การผลิตและการจำหน่าย
การผลิตเครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณและของที่เกี่ยวข้องกัน ในไตรมาสที่ 1 ปี 2553 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน (ดูตารางที่ 1 ประกอบ) ดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.83 เนื่องจากเป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่กำลังฟื้นตัว ดัชนีส่งสินค้าหรือดัชนีการจำหน่ายลดลง ร้อยละ 3.22 และดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.81 หากเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.13 ดัชนีส่งสินค้าหรือดัชนีการจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.85 และดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังลดลงร้อยละ 6.51
การตลาด
การส่งออก
ในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2553 (ดูตารางที่ 2 ประกอบ) ไทยส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 1,620.30 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 16.10 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 58.95 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นผลจากการส่งออกทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูปที่มีมูลค่า 377.75 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งลดลงร้อยละ 52.06 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนผลิตภัณฑ์สำคัญๆ ได้แก่
1. อัญมณี ในไตรมาสที่ 1 ปี 2553 มีมูลค่าการส่งออก 431.01 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.23 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 43.63 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง เบลเยี่ยม และอิสราเอล คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 38.42, 17.04 และ 10.39 ตามลำดับ ซึ่งผลิตภัณฑ์อัญมณีที่สำคัญมีดังนี้
1.1 เพชร ในไตรมาสที่ 1 ปี 2553 มีมูลค่าการส่งออก 291.33 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.92 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 65.50 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง เบลเยี่ยม และอิสราเอล คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 34.46, 24.97 และ 15.17 ตามลำดับ
1.2 พลอย ในไตรมาสที่ 1 ปี 2553 มีมูลค่าการส่งออก 135.35 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 96.64 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.23 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง สหรัฐอเมริกา และสวิตเซอร์แลนด์ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 46.00, 16.79 และ 10.52 ตามลำดับ
2. เครื่องประดับแท้ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2553 มีมูลค่าการส่งออก 732.05 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.78 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.69 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำ คัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง และเดนมาร์กคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 25.69, 17.19 และ 6.71 ตามลำดับ ซึ่งผลิตภัณฑ์เครื่องประดับแท้ที่สำคัญ มีดังนี้
2.1 ทำด้วยเงิน ในไตรมาสที่ 1 ปี 2553 มีมูลค่าการส่งออก 274.21 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 12.70 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 56.36 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เดนมาร์ก และเยอรมนี คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 42.02, 12.87 และ 9.68 ตามลำดับ
2.2 ทำด้วยทอง ในไตรมาสที่ 1 ปี 2553 มีมูลค่าการส่งออก 419.12 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.72 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.95 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง สหรัฐอเมริกา และสวิตเซอร์แลนด์ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 27.54, 16.23 และ 10.56 ตามลำดับ
3. เครื่องประดับอัญมณีเทียม ในไตรมาสที่ 1 ปี 2553 มีมูลค่าการส่งออก 47.87 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 20.07 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 3.06 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ลิกเตนสไตน์ สหรัฐอเมริกา และฝรั่งเศส คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 47.73, 18.70 และ 9.20 ตามลำดับ
4. อัญมณีสังเคราะห์ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2553 มีมูลค่าการส่งออก 17.26 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.15 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.75 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง อินเดีย และตุรกี คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 37.51, 10.75 และ 9.58 ตามลำดับ
5. ทองคำที่ยังไม่ได้ขึ้นรูป ในไตรมาสที่ 1 ปี 2553 มีมูลค่าการส่งออก 377.75 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 52.06 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 87.20 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์ ฮ่องกง และออสเตรเลีย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 47.91, 29.48 และ 13.99 ตามลำดับ
การนำเข้า
1. เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2553 (ดูตารางที่ 3 ประกอบ) มีมูลค่าการนำเข้า 3,891.56 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 106.90 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและเพิ่มขึ้นร้อยละ 408.74 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน วัตถุดิบสำคัญ ได้แก่
1.1 เพชร ในไตรมาสที่ 1 ปี 2553 มีมูลค่าการนำเข้า 230.28 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 41.00 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.74 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ อินเดีย อิสราเอล และฮ่องกง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 30.97, 23.36 และ 12.76 ตามลำดับ
1.2 พลอย ในไตรมาสที่ 1 ปี 2553 มีมูลค่าการนำเข้า 65.04 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 54.12 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 5.58 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนแหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง อินเดีย และศรีลังกา คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 18.67, 13.89 และ 9.78 ตามลำดับ
