตื้องขึ้นจากราคาขายที่ไม่สูงมากนัก และมีแนวโน้มปรับเปลี่ยนรุ่นใหม่ๆ โดยเฉพาะหม้อหุงข้าวที่มีระบบดิจิตอลมากขึ้น ทำให้กระตุ้นปริมาณการผลิตมากขึ้นเล็กน้อย

ส่วนสินค้าที่ปรับตัวลดลงมากเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สามารถแบ่งได้เป็นสาเหตุที่ทำให้กลุ่มสินค้าต่างๆปรับลดลงได้ดังนี้

1. กลุ่มสินค้าที่ปรับตัวลดลงจากการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี ได้แก่ เครื่องรับโทรทัศน์สีประเภท CRT ปรับตัวลดลงที่มีการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี และระบบสัญญาณภาพที่เป็นดิจิตอลในตลาดหลักอย่างตลาดสหรัฐอเมริกา และยุโรปทำให้การผลิตเพื่อส่งออกตลาดหลักเหล่านี้ลดลง แต่กลับเพิ่มขึ้นเป็นการทดแทนในตลาดอินเดีย และตลาดแถบแอฟริกามากขึ้น และไทยยังคงมีข้อจำกัดทางด้าน Rule of Origin ในการใช้วัตถุดิบในประเทศ /ภูมิภาคอาเซียน 40% ซึ่งขณะนี้ ส่วนของ Panel ที่เป็นวัตถุดิบสำคัญของ LCD TV นั้นไม่มีผลิตในประเทศอาเซียน ทำให้ไม่สามารถใช้สิทธิพิเศษและควบคุมต้นทุนการผลิตเป็นไปได้ยาก เป็นที่น่าสังเกตว่า สินค้าในกลุ่มนี้หากภาวะเศรษฐกิจเป็นปกติ ก็จะปรับตัวลดลงเช่นกัน โดยมีสินค้าทดแทนกลุ่มเดียวกันได้แก่ LCD TV เป็นต้น

2. กลุ่มสินค้าปรับตัวลดลงจากภาวะเศรษฐกิจชะลอลงเนื่องจากประเทศคู่ค้าชะลอคำสั่งซื้อ ได้แก่ สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน เช่น เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น หม้อหุงข้าวไฟฟ้า เป็นต้น ซึ่งตลาดส่งออกหลัก เช่น อียู และญี่ปุ่น ชะลอคำสั่งซื้อไปก่อน

เมื่อเปรียบเทียบกับดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า (Household electrical machinary) ของประเทศญี่ปุ่นไตรมาสที่ 4 ปี 2552 ซึ่งรายงานโดย Ministry of Economic, Trade and Industry ประเทศญี่ปุ่น พบว่าดัชนีผลผลิตมีการปรับตัวลดลงร้อยละ 6.87 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และปรับตัวลดลงร้อยละ 16.04 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านส่วนใหญ่จะปรับตัวลดลง เช่น กล้องถ่ายวิดีโอ เครื่องเล่นดีวีดี กล้องถ่ายรูปดิจิตอล เป็นต้น บางรายการที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น เช่น แอลซีดี ทีวี พลาสมา ทีวี และตู้เย็น ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.07 21.05 และ2.97 ตามลำดับ

2.2 การตลาด

จากรายงานดัชนีการส่งสินค้าของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่าในไตรมาสที่ 4 ปี 2552 ปรับตัวลดลงร้อยละ 1.60 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.79

สินค้าที่ปรับตัวลดลงในไตรมาสที่ 4 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน 3 อันดับแรก ได้แก่ พัดลม สายไฟฟ้า และตู้เย็น ปรับตัวลดลง 23.20% 10.19% และ 5.85% ตามลำดับ

ขณะที่ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สินค้าที่ปรับตัวลดลง 3 อันดับแรก ได้แก่ โทรทัศน์สี (ขนาดจอเล็กกว่า 20 นิ้ว) โทรทัศน์สี (ขนาดจอ 21 นิ้ว หรือมากกว่า) และ กระติกน้ำร้อนปรับตัวลดลง 35.75% 10.91% และ 0.34% ตามลำดับ

ภาวะการตลาดของสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยรวมปรับตัวลดลงจากไตรมาสก่อน เนื่องจากภาวะการตลาดในประเทศที่ชะลอลงจากภาวะเศรษฐกิจในประเทศ มีเพียงการจัดซื้อเพื่อทดแทนผลิตภัณฑ์เดิม และการทำตลาดจากงานโครงการ และมหกรรมสินค้าราคาประหยัดที่สามารถกระตุ้นยอดขายได้ส่วนหนึ่ง

การส่งออก

มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้ารวม ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2552 มีมูลค่า 4,442.00 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 4.20 และปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ13.30 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

สำหรับสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุด 3 อันดับแรกในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2552 ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า สำหรับตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า รวมถึงแป้นและแผงควบคุม และกล้องถ่ายโทรทัศน์ กล้องถ่ายบันทึกวีดีโอภาพนิ่ง วีดีโออื่นๆ โดยมีมูลค่าส่งออก 516.36 ล้านเหรียญสหรัฐ 446.75 ล้านเหรียญสหรัฐ และ 401.82 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามลำดับ

โดยเครื่องปรับอากาศมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 24.10% ทั้งนี้ เนื่องจากตลาดส่งออกหลักของเครื่องปรับอากาศที่ส่งไปยังตลาดอียูนั้นปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากกำลังซื้อส่วนหนึ่งกำลังเริ่มกลับมา

ขณะที่ เครื่องรับโทรทัศน์ที่ส่งออกเป็นอันดับต้นๆในหลายปีที่ผ่านมา ปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2552 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ถึงร้อยละ 40.47 โดยมีมูลค่าส่งออก 516.37 ล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจากตลาดส่งออกเกือบทุกตลาดได้ปรับตัวเพิ่มขึ้น

