สรุปประเด็นสำคัญ
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนมีนาคม 2553 เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2553 ร้อยละ 15.6 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.6 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน การผลิตปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้นเกือบทุกอุตสาหกรรม โดยเฉพาะ Hard Disk Drive เครื่องปรับอากาศ ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์อาหารทะเล ทั้งนี้การที่ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมปรับตัวเพิ่มขึ้นค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน สาเหตุหนึ่งมาจากฐานตัวเลขการผลิตที่ต่ำในเดือนมีนาคม 2552 และเศรษฐกิจมีการปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้นอย่างชัดเจน
- อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยในเดือนมีนาคม 2553 อยู่ที่ระดับร้อยละ 67.9 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 60.6 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2553
อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า
- สมาคมเหล็กโลก (World Steel Association) ได้ปรับตัวเลขประมาณการการบริโภคเหล็กของโลก (global apparent steel use) ในปี 2553 ว่าจะมีการขยายตัว ร้อยละ 10.7 จากเดิมที่คาดว่าจะมีการขยายตัว ร้อยละ 9.2 ทั้งนี้เป็นผลมาจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและความต้องการเหล็กที่เกิดขึ้นรวดเร็วและแข็งแกร่งกว่าที่คาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศจีนและอินเดีย
- แนวโน้มของราคาแร่เหล็กจะเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเศรษฐกิจโลกที่เริ่มฟื้นตัวจึงทำให้ความต้องการใช้ที่เพิ่มมากขึ้นส่งผลให้กำลังการผลิตของเหมืองแร่เหล็กขยายตัวไม่ทันกับความต้องการใช้
อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
- แนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 27.68 เนื่องจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของเครื่องปรับอากาศและตู้เย็นเป็นหลัก โดยประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 57.29 และ 40.91 ตามลำดับ จากกำลังซื้อเริ่มกลับมาของตลาด EU และตลาดออสเตรเลียประกอบกับสภาพอากาศที่มีอุณหภูมิสูงขึ้นมาก
- แนวโน้มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.09 เนื่องจากการปรับตัวขึ้นของชิ้นส่วน IC ส่วนประกอบ HDD และเซมิคอนดักเตอร์เริ่มปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะการผลิต HDD ปรับตัวสูงมากกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีความต้องการจากสินค้าสำเร็จรูปค่อนข้างมาก โดยประมาณการว่า HDD และ IC จะปรับตัวเพิ่มขึ้น 51.71 และ 33.55 ตามลำดับ
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (มูลค่าเพิ่ม) ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2553 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 191.5 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (185.2) ร้อยละ 3.4 และปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2552 (146.2) ร้อยละ 31.0 อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ น้ำตาล ยานยนต์ เครื่องปรับอากาศ ปูนซีเมนต์ สบู่และผงซักฟอก เป็นต้น สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2552 ได้แก่ Hard Disk Drive ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องปรับอากาศ ผลิตภัณฑ์อาหารทะเล เป็นต้น
อัตราการใช้กำลังการผลิต เป็นตัวบ่งชี้สภาพการผลิตของภาคอุตสาหกรรม โดยเปรียบเทียบระดับการผลิตที่เกิดขึ้นจริงกับระดับการผลิตที่ใช้กำลังการผลิตเต็มที่ ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2553 อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับร้อยละ 62.9 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (ร้อยละ 60.8) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2552 (ร้อยละ 52.2)
อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ ยานยนต์ น้ำตาล เครื่องปรับอากาศ สบู่และผงซักฟอก เครื่องแต่งกาย เป็นต้น สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2552 ได้แก่ ยานยนต์ Hard Disk Drive เหล็ก เส้นใยสิ่งทอ เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น
แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมปี 2553
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมปี 2553 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 6.0 — 8.0 จากปี 2552 ที่หดตัวร้อยละ 7.2 ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทยในปี 2553 มีแนวโน้มที่จะขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง จากสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ชัดเจนมากขึ้น โดยเฉพาะเศรษฐกิจของประเทศในเอเชียและเศรษฐกิจในกลุ่มตลาดใหม่ ส่วนใหญ่มีสัญญาณฟื้นตัวที่ชัดเจน
ในส่วนของปัจจัยภายในประเทศนั้น จากสถานการณ์การเมืองที่มีการชุมนุมเกิดขึ้นนั้น สิ่งที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยค่อนข้างชัดเจนมีอยู่ 3 ด้าน ได้แก่ 1.การท่องเที่ยว 2.การเบิกจ่ายงบของภาครัฐตามโครงการต่างๆ ที่อาจจะมีความล่าช้าเกิดขึ้น และ 3.ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค สำหรับผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมนั้น หากการชุมนุมไม่มีเหตุรุนแรงมาก จนถึงขั้นปิดสนามบินและท่าเรือหรือสถานการณ์การชุมนุมที่เกิดผลกระทบ หากเกิดในระยะสั้นก็จะส่งผลกระทบกับภาคอุตสาหกรรมไม่มากนัก เพราะขณะนี้ภาคอุตสาหกรรมมีสัดส่วนการส่งออกมากกว่าการจำหน่ายในประเทศ ทั้งนี้ในภาคการส่งออกกำลังฟื้นตัว
โดยในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมาความเชื่อมั่นในภาคอุตสาหกรรมดีขึ้นมาก คำสั่งซื้อ (ออร์เดอร์) จากต่างประเทศมีเข้ามาเพิ่มขึ้น บางสินค้าคำสั่งซื้อยาวล่วงหน้าถึงช่วงสิ้นปีแล้ว ซึ่งเป็นผลจากเศรษฐกิจโลกที่เริ่มดีขึ้น ขณะที่ในระยะต่อไป แม้ว่าตัวเลขอัตราการขยายตัวของการส่งออกอาจชะลอลง เนื่องจากผลของฐานที่ค่อยๆ สูงขึ้นในเดือนถัดๆ ไป แต่ก็มีความเป็นไปได้สูงที่ทิศทางการส่งออกตลอดทั้งปี 2553 จะมีอัตราการขยายตัวโดยเฉลี่ยสูงเป็นตัวเลข 2 หลัก เนื่องจากเศรษฐกิจโลกยังคงมีสัญญาณฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งอานิสงส์จากการเปิดตลาดการค้าเสรีที่ครอบคลุมมากขึ้น ซึ่งแรงขับเคลื่อนจากการส่งออกนี้ น่าจะยังช่วยประคับประคองการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมไทยในปีนี้ไว้ได้ อย่างไรก็ตาม ก็ยังจะต้องมีการติดตามปัจจัยข้างต้นดังกล่าวอย่างใกล้ชิด
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม
ก.พ. 53 = 183.2
มี.ค. 53 = 211.7
โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้น ได้แก่
- Hard Disk Drive
- ยานยนต์
- เบียร์
- อัตราการใช้กำลังการผลิต
ก.พ. 53 = 60.6
มี.ค. 53 = 67.9
โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่
- ยานยนต์
- ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม
- ผลิตภัณฑ์อาหารทะเล
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในเดือนมีนาคม 2553 มีค่า 211.7 เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2553 (183.2) ร้อยละ 15.6 และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน คือเดือนมีนาคม 2552 (159.7) ร้อยละ 32.6
- อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2553 ได้แก่ Hard Disk Drive ยานยนต์ เบียร์ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ผลิตภัณฑ์อาหารทะเลเป็นต้น
- อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ Hard Disk Drive เครื่องปรับอากาศ ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์อาหารทะเล เป็นต้น
อัตราการใช้กำลังการผลิต ในเดือนมีนาคม 2553 อยู่ที่ระดับร้อยละ 67.9 เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2553 (ร้อยละ 60.6) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน คือเดือนมีนาคม 2552 (ร้อยละ 54.7)
- อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2553 ได้แก่ ยานยนต์ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ผลิตภัณฑ์อาหารทะเล Hard Disk Drive เส้นใยสิ่งทอ เป็นต้น
- อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ ยานยนต์ Hard Disk Drive เหล็ก ผลิตภัณฑ์อาหารทะเล เส้นใยสิ่งทอ เป็นต้น
สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรมเดือนมีนาคม 2553
ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนมีนาคม 2553 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2553 มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการจำนวน 381 ราย เพิ่มขึ้นในจำนวนที่มากกว่าเดือนกุมภาพันธ์ 2553 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 276 ราย หรือคิดเป็นจำนวนมากกว่าร้อยละ 38.04 มียอดเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 21,935 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2553 ซึ่งมีการลงทุน 15,888 ล้านบาท ร้อยละ 38.06 และการจ้างงานรวมมีจำนวน 10,754 คน เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2553 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 5,491 คน ร้อยละ 95.85
ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนมีนาคม 2553 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการเพิ่มขึ้นในจำนวนที่มากกว่าเดือนมีนาคม 2552 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 288 ราย หรือคิดเป็นจำนวนมากกว่าร้อยละ 32.29 มียอดเงินลงทุนรวมเพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคม 2552 ซึ่งมีการลงทุน 9,104 ล้านบาท ร้อยละ 140.94 และการจ้างงานรวมเพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคม 2552 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 7,070 คน ร้อยละ 52.11
- อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุดในเดือนมีนาคม 2553 คือ อุตสาหกรรมผลิตเครื่องเรือนจากไม้ เช่น ชุดรับแขก จำนวน 22 โรงงาน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมซ่อมรถยนต์ พ่นสีรถยนต์ จำนวน 21 โรงงาน
- อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการโดยมีการลงทุนสูงสุดในเดือนมีนาคม 2553 คือ อุตสาหกรรมผลิตพลังงานไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า เงินลงทุน จำนวน 4,340.03 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมผลิตน้ำแร่ เงินลงทุนจำนวน 4,010.0 ล้านบาท
- อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการและมีการจ้างงานสูงสุดในเดือนมีนาคม 2553 คือ อุตสาหกรรมฆ่าไก่และแช่แข็งไก่สด จำนวนคนงาน 2,446 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรม ผลิตอาหารทะเลแช่แข็ง จำนวนคนงาน 1,491 คน
ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนมีนาคม 2553 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2553 มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 99 ราย มากกว่าเดือนกุมภาพันธ์ 2553 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 75 ราย คิดเป็นร้อยละ 32.0 มีเงินทุนของการเลิกกิจการรวม 1,811 ล้านบาท มากกว่าเดือนกุมภาพันธ์ 2553 ที่ การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 1,340 ล้านบาท และการเลิกจ้างงานมีจำนวน 3,377 คน มากกว่าเดือนกุมภาพันธ์ 2553 ซึ่งมีการเลิกจ้างงานจำนวน 2,207 คน
ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนมีนาคม 2553 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการน้อยกว่าเดือนมีนาคม 2552 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 145 ราย คิดเป็นจำนวนน้อยกว่าร้อยละ 31.72 มีเงินทุนของการเลิกกิจการน้อยกว่าเดือนมีนาคม 2552 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 2,614 ล้านบาท และมีการเลิกจ้างงานน้อยกว่าเดือนมีนาคม 2552 ที่การเลิกจ้างงานมีจำนวน 3,977 คน
- อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเลิกกิจการมากที่สุดในเดือนมีนาคม 2553 คือ อุตสาหกรรมซ่อมรถยนต์ พ่นสีรถยนต์ จำนวน 22 โรงงาน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมเลื่อย ไส ซอย เซาะร่อง หรือแปรรูปไม้ด้วยวิธีที่คล้ายคลึงกัน จำนวน 10 โรงงาน
- อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการโดยที่มีเงินลงทุนสูงสุดในเดือนมีนาคม 2553 คือ อุตสาหกรรมทำนมสดให้ไร้เชื้อโดยวิธีพาสเจอร์ไรส์ หรือสเตอริไลส์ เงินทุน 830 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมผลิตกระเบื้องเคลือบ เครื่องปั้นดินเผา เครื่องดินเผา เงินทุน 181 ล้านบาท
- อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการและจำ นวนคนงานสูงสุดในเดือนมีนาคม 2553 คือ อุตสาหกรรมตัดเย็บเครื่องนุ่งห่ม ผ้าเช็ดหน้า เนกไท ถุงมือ ถุงเท้าจากผ้า หนังสัตว์ คนงาน 742 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมผลิตกระเบื้องเคลือบ เครื่องปั้นดินเผา เครื่องดินเผา คนงาน 274 คน
ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในเดือนมกราคม — มีนาคม 2553 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มีจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก สกท. ทั้งสิ้น 354 โครงการ มากกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีจำนวน 213 โครงการ ร้อยละ 66.2 และมีเงินลงทุน 88,200 ล้านบาท มากกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีเงินลงทุน 32,400 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 172.23
- การกระจายหุ้นของโครงการที่ได้รับการอนุมัติให้การส่งเสริมในเดือนมกราคม — มีนาคม 2553
การร่วมทุน จำนวน(โครงการ) มูลค่าเงินลงทุน(ล้านบาท) 1.โครงการคนไทย 100% 155 34,700 2.โครงการต่างชาติ 100% 116 22,100 3.โครงการร่วมทุนไทยและต่างชาติ 83 31,400
- ประเภทกิจการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมากที่สุดในเดือนมกราคม — มีนาคม 2553 คือ หมวดบริการและสาธารณูปโภค มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 41,500 ล้านบาท รองลงมา คือ หมวดอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องไฟฟ้า มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 16,900 ล้านบาท
ภาวะการผลิตและมูลค่าการส่งออกของอุตสาหกรรมอาหาร คาดว่า จะชะลอตัว จากการปรับฐานการสต็อกสินค้า ในส่วนการจำ หน่ายภายในประเทศมีแนวโน้มชะลอตัวลงตามสถานการณ์ทางการเมือง
1. การผลิต
ภาวะการผลิตกลุ่มสินค้าอาหารสำคัญ (ไม่รวมน้ำตาล) เดือนมีนาคม 2553 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนและเดือนก่อนร้อยละ 1.1 และ 6.7 แบ่งเป็น
กลุ่มสินค้าสำคัญที่อิงตลาดส่งออกเป็นหลัก เช่น กุ้งแช่เย็นแช่แข็ง ทูน่ากระป๋อง แป้งมันสำปะหลัง มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 96.9 3.4 และ 15.1 จากปริมาณคำสั่งซื้อของต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น
กลุ่มสินค้าสำคัญที่อิงตลาดภายในประเทศ เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันปาล์ม และอาหารไก่ มีปริมาณการผลิตลดลงร้อยละ 31.4 2.1 และ 8.5 เมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากวัตถุดิบมีปริมาณน้อยและมีราคาสูงขึ้นส่งผลให้ภาพรวมด้านการผลิตไม่เพิ่มขึ้นจากปีก่อนมากนัก
2. การตลาด
1) ตลาดในประเทศ เดือนมีนาคม 2553 สินค้าอาหารและเกษตร มีปริมาณการจำหน่ายเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนและปีก่อนร้อยละ 14.2 และ 8.8 จากการเพิ่มการจับจ่ายใช้สอยเพื่อรองรับช่วงเทศกาลสงกรานต์
2) ตลาดต่างประเทศ เดือนมีนาคม 2553 มูลค่าการส่งออกโดยรวมของอุตสาหกรรมอาหารในรูปเงินบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.5 และ 55.3 จากเดือนก่อนและปีก่อน จากปริมาณสต๊อกสินค้าในตลาดโลกลดลง ทำให้ไทยสามารถส่งออกสินค้าและระบายสต๊อกสินค้าภายในเพิ่มขึ้น ประกอบกับราคาสินค้าอาหารและเกษตรในตลาดโลกได้ปรับตัวสูงขึ้น เช่น น้ำตาลและผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น โดยเพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึงร้อยละ 138.8 และ 111.0 ตามลำดับ
3. แนวโน้ม
การผลิตและการส่งออกของอุตสาหกรรมอาหาร คาดว่า จะชะลอตัวลงจากการปรับฐานการสต็อกสินค้าและปัญหาวิกฤตการเงินของสหภาพยุโรปที่เริ่มจะกลับแย่ลงโดยเฉพาะกรีซ สำหรับการจำหน่ายสินค้าในประเทศ คาดว่า จะมีแนวโน้มชะลอตัว ตามความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของผู้บริโภคที่ปรับตัวลดลงตามสถานการณ์ทางการเมือง
“การผลิตและการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มยังขยายตัวตามคำสั่งซื้อ...”
