รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนพฤษภาคม 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday July 20, 2010 15:05 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

สรุปประเด็นสำคัญ

ดัชนีอุตสาหกรรมของเดือนเมษายน 2553
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนเมษายน 2553 ลดลงจากเดือนมีนาคม 2553 ร้อยละ 15.6 แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.0 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน การผลิตขยายตัวเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลง โดยเฉพาะ Hard Disk Drive ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องปรับอากาศ ทั้งนี้การที่ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมปรับตัวลดลงจากเดือนก่อน เนื่องจากในเดือนเมษายนมีวันหยุดต่อเนื่องหลายวัน ทำให้การผลิตลดลงจากเดือน
ก่อนหน้า
  • อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยในเดือนเมษายน 2553 อยู่ที่ระดับร้อยละ 57.9 ลดลงจากร้อยละ 68.6 ในเดือนมีนาคม 2553
ประเด็นเศรษฐกิจอุตสาหกรรมสำคัญ

อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

  • การผลิตผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม คาดว่าจะทรงตัว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการสั่งซื้อล่วงหน้า จะไม่กระทบต่อการผลิตมากนัก สำหรับการจำหน่ายรวมถึงการส่งออก คาดว่าจะลดลง เนื่องจากมีปัจจัยลบที่ผู้บริโภคมีกำลังซื้อลดลง
  • สำหรับวิกฤติเศรษฐกิจในหลายประเทศของสหภาพยุโรปจะส่งผลกระทบไม่มากนัก เนื่องจากสิ่งทอไทยมีสัดส่วนที่ไม่มาก อย่างไรก็ดี ยังต้องระมัดระวังหากวิกฤติขยายวงไปสู่การถดถอยของเศรษฐกิจทั้งกลุ่มสหภาพยุโรปซึ่งเป็นตลาดหลักส่งออกสิ่งทอของไทยตลาดหนึ่ง

อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

  • ประมาณการแนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า เดือนพฤษภาคม 2553 จะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.37 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของเครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น และเครื่องคอมเพรสเซอร์
  • ประมาณการแนวโน้มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ยังคงมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน และปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 44.40 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนจากการผลิตเพื่อส่งออก HDD/IC เป็นหลัก

สถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรม

  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม

มี.ค. 53 = 212.5

เม.ย. 53 = 179.3

โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีลดลง ได้แก่

  • Hard Disk Drive
  • ยานยนต์
  • เบียร์
  • อัตราการใช้กำลังการผลิต

มี.ค. 53 = 68.6

เม.ย. 53 = 57.9

โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลง ได้แก่

  • ยานยนต์
  • อิเล็กทรอนิกส์
  • Hard Disk Drive

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในเดือนเมษายน 2553 มีค่า 179.3 ลดลงจากเดือนมีนาคม 2553 (212.5) ร้อยละ 15.6 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน คือเดือนเมษายน 2552 (145.9) ร้อยละ 23.0

  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงเมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม 2553 ได้แก่ Hard Disk Drive ยานยนต์ เบียร์ เครื่องแต่งกาย น้ำตาล เป็นต้น
  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ Hard Disk Drive ผลิตภัณฑ์อาหารทะเล ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น

อัตราการใช้กำลังการผลิต ในเดือนเมษายน 2553 อยู่ที่ระดับร้อยละ 57.9 ลดลงจากเดือนมีนาคม 2553 (ร้อยละ 68.6) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน คือเดือนเมษายน 2552 (ร้อยละ 51.0)

  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากเดือนมีนาคม 2553 ได้แก่ ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ Hard Disk Drive เส้นใยสิ่งทอ เหล็ก เป็นต้น
  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนได้แก่ ยานยนต์ Hard Disk Drive เหล็ก ผลิตภัณฑ์อาหารทะเล เส้นใยสิ่งทอ เป็นต้น

สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรมเดือนเมษายน 2553

ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนเมษายน 2553 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมีนาคม 2553 มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการจำนวน 273 ราย เพิ่มขึ้นในจำนวนที่น้อยกว่าเดือนมีนาคม 2553 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 381 ราย หรือคิดเป็นจำนวนน้อยกว่าร้อยละ 28.35 มียอดเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 8,035 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมีนาคม 2553 ซึ่งมีการลงทุน 21,935 ล้าน บาท ร้อยละ 63.37 และการจ้างงานรวมมีจำนวน 5,029 คน ลดลงจากเดือนมีนาคม 2553 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 10,754 คน ร้อยละ 53.24

ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนเมษายน 2553 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการเพิ่มขึ้นในจำนวนที่มากกว่าเดือนเมษายน 2552 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 263 ราย หรือคิดเป็นจำนวนมากกว่าร้อยละ 3.80 มียอดเงินลงทุนรวมเพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2552 ซึ่งมีการลงทุน 4,878 ล้านบาท ร้อยละ 64.72 และการจ้างงานรวมเพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2552 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 4,934 คน ร้อยละ 1.93

  • อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุดในเดือนเมษายน 2553 คืออุตสาหกรรมขุด ตักดิน สำหรับใช้ในการก่อสร้าง จำนวน 37 โรงงาน รองลงมาคืออุตสาหกรรมทำเฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ในครัวเรือนและภาชนะบรรจุ และส่วนประกอบอาคารบ้านเรือนจากไม้ จำนวน 34 โรงงาน
  • อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการโดยมีการลงทุนสูงสุดในเดือนเมษายน 2553 คืออุตสาหกรรมจัดหาและจำหน่ายน้ำไปยังอาคารหรือโรงงานอุตสาหกรรม เงินลงทุน จำนวน 1,710.07 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป เพื่อส่งออก เงินลงทุนจำนวน 774.38 ล้านบาท
  • อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการและมีการจ้างงานสูงสุดในเดือนเมษายน 2553 คือ อุตสาหกรรม ถักและผลิตเสื้อไหมพรมสำเร็จรูปด้วยแรงงานคน จำนวนคนงาน 430 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมผลิตแห อวน จำนวนคนงาน 420 คน

ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนเมษายน 2553 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมีนาคม 2553 มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 203 ราย มากกว่าเดือนมีนาคม 2553 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 99 ราย คิดเป็นร้อยละ 105.05 มีเงินทุนของการเลิกกิจการรวม 2,267 ล้านบาท มากกว่าเดือนมีนาคม 2553 ที่ การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 1,811 ล้านบาท และการเลิกจ้างงานมีจำนวน 5,924 คน มากกว่าเดือนมีนาคม 2553 ซึ่งมีการเลิกจ้างงานจำนวน 3,377 คนภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนเมษายน 2553 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการมากกว่าเดือนเมษายน 2552 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 114 ราย คิดเป็นจำนวนมากกว่าร้อยละ 78.07 มีเงินทุนของการเลิกกิจการมากกว่าเดือนเมษายน 2552 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 1,309 ล้านบาท และมีการเลิกจ้างงานมากกว่าเดือนเมษายน 2552 ที่การเลิกจ้างงานมีจำนวน 2,905 คน

  • อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเลิกกิจการมากที่สุดในเดือนเมษายน 2553 คือ อุตสาหกรรมตัดเย็บเครื่องนุ่งห่ม ผ้าเช็ดหน้า เนกไท ถุงมือ ถุงเท้าจากผ้า หนังสัตว์ จำนวน 85 โรงงาน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมซ่อมรถยนต์ พ่นสีรถยนต์ จำนวน 18 โรงงาน
  • อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการโดยที่มีเงินลงทุนสูงสุดในเดือนเมษายน 2553 คือ อุตสาหกรรมผลิต ส่ง หรือจำหน่ายพลังงานไฟฟ้า เงินทุน 1,194 ล้านบาท รองลงมาคืออุตสาหกรรมเก็บรักษา ลำเลียง แยก แบ่งบรรจุเฉพาะเคมีภัณฑ์อันตราย เงินทุน 280 ล้านบาท
  • อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการและจำนวนคนงานสูงสุดในเดือนเมษายน 2553 คือ อุตสาหกรรมตัดเย็บเครื่องนุ่งห่ม ผ้าเช็ดหน้า เนกไท ถุงมือ ถุงเท้าจากผ้า หนังสัตว์ คนงาน 3,398 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมผลิต ส่ง หรือจำหน่ายพลังงานไฟฟ้า คนงาน 447 คน

ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในเดือนมกราคม — เมษายน 2553 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มีจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก สกท. ทั้งสิ้น 445 โครงการ มากกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีจำนวน 284 โครงการร้อยละ 56.7 และมีเงินลงทุน 118,500 ล้านบาท มากกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีเงินลงทุน 68,300 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 73.5

  • การกระจายหุ้นของโครงการที่ได้รับการอนุมัติให้การส่งเสริมในเดือนมกราคม — เมษายน 2553
          การร่วมทุน                     จำนวน(โครงการ)        มูลค่าเงินลงทุน(ล้านบาท)
          1.โครงการคนไทย 100%               193                     41,400
          2.โครงการต่างชาติ 100%              151                     41,800
          3.โครงการร่วมทุนไทยและต่างชาติ        101                     35,300
  • ประเภทกิจการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมากที่สุดในเดือนมกราคม — เมษายน 2553 คือ หมวดบริการและสาธารณูปโภค มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 45,900 ล้านบาท รองลงมา คือ หมวดอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องไฟฟ้า มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 35,500 ล้านบาท
1.อุตสาหกรรมอาหาร

ภาวะการผลิตและมูลค่าการส่งออกของอุตสาหกรรม อาหาร คาดว่า จะชะลอตัว จากการปรับฐานการสต็อกสินค้า ในส่วนการจำ หน่ายภ ย ใ น ป ร เ ท ศ มีแ น ว โ น้ม ช ล อ ตัว ล ง ต มสถานการณ์ทางการเมือง

1. การผลิต

ภาวะการผลิตกลุ่มสินค้าอาหารสำคัญ (ไม่รวมน้ำตาล) เดือนเมษายน 2553 ลดลงจากปีก่อนและเดือนก่อนร้อยละ 8.0 และ 20.1 แบ่งเป็น

กลุ่มสินค้าสำคัญที่อิงตลาดส่งออกเป็นหลัก เช่น กุ้งแช่เย็นแช่แข็ง ทูน่ากระป๋อง แป้งมันสำปะหลัง มีปริมาณการผลิตลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 9.5 19.1 และ 58.1 จากปริมาณคำสั่งซื้อของต่างประเทศที่ชะลอตัวลง

กลุ่มสินค้าสำคัญที่อิงตลาดภายในประเทศ เช่น น้ำมันปาล์ม และอาหารไก่ มีปริมาณการผลิตลดลงร้อยละ 1.4 และ 8.0 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน เนื่องจากวัตถุดิบมีปริมาณน้อยและมีราคาสูงขึ้น

2. การตลาด

1) ตลาดในประเทศ เดือนเมษายน 2553 สินค้าอาหารและเกษตร มีปริมาณการจำหน่ายลดลงจากเดือนก่อนและปีก่อนร้อยละ 15.9 และ 8.4จากการลดลงของการจับจ่ายใช้สอยหลังเทศกาลสงกรานต์ ประกอบกับความวิตกกังวลจากปัญหาการชุมนุมทางการเมืองที่ยืดเยื้อทำให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลง

2) ตลาดต่างประเทศ เดือนเมษายน 2553 มูลค่าการส่งออกโดยรวมของอุตสาหกรรมอาหารในรูปเงินบาทเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 26.5 แต่ลดลงจากเดือนก่อน ร้อยละ 18.7 จากการชะลอตัวลงของคำสั่งซื้อจากต่างประเทศโดยเฉพาะตลาดสหภาพยุโรป จากผลกระทบวิกฤตการเงินของประเทศกรีซ โปรตุเกส และสเปน ทำให้มูลค่าการส่งออกลดลงในเกือบทุกสินค้า ยกเว้นผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังที่ส่งออกได้เพิ่มขึ้นเล็กน้อย

