1. การผลิตและการจำหน่ายในประเทศ
1.1 การผลิต
การผลิตปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 2 ปี 2553 มีปริมาณการผลิตปูนเม็ด 10.18 ล้านตันเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.11 และ 7.05 ตามลำดับ ส่วนการผลิตซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) มีจำนวน 9.17 ล้านตัน เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ลดลงร้อยละ 3.98 แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.63 และในช่วงครึ่งแรก ปี 2553 มีปริมาณการผลิตปูนเม็ด 20.15 ล้านตัน ส่วนการผลิตซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) มีจำนวน 18.72 ล้านตัน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.81 และ 10.18 ตามลำดับ
1.2 การจำหน่ายในประเทศ
การจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ ไตรมาสที่ 2 ปี 2553 มีปริมาณการจำหน่ายรวม 7.57 ล้านตัน แบ่งออกเป็นการจำหน่ายปูนเม็ด 0.29 ล้านตัน และซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) 7.28 ล้านตัน โดยเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ปริมาณการจำหน่ายในประเทศรวม ลดลงร้อยละ 3.93 แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.70 สำหรับในช่วงครึ่งแรก ปี 2553 มีปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ รวม 15.45 ล้านตันเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.96
การผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศในไตรมาสที่ 2 ปี 2553 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนชะลอตัวลง เนื่องจากปัญหาเสถียรภาพทางการเมือง ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในการลงทุนของภาคเอกชน ทำให้ชะลอการลงทุนออกไปอีก ทั้งทางด้านผู้บริโภคก็ระมัดระวังในการใช้จ่ายมากขึ้น และส่วนการเบิกจ่ายงบลงทุนในโครงการสาธารณูปโภคและการผลักดันโครงการลงทุนใหม่ๆ ของภาครัฐ มีความล่าช้าออกไปอีก ประกอบกับในไตรมาสที่ 2 เริ่มเข้าสู่ช่วงฤดูฝน เป็นอุปสรรคในก่อสร้างทำให้ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ลดลงตามไปด้วย แต่เมื่อพิจารณาภาพรวมแล้ว ในช่วงครึ่งแรก ปี 2553 การผลิต และการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ ยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากการขยายตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ตามภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มดีขึ้น แม้จะได้รับผลกระทบจากปัญหาภาวะการเมืองในประเทศ ส่งผลให้การผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ ชะลอตัวลงเล็กน้อย ในไตรมาสที่ 2 ปัจจัยสำคัญที่มีส่วนช่วยในการเติบโตของอุตสาหกรรม คือ การเร่งการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาล ซึ่งจะมีส่วนช่วยผลักดันให้มีการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศมากขึ้น
2. การส่งออกและการนำเข้า
2.1 การส่งออก
การส่งออกปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 2 ปี 2553 มีปริมาณรวม 3.75 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 5,766.45 ล้านบาท แบ่งออกเป็นการส่งออกปูนเม็ด จำนวน 2.33 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 2,554.39 ล้านบาท และซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) จำนวน 1.42 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 3,212.06 ล้านบาท โดยเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ปริมาณและมูลค่าการส่งออกรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.74 และ 12.73 ตามลำดับ แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปริมาณและมูลค่าการส่งออกรวม ลดลงร้อยละ 13.59 และ 3.80 ตามลำดับ
สำหรับการส่งออกปูนซีเมนต์ในช่วงครึ่งแรก ปี 2553 มีปริมาณการส่งออกรวม 7.40 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 10,881.72 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปริมาณการส่งออกรวมลดลงร้อยละ 2.25แต่มูลค่าการส่งออกรวมยังเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 2.50 เนื่องจากผู้ประกอบการสามารถขายปูนซีเมนต์ได้ในราคาที่สูงขึ้น อันเป็นผลจากคุณภาพของปูนซีเมนต์ไทยเป็นที่ยอมรับในตลาดโลก
