การผลิตและการจำหน่าย
การผลิตเครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณและของที่เกี่ยวข้องกัน ในไตรมาสที่ 4 ปี 2552 (ดูตารางที่ 1 ประกอบ) เมื่อพิจารณาจากดัชนีอุตสาหกรรมเครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณ และของที่เกี่ยวข้องกัน ดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.59 ดัชนีส่งสินค้าหรือดัชนีการจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.23 และดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังลดลงร้อยละ 10.23 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เนื่องจากเป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่เริ่มจะฟื้นตัว ดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.38 ดัชนีส่งสินค้าหรือดัชนีการจำหน่ายลดลงร้อยละ 2.72 และดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังลดลงร้อยละ 30.15 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
การตลาด
การส่งออก
ในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2552 (ดูตารางที่ 2 ประกอบ) ไทยส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 1,931.30 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 25.56 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 16.47 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากการส่งออกทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูปที่มีมูลค่า 788.03 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเป็นผลจากการส่งออกอัญมณีที่มีมูลค่า 309.56 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งลดลงคิดเป็นร้อยละ 46.79 และ 14.58 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ตามลำดับ ผลิตภัณฑ์สำคัญๆ ได้แก่
1. อัญมณี ในไตรมาสที่ 4 ปี 2552 มีมูลค่าการส่งออก 309.56 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 14.58 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.10 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง เบลเยี่ยม และอิสราเอล คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 27.14, 21.55 และ 11.85 ตามลำดับ ซึ่งผลิตภัณฑ์อัญมณีที่สำคัญมีดังนี้
1.1 เพชร ในไตรมาสที่ 4 ปี 2552 มีมูลค่าการส่งออก 238.96 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.21 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.18 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ เบลเยี่ยม ฮ่องกง และอิสราเอล คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 27.78, 26.55และ15.22 ตามลำดับ
1.2 พลอย ในไตรมาสที่ 4 ปี 2552 มีมูลค่าการส่งออก 68.83 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 45.18 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 13.20 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง สหรัฐอเมริกา และอินเดีย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 27.99, 21.58 และ 15.75 ตามลำดับ
2. เครื่องประดับแท้ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2552 มีมูลค่าการส่งออก 726.35 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.37 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.74 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำ คัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เดนมาร์ก และสหราชอาณาจักร คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 31.71, 9.47 และ 7.76 ตามลำดับ ซึ่งผลิตภัณฑ์เครื่องประดับแท้ที่สำคัญมีดังนี้
2.1 ทำด้วยเงิน ในไตรมาสที่ 4 ปี 2552 มีมูลค่าการส่งออก 314.10 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.78 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 41.54เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เดนมาร์ก และเยอรมนี คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 39.37, 15.54 และ 9.64 ตามลำดับ
2.2 ทำด้วยทอง ในไตรมาสที่ 4 ปี 2552 มีมูลค่าการส่งออก 371.82 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.66 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 11.94 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และสหราชอาณาจักรคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 28.10, 12.75 และ 7.83 ตามลำดับ
3. เครื่องประดับอัญมณีเทียม ในไตรมาสที่ 4 ปี 2552 มีมูลค่าการส่งออก 59.89ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.63 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.69 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ลิกเตนสไตน์ สหรัฐอเมริกา และฝรั่งเศส คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 51.40, 19.76 และ 7.15 ตามลำดับ
4. อัญมณีสังเคราะห์ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2552 มีมูลค่าการส่งออก 14.86 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.55 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 16.66 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง อินเดีย และออสเตรีย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 36.39, 14.81 และ10.27 ตามลำดับ
5. ทองคำที่ยังไม่ได้ขึ้นรูป ในไตรมาสที่ 4 ปี 2552 มีมูลค่าการส่งออก 788.03 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 46.79 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 35.35 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ออสเตรเลีย สวิตเซอร์แลนด์ และฮ่องกง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 35.76, 34.25 และ 25.87 ตามลำดับ
การนำเข้า
1. เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2552 (ดูตารางที่ 3 ประกอบ) มีมูลค่าการนำเข้า 1,880.89 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.08 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและลดลงร้อยละ 22.83 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน วัตถุดิบสำคัญ ได้แก่