1. การผลิต
ภาวะการผลิตในเดือนมีนาคม 2553 ผลิตภัณฑ์สิ่งทอมีการผลิตเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนและเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยที่เส้นใยสิ่งทอฯ ผ้าผืน เสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าถัก และเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าทอ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.0, 12.0 , 2.1 และ 9.2 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.9, 9.5, 27.1 และ 17.7 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นการขยายตัวอีกครั้งหลังจากชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจ ประกอบกับแนวโน้มตลาดมีความต้องการมากขึ้นโดยเฉพาะกลุ่มสิ่งทอที่จะส่งเข้าไปยังเวียดนาม ซึ่งเป็นฐานการผลิตเครื่องนุ่งห่มที่สำคัญรองจากจีน
2. การจำหน่าย
การจำหน่ายในประเทศเดือนมีนาคม 2553 เพิ่มขึ้นทุกผลิตภัณฑ์ ในขณะที่การส่งออกปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผ้าผืน ด้ายฝ้าย ด้ายเส้นใยประดิษฐ์เคหะสิ่งทอ และเส้นใยประดิษฐ์ ร้อยละ 2.4, 10.5, 20.7, 27.0, 29.0 และ 5.7 ตามลำดับ และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.0 ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผ้าผืน ด้ายฝ้าย ด้ายเส้นใยประดิษฐ์ เคหะสิ่งทอ และเส้นใยประดิษฐ์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.4, 20.1, 30.7, 84.8, 25.9 และ 81.9 ตามลำดับ ซึ่งการส่งออกเติบโตทั้งกลุ่มอาเซียน(ร้อยละ 55.5) ญี่ปุ่น(ร้อยละ 0.8) สหรัฐอเมริกา (ร้อยละ 9.6) และสหภาพยุโรป (ร้อยละ 20.3) โดยเฉพาะกลุ่มอาเซียน ได้รับอานิสงส์จากเขตเสรีการค้าอาเซียน ซึ่งการขายสินค้าระหว่างกันมีการเก็บภาษีในระดับต่ำ
3. แนวโน้ม
การผลิตและการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มเดือนพฤษภาคมคาดว่าจะขยายตัวตามคำสั่งซื้อ ซึ่งมีปัจจัยบวกหลักจากเศรษฐกิจคู่ค้าและเศรษฐกิจโลกที่เริ่มฟื้นตัว เป็นแรงส่งให้ผู้บริโภคมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น อีกทั้งการเปิดเสรีทางการค้าในกรอบอาเซียน จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการผู้นำเข้าวัตถุดิบและผู้ผลิตปลายน้ำ มีต้นทุนวัตถุดิบที่ต่ำลง สำหรับสถานการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองในขณะนี้ยังไม่กระทบต่อการส่งออกสิ่งทอมากนัก เพราะส่วนใหญ่เป็นการสั่งซื้อล่วงหน้าแต่ถ้าการชุมนุมยืดเยื้อจะส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างประเทศที่จะชะลอการลงทุนในไทยและหันไปขยายฐานลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เวียดนาม
- สมาคมเหล็กโลก (World Steel Association) ได้ปรับตัวเลขประมาณการการบริโภคเหล็กของโลก (global apparent steel use) ในปี 2010 ว่าจะมีการขยายตัว ร้อยละ 10.7 จากเดิมที่คาดว่าจะมีการขยายตัว ร้อยละ 9.2 ทั้งนี้เป็นผลมาจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและความต้องการเหล็กที่เกิดขึ้นรวดเร็วและแข็งแกร่งกว่าที่คาดโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศจีนและอินเดีย
1.การผลิต
ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมเหล็กในเดือนมีนาคม 2553 มีอัตราการเปลี่ยนแปลงที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 10.86 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน เมื่อพิจารณาผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาว พบว่า ดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.34 โดยเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของลวดเหล็ก เพิ่มขึ้น ร้อยละ 22.51 เหล็กเส้นกลม เพิ่มขึ้น ร้อยละ 14.45 เนื่องจากปริมาณสินค้าคงคลังที่มีอยู่เริ่มลดลง จึงมีผลทำให้ผู้ผลิตต้องผลิตเพิ่มขึ้นนอกจากนี้เป็นผลมาจากราคาวัตถุดิบ คือ สินแร่เหล็กที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ราคาเหล็กขั้นกลางคือ ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เช่น เหล็กแท่งเล็กบิลเล็ต ปรับตัวสูงขึ้น ผู้ผลิตเหล็กเกรงว่าราคาจะเพิ่มขึ้นมากกว่านี้ จึงทำให้ผู้ผลิตมีการผลิตเพิ่มขึ้น โดยส่วนหนึ่งจะเก็บไว้เป็นสต๊อก อย่างไรก็ตาม ความต้องการใช้ในประเทศของเหล็กเส้นก็ยังไม่ฟื้นตัวอย่างโดดเด่น สำหรับเหล็กทรงแบน พบว่า ดัชนีผลผลิต เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.80 โดยเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของเหล็กแผ่นเคลือบโครเมียม เพิ่มขึ้นร้อยละ 50.18 เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี เพิ่มขึ้น ร้อยละ 31.99 เนื่องจากความต้องการใช้ที่เพิ่มสูงขึ้นของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ส่งผลให้ผู้ผลิตผลิตเพิ่มขึ้น
ขณะเดียวกันเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 82.20 โดยเหล็กทรงยาว เพิ่มขึ้น ร้อยละ 48.34 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นมากที่สุด ได้แก่ ลวดเหล็กแรงดึงสูง เพิ่มขึ้น ร้อยละ 69.92 รองลงมาคือ เหล็กเส้นข้ออ้อย ร้อยละ 58.35 สำหรับเหล็กทรงแบนมีการผลิตที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 105.47 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยเหล็กแผ่นเคลือบโครเมียม เพิ่มขึ้น ร้อยละ 150.23 และเหล็กแผ่นรีดเย็น เพิ่มขึ้น ร้อยละ 134.56
2.ราคาเหล็ก
การเปลี่ยนแปลงของราคาเหล็ก (FOB) โดยเฉลี่ยที่สำคัญในตลาด CIS ณ ท่าทะเลดำ (Black Sea) ในช่วงเดือนเมษายน 2553 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ราคาโดยเฉลี่ยของผลิตภัณฑ์เหล็กที่สำคัญส่วนใหญ่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นโดย เหล็กแท่งแบน เพิ่มขึ้นจาก 460 เป็น 617 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 34.10 เหล็กแท่งเล็กบิลเล็ต เพิ่มขึ้นจาก 495 เป็น 619 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 25.00 เหล็กเส้น เพิ่มขึ้นจาก 525 เป็น 640 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 21.90 เหล็กแผ่นรีดเย็น เพิ่มขึ้นจาก 698 เป็น 774 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 10.93 เหล็กแผ่นรีดร้อน เพิ่มขึ้นจาก 613 เป็น 670 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 9.39 เนื่องจากราคาแร่เหล็กที่เพิ่มมากขึ้น โดยเมื่อวันที่ 30 มีนาคมที่ผ่านมา บริษัท Vale ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตแร่เหล็กรายใหญ่ที่สุดของโลกได้ตกลงกับ บ.Nippon Steel และ บ.Sumitomo Metal Industries ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตเหล็กของญี่ปุ่น ที่จะขายแร่เหล็ก 65% Fe Itabira fines ให้กับผู้ผลิตเหล็กญี่ปุ่นในราคา 100-110 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตันที่ท่าต้นทางในประเทศบราซิลสำหรับการส่งมอบแร่เหล็กในช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน ซึ่งสัญญาฉบับใหม่นี้ถือเป็นการสิ้นสุดระบบการทำสัญญาแร่เหล็กรายปีซึ่งถูกใช้มาเป็นเวลานาน และมีการเปลี่ยนเป็นการซื้อขายเป็นรายไตรมาส โดยก่อนหน้านี้ บ. BHP Billiton และ บ. Rio Tinto ได้เปลี่ยนไปใช้ระบบราคารายไตรมาสแล้ว ซึ่งแนวโน้มของราคาแร่เหล็กจะเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเศรษฐกิจโลกที่เริ่มฟื้นตัวจึงทำให้ความต้องการใช้ที่เพิ่มมากขึ้นส่งผลให้กำลังการผลิตของเหมืองแร่เหล็กขยายตัวไม่ทันกับความต้องการใช้
3. แนวโน้ม
สถานการณ์เหล็กในเดือนเมษายน 2553 คาดว่าจะมีทิศทางที่ทรงตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนโดยเหล็กทรงยาวมีแนวโน้มการผลิตที่ทรงตัวสำหรับเหล็กทรงแบนพบว่ามีแนวโน้มการผลิตเพิ่มขึ้นเนื่องจากอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน เครื่องใช้ไฟฟ้า มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น
รถยนต์
อุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนมีนาคม 2553 ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2552 เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ประกอบกับผู้ประกอบการมีการแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่เข้าสู่ตลาด โดยมีข้อมูลสภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนมีนาคม มีดังนี้
- การผลิตรถยนต์ จำนวน 151,246 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคม2552 ซึ่งมีการผลิต 65,449 คัน ร้อยละ 131.09 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของรถยนต์ทุกประเภท (รถยนต์นั่ง, รถยนต์กระบะ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์) อีกทั้งยังมีปัจจัยหนุนที่ผู้ประกอบการเริ่มมีการผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล ทั้งนี้มีปริมาณการผลิตรถยนต์โดยรวมเพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2553 ร้อยละ 18.30
- การจำหน่ายรถยนต์ จำนวน 63,067 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคม2552 ซึ่งมีการจำหน่าย 41,328 คัน ร้อยละ 52.60 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของรถยนต์ทุกประเภท และมีปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2553 ร้อยละ 16.41
- การส่งออกรถยนต์ จำนวน 84,097 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคม2552 ซึ่งมีการส่งออก 44,742 คัน ร้อยละ 87.96 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นในตลาดเอเชีย โอเชียเนีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา ยุโรปอเมริกากลาง และอเมริกาใต้ และมีปริมาณการส่งออกรถยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2553 ร้อยละ 13.55
