เศรษฐกิจโลก(1)
ภาพรวมเศรษฐกิจโลกในไตรมาส 2 ปี 2553 เศรษฐกิจหลาย ๆ ประเทศมีสัญญาณการฟื้นตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการส่งออกและการใช้จ่ายภาครัฐที่ขยายตัว แต่เศรษฐกิจบางประเทศยังคงมีปัญหาการว่างงานในระดับสูง โดยเฉพาะประเทศในสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น รวมถึงปัญหาหนี้สาธารณะของประเทศในกลุ่มยุโรป
ราคาน้ำมันดิบดูไบในไตรมาส 2 ปี 2553 อยู่ที่ 78.24 USD/Barrel เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2552 อยู่ที่ 58.09 USD/Barrel สำหรับสถานการณ์น้ำมันในตลาดโลกราคาน้ำมันยังคงแกว่งตัวขึ้นลงโดยล่าสุดราคาน้ำมันดิบ NYMEX ส่งมอบเดือนกันยายน ลดลง 1.3 USD/Barrel โดยมีราคาอยู่ที่ 80.70 USD/Barrel เป็นผลมาจากความวิตกเกี่ยวกับภาวะการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอตัว และอุปสงค์พลังงานที่ลดลงเนื่องจากตัวเลขการว่างงานยังคงอยู่ในระดับสูงในหลาย ๆ ประเทศ รวมทั้งสต๊อกน้ำมันดิบที่มีปริมาณลดลง
ภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในไตรมาส 2 ปี 2553 GDP ขยายตัวร้อยละ 3.2 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2552 ที่หดตัวร้อยละ 4.1 เป็นผลมาจากการปรับตัวดีขึ้นของการลงทุนและการใช้จ่ายภาครัฐการบริโภคภาคเอกชนไตรมาส 2 ปี 2553 ขยายตัวร้อยละ 1.6 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2552 ที่หดตัวร้อยละ 2.2 การลงทุนภาคเอกชนไตรมาส 2 ปี 2553 ขยายตัวร้อยละ 23.9 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2552 ที่หดตัวร้อยละ 28.5 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในไตรมาส 2 ปี 2553 อยู่ที่ระดับ 58.2 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2552 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 48.3 อัตราการใช้กำลังการผลิตภาคอุตสาหกรรม ไตรมาส 2 ปี 2553 อยู่ที่ร้อยละ 71.3 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2552 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 65.6 ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมไตรมาส 2 ปี 2553 อยู่ที่ระดับ 89.6 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2552 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 83.0
การส่งออกไตรมาส 2 ปี 2553 ขยายตัวร้อยละ 19.4 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2552 ที่หดตัวร้อยละ 18.3 การนำเข้าไตรมาส 2 ปี 2553 ขยายตัวร้อยละ 19.7 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี2552 ที่หดตัวร้อยละ 21.1
หมายเหตุ
(1) - ข้อมูลบางส่วนของบางประเทศล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาส 1 ปี 2553
- ที่มา www.eia.doe.gov www.thaioil.co.th
(2) - ที่มา www.worldbank.org www.imf.org www.bea.gov www.ceicdata.com
อัตราเงินเฟ้อไตรมาส 2 ปี 2553 อยู่ที่ร้อยละ 1.8 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2552 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ -1.2 เป็นผลมาจากราคาสินค้าในหมวดอาหารที่เพิ่มขึ้น อัตราการว่างงานไตรมาส 2 ปี 2553 อยู่ที่ร้อยละ 9.7 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2552 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 9.3
ทางด้านสถานการณ์การเงิน คณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2553 ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากร้อยละ 0.25 เป็นร้อยละ 0.75 เป็นการถอนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเนื่องจากตลาดการเงินและภาวะเศรษฐกิจในสหรัฐฯ เริ่มฟื้นตัว
อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจสหรัฐในไตรมาส 2 ปี 2553 ยังคงฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องโดยมีสัญญาณการฟื้นตัวจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคและการส่งออกที่ขยายตัวดีขึ้น แต่ยังได้รับแรงกดดันจากอัตราการว่างงานที่ยังคงอยู่ในระดับสูง