3. แนวโน้ม

การผลิตและการส่งออกของอุตสาหกรรมอาหาร คาดว่า จะชะลอตัวลงจากการปรับฐานการสต็อกสินค้าและปัญหาวิกฤตการเงินของสหภาพยุโรปที่เริ่มจะกลับชะลอลงโดยเฉพาะกรีซ สำหรับการจำหน่ายสินค้าในประเทศ คาดว่า จะมีแนวโน้มชะลอตัว ตามความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของผู้บริโภคที่ปรับตัวลดลงตามสถานการณ์ทางการเมือ ง

2. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

“การผลิตเดือนมิถุนายนคาดว่าจะทรงตัว ส่วนใหญ่เป็นการสั่งซื้อล่วงหน้าและจะไม่กระทบต่อการผลิตมากนัก...”

1. การผลิต

ภาวะการผลิตในเดือนเมษายน 2553 ผลิตภัณฑ์สิ่งทอมีการผลิตลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยที่เส้นใยสิ่งทอฯ ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าทอ ลดลงร้อยละ 11.2, 29.2 และ 18.4 ตามลำดับ แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.8, 10.4 และ 4.5 ตามลำดับ ซึ่งเป็นการขยายตัวอีกครั้งหลังจากชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจโลก ประกอบกับแนวโน้มตลาดมีความต้องการมากขึ้นโดยเฉพาะกลุ่มสิ่งทอที่จะส่งเข้าไปยังเวียดนาม ซึ่งเป็นฐานการผลิตเครื่องนุ่งห่มที่สำคัญรองจากจีน

2. การจำหน่าย

การจำหน่ายในประเทศเดือนเมษายน 2553 ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน เนื่องจากมีวันหยุดหลายวันในช่วงเทศกาลสงกรานต์ และปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่เริ่มมีความรุนแรง อีกทั้งการส่งออกที่ลดลงถึงร้อยละ 21.7 ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผ้าผืน ด้ายฝ้าย ด้ายเส้นใยประดิษฐ์ เคหะสิ่งทอ และเส้นใยประดิษฐ์ ลดลงร้อยละ -19.9, -16.4,-28.1, -20.9, -34.1 และ -9.8 ตามลำดับ แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 โดยเฉพาะผ้าผืน ด้ายเส้นใยประดิษฐ์ และเส้นใยประดิษฐ์ เพิ่มขึ้นร้อยละ +6.0, +18.4 และ +44.0 ตามลำดับ ซึ่งการส่งออกเติบโตในตลาดอาเซียน(+ 9.6) และญี่ปุ่น(+ 7.5) โดยเฉพาะกลุ่มอาเซียน ได้รับอานิสงส์จากเขตเสรีการค้าอาเซียนซึ่งการขายสินค้าระหว่างกันมีการเก็บภาษีในระดับต่ำ ส่วนตลาดหลักอื่นๆ ส่งออกลดลง คือ สหรัฐอเมริกา (-6.4) และสหภาพยุโรป (-4.1)

3. แนวโน้ม

การผลิตผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เดือนมิถุนายน คาดว่าจะทรงตัว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการสั่งซื้อล่วงหน้า จะไม่กระทบต่อการผลิตมากนัก สำหรับการจำหน่ายรวมถึงการส่งออก คาดว่าจะลดลง เนื่องจากมีปัจจัยลบที่ผู้บริโภคมีกำลังซื้อลดลง สำหรับสถานการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองของไทยจะส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างประเทศที่จะชะลอการลงทุนและหันไปขยายฐานลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เวียดนาม ส่วนวิกฤติกรีซจะส่งผลกระทบไม่มากนัก เนื่องจากสิ่งทอไทยมีสัดส่วนที่ไม่มาก อย่างไรก็ดี ยังต้องระมัดระวังหากวิกฤติขยายวงไปสู่การถดถอยของเศรษฐกิจในประเทศกลุ่มสหภาพยุโรปซึ่งเป็นตลาดหลักส่งออกสิ่งทอของไทยตลาดหนึ่ง

3. อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า
  • บริษัทสหวิริยาสตีล อินดัสตรี มีแผนที่จะขยายกำลังการผลิตจากระดับปัจจุบัน (1.75 ล้านตัน) เป็น 2.7 ล้านตันในปี 2010 และ 2.9 ล้านตัน ในปี 2011 เนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเอเชียและการขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ซึ่งมีผลให้ความต้องการเหล็กแผ่นในภูมิภาคนี้เพิ่มมากขึ้น

1.การผลิต

ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมเหล็กในเดือนเมษายน 2553 มีอัตราการเปลี่ยนแปลงที่ลดลง ร้อยละ 19.98 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน เมื่อพิจารณาผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาว พบว่า ดัชนีผลผลิตลดลง ร้อยละ23.49 โดยเป็นผลมาจากการลดลงของเหล็กเส้นข้ออ้อย ลดลง ร้อยละ42.75 ลวดเหล็ก ลดลง ร้อยละ 25.81 เนื่องจากเป็นช่วงสงกรานต์ซึ่งทำให้จำนวนวันทำงานน้อยลงนอกจากนี้ผู้ประกอบการบางรายได้มีการปิดซ่อมบำรุง สำหรับเหล็กทรงแบน พบว่า ดัชนีผลผลิต ลดลง ร้อยละ 17.80 โดยเป็นผลมาจากการลดลงของเหล็กแผ่นเคลือบโครเมียม ลดลง ร้อยละ 20.34 เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน ลดลง ร้อยละ 19.65 และเหล็กแผ่นเคลือบดีบุกลดลง ร้อยละ 18.75

ขณะเดียวกันเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตเพิ่มขึ้นถึง ร้อยละ 40.87 โดยเหล็กทรงยาว เพิ่มขึ้น ร้อยละ 57.65 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นมากที่สุด ได้แก่ เหล็กเส้นกลม เพิ่มขึ้น ร้อยละ 105.04รองลงมาคือ ลวดเหล็กแรงดึงสูง เพิ่มขึ้น ร้อยละ 81.33 สำหรับเหล็กทรงแบนมีการผลิตที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 37.15 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยเหล็กแผ่นรีดเย็น เพิ่มขึ้น ร้อยละ 173.60 และเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี เพิ่มขึ้นร้อยละ 111.22

2.ราคาเหล็ก

การเปลี่ยนแปลงของราคาเหล็ก (FOB) โดยเฉลี่ยที่สำคัญในตลาด CIS ณ ท่าทะเลดำ (Black Sea) ในช่วงเดือนพฤษภาคม 2553 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนราคาโดยเฉลี่ยของผลิตภัณฑ์เหล็กที่สำคัญในกลุ่มเหล็กทรงแบนมีการปรับตัวที่สูงขึ้น คือ เหล็กแผ่นรีดร้อน เพิ่มขึ้นจาก 679 เป็น 715 เหรียญสหรัฐต่อตันเพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.30 เหล็กแผ่นรีดเย็น เพิ่มขึ้นจาก 783 เป็น 818 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.47 และเหล็กแท่งแบน เพิ่มขึ้นจาก 624 เป็น 639เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.36 สำหรับผลิตภัณฑ์เหล็กในกลุ่มเหล็กทรงยาวกลับมีราคาที่ลดลง คือ เหล็กแท่งเล็กบิลเล็ต ลดลงจาก 620 เป็น 535เหรียญสหรัฐต่อตัน ลดลง ร้อยละ 13.71 และเหล็กเส้น ลดลงจาก 653 เป็น 590 เหรียญสหรัฐต่อตัน ลดลง ร้อยละ 9.65 ทั้งนี้ เป็นผลมาจากราคาเศษเหล็กในตลาดโลกที่มีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังเป็นผลมาจากความต้องการบิลเลตลดลงเพราะได้รับผลกระทบจากฤดูฝนที่กำลังจะมาถึง ซึ่งจะส่งผลให้การก่อสร้างในหลายๆส่วนของภูมิภาคเอเชียต้องชะลอตัว แต่ในส่วนของผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบนที่มีราคาเพิ่มขึ้น เนื่องจากเหล็กในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการใช้แร่เหล็กเป็นวัตถุดิบซึ่งราคาแร่เหล็กมีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเศรษฐกิจโลกที่เริ่มฟื้นตัวจึงทำให้ความต้องการใช้ที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้กำลังการผลิตของเหมืองแร่เหล็กไม่สามารถขยายตัวให้ทันกับความต้องการใช้