1.1 เพชร ในไตรมาสที่ 4 ปี 2552 มีมูลค่าการนำเข้า 163.32 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 20.78 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 38.20 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ อินเดีย อิสราเอล และฮ่องกง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 37.84, 17.56 และ 10.12 ตามลำดับ
1.2 พลอย ในไตรมาสที่ 4 ปี 2552 มีมูลค่าการนำเข้า 42.20 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 44.74 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 21.59 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนแหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง และอินเดีย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 19.16, 15.69 และ 14.34 ตามลำดับ
1.3 ทองคำ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2552 มีมูลค่าการนำเข้า 1,443.69 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 64.92 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 25.24 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรเลีย และฮ่องกง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 45.08, 25.20 และ 13.17 ตามลำดับ
1.4 เงิน ในไตรมาสที่ 4 ปี 2552 มีมูลค่าการนำเข้า 181.58 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 45.03 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 48.92 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ จีน เกาหลีใต้ และสวิตเซอร์แลนด์ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 58.32, 14.01 และ 8.92 ตามลำดับ
1.5 โลหะมีค่าและโลหะอื่นๆ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2552 มีมูลค่าการนำเข้า 25.85 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.29 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 33.65 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น เยอรมนี และฮ่องกง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 70.76, 11.46 และ 10.54 ตามลำดับ
โดยการนำเข้าเพชร พลอย ทองคำ เงิน โลหะมีค่าและโลหะอื่นๆ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 98.71 ของการนำเข้าวัตถุดิบทั้งหมด
2. เครื่องประดับอัญมณี ในไตรมาสที่ 4 ปี 2552 มีมูลค่าทั้งสิ้น 106.40 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 28.06 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 5.97 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนผลิตภัณฑ์สำคัญๆ ได้แก่
2.1 เครื่องประดับอัญมณีแท้ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2552 มีมูลค่าการนำเข้า 100.44ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 28.80 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 7.41 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ อิตาลี ฮ่องกง และสหรัฐอเมริกา คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 12.34, 6.09 และ 3.84 ตามลำดับ
2.2 เครื่องประดับอัญมณีเทียม ในไตรมาสที่ 4 ปี 2552 มีมูลค่าการนำเข้า 5.96 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 12.87 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.35 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ จีน ฝรั่งเศส และเกาหลีใต้ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 27.69, 11.40 และ 9.50 ตามลำดับ
สรุปและแนวโน้ม
ภาพรวมอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับในไตรมาสที่ 4 ปี 2552 ด้านการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.59 และการจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.23 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ด้านการส่งออกลดลงร้อยละ 25.56 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เป็นผลจากการส่งออกทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูป และอัญมณี ลดลงคิดเป็นร้อยละ 46.79 และ 14.58 ตามลำดับ สำหรับสาเหตุที่การส่งออกทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูปมีมูลค่าน้อยกว่ามูลค่าการนำเข้าเนื่องจากราคาทองคำในตลาดโลกที่ปรับตัวลดลงต่ำกว่าระดับ 1,200 เหรียญสหรัฐฯ ต่อออนซ์ ในช่วงเดือนธันวาคม ส่งผลให้ผู้ประกอบการนำเข้าทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูปเพื่อชดเชยที่ก่อนหน้านี้ได้ส่งออกไปอย่างมาก ส่วนการนำเข้าสินค้าซึ่งส่วนใหญ่เป็นวัตถุดิบในไตรมาสนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.08 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา และลดลงร้อยละ 22.83 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
แนวโน้มภาพรวมการส่งออกในไตรมาสที่ 1 ปี 2553 ปัจจัยด้านบวก ได้แก่ งานบางกอกเจมส์และจิวเวลรี่ แฟร์ 2010 ครั้งที่ 45 ที่จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 26 ก.พ.-2 มี.ค. 2553 ซึ่งจะมีคำสั่งซื้อเข้ามา การลดภาษีของคู่ค้าตามกรอบความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียนสัดส่วนมากกว่า 90% ของรายการสินค้า/มูลค่าการนำเข้าซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมนี้ เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาที่เริ่มมีสัญญาณฟื้นตัวคาดว่าธนากลางสหรัฐอเมริกาจะมีแนวโน้มเพิ่มดอกเบี้ยทำให้ค่าเงินดอลลาร์แข็งขึ้น ส่งผลให้ค่าเงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่าลงปัจจัยด้านลบ ได้แก่ แนวโน้มราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ดังนั้นจึงคาดว่ามูลค่าการส่งออกในไตรมาสที่ 1 ปี 2553 จะมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--