เศรษฐกิจประเทศจีนในไตรมาส 2 ปี 2553 ขยายตัวร้อยละ 10.3 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2552 ที่ขยายตัวร้อยละ 8.1 มูลค่าการค้าปลีกในไตรมาส 2 ปี 2553 ขยายตัวร้อยละ 18.5 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2552 ซึ่งขยายตัวร้อยละ 15.0 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในไตรมาส 2 ปี 2553 อยู่ที่ระดับ 107.8 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2552 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 100.9 ขณะที่การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรในไตรมาส 2 ปี 2553 ขยายตัวร้อยละ 25.8 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2552ที่ขยายตัวร้อยละ 32.3 ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมไตรมาส 2 ปี 2553 อยู่ที่ระดับ 57.7 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2552 อยู่ที่ระดับ 57.1
การส่งออกไตรมาส 2 ปี 2553 ขยายตัวร้อยละ 40.9 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2552 ที่หดตัวร้อยละ 23.4 การนำเข้า ไตรมาส 2 ปี 2553 ขยายตัวร้อยละ 44.5 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี2552 ที่หดตัวร้อยละ 20.2
ภาวะเงินเฟ้อของประเทศจีนในไตรมาส 2 ปี 2553 มีอัตราเงินเฟ้อโดยทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 2.9 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ของปี 2552 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ -1.5 อัตราการว่างงานในไตรมาส 2 ปี 2553อยู่ที่ร้อยละ 4.2 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2552 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 4.3
ทางด้านสถานการณ์การเงิน ธนาคารกลางจีน (People’s Bank of China) ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 5.31
อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจจีนในไตรมาส 2 ปี 2553 ยังคงขยายตัวแต่ชะลอตัวลงจากไตรมาสก่อนหน้า อันเป็นผลมาจากมาตรการของรัฐบาลประเทศจีนที่ต้องการลดความร้อนแรงทางเศรษฐกิจ และเพื่อป้องกันภาวะฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์
หมายเหตุ
(3) - ที่มา www.stats.gov.cn, www.pbc.gov.cn, www.ceicdata.com
เศรษฐกิจประเทศญี่ปุ่นในไตรมาส 1 ปี 2553 GDP ขยายตัวร้อยละ 4.2 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2552 ที่หดตัวร้อยละ 8.6 อันเป็นผลมาจากการฟื้นตัวของการส่งออก และเป็นผลมาจากฐานในช่วงเดียวกันของปีที่แล้วต่ำ การบริโภคภาคเอกชนในไตรมาส 1 ปี 2553 ขยายตัวร้อยละ 2.8 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2552 ที่หดตัวร้อยละ 3.7 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคไตรมาส 2 ปี 2553 อยู่ที่ระดับ 43.2 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2552 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 37.3 การลงทุนในภาคก่อสร้างไตรมาส 1 ปี 2553 หดตัวร้อยละ 18.2 หดตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2552 ที่หดตัวร้อยละ 0.3 ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมไตรมาส 2 ปี 2553 อยู่ที่ระดับ 95.6 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2552 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 79.0 เป็นผลมาจากภาคการส่งออกที่ขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง
การส่งออกไตรมาส 2 ปี 2553 ขยายตัวร้อยละ 32.8 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2552 ที่หดตัวร้อยละ 39.1 เป็นผลมาจากการฟื้นตัวของประเทศคู่ค้าหลัก ส่งผลให้กำลังซื้อของประเทศคู่ค้าเพิ่มสูงขึ้น ทำให้มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นต่อสินค้าส่งออกหลักของประเทศญี่ปุ่น เช่น ยานยนต์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าและสินค้าที่เป็นวัตถุดิบอุตสาหกรรม การนำเข้าไตรมาส 2 ปี 2553 ขยายตัวร้อยละ 8.1 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2552 ที่หดตัวร้อยละ 39.6