- แนวโน้ม ภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนเมษายน 2553 คาดว่าจะขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมีนาคม 2553 เนื่องจากมีการจัดงานแสดงรถยนต์ จักรยานยนต์ นานาชาติ บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนลมอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 32 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา-ตราด และมีการแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่ สำหรับการผลิตรถยนต์ในเดือนเมษายน 2553 ประมาณการว่าจะมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 45 และส่งออกร้อยละ 55
รถจักรยานยนต์
อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนมีนาคม 2553 ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2552 ตามสภาพเศรษฐกิจภายในประเทศที่ดีขึ้น โดยมีข้อมูลสภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนมีนาคม ดังนี้
- การผลิตรถจักรยานยนต์ จำนวน 176,097 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคม 2552 ซึ่งมีการผลิต 126,184 คัน ร้อยละ 39.56 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นในรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และมีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2553 ร้อยละ 17.62
- การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ จำนวน 169,420 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคม 2552 ซึ่งมีการจำหน่าย 126,875 คัน ร้อยละ 33.53 ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มขึ้นในรถจักรยานยนต์ทุกประเภท และมีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์2553 ร้อยละ 17.91
- การส่งออกรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) จำนวน 12,642 คัน ลดลงจากเดือนมีนาคม 2552 ซึ่งมีการส่งออก 17,367 คันร้อยละ 27.21 อย่างไรก็ดี การส่งออกรถจักรยานยนต์ในลักษณะชิ้นส่วนครบชุด(CKD) เพิ่มขึ้นร้อยละ 100.84 และมีปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์สำเร็จรูปเพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์2553 ร้อยละ 90.51
- แนวโน้ม ภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนเมษายน2553 คาดว่าจะขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมีนาคม 2553 เนื่องจากมีการจัดงานแสดงรถยนต์ จักรยานยนต์ นานาชาติบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 32 สำหรับการผลิตรถจักรยานยนต์ในเดือนเมษายน 2553 ประมาณการว่าจะมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 93 และส่งออกร้อยละ 7
“อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์เริ่มมีแนวโน้มที่ดีขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัว แต่ยังไม่ขยายตัวมากเท่าที่ควร เนื่องจากปัญหาเสถียรภาพทางการเมืองสำหรับการส่งออกมีแนวโน้มที่จะขยายตัวได้ดี เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัว และตลาดส่งออกหลักของไทย เป็นประเทศกำลังพัฒนา ยังคงมีการก่อสร้างที่เพิ่มสูงขึ้นเพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ”
1.การผลิตและการจำหน่ายในประเทศ
ในเดือนมีนาคม 2553 ปริมาณการผลิตและปริมาณการจำหน่ายในประเทศเพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.61 และ 9.09 ตามลำดับและเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายในประเทศเพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.13 และ 6.45 ตามลำดับ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจมีแนวโน้มดีขึ้น รัฐบาลเริ่มมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ทำให้ธุรกิจภาคเอกชนมีการขยายตัวด้านการลงทุนมากขึ้น
2.การส่งออก
มูลค่าการส่งออกปูนซีเมนต์ เดือนมีนาคม 2553 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 10.20 แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ลดลง ร้อยละ 5.25 ในภาพรวมการส่งออกปูนซีเมนต์ มีแนวโน้มขยายตัวได้ดีเนื่องจากเศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัว ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ของประเทศในแถบอาเซียน ซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักที่สำคัญของไทย ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในประเทศเมียนมาร์เนื่องจากรัฐบาลเมียนมาร์มีนโยบายลงทุนในระบบโครงสร้างพื้นฐานมากขึ้น และมีการสร้างระบบสาธารณูปโภคเพื่อรองรับการจัดกีฬาซีเกมส์ในอีก 2 - 3 ปี ข้างหน้าด้วย
3.แนวโน้ม
การผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศในเดือนเมษายน มีแนวโน้มชะลอตัวลงเล็กน้อยเนื่องจากเป็นวันหยุดยาวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ แต่ในเดือนพฤษภาคม 2553 การผลิตและการจำหน่ายในประเทศคาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล อย่างไรก็ตาม ความกังวลต่อสถานการณ์ทางการเมือง เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคการลงทุนของภาคเอกชน และความคืบหน้าในการดำเนินโครงการลงทุนในสาธารณูปโภคพื้นฐานของรัฐบาลด้วย