3. แนวโน้ม

สถานการณ์เหล็กในเดือนพฤษภาคม 2553 คาดว่าจะมีทิศทางที่ทรงตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนโดยเหล็กทรงยาวมีแนวโน้มการผลิตที่ทรงตัวสำหรับเหล็กทรงแบนพบว่ามีแนวโน้มการผลิตเพิ่มขึ้นเนื่องจากอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน เครื่องใช้ไฟฟ้า มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น

4. อุตสาหกรรมยานยนต์

รถยนต์

อุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนเมษายน 2553 ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2552 ตามสภาพเศรษฐกิจภายในประเทศที่ฟื้นตัวจากปี 2552 อย่างไรก็ตาม หากเปรียบเทียบกับเดือนมีนาคม 2553 อุตสาหกรรมรถยนต์ชะลอตัวคาดว่าเป็นผลจากที่มีเทศกาลวันหยุดยาวหลายวัน ประกอบกับสถานการณ์ความไม่สงบทางการเมืองที่ส่งผลทางด้านจิตวิทยาต่อผู้บริโภค โดยมีข้อมูลสภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนเมษายน ดังนี้

  • การผลิตรถยนต์ จำนวน 105,110 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2552 ซึ่งมีการผลิต 53,644 คัน ร้อยละ 95.94 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของรถยนต์ทุกประเภท (รถยนต์นั่ง, รถยนต์กระบะ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์) แต่มีปริมาณการผลิตรถยนต์ลดลงจากเดือนเมษายน 2553 ร้อยละ 30.50
  • การจำหน่ายรถยนต์ จำนวน 57,128 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2552 ซึ่งมีการจำหน่าย 39,713 คัน ร้อยละ 43.85 แต่มีปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ลดลงจากเดือนมีนาคม 2553 ร้อยละ 9.42
  • การส่งออกรถยนต์ จำนวน 57,139 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2552 ซึ่งมีการส่งออก 28,663 คัน ร้อยละ 99.35 แต่มีปริมาณการส่งออกรถยนต์ลดลงจากเดือนมีนาคม 2553 ร้อยละ32.06
  • แนวโน้ม ภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนพฤษภาคม 2553 คาดว่าจะทรงตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเมษายน 2553 สำหรับการผลิตรถยนต์ในเดือนพฤษภาคม 2553 ประมาณการว่าจะมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 48 และส่งออกร้อยละ 52

รถจักรยานยนต์

อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนเมษายน 2553 ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2552 อย่างไรก็ตาม หากเปรียบเทียบกับเดือนมีนาคม 2553 อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ชะลอตัว คาดว่าเป็นผลจากที่มีวันหยุดนักขัตฤกษ์หลายวัน อีกทั้งสถานการณ์ความไม่สงบทางการเมืองภายในประเทศ โดยมีข้อมูลสภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนเมษายน ดังนี้