ภาวะเงินเฟ้อของประเทศญี่ปุ่นในไตรมาส 2 ปี 2553 มีอัตราเงินเฟ้อโดยทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ -0.9 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ของปี 2552 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ -0.1 เป็นผลมาจากปัญหากำลังซื้อภายในประเทศตกต่ำอันเนื่องมาจากปัญหาการว่างงาน อย่างไรก็ตามภาวะเงินฝืดเริ่มมีสัญญาณที่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า อัตราการว่างงานในไตรมาส 2 ปี 2553 อยู่ที่ร้อยละ 5.3 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2ปี 2552 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 5.2
ทางด้านสถานการณ์การเงิน มติที่ประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน ของธนาคารกลางญี่ปุ่น (Bank of Japan) เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2553 ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 0.1เนื่องจากเศรษฐกิจส่งสัญญาณฟื้นตัวระดับปานกลาง
อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจญี่ปุ่นในไตรมาส 2 ปี 2553 คาดว่ายังคงมีทิศทางการฟื้นตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัญหาด้านเงินฝืดของประเทศญี่ปุ่นเริ่มมีสัญญาณที่ดีขึ้น แต่ยังมีปัญหาการว่างงานที่กดดันการใช้จ่ายของภาคครัวเรือน
หมายเหตุ
(4) - ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาสที่ 1 ปี 2553
- www.cao.go.jp www.boj.or.jp www.stat.go.jp www.ceicdata.com
เศรษฐกิจสหภาพยุโรปในไตรมาส 1 ปี 2553 GDP ขยายตัวร้อยละ 0.6 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2552 ที่หดตัวร้อยละ 5.1 ในส่วนของ GDP ภาคอุตสาหกรรมในไตรมาส 1 ปี 2553 ขยายตัวร้อยละ 3.3 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2552 ที่หดตัวร้อยละ 16.1 เนื่องจากการส่งออกที่ขยายตัวการบริโภคไตรมาส 1 ปี 2553 ขยายตัวร้อยละ 0.4 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2552 ที่หดตัวร้อยละ 0.8 ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมในไตรมาส 1 ปี 2553 อยู่ที่ระดับ 93.6 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2552 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 90.6และในเดือนเมษายน และพฤษภาคม ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 95.1 และ 95.7 ตามลำดับ ซึ่งดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นทุกหมวดโดยเฉพาะในหมวดสินค้าบริโภคชนิดคงทน และหมวดสินค้าทุน
การส่งออกไตรมาส 1 ปี 2553 ขยายตัวร้อยละ 14.7 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2552 ที่หดตัวร้อยละ 19.0 สำหรับการส่งออกในเมษายน และพฤษภาคม ขยายตัวร้อยละ 19.5 และ 24.7ตามลำดับ เป็นผลมาจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก การนำเข้าไตรมาส 1 ปี 2553 ขยายตัวร้อยละ 9.2 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2552 ที่หดตัวร้อยละ 20.3 สำหรับมูลค่าการนำเข้าในเดือนเมษายน และพฤษภาคม ขยายตัวร้อยละ 21.24 และ 31.56 ตามลำดับ
ภาวะเงินเฟ้อทั่วไปของสหภาพยุโรปในไตรมาส 2 ปี 2553 อยู่ที่ร้อยละ 1.5 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2552 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 0.2 อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นเป็นผลจากราคาสินค้าในหมวดคมนาคมขนส่ง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบ ที่เพิ่มสูงขึ้น อัตราการว่างงานในไตรมาส 2 ปี 2553 อยู่ที่ร้อยละ 9.5 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2552 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 9.4
ทางด้านสถานการณ์การเงิน ธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank : ECB) ได้มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 1.0 (เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2553) เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับต่ำ และยังมีความเสี่ยงจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ชะลอตัว
อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจสหภาพยุโรปในไตรมาส 2 ปี 2553 คาดว่ามีสัญญาณการฟื้นตัวอย่างช้า ๆ การส่งออกเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของยุโรป อย่างไรก็ตามอัตราการว่างงานที่ยังคงอยู่ในระดับสูงยังกดดันให้ผู้บริโภคลดการใช้จ่าย
หมายเหตุ
(5) - ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาสที่ 1 ปี 2553
- ที่มา eurostat, www.ecb.int www.ceicdata.com
เศรษฐกิจของประเทศอุตสาหกรรมในเอเชีย เศรษฐกิจฮ่องกง(6)
ภาพรวมเศรษฐกิจฮ่องกงในไตรมาสที่ 1 ของปี 2553 ขยายตัวร้อยละ 8.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นจากในไตรมาสที่ 4 ของปี 2552 ที่ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 2.5 เศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้นนี้เป็นผลมาจากการขยายตัวของภาคการส่งออก และการบริโภคภาคเอกชนเป็นสำคัญ โดยภาคการส่งออกกลับมาขยายตัวในไตรมาสที่ 1 ของปี 2553 เป็นไตรมาสแรก หลังจากหดตัวต่อเนื่องมาตั้งแต่ไตรมาสที่ 4ของปี 2551 ขณะที่การบริโภคภาคเอกชนปรับขยายตัวร้อยละ 6.5 จากมาตรการสนับสนุนของภาครัฐรวมถึงการปรับตัวดีขึ้นของตลาดแรงงานที่มีอัตราการว่างงานหลังปรับฤดูกาลลดลงตั้งแต่ในช่วงกลางปี 2552 โดยในไตรมาสที่ 1 ของปี 2553 อัตราการว่างงานหลังจากปรับฤดูกาลอยู่ที่ร้อยละ 4.4
ในส่วนของภาคการผลิต ไตรมาสที่ 1 ของปี 2553 ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 84.4 ขยายตัวร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมกลับมาขยายตัวเป็นไตรมาสแรกหลังจากหดตัวต่อเนื่องมานานถึง 14 ไตรมาส จากการขยายตัวของสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่ม ยาสูบ อุตสาหกรรมโลหะ คอมพิวเตอร์ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์ด้านสายตา และอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องมือเครื่องจักร
ภาคการค้าระหว่างประเทศ การส่งออกของฮ่องกงในไตรมาสที่ 2 ของปี 2553 มีมูลค่าการส่งออกรวม 102,615 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 26.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นจากในไตรมาสที่ 1 ของปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 20.8 การส่งออกไปยังตลาดสำคัญอย่างจีน ที่มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 53.2 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดยังคงปรับตัวได้ดี สินค้าส่งออกสำคัญของฮ่องกง ได้แก่ สินค้าประเภทเครื่องจักรไฟฟ้า เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าฯ มีการส่งออกขยายตัวร้อยละ 33.3 ขณะที่การนำเข้าในไตรมาสที่ 2 ของปี 2553 มีมูลค่าการนำเข้ารวม 113,269 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 31.9ภาพรวมการค้าระหว่างประเทศในไตรมาสที่ 2 ของปี 2553 ฮ่องกงขาดดุลการค้า 10,654 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ภาคการเงิน ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2553 ดัชนีราคาผู้บริโภคขยายตัวร้อยละ 2.6 เพิ่มขึ้นจากในไตรมาสที่ 1 ของปี 2553 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 1.9
หมายเหตุ
(6) ที่มา : http://www.censtatd.gov.hk
http://www.ceicdata.com
http://www.gtis.com/gta
http://apecthai.org
ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาสที่ 1 ปี 2553
ภาพรวมเศรษฐกิจเกาหลีใต้ไตรมาสที่ 2 ของปี 2553 ขยายตัวร้อยละ 7.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวชะลอลงเล็กน้อยจากในไตรมาสที่ 1 ของปี 2553 ที่ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 8.1 จากการบริโภคภาคเอกชน และการส่งออกที่ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงจากในไตรมาสที่ 1 ของปี 2553 ขณะที่อัตราการว่างงานในเดือนมิถุนายน 2553 อยู่ที่ร้อยละ 3.5 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากในเดือนพฤษภาคม 2553 ซึ่งมีอัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 3.2 บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจเกาหลีใต้ที่ยังคงปรับตัวได้ดีอย่างต่อเนื่อง เริ่มมีการชะลอตัวลง