สำหรับการส่งออก เศรษฐกิจโลกยังคงมีแนวโน้มที่จะขยายตัวได้ดี เนื่องจากประเทศตลาดส่งออกหลักเป็นประเทศกำลังพัฒนา มีความจำเป็นต้องใช้ปูนซีเมนต์ในกิจกรรมการก่อสร้าง เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ
- แนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 27.68 เนื่องจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของเครื่องปรับอากาศและตู้เย็นเป็นหลัก โดยประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 57.29 และ 40.91 ตามลำดับ จากกำลังซื้อเริ่มกลับมาของตลาด EU และตลาดออสเตรเลียประกอบกับสภาพอากาศที่มีอุณหภูมิสูงขึ้นมาก
- แนวโน้มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.09 เนื่องจากการปรับตัวขึ้นของชิ้นส่วน IC ส่วนประกอบ HDD และเซมิคอนดักเตอร์เริ่มปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นโดยเฉพาะการผลิต HDD ปรับตัวสูงมากกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีความต้องการจากสินค้าสำ เร็จรูปค่อนข้างมาก โดยประมาณการว่า HDD และ IC จะปรับตัวเพิ่มขึ้น 51.71 และ33.55 ตามลำดับ
ตารางที่1 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์หลักที่มีมูลค่าการส่งออกมากเป็นอันดับต้นๆ ในเดือน มี.ค. 2553
เครื่องใช้ไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์ มูลค่า %MoM %YoY อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ 1,761.23 20.31 50.68 IC 770.34 37.55 54.14 เครื่องปรับอากาศ 295.09 21.43 25.09 เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า 162.58 17.19 38.14 รวมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 4,598.56 19.48 45.43
ที่มา กรมศุลกากร
1.การผลิต
ภาพรวมภาวะการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของเดือนมีนาคม 2553 มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 421.44 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 51.15 และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.20 เนื่องจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของหลายกลุ่มอุตสาหกรรมโดยเฉพาะกลุ่มส่วนประกอบและชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และกลุ่มเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็น รวมถึงการเริ่มฟื้นตัวของเศรษฐกิจอุตสาหกรรมโดยรวมที่ส่งผลต่อเนื่องมาจากช่วงปลายปี 2552
โดยอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 39.33 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 12.99 สำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 52.73 และเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.87
2. การตลาด
มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เดือนมีนาคม 2553 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ร้อยละ 19.48 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 45.43 โดยมีมูลค่าการส่งออกรวมคือ 4,598.56 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมูลค่าการส่งออกรวมเครื่องใช้ไฟฟ้า มีมูลค่า 1,594.35 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนร้อยละ 12.83 และเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.64 สำหรับมูลค่าการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ มีมูลค่า 3,004.21 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับเดือนก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.34 และเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 53.28
3. แนวโน้ม
แนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 27.68 เนื่องจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของเครื่องปรับอากาศและตู้เย็นเป็นหลัก โดยประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 57.29 และ 40.91 ตามลำดับ จากกำลังซื้อเริ่มกลับมาของตลาด EU และตลาดออสเตรเลียประกอบกับสภาพอากาศที่มีอุณหภูมิสูงขึ้นมาก
ขณะที่ แนวโน้มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.09 เนื่องจากการปรับตัวขึ้นของชิ้นส่วน IC ส่วนประกอบ HDD และเซมิคอนดักเตอร์เริ่มปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะการผลิต HDD ปรับตัวสูงมากกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีความต้องการจากสินค้าสำเร็จรูปค่อนข้างมาก โดยประมาณการว่า HDD และ IC จะปรับตัวเพิ่มขึ้น 51.71 และ 33.55 ตามลำดับ
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--