  • การผลิตรถจักรยานยนต์ จำนวน 139,880 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2552 ซึ่งมีการผลิต 114,356 คัน ร้อยละ 22.32 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นในรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว แต่มีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ลดลงจากเดือนมีนาคม 2553 ร้อยละ20.57
  • การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ จำนวน 134,516 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2552 ซึ่งมีการจำหน่าย 105,363 คัน ร้อยละ27.67 แต่มีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ลดลงจากเดือนมีนาคม 2553 ร้อยละ 20.60
  • การส่งออกรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) จำนวน 8,810 คันลดลงจากเดือนเมษายน 2552 ซึ่งมีการส่งออก 13,657 คัน ร้อยละ 35.49 อย่างไรก็ดี การส่งออกรถจักรยานยนต์ในลักษณะชิ้นส่วนครบชุด(CKD) เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.39 แต่มีปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์สำเร็จรูปลดลงจากเดือนมีนาคม 2553ร้อยละ 30.31
  • แนวโน้ม ภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนพฤษภาคม2553 คาดว่าจะทรงตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเมษายน 2553สำหรับการผลิตรถจักรยานยนต์ในเดือนพฤษภาคม 2553ประมาณการว่าจะมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 94และส่งออกร้อยละ 6
5.อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์

“อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์เริ่มมีแนวโน้มที่ดีขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัว แต่ยังไม่ขยายตัวมากเท่าที่ควร เนื่องจากปัญหาเสถียรภาพทางการเมืองสำหรับการส่งออกมีแนวโน้มที่จะขยายตัวได้ดี เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัว และตลาดส่งออกหลักของไทย เป็นประเทศกำลังพัฒนา ยังคงมีการก่อสร้างที่เพิ่มสูงขึ้นเพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ”

1.การผลิตและการจำหน่ายในประเทศ

ในเดือนเมษายน 2553 ปริมาณการผลิตและปริมาณการจำหน่ายในประเทศลดลง ร้อยละ 15.74 และ 17.52 ตามลำดับ เนื่องจากมีวันหยุดยาวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายในประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.00 และ 16.49 ตามลำดับ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจมีแนวโน้มดีขึ้น รัฐบาลเริ่มมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ทำให้ธุรกิจภาคเอกชนมีการขยายตัวด้านการลงทุนมากขึ้น

2.การส่งออก

มูลค่าการส่งออกปูนซีเมนต์ เดือนเมษายน 2553 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และเดือนเดียวกันของปีก่อน ลดลง ร้อยละ 16.03 และ22.19 ตามลำดับ แต่เมื่อมองในภาพรวม การส่งออกปูนซีเมนต์ยังคงขยายตัวได้ดีเนื่องจากเศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัว ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ของประเทศในแถบอาเซียน ซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักที่สำคัญของไทย ยังคงขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง

3.แนวโน้ม

การผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศในเดือนพฤษภาคม 2553 คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล อย่างไรก็ตาม ความกังวลต่อสถานการณ์ทางการเมือง เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคการลงทุนของภาคเอกชน และความคืบหน้าในการดำเนินโครงการลงทุนในสาธารณูปโภคพื้นฐานของรัฐบาลด้วย สำหรับในเดือนมิถุนายน 2553การผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศอาจจะชะลอตัวลงเนื่องจากเริ่มเข้าสู่ฤดูฝนด้วย

สำหรับการส่งออก เศรษฐกิจโลกยังคงมีแนวโน้มที่จะขยายตัวได้ดี เนื่องจากประเทศตลาดส่งออกหลักเป็นประเทศกำลังพัฒนา มีความจำเป็นต้องใช้ปูนซีเมนต์ในกิจกรรมการก่อสร้าง เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ

6. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
  • ประมาณการแนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า เดือนพฤษภาคม 2553 จะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.37 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของเครื่องปรับอากาศตู้เย็น และเครื่องคอมเพรสเซอร์
  • ประมาณการแนวโน้มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ยังคงมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นเช่นกันและปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 44.40 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนจากการผลิตเพื่อส่งออก HDD/IC เป็นหลัก