ตลาดอียูยังเป็นตลาดหลักในการส่งออกเครื่องปรับอากาศอยู่ โดยไตรมาสที่ 4 ปี 2552 มีมูลค่าการส่งออกสูงสุดคือ 124.99 ล้านเหรียญสหรัฐ

สำหรับตลาดส่งออกหลักและมีสัดส่วนมากที่สุดในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2552 ได้แก่ ตลาดอาเซียน มีมูลค่าส่งออก 888.11 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวเพิ่มขึ้น 3.23% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนสินค้าหลักที่ส่งออกไปตลาดอาเซียน ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น และ เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า สำหรับตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า รวมถึงแป้นและแผงควบคุม เป็นต้น

ตลาดที่มีมูลค่าส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้ามากเป็นอันดับรองลงมา ได้แก่ ตลาดอียู มีมูลค่าส่งออก 669.85 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวเพิ่มขึ้น 11.64% สามารถสรุปสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ส่งออกใน 3 ตลาดหลักได้ดังนี้

3. อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์

3.1 การผลิต

ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 4 ปี 2552 จากรายงานของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 4 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.94 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.60 โดยสินค้าที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน คือ Other IC Hard Disk Driveและ Printer เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.47 7.02 และ 1.31 ตามลำดับ

การเติบโตในแง่ของมูลค่าอาจไม่เติบโตมากนักเนื่องจากภาวะการแข่งขันด้านราคาที่มีราคาขายโดยเฉลี่ยค่อนข้างต่ำ จึงต้องขายปริมาณมากขึ้นเพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดไว้

ขณะที่ การพัฒนาเทคโนโลยี เช่น HDD เป็นสิ่งจำเป็นที่จะเพิ่มมูลค่าราคาให้สูงขึ้น โดยปรับให้มีขนาดเล็กลง ความจุมากขึ้น เข้าถึงข้อมูลเร็วขึ้นใช้ได้กับ Hardware หลายประเภท

3.2 การตลาด

จากรายงานดัชนีการส่งสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมสะท้อนภาวะตลาดของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 4 ปี2552 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนภาวะตลาดของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ4.52 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 25.81

จากรายงานของสมาคมอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ (Semiconductor Industry Association) ของสหรัฐอเมริกาให้ข้อคิดเห็นว่า อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ทางการเงินที่สหรัฐอเมริกา ส่งผลต่อเนื่องถึงอัตราการเจริญเติบโตของยอดขายเซมิคอนดักเตอร์ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2552 ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลงและการระมัดระวังในการใช้จ่ายมากขึ้นของทั้งภาคธุรกิจและผู้บริโภค

มูลค่าการจำหน่ายเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลกปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 14.19 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ทั้งนี้ เนื่องจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของทุกภูมิภาคทั่วโลก รวมถึงในเอเชียแปซิฟิก จากการจำหน่าย Consumer Electronics ที่มีเจริญเติบโตสูงมาก ทำให้ชิ้นส่วนเหล่านี้มีอัตราการขยายตัวค่อนข้างดี และในไตรมาสที่ 4 ปี 2552 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.25 เช่นเดียวกับตลาดอื่นๆ ที่เริ่มปรับตัวเพิ่มขึ้น

การส่งออก

มูลค่าส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2552 มีมูลค่ารวม 7,858.36 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.96 เมื่อเทียบไตรมาสก่อน และปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 20.20 ตลาดส่งออกที่สำคัญของผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ จีน อียู และสหรัฐอเมริกา เป็นต้น

มูลค่าส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ที่มีอัตราการปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ ครบชุด,Notebook,palm เครื่องอุปกรณ์ใช้สำหรับโทรศัพท์ โทรเลข อุปกรณ์อื่นๆ และ เครื่องโทรศัพท์ ปรับตัวลดลงร้อยละ 48.55 37.33 และ 26.98 ตามลำดับ

มูลค่าส่งออกอิเล็กทรอนิกส์รวมในไตรมาสที่ 4 มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นทุกตลาดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยตลาดที่มีมูลค่าส่งออกมากที่สุด 3 อันดับแรกได้แก่ ตลาดจีน อาเซียน และสหรัฐอเมริกา มีมูลค่าส่งออกคือ 1,577.98 1,229.44 และ1,203.88 ตามลำดับ ส่วนสินค้าที่ส่งออกสามารถสรุปสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งออกใน 3 ตลาดหลักได้ดังนี้

แนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2553

จากการประมาณการดัชนีการส่งสินค้าประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ของแบบจำลองดัชนีชี้นำภาวะอุตสาหกรรมรายสาขาของสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า แนวโน้มภาพรวมภาวะอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าช่วงไตรมาสที่ 1 ระหว่างเดือนมกราคมถึงมีนาคม 2553 โดยดูจากดัชนีการส่งสินค้าของสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า ประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.51 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนของอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศ ตู้เย็นและจากดัชนีชี้นำที่ส่งสัญญาณปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ มูลค่าการนำเข้าคอมเพรสเซอร์ ซึ่งคอมเพรสเซอร์เครื่องทำความเย็นถือเป็นส่วนประกอบหลักและดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งสอดคล้องกับการประมาณการภาวะอุตสาหกรรมเครื่องคอมเพรสเซอร์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน

ภาวะอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2553 ประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.30 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนเนื่องจากตัวแปรดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐส่งสัญญาณดีขึ้นซึ่งตัวแปรดังกล่าวนำมาพิจารณาในการประมาณการไตรมาสที่ 1 ปี 2553

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