สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 2 (เมษายน — มิถุนายน) พ.ศ. 2553(อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์)

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday August 26, 2010 15:53 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ในช่วงไตรมาสที่ 2 อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์อยู่ในภาวะที่ดีขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากได้รับอานิ

สงค์จากอุตสาหกรรมหลักในประเทศที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น จึงส่งผลให้อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับเป็นวัตถุดิบในการผลิตนั้นเพิ่มขึ้ใทิศทางเดียวกัน แต่ทั้งนี้ ความไม่แน่นอนทางการเมืองยังคงเป็นปัจจัยที่อาจจะก่อให้เกิดผลกระทบกับอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่ใช้เคมีภัณฑ์เป็นวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์เคมีพื้นฐานที่มีการนำมาใช้เป็นวัตถุดิบหรือส่วนประกอบในการผลิตผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่สำคัญได้แก่ โซดาไฟ คลอรีน ไฮโดรคลอริก(กรดเกลือ) และกรดซัลฟูริก ซึ่งสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ได้สำรวจข้อมูลการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์โซดาไฟ โดยในไตรมาสที่ 1 ปริมาณการผลิต และการจำหน่ายมีปริมาณลดลง ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

การผลิตโซดาไฟ

การผลิตโซดาไฟในไตรมาสที่ 2 ปี 2553 มีปริมาณ 290,930.3 ตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 38.46 และการจำหน่ายโซดาไฟในไตรมาสที่ 2 ปี 2553 มีปริมาณ 209,016.7 ตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 15.86 การผลิตและการจำหน่ายเพิ่มขึ้นเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ดีขึ้น

หมายเหตุ : โซดาไฟเป็นวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเรา และยังใช้ประโยชน์ได้อีกมากมาย เช่น ในการผลิตเยื่อและกระดาษ สบู่และผลิตภัณฑ์ซักฟอก เคมีภัณฑ์ การทำความสะอาด โรงกลั่นน้ำมัน การใช้งานทางอุตสาหกรรมโลหะอุตสาหกรรมอาหาร เส้นใยเรยอน สิ่งทอ และอื่น ๆ

การตลาด

การนำเข้า

ไตรมาส 2 ปี 2553 การนำเข้าเคมีภัณฑ์อนินทรีย์มีมูลค่า 10,739 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.98 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 37.60 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเคมีภัณฑ์อินทรีย์มีมูลค่าการนำเข้า 27,989 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.24 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วและเพิ่มขึ้นร้อยละ 41.02 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อุตสาหกรรมปุ๋ยเคมีมีมูลค่านำเข้า 17,498ล้านบาท ลดลงร้อยละ 1.58 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.03 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อุตสาหกรรมสีมีการนำเข้า 10,297 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 12.26 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.97 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากช่วงนี้ถือว่าเป็นช่วงที่ตลาดสีชะลอตัวมากที่สุด เพราะว่าอยู่ในช่วงฤดูฝนซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติของทุกปี ผู้ประกอบการสีจึงหันมาทำกิจกรรมการตลาดเพื่อเร่งการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค ที่อยู่ในช่วงชะลอตัว และเป็นการสร้างยอดขายอีกด้วย และเครื่องสำอางมีมูลค่านำเข้า 6,637 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 3.64 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.64 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

การส่งออก

ไตรมาส 2 ปี 2553 การส่งออกเคมีภัณฑ์อนินทรีย์มีมูค่า 3,796 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ9.96 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.82 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์อินทรีย์มีมูลค่าส่งออก 10,581 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.17 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.75 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อุตสาหกรรมปุ๋ยเคมีมีมูลค่าการส่งออก 709 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.77 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่ลดลงร้อยละ 7.08 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อุตสาหกรรมสีมีมูลค่าส่งออก 3,236 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.13 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 35.06 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนเครื่องสำอางหรือสิ่งปรุงแต่งสำหรับประทินร่างกายมีมูลค่าส่งออก 12,416 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.11 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 56.27 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ที่มา : ข้อมูลจากกรมศุลกากร

หมายเหตุ : * เคมีภัณฑ์อินทรีย์ไม่รวมปิโตรเคมีขั้นต้นและขั้นกลาง

แนวโน้ม

แนวโน้มของอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ในไตรมาสที่ 3 ปี 2553 ทั้งการผลิต การจำหน่ายนำเข้าและส่งออกน่าจะดีขึ้น เนื่องจากจากสภาวะเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ตัวเลขทางเศรษฐกิจดีขึ้น มีมาตราการทางด้านการเงินออกมากระตุ้นภาคอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง ปริมาณการส่งออกที่ดีขึ้นรวมทั้ง การเบิกจ่ายงบโครงการไทยเข้มแข็งของรัฐบาทที่มีเป้าหมายอยู่ 85 % ซึ่งเท่ากับ 278,000 ล้านบาทในปี 2553 น่าจะเป็นตัวกระตุ้นการลงทุนเพิ่มขึ้นในครึ่งปีหลังของปี 2553

ในส่วนของภาครัฐนั้น สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมได้ร่วมกับ UNIDO ได้จัดทำ

โครงการ Trade Capacity Building in Thailand through Upgrading Chemical Testing Laboratories to Meet REACH Requirements of EU ซึ่งผลของโครงการ ฯทำให้ห้องปฎิบัติการทดสอบทั้ง 3 แห่งได้แก่ ศูนย์วิเคราะห์ทดสอบสิ่งทอ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ห้องปฏิบัติการทดสอบโครงการเคมี กรมวิทยาศาสตร์บริการ และ ห้องปฏิบัติการทดสอบ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย มีศักยภาพในการทดสอบสารเคมีตามกฎระเบียบของ REACH และขณะนี้มีลูกค้ามาใช้บริการมากขึ้นนอกจากนี้ยังมี โครงการ REACH Information Center ซึ่งผลที่ได้รับคือ มีเว็บไซด์ให้สำหรับผู้ประกอบการและผู้ที่สนใจเกี่ยวกับกฎระเบียบ REACH สามารถนำไปใช้ประโยชน์ (www.reachtalk.net) มีการเผยแพร่ความรู้อย่างต่อเนื่องโดยการจัดอบรมสัมมนา และมีการจัดทำจดหมายข่าว Newsletter publicationเดือนละ 2 ฉบับ ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากต่อผู้ประกอบการในการค้นหาข้อมูล และ update ข่าวสารเกี่ยวกับกฎระเบียบต่าง ๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