สรุปประเด็นสำคัญ
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนกุมภาพันธ์ 2553 เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม 2553 ร้อยละ 2.0 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.1 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน การผลิตปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้นเกือบทุกอุตสาหกรรม โดยเฉพาะ Hard Disk Drive เครื่องปรับอากาศ ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ อัญมณีและเครื่องประดับ ทั้งนี้การที่ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมปรับตัวเพิ่มขึ้นค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน สาเหตุหนึ่งมาจากฐานตัวเลขการผลิตที่ต่ำในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 และเศรษฐกิจมีการปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้นอย่างชัดเจน
- อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยในเดือนกุมภาพันธ์ 2553 อยู่ที่ระดับร้อยละ 60.6 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 60.3 ในเดือนมกราคม 2553
อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
- การผลิตและการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม คาดว่าจะขยายตัวตามคำสั่งซื้อ ซึ่งมีปัจจัยบวกหลักจากเศรษฐกิจคู่ค้าหลายประเทศที่เริ่มฟื้นตัว เป็นแรงส่งให้ผู้บริโภคมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น อีกทั้งการเปิดเสรีทางการค้าที่มีผลบังคับใช้แล้วในกรอบอาเซียน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการผู้นำเข้าวัตถุดิบและผู้ผลิตปลายน้ำ ส่งผลให้ต้นทุนวัตถุดิบต่ำลง
อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์
- สำหรับการส่งออกปูนซีเมนต์ เศรษฐกิจโลกยังคงขยายตัวได้ดี เนื่องจากประเทศตลาดส่งออกหลักเป็นประเทศกำลังพัฒนา มีความจำเป็นต้องใช้ปูนซีเมนต์ในกิจกรรมการก่อสร้าง เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศอีกทั้งผู้ประกอบการไทยก็มีขีดความสามารถในการแข่งขัน เนื่องจากมีการพัฒนาระบบการผลิตและมีเทคโนโลยีที่เป็นของตัวเอง อย่างไรก็ตาม ปูนซีเมนต์เป็นสินค้าที่มีน้ำหนักมาก มีต้นทุนค่าขนส่งในการส่งออกสูง การหาโอกาสในการลงทุนในต่างประเทศจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง
อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
- แนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า เดือนมีนาคม 2553 ประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 32.28 เนื่องจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของเครื่องปรับอากาศและตู้เย็นเป็นหลัก โดยประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 42.87 และ 23.47 ตามลำดับ จากกำลังซื้อเริ่มกลับมาของตลาด EU ประกอบกับสภาพอากาศที่มีอุณหภูมิสูงขึ้นมาก
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม
ม.ค. 53 = 179.7
ก.พ. 53 = 183.3
โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้น ได้แก่
- ยานยนต์
- Hard Disk Drive
- เครื่องแต่งกาย
- อัตราการใช้กำลังการผลิต
ม.ค. 53 = 60.3
ก.พ. 53 = 60.6
โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่
- ยานยนต์
- เครื่องแต่งกาย
- ผลิตภัณฑ์อาหารทะเล
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในเดือนกุมภาพันธ์ 2553 มีค่า 183.3 เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม 2553 (179.7) ร้อยละ 2.0 และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน คือเดือนกุมภาพันธ์ 2552 (139.8) ร้อยละ 31.1
- อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนมกราคม 2553 ได้แก่ ยานยนต์ Hard Disk Drive เครื่องแต่งกาย อัญมณีและเครื่องประดับ เป็นต้น
- อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ Hard Disk Drive เครื่องปรับอากาศ ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ อัญมณีและเครื่องประดับ เป็นต้น
อัตราการใช้กำลังการผลิต ในเดือนกุมภาพันธ์ 2553 อยู่ที่ระดับร้อยละ 60.6 เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม 2553 (ร้อยละ 60.3) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน คือเดือนกุมภาพันธ์ 2552 (ร้อยละ 50.0)
- อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม 2553 ได้แก่ ยานยนต์ เครื่องแต่งกาย ผลิตภัณฑ์อาหารทะเล เหล็ก โทรทัศน์สี เป็นต้น
- อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ ยานยนต์ Hard Disk Drive เหล็ก เส้นใยสิ่งทอ เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น
สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรมเดือนกุมภาพันธ์ 2553
ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนกุมภาพันธ์ 2553 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมกราคม 2553 มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการจำนวน 276 ราย เพิ่มขึ้นในจำนวนที่มากกว่าเดือนมกราคม 2553 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 245 ราย หรือคิดเป็นจำนวนมากกว่าร้อยละ 12.65 การจ้างงานรวมมีจำนวน 5,491 คน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม 2553 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 4,822 คน ร้อยละ 13.87 แต่มียอดเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 15,888 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมกราคม 2553 ซึ่งมีการลงทุน 476,142 ล้านบาท ร้อยละ 96.66
ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนกุมภาพันธ์ 2553 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการเพิ่มขึ้นในจำนวนที่มากกว่าเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 223 ราย หรือคิดเป็นจำนวนมากกว่าร้อยละ 23.77 มียอดเงินลงทุนรวมเพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ซึ่งมีการลงทุน 7,262 ล้านบาท ร้อยละ 118.76 แต่การจ้างงานรวมลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 5,870 คน ร้อยละ 6.46
- อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุดในเดือนกุมภาพันธ์ 2553 คืออุตสาหกรรมซ่อมรถยนต์ พ่นสีรถยนต์ จำนวน 22 โรงงาน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมผลิตเครื่องเรือนจากไม้ เช่น ชุดรับแขก จำนวน 17 โรงงาน
- อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการโดยมีการลงทุนสูงสุดในเดือนกุมภาพันธ์ 2553 คืออุตสาหกรรมการทำชิ้นส่วนอุปกรณ์จากพลาสติก เงินลงทุน จำนวน 2,795 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมบรรจุหีบห่อ จัดเก็บ และขนส่งผลิตภัณฑ์เม็ดพลาสติก เงินลงทุนจำนวน 2,371 ล้านบาท
- อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการและมีการจ้างงานสูงสุดในเดือนกุมภาพันธ์ 2553 คืออุตสาหกรรมการทำชิ้นส่วนอุปกรณ์สำหรับใช้กับเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ จำนวนคนงาน 556 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป จำนวนคนงาน 495 คน
ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนกุมภาพันธ์ 2553 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมกราคม 2553 มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 75 ราย น้อยกว่าเดือนมกราคม 2553 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 84 ราย คิดเป็นร้อยละ 10.71 การเลิกจ้างงานมีจำนวน 2,207 คน น้อยกว่าเดือนมกราคม 2553 ซึ่งมีการเลิกจ้างงานจำนวน 2,571 คน แต่มีเงินทุนของการเลิกกิจการรวม 1,340 ล้านบาท มากกว่าเดือนมกราคม 2553 ที่ การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 893 ล้านบาท
ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนกุมภาพันธ์ 2553 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการน้อยกว่าเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 107 ราย คิดเป็นร้อยละ 29.91 มีเงินทุนของการเลิกกิจการน้อยกว่าเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 2,682 ล้านบาท และมีการเลิกจ้างงานน้อยกว่าเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ที่การเลิกจ้างงานมีจำนวน 2,262 คน
- อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเลิกกิจการมากที่สุดในเดือนกุมภาพันธ์ 2553 คือ อุตสาหกรรมซ่อมรถยนต์ พ่นสีรถยนต์ จำนวน 10 โรงงาน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมทอหรือเตรียมเส้นด้ายยืนสำหรับการทอ จำนวน 7 โรงงาน
- อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการโดยที่มีเงินลงทุนสูงสุดในเดือนกุมภาพันธ์ 2553 คืออุตสาหกรรมผลิต ส่ง หรือจำหน่ายก๊าซ ซึ่งมิใช่ก๊าซธรรมชาติ เงินทุน 359 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมทำถุงหรือกระสอบ ซึ่งมิได้ทำจากพลาสติก เงินทุน 267 ล้านบาท
- อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการและจำนวนคนงานสูงสุดในเดือนกุมภาพันธ์ 2553 คือ อุตสาหกรรมทำถุงหรือกระสอบ ซึ่งมิได้ทำจากพลาสติก คนงาน 530 คน รองลงมาคืออุตสาหกรรมผลิตภาชนะบรรจุจากกระดาษทุกชนิดหรือแผ่นกระดาษไฟเบอร์ คนงาน 205 คน
ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในเดือนมกราคม — กุมภาพันธ์ 2553 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มีจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก สกท. ทั้งสิ้น 231 โครงการ มากกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีจำนวน 101 โครงการร้อยละ 128.71 และมีเงินลงทุน 52,600 ล้านบาท มากกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีเงินลงทุน 5,500 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 856.36
- การกระจายหุ้นของโครงการที่ได้รับการอนุมัติให้การส่งเสริมในเดือนมกราคม — กุมภาพันธ์ 2553
การร่วมทุน จำนวน(โครงการ) มูลค่าเงินลงทุน(ล้านบาท) 1.โครงการคนไทย 100% 100 22,200 2.โครงการต่างชาติ 100% 70 12,700 3.โครงการร่วมทุนไทยและต่างชาติ 61 17,700
- ประเภทกิจการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมากที่สุดในเดือนมกราคม —กุมภาพันธ์ 2553 คือ หมวดบริการและสาธารณูปโภค มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 21,700 ล้านบาท รองลงมา คือ หมวดเกษตรกรรม และผลิตผลจากการเกษตร มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 9,300 ล้านบาท
ภาวะการผลิตและมูลค่าการส่งออกของอุตสาหกรรมอาหาร คาดว่า จะดีขึ้นตามระดับราคาที่ปรับเพิ่มขึ้น สำหรับการจำหน่ายภายในประเทศมีแนวโน้มชะลอตัวลงตามความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจที่ลดลง
1. การผลิต
ภาวะการผลิตกลุ่มสินค้าอาหารสำคัญ (ไม่รวมน้ำตาล) เดือนกุมภาพันธ์ 2553 ลดลงจากปีก่อนและเดือนก่อนร้อยละ 9.8 และ 6.9 แบ่งเป็น
กลุ่มสินค้าสำคัญที่อิงตลาดส่งออกเป็นหลัก เช่น สับปะรดกระป๋องทูน่ากระป๋อง แป้งมันสำปะหลัง มีปริมาณการผลิตลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 6.5 0.9 และ 5.6 จากปริมาณคำสั่งซื้อของต่างประเทศที่ชะลอตัวลง เนื่องจากผ่านช่วงเทศกาล และค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น
กลุ่มสินค้าสำคัญที่อิงตลาดภายในประเทศ เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันปาล์ม และอาหารไก่ มีปริมาณการผลิตลดลงร้อยละ 33.0 0.8 และ 7.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน เนื่องจากวัตถุดิบมีปริมาณน้อยและมีราคาสูงขึ้น
2. การตลาด
1) ตลาดในประเทศ เดือนกุมภาพันธ์ 2553 สินค้าอาหารและเกษตรมีปริมาณการจำหน่ายลดลงจากเดือนก่อนและปีก่อนร้อยละ 7.4 และ 6.3 จากข่าวการชุมนุมประท้วงรัฐบาล ทำให้ความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของผู้บริโภคปรับตัวลดลง ส่งผลให้มีการจับจ่ายใช้สอยลดลง
2) ตลาดต่างประเทศ เดือนกุมภาพันธ์ 2553 มูลค่าการส่งออกโดยรวมของอุตสาหกรรมอาหารในรูปเงินบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.1และ 52.1 จากเดือนก่อน และปีก่อน จากปริมาณสต๊อกสินค้าในตลาดโลกลดลง ทำให้ไทยสามารถส่งออกสินค้าและระบายสต๊อกสินค้าภายในเพิ่มขึ้น ประกอบกับราคาสินค้าอาหารและเกษตรในตลาดโลกได้ปรับตัวสูงขึ้น เช่น น้ำตาลและผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น โดยเพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึงร้อยละ 122.7 และ 132.8 ตามลำดับ
3. แนวโน้ม
การผลิตและการส่งออกของอุตสาหกรรมอาหาร คาดว่า จะปรับตัวดีขึ้นตามระดับราคาที่เพิ่มขึ้น สำหรับการจำหน่ายสินค้าในประเทศ คาดว่าจะมีแนวโน้มชะลอตัว ตามความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของผู้บริโภคที่ปรับตัวลดลงตามสถานการณ์ทางการเมือง
“การผลิตและการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม จะขยายตัวตามคำสั่งซื้อ ซึ่งมีปัจจัยบวกหลักจากเศรษฐกิจคู่ค้าหลักและเศรษฐกิจโลกที่เริ่มฟื้นตัว”
1. การผลิต