ในส่วนของภาคการผลิต ไตรมาสที่ 2 ของปี 2553 ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 140.7ขยายตัวร้อยละ 19.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 4
ในส่วนของการค้าระหว่างประเทศ การส่งออกของเกาหลีใต้ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2553 มีมูลค่าการส่งออกรวม 120,306 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 33.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 การส่งออกไปยังตลาดสำคัญอย่างจีน และสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 38.9และ 36.7 ตามลำดับ สินค้าส่งออกสำคัญได้แก่ สินค้าประเภทเครื่องจักรไฟฟ้า เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าฯ มีการส่งออกขยายตัวร้อยละ 25.5 ขณะที่การนำเข้าในไตรมาสที่ 2 ของปี 2553 มีมูลค่าการนำเข้า 105,864 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 43.1 ทำให้ภาพรวมการค้าระหว่างประเทศในไตรมาสที่ 2 ของปี 2553เกาหลีใต้เกินดุลการค้า 14,443 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ด้านการเงินการธนาคาร ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2553 ธนาคารกลางเกาหลีใต้มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับร้อยละ 2.0 ซึ่งเป็นระดับอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำสุดในประวัติการณ์ อย่างไรก็ตามในเดือนกรกฎาคม 2553 ธนาคารกลางเกาหลีใต้มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายมาอยู่ที่ร้อยละ 2.25 จากเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัว
ภาพรวมเศรษฐกิจสิงคโปร์ในไตรมาสที่ 2 ปี 2553 ขยายตัวร้อยละ 19.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นจากในไตรมาสที่ 1 ของปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 16.9 เศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 4 ขณะที่อัตราการว่างงานหลังปรับฤดูกาลในเดือนมิถุนายน 2553 อยู่ที่ร้อยละ 2.3ของกำลังแรงงานรวม เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากในเดือนมีนาคม 2553 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 2.2
หมายเหตุ
(7) ที่มา : http://www.ceicdata.com
http://www.gtis.com/gta
http://apecthai.org
http://www.fpo.go.th
(8) ที่มา : http://app.mti.gov.sg
http://www.news.gov.sg
http://www.ceicdata.com
ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาสที่ 1 ปี 2553
ในส่วนของภาคการผลิต ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2553 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 131.9 ขยายตัวสูงที่ร้อยละ 44.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นจากในไตรมาสที่ 1 ของปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 37.9 จากการผลิตสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่เพิ่มขึ้น
ภาคการค้าระหว่างประเทศ การส่งออกสินค้าของสิงคโปร์ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2553 มีมูลค่าการส่งออกรวม 78,390 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 38.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การส่งออกไปยังตลาดสำคัญอย่างมาเลเซีย ฮ่องกง และจีน ขยายตัวร้อยละ 57.4, 46.1 และ 54.4 ตามลำดับ โดยสินค้าส่งออกสำคัญได้แก่ สินค้าประเภทเครื่องจักรไฟฟ้า เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าฯ ขยายตัวสูงที่ร้อยละ 42.8 ขณะที่การนำเข้าในไตรมาสที่ 1 ของปี 2553 มีมูลค่าการนำเข้ารวม 71,249 ล้านเหรียฐสหรัฐฯขยายตัวร้อยละ 35.4 ทำให้ภาพรวมการค้าระหว่างประเทศในไตรมาสที่ 1 ของปี 2553 สิงคโปร์เกินดุลการค้า 7,141 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ด้านการเงิน ดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือนมิถุนายน 2553 ขยายตัวร้อยละ 2.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากค่าใช้จ่ายด้านการขนส่งที่เพิ่มขึ้นจากราคายานพาหนะ และราคาน้ำมันที่สูงขึ้นรวมถึงค่าใช้จ่ายในครัวเรือน และราคาอาหารที่ปรับตัวสูงขึ้น