1.3 ทองคำ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2553 มีมูลค่าการนำเข้า 3395.15 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 135.17 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 906.37 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 51.61, 17.73 และ 8.84 ตามลำดับ
1.4 เงิน ในไตรมาสที่ 1 ปี 2553 มีมูลค่าการนำเข้า 151.63 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 16.49 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 45.93 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ จีน เกาหลีใต้ และเยอรมนี คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 49.66, 17.58 และ 9.78 ตามลำดับ
1.5 โลหะมีค่าและโลหะอื่นๆ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2553 มีมูลค่าการนำเข้า 19.74 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 23.64 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 77.89 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น ฮ่องกง และเยอรมนี คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 71.54, 11.17 และ 5.68 ตามลำดับ
โดยการนำเข้าเพชร พลอย ทองคำ เงิน โลหะมีค่าและโลหะอื่นๆ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 99.24 ของการนำเข้าวัตถุดิบทั้งหมด
2. เครื่องประดับอัญมณี ในไตรมาสที่ 1 ปี 2553 มีมูลค่าทั้งสิ้น 160.22 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 50.58 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 0.54 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์สำคัญๆ ได้แก่
2.1 เครื่องประดับอัญมณีแท้ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2553 มีมูลค่าการนำเข้า 153.92 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 53.25 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 1.56 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง อิตาลี และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 9.46, 6.68 และ 4.02 ตามลำดับ
2.2 เครื่องประดับอัญมณีเทียม ในไตรมาสที่ 1 ปี 2553 มีมูลค่าการนำเข้า 6.30ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.70 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.88 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ จีน ฝรั่งเศส และเกาหลีใต้ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 23.69, 13.01 และ 9.77 ตามลำดับ
นโยบายภาครัฐ
รัฐบาล โดยกระทรวงพาณิชย์ ร่วมกับ คณะกรรมการพัฒนาธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับไทย ได้จัดทำโครงการซื้อด้วยความมั่นใจ ช่วยเพิ่มความสบายใจให้ผู้บริโภค ด้วยการกำหนดมาตรฐานและดัชนีราคาอ้างอิง ที่มีความละเอียดและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล สำหรับใช้ในเชิงการค้าได้เป็นครั้งแรกในวงการค้าพลอยสี เพื่อประกาศศักดาของประเทศไทย ในฐานะผู้นำและผู้ผลิตพลอยสีรายใหญ่ของโลก ภายใต้ตราสัญลักษณ์ ซื้อด้วยความมั่นใจ หรือ Buy with Confidence ซึ่งถูกออกแบบให้เป็นรูปทับทิมสีแดงมีเครื่องหมายถูก
สรุปและแนวโน้ม
ภาพรวมอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับในไตรมาสที่ 1 ปี 2553 ด้านการผลิตขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.83 และการจำหน่ายหดตัวลดลงร้อยละ 3.22 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ด้านการส่งออกมีการหดตัว คือ ลดลงร้อยละ 16.10 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เนื่องจากทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีผลต่อมูลค่าการส่งออกในทางลบ หดตัวลดลงร้อยละ 52.06 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนสำหรับสาเหตุที่การส่งออกทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูปมีมูลค่าน้อยกว่ามูลค่าการนำเข้า เนื่องจากราคาทองคำในตลาดโลกที่ปรับตัวลดลงต่ำกว่าระดับ 1,200 เหรียญสหรัฐฯ ต่อออนซ์ ในช่วงไตรมาสที่ 1 นี้ อย่างไรก็ดีพบว่าการส่งออกเพชร พลอย เครื่องประดับแท้ทำด้วยเงิน และเครื่องประดับแท้ทำด้วยทอง ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกสำคัญมีมูลค่าการส่งออกขยายตัวร้อยละ 65.50 12.23 56.36 และ 5.95 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยก่อนหน้านี้ เพชร ได้มีการขยายตัวเมื่อไตรมาสที่ผ่านมา และเครื่องประดับแท้ทำด้วยเงิน ได้มีการขยายตัวสองไตรมาสติดต่อกัน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งเป็นสัญญาณการฟื้นตัวในอุตสาหกรรมนี้ ด้านการนำเข้าสินค้าซึ่งส่วนใหญ่เป็นวัตถุดิบในไตรมาสนี้ลดลงร้อยละ 106.90 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา
แนวโน้มภาพรวมการส่งออกในไตรมาสที่ 2 ปี 2553 ปัจจัยด้านลบ คือ แนวโน้มค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ปัจจัยด้านบวก คือ ราคาน้ำมันดิบที่มีแนวโน้มลดลง ราคาทองคำในตลาดโลกที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นกลับสู่ระดับ 1,200 เหรียญสหรัฐฯ ต่อออนซ์ จะเป็นสาเหตุให้เกิดการส่งออกทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูปเพิ่มขึ้นอย่างมากและนำเข้าทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูปลดลง และความสำเร็จจากการจัดงานบางกอกเจมส์แอนด์จิวเวลรี่แฟร์ ครั้งที่ 45 ที่เมืองทองธานี ระหว่างวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2553 ถึง วันที่ 2 มีนาคม 2553 ที่ผ่านมา โดยจะมีคำสั่งซื้อเข้ามาซึ่งมีส่วนช่วยให้มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นได้ ดังนั้นจึงคาดการณ์ว่าแนวโน้มการส่งออกในไตรมาสที่ 2 ปี 2553 จะขยายตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา
แนวโน้มการส่งออกทั้งปี 2553 เนื่องจากสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับของไทยเป็นการผลิตเพื่อส่งออกกว่าร้อยละ 80 ดังนั้นการเติบโตจึงขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจโลก ซึ่งขณะนี้กำลังฟื้นตัว โดยพิจารณาได้จากยอดมูลค่าการส่งออกในสินค้าสำคัญ ได้แก่ เพชร พลอย เครื่องประดับแท้ทำด้วยเงิน และเครื่องประดับแท้ทำด้วยทอง ที่มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยก่อนหน้านี้สินค้า อาทิ เพชรและเครื่องประดับแท้ที่ทำด้วยเงินก็มีการขยายตัวในไตรมาสก่อน ซึ่งการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่มีต่อสินค้าฟุ่มเฟือยมีอัตราเติบโตแสดงให้เห็นว่า ผู้บริโภคเริ่มมีรายได้เพิ่มขึ้นแล้ว เป็นสิ่งยืนยันได้ทางหนึ่งว่าเศรษฐกิจโลกกำลังฟื้นตัว นอกจากนี้นโยบายการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มแก่วัตถุดิบอัญมณีที่ยังไม่ได้เจียระไน จะเป็นการลดต้นทุนวัตถุดิบ จากปัจจัยที่กล่าวมาจะเป็นส่วนช่วยให้มูลค่าการค้าในอุตสาหกรรมนี้ขยายตัวได้ในปี 2553
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--