ภาวะการผลิตในเดือนกุมภาพันธ์ 2553 ผลิตภัณฑ์เส้นใยสิ่งทอมีการผลิตที่ลดลงร้อยละ 3.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนแต่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 16.7 ในขณะที่ผลิตภัณฑ์ปลายน้ำอย่างเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าทอ และผลิตจากผ้าถักเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.5 และ 21.6 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนและเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 17.6 และ 38.5 ตามลำดับ ซึ่งเป็นการขยายตัวอีกครั้งหลังจากชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจโลกปีก่อน
2. การจำหน่าย
เดือนกุมภาพันธ์ 2553 ส่วนใหญ่มีการบริโภคเพิ่มขึ้นเกือบทุกผลิตภัณฑ์ ในขณะที่การส่งออกปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.9 ส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นในสินค้าผ้าผืนด้ายฝ้าย ด้ายเส้นใยประดิษฐ์ และเส้นใยประดิษฐ์ ร้อยละ 15.6, 36.5, 68.7 และ 88.1 ตามลำดับ ซึ่งการส่งออกเติบโตทั้งตลาดกลุ่มอาเซียน (ร้อยละ +34.0) ญี่ปุ่น (ร้อยละ +7.0) และสหภาพยุโรป(ร้อยละ +10.3) โดยเฉพาะกลุ่มอาเซียน ซึ่งได้รับอานิสงส์จากเขตเสรีการค้าอาเซียนทำให้การขายสินค้าระหว่างกันมีการเก็บภาษีในระดับต่ำ
3. แนวโน้ม
การผลิตและการจำ หน่ายผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เดือนเมษายนคาดว่าจะขยายตัวตามคำสั่งซื้อ ซึ่งมีปัจจัยบวกหลักจากเศรษฐกิจคู่ค้าทั้งกลุ่มอาเซียน ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และเศรษฐกิจโลกที่เริ่มฟื้นตัว เป็นแรงส่งให้ผู้บริโภคมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น อีกทั้งการเปิดเสรีทางการค้าที่มีผลบังคับใช้แล้วในกรอบอาเซียน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการผู้นำเข้าวัตถุดิบและผู้ผลิตปลายน้ำ ส่งผลให้ต้นทุนวัตถุดิบต่ำลง อย่างไรก็ตามหากปัจจัยจากค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นอาจส่งผลให้มูลค่าการส่งออกลดลงเมื่อคิดเป็นเงินบาท
- Steel Business Briefing (SBB) ได้รายงานการจัดอันดับบริษัทผู้ผลิตเหล็กที่มีปริมาณการผลิตสูงสุด 20 นดับ ในปี 2009 พบว่า บริษัท Arcelor Mittal ยังคงรักษาตำแหน่งสูงสุดอยู่แต่ผลผลิตลดลง ร้อยละ 29 ในขณะที่บริษัทผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่ของญี่ปุ่น เช่น Nippon Steel และ JFE Steel ลดลงมาที่อันดับที่ 8 และ 9 ตามลำดับเนื่องจากถูกประเทศจีนแซงอันดับไป
1.การผลิต
ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมเหล็กในเดือนกุมภาพันธ์ 2553 มีอัตราการเปลี่ยนแปลงที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.90 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนนี้มีค่า 148.03 เมื่อพิจารณาผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาวพบว่า ดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 10.81 โดยเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของเหล็กเส้นข้ออ้อย เพิ่มขึ้น ร้อยละ 25.50 เหล็กลวด เพิ่มขึ้น ร้อยละ 13.00 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ “โครงการไทยเข้มแข็ง” ที่ส่งผลให้ความต้องการใช้เหล็กเส้นในช่วงนี้สูงขึ้น สำหรับเหล็กทรงแบน พบว่า ดัชนีผลผลิต เพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.79 โดยเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของเหล็กแผ่นรีดเย็น เพิ่มขึ้น ร้อยละ 19.43 เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 13.86 เนื่องจากการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น ยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีคำสั่งซื้อเพิ่มมากขึ้น
ขณะเดียวกันเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 66.51 โดยเหล็กทรงยาว เพิ่มขึ้น ร้อยละ 62.81 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นมากที่สุด ได้แก่ ลวดเหล็กแรงดึงสูง ร้อยละ 71.65 รองลงมาคือ เหล็กเส้นข้ออ้อย ร้อยละ 67.19 สำหรับเหล็กทรงแบนมีการผลิตที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 69.69 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยเหล็กแผ่นรีดเย็น เพิ่มขึ้น ร้อยละ 227.55 และเหล็กแผ่นเคลือบดีบุก เพิ่มขึ้น ร้อยละ 67.62
2.ราคาเหล็ก