ภาพรวมเศรษฐกิจอินโดนีเซียในไตรมาสที่ 2 ของปี 2553 ขยายตัวร้อยละ 6.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นจากในไตรมาสที่ 1 ของปี 2553 ที่ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 5.7 เศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นผลมาจากการขยายตัวของภาคการส่งออกเป็นสำคัญ ขณะที่การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนที่เป็นตัวสะท้อนอุปสงค์ภายในประเทศก็ปรับตัวได้ดีเช่นกัน
ในส่วนของภาคอุตสาหกรรม ไตรมาสที่ 2 ของปี 2553 ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ 133.0 ขยายตัวร้อยละ 4.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ภาคการค้าระหว่างประเทศ การส่งออกของอินโดนีเซียในไตรมาสที่ 1 ของปี 2553 มีมูลค่าการส่งออกรวม 35,537 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 54.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นจากในไตรมาสที่ 4 ของปี 2552 ที่ขยายตัวร้อยละ 23.9 การส่งออกไปยังตลาดส่งออกสำคัญต่างพากันขยายตัว อาทิเช่นตลาดญี่ปุ่น ตลาดสิงคโปร์ และตลาดจีน ที่ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 53.1, 72.1 และ 68.3 ตามลำดับ สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่สินค้าประเภทเชื้อเพลิงที่ได้จากแร่ น้ำมันแร่ฯ ที่ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 105.5 ขณะที่มูลค่าการนำเข้าในไตรมาสที่ 1 ของปี 2553 มีมูลค่าการนำเข้ารวม 29,961 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวสูงที่ร้อยละ 56.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นจากในไตรมาสที่ 4ของปี 2552 ที่ขยายตัวร้อยละ 3.6 เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับการส่งออก ภาพรวมการค้าระหว่างประเทศในไตรมาสที่ 1 ของปี 2553 อินโดนีเซียเกินดุลการค้า 5,575 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 41.7
หมายเหตุ
(9)ที่มา http://www.ceicdata,com
http://www.gtis.com/gta
ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาสที่ 1 ปี 2553
ภาคการเงิน ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2553 ดัชนีราคาผู้บริโภคขยายตัวร้อยละ 4.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นจากในไตรมาสที่ 1 ของปี 2553 ซึ่งขยายตัวร้อยละ 3.7 โดยในไตรมาสที่ 2 ของปี2553 นี้ ธนาคารกลางอินโดนีเซียยังคงมีมติรักษาอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับร้อยละ 6.5
ภาพรวมเศรษฐกิจมาเลเซียในไตรมาสที่ 1 ของปี 2553 ขยายตัวร้อยละ 10.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นจากในไตรมาสที่ 4 ของปี 2552 ที่ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 4.4 เศรษฐกิจปรับขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2 จากการส่งออก การลงทุน และการบริโภคภาคเอกชนที่ปรับขยายตัวดีเป็นสำคัญ
ในส่วนของภาคการผลิต ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 1 ของปี 2553 อยู่ที่ระดับ104.0 ขยายตัวร้อยละ 11.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2 โดยดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนพฤษภาคม 2553 ขยายตัวร้อยละ 12.6 จากผลผลิตสินค้าอุตสาหกรรมและ การใช้ไฟฟ้า ที่ขยายตัวร้อยละ 18.7 และ 11.5 ตามลำดับ
ในส่วนของการค้าระหว่างประเทศ การส่งออกของมาเลเซียในไตรมาสที่ 1 ของปี 2553 มีมูลค่าการส่งออกรวม 47,156 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 40.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นจากในไตรมาสที่ 4 ของปี 2552 ที่ขยายตัวร้อยละ 11.3 การส่งออกไปยังตลาดสำคัญมีมูลค่าการส่งออกขยายตัวในทุกตลาด โดยตลาดสำคัญอย่างจีนมูลค่าการส่งออกขยายตัวสูงถึงร้อยละ 81.4 ตลาดสิงคโปร์ขยายตัวร้อยละ 36.0 สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ สินค้าประเภทเครื่องจักรไฟฟ้า เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าฯ ขยายตัวสูงร้อยละ 47.3 ขณะที่การนำเข้าในไตรมาสที่ 1 ของปี 2553 มีมูลค่าการนำเข้า 35,590ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 45.5 เพิ่มขึ้นจากในไตรมาสที่ 4 ของปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 11.7เป็นไปในทิศทางเดียวกับการส่งออก ภาพรวมการค้าระหว่างประเทศในไตรมาสที่ 1 ของปี 2553 มาเลเซียเกินดุลการค้า 11,566 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ภาคการเงินการธนาคาร ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2553 ดัชนีราคาผู้บริโภคขยายตัวร้อยละ 1.