สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 1 (มกราคม — มีนาคม) พ.ศ. 2553 (อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์)

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday June 3, 2010 14:10 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

1. ภาวะทั่วไปของอุตสาหกรรม

ภาวะการผลิตสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 1 ปี 2553 มีดัชนีผลผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่ที่ 114.86 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 13.01 หากเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นกันร้อยละ 33.34 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าปรับเพิ่มขึ้นเกือบทุกรายการยกเว้น กระติกน้ำร้อน และโทรทัศน์สี (ขนาดจอ 21 นิ้ว หรือมากกว่า) ที่ยังปรับตัวลดลง

การปรับตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนปรับตัวได้ดีขึ้น โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ให้ความเย็นเช่น เครื่องปรับอากาศ ทั้งที่เป็นแบบคอนเดนซิ่งยูนิต และแบบแฟนคอยส์ซิ่งยูนิต คอมเพรสเซอร์ และพัดลม โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 68.56% 64.73% 16.54% และ 66.83% ตามลำดับ เนื่องจากส่วนหนึ่งมาจากการเติมเต็มในส่วนสินค้าคงคลังที่ปรับลดลง และการผลิตเพื่อการส่งออก ซึ่งจากต้นปี 2553 ได้ปรับตัวสูงขึ้นเป็นลำดับ ประกอบกับอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นด้วย

มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้ารวม ในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2553 มีมูลค่า 4,421.88 ล้านเหรียญสหรัฐ ค่อนข้างทรงตัวจากไตรมาสก่อนร้อยละ 0.45 ขณะที่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 37.47 สำหรับตลาดส่งออกหลักและมีสัดส่วนมากที่สุดในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2553 ได้แก่ ตลาดอาเซียน มีมูลค่าส่งออก 860.67 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวเพิ่มขึ้น 49.53% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สินค้าหลักที่ส่งออกไปตลาดอาเซียน ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น และ มอเตอร์เล็ก เป็นต้น

ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 1 ปี 2553 จากรายงานของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2553 ทรงตัวร้อยละ 0.58 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ขณะที่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 59.10 โดยสินค้าที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมากที่สุดเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนคือ Semiconductor ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 112.63 รองลงมาคือ Monolithic IC ปรับเพิ่มขึ้น ร้อยละ97.94

มูลค่าส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2553 มีมูลค่ารวม 7,995.84 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.75 เมื่อเทียบไตรมาสก่อน และปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 57.86 ตลาดส่งออกที่สำคัญของผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ จีน อียู และสหรัฐอเมริกา เป็นต้น

แนวโน้มภาพรวมภาวะอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2553 ระหว่างเดือนเมษายนถึงมิถุนายน 2553 โดยดูจากดัชนีการส่งสินค้าของสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า ประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.37 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนของอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศ โดยจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 44.17 และการปรับตัวเพิ่มขึ้นของอุตสาหกรรมตู้เย็น ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 37.70 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

แนวโน้มภาวะอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2553 ประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 56.62 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากตัวแปรดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐอเมริกาส่งสัญญาณฟื้นตัวตั้งแต่ช่วงปลายปี 2552 ซึ่งตัวแปรดังกล่าวนำมาพิจารณาในการประมาณการไตรมาสที่ 2 ปี 2553 หากพิจารณาเป็นรายผลิตภัณฑ์ พบว่า ส่วนประกอบและชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ HDD ปรับตัวเพิ่มขึ้น 57.11 % และ IC ปรับตัวเพิ่มขึ้น 30.53% ทั้งนี้เนื่องจากส่วนประกอบและชิ้นส่วนเป็นอุตสาหกรรมที่เชื่อมโยงกับความต้องการในตลาดโลก

2. อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า

2.1 การผลิต

ภาวะการผลิตสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 1 ปี 2553 มีดัชนีผลผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่ที่ 114.86 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 13.01 หากเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นกันร้อยละ 33.34 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าปรับเพิ่มขึ้นเกือบทุกรายการยกเว้นกระติกน้ำร้อน ละโทรทัศน์สี (ขนาดจอ 21 นิ้ว หรือมากกว่า) ที่ยังปรับตัวลดลง

การปรับตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ให้ความเย็นเช่น เครื่องปรับอากาศ ทั้งที่เป็นแบบคอนเดนซิ่งยูนิตและแบบแฟนคอยส์ซิ่งยูนิต คอมเพรสเซอร์และ พัดลม โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 68.56 64.73 16.54 และ 66.83 ตามลำดับ เนื่องจากส่วนหนึ่งมาจากการเติมเต็มในส่วนสินค้าคงคลังที่ปรับลดลง และการผลิตเพื่อการส่งออก ซึ่งจากช่วงไตรมาสแรกปี 2553 ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นค่อนข้างสูงจากตลาดส่งออกอียูและอาเซียนที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น ประกอบกับอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นด้วย

ส่วนสินค้าที่ปรับตัวลดลงมากเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ เครื่องรับโทรทัศน์สีประเภท CRT ปรับตัวลดลงจากการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี และระบบสัญญาณภาพที่เปลี่ยนเป็นระบบดิจิตอลในตลาดหลักอย่างตลาดสหรัฐอเมริกา และยุโรปทำให้การผลิตเพื่อส่งออกตลาดหลักเหล่านี้ลดลง แต่กลับเพิ่มขึ้นในตลาดอินเดีย และตลาดแถบแอฟริกามากขึ้น และมีสินค้าทดแทนไปยังตลาดสหรัฐอเมริกา และตลาดยุโรป ได้แก่ LCD TV เป็นต้น ขณะที่ Panel ที่เป็นวัตถุดิบสำคัญของ LCD TV นั้นไม่มีผลิตในประเทศอาเซียน ทำให้ไม่สามารถใช้สิทธิพิเศษและการควบคุมต้นทุนการผลิตเป็นไปได้ยาก

เมื่อเปรียบเทียบกับดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า (Household electrical machinary) ของประเทศญี่ปุ่นไตรมาสที่ 1 ปี 2553 ซึ่งรายงานโดย Ministry of Economic,Trade and Industry ประเทศญี่ปุ่น พบว่าดัชนีผลผลิตมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.91 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และปรับตัวลดลงร้อยละ 1.77 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านส่วนใหญ่จะปรับตัวเพิ่มขึ้นเกือบทุกประเภท ได้แก่ กล้องถ่ายวิดีโอ ตู้เย็น กล้องถ่ายรูปดิจิตอล เป็นต้น ยกเว้นบางรายการที่ปรับตัวลดลง เช่น เครื่องเล่นดีวีดี และเครื่องปรับอากาศ ทั้งนี้ เนื่องจากเครื่องเล่นดีวีดมีการเร่งผลิตในช่วงไตรมาสที่ 4/2552 ทำให้การผลิตเพิ่มเติมไม่มากนัก ส่วนเครื่องปรับอากาศเกิดจากสภาพอากาศที่ผันผวนและมีการผลิตภายนอกประเทศญี่ปุ่นค่อนข้างมาก

2.2 การตลาด

จากรายงานดัชนีการส่งสินค้าของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่าในไตรมาสที่ 1 ปี 2553 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.62 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นกันร้อยละ 35.19

โดยสินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นในไตรมาสที่ 1 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน 3 อันดับแรก ได้แก่ พัดลม เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนคอนเดนซิ่งยูนิต และเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนแฟนคอยส์ซิ่งยูนิต ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 69.11 56.78 และ 51.99 ตามลำดับ

ขณะที่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น 3 อันดับแรก ได้แก่ เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนคอนเดนซิ่งยูนิต เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนแฟนคอยส์ซิ่งยูนิต และสายไฟฟ้า โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 59.55 54.08 และ 42.83 ตามลำดับ

ภาวะการตลาดของสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยรวมปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากเศรษฐกิจโลกเริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอุตสาหกรรมโดยรวมที่ส่งผลต่อเนื่องมาจากช่วงปลายปี 2552 ประกอบกับอุณหภูมิที่สูงขึ้น ส่งผลให้เครื่องใช้ไฟฟ้าโดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความเย็นปรับตัวเพิ่มขึ้น และผลจากการปรับลดภาษีสรรพสามิตทำให้ราคาขายปรับตัวลดลง ซึ่งช่วยกระตุ้นยอดขายได้เพิ่มขึ้นอีกด้วย

การส่งออก

มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้ารวม ในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2553 มีมูลค่า 4,421.88 ล้านเหรียญสหรัฐ ค่อนข้างทรงตัวจากไตรมาสก่อนร้อยละ 0.45 ขณะที่ ปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 37.47 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

สำหรับสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุด 3 อันดับแรกในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี2553 ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า สำหรับตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า รวมถึงแป้นและแผงควบคุม และตู้เย็นใช้ตามบ้านเรือน โดยมีมูลค่าส่งออก 755.08 ล้านเหรียญสหรัฐ 441.15 ล้านเหรียญสหรัฐ และ 291.39 ล้านเหรียญสหรัฐ

เครื่องปรับอากาศมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 35.35 ทั้งนี้เนื่องจากตลาดส่งออกหลักของเครื่องปรับอากาศที่ส่งไปยังตลาดอียูและตะวันออกกลางนั้นปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 56.79 และ 19.74 เนื่องจากกำลังซื้อที่ปรับเพิ่มขึ้นจากภาวะเศรษฐกิจโดยรวมที่ดีขึ้นและจากการที่ตัวเลขส่งออกในไตรมาสที่ 1 ปี 2552 มีฐานที่ค่อนข้างต่ำ

ขณะที่ เครื่องรับโทรทัศน์ที่ส่งออกเป็นอันดับต้นๆในหลายปีที่ผ่านมา ปรับตัวลดลงในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2553 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.69 โดยมีมูลค่าส่งออก 102.16 ล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจากตลาดส่งออกหลักอย่างตลาดสหรัฐอเมริกามีการส่งออกลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ถึงร้อยละ 53.67

สำหรับตลาดส่งออกหลักและมีสัดส่วนมากที่สุดในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2553 ได้แก่ ตลาดอาเซียน มีมูลค่าส่งออก 860.67 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 49.53 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สินค้าหลักที่ส่งออกไปตลาดอาเซียน ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น และ มอเตอร์เล็ก เป็นต้น

ตลาดที่มีมูลค่าส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้ามากเป็นอันดับรองลงมา ได้แก่ ตลาดอียู มีมูลค่าส่งออก 698.11 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.43 สามารถสรุปสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ส่งออกใน 3 ตลาดหลักได้ดังนี้

3. อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์

3.1 การผลิต

ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 1 ปี 2553 จากรายงานของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 1 ทรงตัวร้อยละ 0.58 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ขณะที่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 59.10 โดยสินค้าที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมากที่สุดเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คือ Semiconductor ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 112.63 รองลงมาคือ Monolithic IC ปรับเพิ่มขึ้น ร้อยละ 97.94

การผลิตเพื่อส่งออกปรับตัวเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะส่วนประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ HDD และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ IC เนื่องจากเป็นการผลิตเพื่อชดเชยสินค้าคงคลัง ประกอบกับมีการชะลอการผลิตในช่วงก่อนหน้านี้ ทำให้ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2553 มีการออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ๆ เพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นและกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยจากสินค้าใหม่ๆที่ออกสู่ตลาด

3.2 การตลาด

จากรายงานดัชนีการส่งสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมสะท้อนภาวะตลาดของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 1 ปี2553 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนภาวะตลาดของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ทรงตัวร้อยละ 0.50 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 56.00

สอดคล้องกับรายงานของสมาคมอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ (Semiconductor Industry Association) ของสหรัฐอเมริกาที่อยู่ในระดับทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปี 2552 ขณะที่เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มูลค่าการจำหน่ายเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลกปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2553 ร้อยละ 53.36 ทั้งนี้ เนื่องจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของทุกภูมิภาคทั่วโลก โดยเฉพาะในเอเชียแปซิฟิก ได้แก่ จีน เป็นตลาดสำคัญ และความต้องการของสินค้าสำเร็จรูปประเภทเครื่องคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค และโทรศัพท์มือถือ เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากความต้องการดังกล่าวแล้ว การชดเชยสินค้าคงคลังที่ลดลงก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การผลิตเพื่อจำหน่ายเพิ่มสูงขึ้นด้วย

การส่งออก

มูลค่าส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2553 มีมูลค่ารวม 7,995.84 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.75 เมื่อเทียบไตรมาสก่อน และปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 57.86 ตลาดส่งออกที่สำคัญของผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ จีน อียู และสหรัฐอเมริกา เป็นต้น

มูลค่าส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ที่มีมูลค่าส่งออกมากที่สุด ได้แก่ อุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 55.51 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นในตลาด น สหรัฐอเมริกา และอียู ร้อยละ 84.74 35.98 28.21 ตามลำดับ

ตลาดที่มีมูลค่าส่งออกอิเล็กทรอนิกส์รวมปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ตลาดอียู และจีน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.47 31.58 และ 68.51 มลำดับ ส่วนสินค้าส่งออกที่สำคัญสามารถสรุปมูลค่าการส่งออกใน 3 ตลาดหลักดังกล่าวได้ดังนี้

แนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2553

จากการประมาณการดัชนีการส่งสินค้าประจำเดือนพฤษภาคม 2553 ของแบบจำลองดัชนีชี้นำภาวะอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ พบว่าแนวโน้มภาพรวมภาวะอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2553 ระหว่างเดือนเมษายนถึงมิถุนายน 2553 คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.37 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการปรับตัวของอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศ อุตสาหกรรมตู้เย็นคาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 44.17 และ37.70 ตามลำดับจากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากดัชนีชี้นำที่ส่งสัญญาณปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ มูลค่าการนำเข้าคอมเพรสเซอร์ ซึ่งคอมเพรสเซอร์เครื่องทำความเย็นถือเป็นส่วนประกอบหลักและดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งสอดคล้องกับการประมาณการของภาวะอุตสาหกรรมเครื่องคอมเพรสเซอร์ที่คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 13.67 เช่นกัน

ภาวะอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2553 ประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 56.62 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากตัวแปรดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐอเมริกาส่งสัญญาณฟื้นตัวตั้งแต่ช่วงปลายปี 2552 ซึ่งตัวแปรดังกล่าวนำมาพิจารณาในการประมาณการไตรมาสที่ 2 ปี 2553

หากพิจารณาเป็นรายผลิตภัณฑ์ พบว่า ส่วนประกอบและชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ HDD ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 57.11 และ IC ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.53 ทั้งนี้เนื่องจากส่วนประกอบและชิ้นส่วนเป็นอุตสาหกรรมที่เชื่อมโยงกับความต้องการในตลาดโลก ซึ่งตัวแปรชี้นำส่วนใหญ่ที่เป็นตลาดหลักของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ตัวแปรดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมของกลุ่มประเทศ OECD ดัชนีผลผลิต Electronic Index ของญี่ปุ่น และตัวแปรที่สะท้อนการลงทุนที่เริ่มฟื้นตัว ได้แก่ มูลค่าการนำเข้าสินค้า Machinery and Transport Equipment ของประเทศญี่ปุ่น ส่วนมูลค่าการนำเข้าสินค้าทุนของไทยเริ่มมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนๆ เช่นกัน

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