การเปลี่ยนแปลงของราคาเหล็ก (FOB) โดยเฉลี่ยที่สำคัญในตลาด CIS ณ ท่าทะเลดำ (Black Sea) ในช่วงเดือนมีนาคม 2553 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ราคาโดยเฉลี่ยของผลิตภัณฑ์เหล็กที่สำคัญส่วนใหญ่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นโดย เหล็กแผ่นรีดร้อน เพิ่มขึ้นจาก 554 เป็น 613 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 10.61เหล็กเส้น เพิ่มขึ้นจาก 490 เป็น 525 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.14 เหล็กแผ่นรีดเย็น เพิ่มขึ้นจาก 655 เป็น 698 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.49 เหล็กแท่งเล็กบิลเล็ต เพิ่มขึ้นจาก 465 เป็น 495 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.45 เหล็กแท่งแบน เพิ่มขึ้นจาก 459 เป็น 460 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.27 เนื่องจากปริมาณอุปทานที่จำกัดและราคาวัตถุดิบ เช่น ถ่านโค้ก สินแร่เหล็ก ที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้เป็นผลมาจากความต้องการที่เริ่มฟื้นตัวจากหลายประเทศ เช่น ประเทศตุรกี ซาอุดิอาระเบียประเทศในแถบแอฟริกาเหนือและใต้ เป็นต้น
3. แนวโน้ม
สถานการณ์เหล็กในเดือนมีนาคม 2553 คาดว่าจะมีทิศทางที่เพิ่มขึ้น โดยเหล็กทรงยาวมีแนวโน้มการผลิตเพิ่มขึ้นตามธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้ปัจจัยหนุนของเศรษฐกิจในประเทศที่เริ่มฟื้นตัว สำหรับเหล็กทรงแบนพบว่ามีแนวโน้มการผลิตเพิ่มขึ้นเนื่องจากอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน เครื่องใช้ไฟฟ้า มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น
รถยนต์
อุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนกุมภาพันธ์ 2553 ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2552 ตามสภาพเศรษฐกิจภายในประเทศที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับผู้ประกอบการเริ่มปรับแผนการผลิตเพื่อรองรับตลาดส่งออกที่เพิ่มมากขึ้น โดยมีข้อมูลสภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนกุมภาพันธ์ มีดังนี้
- การผลิตรถยนต์ จำนวน 127,849 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ซึ่งมีการผลิต 61,067 คัน ร้อยละ 109.36 ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของรถยนต์ทุกประเภท และมีปริมาณการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม 2553 ร้อยละ 23.11
- การจำหน่ายรถยนต์ จำนวน 54,175 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ซึ่งมีการจำหน่าย 34,631 คัน ร้อยละ 57.66 ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของรถยนต์ทุกประเภท และมีปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม 2553 ร้อยละ 9.31
- การส่งออกรถยนต์ จำนวน 74,063 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ซึ่งมีการส่งออก 44,609 คัน ร้อยละ 66.03 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นในตลาดเอเชีย โอเชียเนีย แอฟริกา ยุโรป อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ และมีปริมาณการส่งออกรถยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม 2553 ร้อยละ 26.55
- แนวโน้ม ภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนมีนาคม 2553 คาดว่าจะขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2553 เนื่องจากมีการจัดงานแสดงรถยนต์ จักรยานยนต์ นานาชาติบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 31 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา-ตราด ประกอบกับผู้ประกอบการมีการแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่ และ/หรือ รถยนต์ที่ปรับโฉมใหม่ สำหรับการผลิตรถยนต์ในเดือนมีนาคม 2553 ประมาณการว่าจะมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 43 และส่งออกร้อยละ 57
รถจักรยานยนต์
อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนกุมภาพันธ์ 2553 ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2552 ตามสภาพเศรษฐกิจภายในประเทศที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีข้อมูลสภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนกุมภาพันธ์ ดังนี้
- การผลิตรถจักรยานยนต์ จำนวน 149,715 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ซึ่งมีการผลิต 120,272 คัน ร้อยละ 24.48 ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มขึ้นในรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว แต่มีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ลดลงจากเดือนมกราคม 2553 ร้อยละ 3.47
- การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ จำนวน 143,683 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ซึ่งมีการจำหน่าย 119,477 คัน ร้อยละ 20.26 ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มขึ้นในรถจักรยานยนต์ทุกประเภท แต่มีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ลดลงจากเดือนมกราคม2553 ร้อยละ 6.28
- การส่งออกรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) จำนวน 6,636 คัน ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ซึ่งมีการส่งออก 14,096 คัน ร้อยละ 52.92 อย่างไรก็ดี การส่งออกรถจักรยานยนต์ในลักษณะชิ้นส่วนครบชุด(CKD) เพิ่มขึ้นร้อยละ 102.87 แต่มีปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์สำเร็จรูปเพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม 2553 ร้อยละ 3.14
- แนวโน้ม ภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนมีนาคม2553 คาดว่าจะขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์2553 เนื่องจากมีการจัดงานแสดงรถยนต์ จักรยานยนต์นานาชาติ บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 31 สำหรับการผลิตรถจักรยานยนต์ในเดือนมีนาคม 2553 ประมาณการว่าจะมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 89 และส่งออกร้อยละ 11
“อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์เริ่มมีแนวโน้มที่ดีขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัว แต่ยังไม่ขยายตัวมากเท่าที่ควร เนื่องจากปัญหาเสถียรภาพทางการเมืองสำหรับการส่งออกมีแนวโน้มที่จะขยายตัวได้ดี เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัว และตลาดส่งออกหลักของไทย เป็นประเทศกำลังพัฒนา ยังคงมีการก่อสร้างที่เพิ่มสูงขึ้นเพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ”
1.การผลิตและการจำหน่ายในประเทศ
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2553 ปริมาณการผลิตลดลง ร้อยละ3.23 แต่ปริมาณการจำหน่ายในประเทศยังทรงตัว คือ เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.42 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายในประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ7.91และ 5.73 ตามลำดับ เนื่องจากมีปัจจัยบวกที่เป็นการกระตุ้นตลาดปูนซีเมนต์ในประเทศคือ ภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มมีแนวโน้มดีขึ้น อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ยังไม่ขยายตัวมากเท่าที่ควร เนื่องจากความกังวลต่อเสถียรภาพทางการเมือง เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค การลงทุนของภาคเอกชน และความคืบหน้าในการดำเนินโครงการลงทุนในสาธารณูปโภคพื้นฐานของรัฐบาลด้วย
2.การส่งออก
มูลค่าการส่งออกปูนซีเมนต์ เดือนกุมภาพันธ์ 2553 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ลดลง ร้อยละ 4.09 แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 29.27 ในภาพรวมการส่งออกปูนซีเมนต์ มีแนวโน้มขยายตัวได้ดีเนื่องจากเศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัว ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ของตลาดส่งออกหลักที่สำคัญของไทย โดยเฉพาะประเทศในแถบอาเซียน ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
3.แนวโน้ม
การผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศในเดือนมีนาคม มีแนวโน้มขยายตัว มีปัจจัยบวกคือเป็นช่วงฤดูกาลก่อสร้าง แต่ในเดือนเมษายน 2553 การผลิตและการจำหน่ายในประเทศอาจชะลอตัวลงเล็กน้อยเนื่องจากเป็นวันหยุดยาวในช่วงเทศกาลสงกรานต์
สำหรับการส่งออก เศรษฐกิจโลกยังคงขยายตัวได้ดี เนื่องจากประเทศตลาดส่งออกหลักเป็นประเทศกำลังพัฒนา มีความจำเป็นต้องใช้ปูนซีเมนต์ในกิจกรรมการก่อสร้าง เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ อีกทั้งผู้ประกอบการไทยก็มีขีดความสามารถในการแข่งขัน เนื่องจากมีการพัฒนาระบบการผลิตและมีเทคโนโลยีที่เป็นของตัวเอง อย่างไรก็ตาม ปูนซีเมนต์เป็นสินค้าที่มีน้ำหนักมาก มีต้นทุนค่าขนส่งในการส่งออกสูง การหาโอกาสในการลงทุนในต่างประเทศจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง
- แนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า เดือนมีนาคม2553 ประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อย ละ 32.2 8 เนื่องจ กการปรับตัวเพิ่มขึ้นของเครื่องปรับอากาศและตู้เย็นเป็นหลัก โดยประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 42.87 และ 23.47 ตามลำดับ จากกำลังซื้อเริ่มกลับมาของตลาด EU ประกอบกับสภาพอากาศที่มีอุณหภูมิสูงขึ้นมาก
- แนวโน้มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.40 เนื่องจากการปรับตัวขึ้นของชิ้นส่วน IC ส่วนประกอบ HDD และเซมิคอนดักเตอร์เริ่มปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นโดยเฉพาะการผลิต HDD ปรับตัวสูงมากกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีความต้องการจากสินค้าสำ เร็จรูปค่อนข้างมาก โดยประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น 49.21 48.60 และ 35.48 ตามลำดับ
เครื่องใช้ไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์ มูลค่า %MoM %YoY อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ 1,463.88 -7.65 46.44 IC 560.05 -3.58 54.22 เครื่องปรับอากาศ 243.00 11.99 49.39 เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า 138.73 -0.79 55.02 รวมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 3,848.78 -3.06 47.44 ที่มา กรมศุลกากร
1.การผลิต
ภาพรวมภาวะการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของเดือนกุมภาพันธ์ 2553 มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 356.44 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 50.97 และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.87 เนื่องจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของหลายกลุ่มอุตสาหกรรมโดยเฉพาะกลุ่มส่วนประกอบและชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และกลุ่มเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็น รวมถึงการเริ่มฟื้นตัวของเศรษฐกิจอุตสาหกรรมโดยรวมที่ส่งผลต่อเนื่องมาจากช่วงปลายปี 2552
โดยอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 41.63 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.91 สำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 52.25 และเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.61
2. การตลาด
มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เดือนกุมภาพันธ์ 2553 ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ร้อยละ 3.06 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 47.44 โดยมีมูลค่าการส่งออกรวมคือ 3,848.78 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมูลค่าการส่งออกรวมเครื่องใช้ไฟฟ้า ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนร้อยละ 0.1 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 40.28 โดยมีมูลค่าการส่งออกรวมของเครื่องใช้ไฟฟ้าคือ 1,413.06 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับมูลค่าการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ มูลค่าการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เดือน กุมภาพันธ์ 2553 มีมูลค่า 2,435.71 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับเดือนก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ 4.70 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 51.94
3. แนวโน้ม
แนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า เดือนมีนาคม 2553 ประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 32.28 เนื่องจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของเครื่องปรับอากาศและตู้เย็นเป็นหลัก โดยประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 42.87 และ 23.47 ตามลำดับ จากกำลังซื้อเริ่มกลับมาของตลาด EU ประกอบกับสภาพอากาศที่มีอุณหภูมิสูงขึ้นมาก
ขณะที่ แนวโน้มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.40 เนื่องจากการปรับตัวขึ้นของชิ้นส่วน IC ส่วนประกอบ HDD และเซมิคอนดักเตอร์เริ่มปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะการผลิต HDD ปรับตัวสูงมากกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีความต้องการจากสินค้าสำเร็จรูปค่อนข้างมาก โดยประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น 49.21 48.60 และ 35.48 ตามลำดับ
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--