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นจากในไตรมาสที่ 1 ของปี 2553 ซึ่งขยายตัวร้อยละ 1.3 ซึ่งเป็นไปตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ ขณะที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายในไตรมาสที่ 2 ของปี 2553 อยู่ที่ร้อยละ 2.5เพิ่มขึ้นจากในไตรมาสที่ 1 ของปี 2553 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 2.0 และในเดือนกรกฎาคม 2553 ธนาคารกลางมาเลเซียได้มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้งมาอยู่ที่ร้อยละ 2.75 ซึ่งปรับเพิ่มขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัว และทิศทางอัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มสูงขึ้น
หมายเหตุ
(10)ที่มา http://www.ceicdata,com
http://www.gtis.com/gta
ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาสที่ 1 ปี 2553
ภาพรวมเศรษฐกิจฟิลิปปินส์ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2553 ขยายตัวร้อยละ 7.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นจากในไตรมาสที่ 4 ของปี 2552 ที่ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 2.1 เศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้นเป็นผลมาจากการส่งออกที่ปรับตัวดีขึ้นเป็นสำคัญ
ในส่วนของภาคการผลิต ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 1 ของปี 2553 อยู่ที่ระดับ 136.3 ขยายตัวร้อยละ 29.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นจากในไตรมาสที่ 4 ของปี 2552 ที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.04 ขณะที่ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนพฤษภาคม ปี 2553 ขยายตัวร้อยละ 18.8
ในส่วนของการค้าระหว่างประเทศ การส่งออกของฟิลิปปินส์ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2553 มีมูลค่าการส่งออกรวม 11,330 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 43.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นจากในไตรมาสที่ 4 ของปี 2552 ที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 5.1 การส่งออกไปยังตลาดสำคัญปรับตัวดีโดยตลาดส่งออกสำคัญอย่างญี่ปุ่น และสหรัฐฯ ขยายตัวสูงที่ร้อยละ 52.8 และ 31.5 ตามลำดับ สินค้าส่งออกสำคัญอย่าง เครื่องจักรไฟฟ้า เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าฯ มีมูลค่าการส่งออกขยายตัวสูงถึงร้อยละ 71.8 ขณะที่การนำเข้าในไตรมาสที่ 1 ของปี 2553 มีมูลค่าการนำเข้ารวม 12,734 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 32.7 เพิ่มขึ้นจากในไตรมาสที่ 4 ของปี 2552 ที่หดตัวร้อยละ 0.3 เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับการส่งออก ภาพรวมการค้าระหว่างประเทศในไตรมาสที่ 1 ของปี 2553 ฟิลิปปินส์ขาดดุลการค้า 1,404 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขณะที่การส่งออกในเดือนพฤษภาคม 2553 ขยายตัวร้อยละ 37.3 จากการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ปรับขยายตัวเป็นสำคัญ
ภาคการเงิน ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2553 ดัชนีราคาผู้บริโภคขยายตัวร้อยละ 4.2 ลดลงจากในไตรมาสที่ 1 ซึ่งขยายตัวร้อยละ 4.3 โดยธนาคารกลางฟิลิปปินส์ยังคงมีมติรักษาอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 4.0 ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2553
หมายเหตุ
(11) ที่มา http://www.fpo.go.th
http://www.ceicdata,com
http://www.gtis.com/gta
ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาสที่ 1 ปี 2553