ตารางที่1 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์หลักที่มี

มูลค่าการส่งออกมากเป็นอันดับต้นๆ ในเดือน เม.ย. 2553

          เครื่องใช้ไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์                มูลค่า              %MoM            %YoY
          อุปกรณ์คอมพิวเตอร์                     1,200.32           - 31.85           8.17
          IC                                   490.00           - 36.39           4.94
          เครื่องปรับอากาศ                        235.42           - 20.22          14.33
          เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า                       126.85           - 21.98          30.67
          รวมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์        3,403.48           - 25.99          12.23

ที่มา กรมศุลกากร

1.การผลิต

ภาพรวมภาวะการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของเดือนเมษายน2553 ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ร้อยละ 12.65 เนื่องจากในเดือนเมษายนของทุกปี มีจำนวนวันทำการผลิตค่อนข้างน้อย แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 40.50

โดยอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ปรับตัวลดลง ร้อยละ 12.82 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนแต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.75 จากการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากการผลิตผลิตภัณฑ์กลุ่มเครื่องทำ ความเย็นเป็นหลัก เช่น เครื่องปรับอากาศคอมเพรสเซอร์ ตู้เย็น ทั้งนี้ เนื่องจากการขยายตัวจากการผลิตเพื่อการส่งออกได้แก่ ตลาดอียูและอาเซียน สำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อน ร้อยละ 12.63 แต่ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 43.37 เนื่องจากภาวะความต้องการเพิ่มสูงขึ้นจากภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัวและการจับจ่ายใช้สอยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทไอที และคอมซูเมอร์อิเล็กทรอนิกส์เริ่มมีความต้องการมากขึ้นตามความเชื่อมั่นที่เริ่มกลับมารวมถึงการออกสินค้าใหม่ที่ชะลอจากภาวะเศรษฐกิจที่หดตัว เริ่มมีจำหน่ายเพิ่มมากขึ้น เช่น iPad เป็นต้น นอกจากนี้ ประสิทธิภาพของอุปกรณ์ที่มีอยู่เดิมก็เริ่มพัฒนามากขึ้น

2. การตลาด

มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เดือนเมษายน 2553 ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ร้อยละ 25.99 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 12.23 โดยมีมูลค่าการส่งออกรวมคือ 3,403.48 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับมูลค่าการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ปรับตัวเพิ่มขึ้นในอัตราชะลอลงมากจากเดือนก่อน โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.63 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าส่วนใหญ่ยังคงขยายตัว ยกเว้นวงจรพิมพ์ เครื่องอุปกรณ์ใช้สำหรับโทรศัพท์ โทรเลข อุปกรณ์ อื่นๆและเครื่องโทรศัพท์ ซึ่งปรับตัวลดลงจากตลาดส่งออกที่มีอัตราหดตัวลง ได้แก่ ตลาดญี่ปุ่นและจีน เป็นต้น อย่างไรก็ดี วงจรพิมพ์มีการนำเข้าเพื่อนำมาใช้ประกอบในอุปกรณ์ต่างๆเพิ่มสูงขึ้นมากโดยเดือนเมษายน 2553 มีมูลค่านำเข้าส่วนประกอบดังกล่าวปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 70.31 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และในช่วง 4 เดือนแรกมีมูลค่าการนำเข้าแล้วกว่า 80% ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการที่จะมีการขยายตัวในรูปของผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปในอนาคตต่อไป

3. แนวโน้ม

ภาพรวมอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เดือนพฤษภาคม 2553 ยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จากแบบจำ ลองดัชนีชี้นำ ภาวะอุตสาหกรรมสาขาเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ที่จัดทำโดยสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ประมาณการแนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า จะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.37 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของเครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น และเครื่องคอมเพรสเซอร์

ส่วนการประมาณการอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ยังคงมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 44.40 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนจากการผลิตเพื่อส่งออก HDD/IC เป็นหลัก

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