ดัชนีอุตฯ พ.ค.ยังพุ่ง 15.9% กำลังการผลิต 64% การผลิตกลุ่มน้ำดื่ม ยานยนต์ Hard disk drive การแปรรูปสัตว์น้ำ การผลิตเหล็ก ยอดผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้น
ดร.สมชาย หาญหิรัญ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือน พฤษภาคม 2553 ขยายตัว 15.9% มีอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ 64% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลต่อการ ขยายตัวที่สำคัญ ประกอบด้วย การผลิตน้ำดื่ม ยานยนต์ Hard disk drive การแปรรูปสัตว์น้ำ การผลิตเหล็ก เป็นต้น
ดร.สมชาย กล่าวว่า การผลิตน้ำดื่มบรรจุขวด เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตและจำหน่ายเพิ่มสูงขึ้น 17.2%และ10.2% ตามลำดับ เนื่องจากปัจจุบันผู้บริโภคให้ความสำคัญกับการรักษาสุขภาพมากยิ่งขึ้น โดยเชื่อว่าการดื่มน้ำบริสุทธิ์บรรจุขวดที่ผลิตจากโรงงานมีความสะอาด ผู้ผลิตจึงมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดหลากหลายรูปแบบ ทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้น ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวผู้บริโภคมีกำลังจับจ่าย สินค้ามากขึ้น และเดือน พ.ค.ยังอยู่ในช่วงฤดูร้อน จึงมีความต้องการบริโภคน้ำดื่มในปริมาณที่สูง ส่งผลต่อการขยายตัวทั้งการผลิตและจำหน่ายดังกล่าว
การผลิตยานยนต์ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนการผลิตและจำหน่ายขยายตัวถึง 90.6%และ 78.9% ตามลำดับ ซึ่งเป็นการ ขยายตัวของทุกรถยนต์ทุกประเภท เนื่องจากผู้ผลิตเร่งผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคทั้งในประเทศและส่งออก โดยในเดือน พ.ค.การส่ง ออกรถยนต์สูงขึ้นกว่า 135.25% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน และคาดว่าทั้งปีปริมาณการผลิตจะเพิ่มขึ้นจากเดิมที่คาดไว้ จาก 1.4 ล้านคัน เป็น 1.5-1.6 ล้านคัน โดยจำหน่ายในประเทศประมาณ 7 แสนคัน และส่งออกประมาณ 9 แสนคัน
การผลิต Hard disk drive เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตและจำหน่าย ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากถึง 14.5% และ 6.4% ตามลำดับ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัว และการปรับตัวของผู้ผลิตที่สามารถผลิตสินค้าที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค และมีผลิตภัณฑ์ ใหม่ๆออกมากระตุ้นตลาดอย่างต่อเนื่อง โดยตลาดต่างประเทศที่สำคัญคือ จีน และสหรัฐอเมริกา โดยตลอดปี 2553 มีทิศทางการขยายตัวที่ดี เนื่องจาก ไทยเป็นฐานการผลิต เพื่อการส่งออกที่แข็งแกร่ง สามารถรับคำสั่งซื้อได้เป็นจำนวนมากและส่งมอบสินค้าได้ทันตามกำหนด ผู้นำเข้าทั่วโลกจึงให้ความไว้ วางใจ ส่งผลต่อการขยายตัว ทั้งปีคาดว่าจะอยู่ประมาณ 10%
การผลิตอาหารแปรรูปจากสัตว์น้ำ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การผลิตและจำหน่ายปรับตัวเพิ่มขึ้น 14.6% และ 14.7% ตาม ลำดับ ซึ่งเป็นผลจากการส่งออกที่ขยายตัวเป็นอย่างดี โดยเฉพาะสินค้าหลัก เช่น ปลาทูน่ากระป๋อง ปลาซาร์ดีนกระป๋อง กุ้งแช่แข็ง และเนื้อปลาแช่ แข็ง ซึ่งเป็นที่นิยมของกลุ่มลูกค้าจากทั่วโลก เนื่องจากผู้ประกอบการไทยมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายสนองความต้องการของผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี และช่วงเดือน พ.ค.นี้มีปัญหาการรั่วไหลของน้ำมันในอ่าวแม็กซิโกทำให้สหรัฐอเมริกาสั่งนำเข้ากุ้งจากไทยมากขึ้น
การผลิตเหล็ก เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้น 42.0% และ 27.6% ตามลำดับ ซึ่งเป็นการปรับตัวเพิ่ม ขึ้นในทุกผลิตภัณฑ์ เนื่องจากเป็นไปตามทิศทางการขยายตัวของธุรกิจก่อสร้าง และโครงการใหญ่ของรัฐบาลในด้านการก่อสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ในด้านต่างๆมีความชัดเจนยิ่งขึ้น และราคาเหล็กในช่วงที่ผ่านมายังไม่มีการปรับตัวให้สูงขึ้นตามราคาวัตถุดิบแร่เหล็กมากนัก
นอกจากนี้ ดร.สมชาย ยังได้สรุปภาพรวมภาพรวม MPI เดือนพฤษภาคม 2553 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ดังนี้
ดัชนีผลผลิต (มูลค่าเพิ่ม) อยู่ที่ระดับ 184.94 เพิ่มขึ้น 15.9% จากระดับ 159.57 ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 186.29 เพิ่มขึ้น 18.4% จากระดับ 157.39 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 189.17 เพิ่มขึ้น 5.4% จากระดับ 179.54 ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรม อยู่ ที่ระดับ 117.30 เพิ่มขึ้น 8.3% จากระดับ 108.32 ดัชนีผลิตภาพแรงงานในภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 139.53 เพิ่มขึ้น 2.9% จากระดับ 135.65 โดยอัตราการใช้กำลังการผลิต อยู่ที่ 64.0%
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมและอัตราการใช้กำลังการผลิต
Index --------------------------- 2552 -------------------------- --------------2553-------------- พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม 159.24 170.14 167.8 169.36 186.59 180.19 180.37 194.66 179.6 183.3 211.7 179.3 184.9 อัตราการเปลี่ยนแปลง(MOM)% 9.2 6.6 -1.3 0.8 10.1 -3.3 0.03 8 -7.9 2 15.6 -15.6 2.8 อัตราการเปลี่ยนแปลง(YOY)% -12.4 -6.8 -9 -8.6 1 -0.5 7.5 30.7 29.1 31.1 32.6 23 15.9 อัตราการใช้ กำลังการผลิต% 55 55.7 57 57.2 60.1 61 60.3 61.8 60.4 60.6 67.9 57.9 64
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--