ภาพรวมเศรษฐกิจอินเดียในไตรมาสที่ 1 ของปี 2553 ขยายตัวร้อยละ 8.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นจากในไตรมาสที่ 4 ของปี 2552 ที่ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 6.5 เศรษฐกิจที่ปรับขยายตัวอย่างต่อเนื่องเป็นผลมาจากการปรับขยายตัวของภาคการลงทุน และการส่งออกเป็นสำคัญ
ด้านภาคการผลิต ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2553 ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 332.4 ขยายตัวร้อยละ 15.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นจากในไตรมาสที่ 4 ของปี 2552 ที่ขยายตัวร้อยละ 13.4 โดยดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนพฤษภาคม 2553 ขยายตัวร้อยละ 11.5ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 แสดงถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอินเดีย
ภาคการค้าระหว่างประเทศ ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2553 อินเดียมีมูลค่าการส่งออกรวม 50,777 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 32.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่การนำเข้าในไตรมาสที่ 2 ของปี 2553 มีมูลค่าการนำเข้า 83,044 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 34.2 ทำให้ภาพรวมการค้าระหว่างประเทศในไตรมาสที่ 2 ของปี 2553 อินเดียขาดดุลการค้า 32,267 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ด้านการเงินการธนาคาร อัตราดอกเบี้ยนโยบายในไตรมาสที่ 2 ของปี 2553 อยู่ที่ร้อยละ 5.25 เพิ่มขึ้นจากในไตรมาสที่ 1 ของปี 2553 ที่อยู่ที่ร้อยละ 5.0 อินเดียมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรจากความกังวลเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในวันที่ 2 กรกฎาคม 2553 ธนาคารกลางอินเดียปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายมาอยู่ที่ร้อยละ 5.50 และปรับขึ้นอีกครั้งในวันที่ 27 กรกฎาคม 2553 มาอยู่ที่ร้อยละ 5.75 โดยดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือนมิถุนายน 2553ขยายตัวร้อยละ 10.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 10.2
หมายเหตุ
(12) ที่มา http://www.rbi.org.in
http://commerce.nic.in
http://www.exim.go.th
http://www.ceicdata.com
ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาสที่ 1 ปี 2553
สรุปเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจต่างประเทศที่สำคัญ
ประเทศ ปี 2551 ปี 2552 ปี 2553 ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 ทั้งปี ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 GDP (%yoy) สหรัฐอเมริกา 0.5 -3.8 -4.1 -2.7 0.2 -2.6 2.4 3.2 สหภาพยุโรป 0.5 -5.1 -4.9 -4.1 -2.1 -4.1 0.6 n.a. ญี่ปุ่น -1.2 -8.6 -6.0 -4.9 -1.4 -5.2 4.2 n.a. จีน 9.3 6.5 8.1 9.6 11.3 8.9 11.9 10.3 ฮ่องกง 2.4 -7.7 -3.8 -2.4 2.5 -2.8 2.8 n.a. เกาหลีใต้ 2.5 -4.3 -2.2 1.0 6.0 0.1 8.1 7.2 สิงค์โปร์ 1.9 -8.9 -1.7 1.8 3.8 -1.3 15.5 19.3 อินโดนีเซีย 6.0 4.5 4.1 4.2 5.4 4.6 5.7 6.2 มาเลเซีย 4.8 -6.2 -3.9 -1.2 4.4 -1.7 10.1 n.a. ฟิลิปปินส์ 3.7 0.5 1.2 0.2 2.1 1.0 7.3 n.a. อินเดีย 7.5 5.8 6.0 8.6 6.5 6.7 8.6 n.a. ประเทศ ปี 2551 ปี 2552 ปี 2553 ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 ทั้งปี ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 MPI (YoY%) สหรัฐอเมริกา -4.5 -14.5 -14.8 -10.2 -4.0 -10.9 3.3 7.9 สหภาพยุโรป -2.5 -18.0 -17.8 -14.7 -7.5 -14.5 3.4 n.a. ญี่ปุ่น -3.3 -32.3 -27.0 -20.5 -5.1 -21.2 27.3 21.0 จีน -12.9 -12.6 -2.1 15.3 52.3 13.3 13.9 1.0 ฮ่องกง -6.6 -10.1 -9.5 -8.6 -5.0 -8.3 0.4 n.a. เกาหลีใต้ 3.8 -15.7 -6.2 4.3 16.2 -0.4 25.8 19.5 สิงค์โปร์ -3.7 -23.8 -0.6 7.5 2.5 -3.6 37.9 44.6 อินโดนีเซีย 3.1 0.2 0.6 0.1 4.5 1.3 4.3 4.3 มาเลเซีย 0.9 -14.6 -10.8 -7.0 2.4 -7.5 11.1 n.a. ฟิลิปปินส์ 4.4 -21.5 -17.4 -14.7 0.04 -13.4 29.1 n.a. อินเดีย 4.4 0.5 3.8 9.0 13.4 6.7 15.0 n.a. ที่มา : CEIC
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--