ในภาพรวมการส่งออกปูนซีเมนต์ของไทยยังขยายตัวได้ดี ถึงแม้การส่งออกไปตลาดหลักที่สำคัญอย่างสหรัฐอเมริกาจะลดลงมากในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ในขณะที่การส่งออกไปยุโรปก็ลดน้อยลงมากเนื่องจากปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจโลก ในปัจจุบันตลาดส่งออกหลักของไทย คือ ประเทศในแถบอาเซียน คิดเป็นร้อยละ 60 ของการส่งออกทั้งหมด เนื่องจากเป็นประเทศกำลังพัฒนา มีกิจกรรมการก่อสร้างสูง เพื่อรองรับการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจ และอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ของไทยยังมีโอกาสขยายไปยังตลาดใหม่ๆ เช่น ประเทศในแถบตะวันออกกลาง และแอฟริกา เพิ่มขึ้นอีกด้วย
2.2 การนำเข้า
การนำเข้าปูนซีเมนต์ไตรมาสที่ 2 ปี 2553 มีปริมาณรวม 2,393.99 ตัน คิดเป็นมูลค่า 33.77 ล้านบาท โดยเป็นการนำเข้าปูนเม็ด จำนวน 62.61 ตัน คิดเป็นมูลค่า 1.07 ล้านบาท ปูนซีเมนต์(ไม่รวมปูนเม็ด) จำนวน 2,331.38 ตัน คิดเป็นมูลค่า 32.70 ล้านบาท เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ปริมาณและมูลค่าการนำเข้ารวมลดลงร้อยละ 25.66 และ 25.99 ตามลำดับ แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปริมาณและมูลค่าการนำเข้ารวมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 47.03 และ 59.22 ตามลำดับ
สำหรับการนำเข้าปูนซีเมนต์ในช่วงครึ่งแรก ปี 2553 มีปริมาณการนำเข้ารวม 5,614.41ตัน คิดเป็นมูลค่า 79.40 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปริมาณและมูลค่าการนำเข้ารวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 116.66 และ 132.23 ตามลำดับ ทั้งนี้การนำเข้าส่วนใหญ่จะเป็นอะลูมินัสซีเมนต์ ซึ่งไม่สามารถผลิตได้ในประเทศ และบางส่วนเป็นการนำเข้าซีเมนต์ปอร์ตแลนด์คุณภาพสูงเพื่อใช้ในโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ที่ระบุคุณสมบัติของวัสดุที่นำมาก่อสร้าง ตลาดนำเข้าที่สำคัญ คือ จีน เนเธอร์แลนด์อินเดีย และญี่ปุ่น
3. สรุป
การผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศในไตรมาสที่ 2 ปี 2553 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนลดลง เนื่องจากปัญหาเสถียรภาพทางการเมือง ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในการลงทุนของภาคเอกชน ทำให้ชะลอการลงทุนออกไป ทั้งทางด้านผู้บริโภคเองเมื่อต้องเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยก็ระมัดระวังในการใช้จ่ายมากขึ้น และส่วนการเบิกจ่ายงบลงทุนในโครงการสาธารณูปโภคและการผลักดันโครงการลงทุนใหม่ๆ ของภาครัฐ มีความล่าช้าออกไปอีก ประกอบกับในไตรมาสที่ 2 เริ่มเข้าสู่ช่วงฤดูฝน เป็นอุปสรรคในก่อสร้าง ทำให้ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ลดลงตามไปด้วย แต่เมื่อมองในภาพรวม ในช่วงครึ่งแรก ปี 2553 การผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นจากการขยายตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ ตามภาวะเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ปัจจัยสำคัญที่มีส่วนช่วยในการเติบโตของอุตสาหกรรม คือ การเรง่ การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาล ซึ่งจะมีส่วนชว่ ยผลักดันใหมี้การใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศมากขึ้น
สำหรับแนวโน้มการผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศในไตรมาสที่ 3 ปี 2553คาดว่าจะชะลอตัวลงเล็กน้อย ซึ่งในไตรมาส 3 นั้น ถือเป็นช่วงที่มีการใช้ปูนซีเมนต์ต่ำสุดของปี เนื่องจากเริ่มเข้าสู่ช่วงฤดูฝน อาจทำให้การก่อสร้างชะลอตัว และจะกลับมาฟื้นตัวอีกครั้งในช่วงไตรมาส 4
การส่งออกปูนซีเมนต์ มีปริมาณการส่งออกรวมลดลง แต่มูลค่าการส่งออกรวมเพิ่มขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากคุณภาพของปูนซีเมนต์ไทยเป็นที่ยอมรับในตลาดโลก ทำให้ผู้ประกอบการสามารถขายปูนซีเมนต์ได้ในราคาที่สูงขึ้น ในภาพรวมการส่งออกปูนซีเมนต์ของไทยยังขยายตัวได้ดี ถึงแม้การส่งออกไปตลาดหลักที่สำคัญอย่างสหรัฐอเมริกาจะลดลงมากในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา แต่ตลาดส่งออกหลักของไทย คือ ประเทศในแถบอาเซียน ยังคงขยายตัวได้ดี เนื่องจากเป็นประเทศกำลังพัฒนา มีกิจกรรมการก่อสร้างสูง เพื่อรองรับการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจ นอกจากนี้อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ของไทยยังมีโอกาสขยายไปยังตลาดใหม่ๆ เช่น ประเทศในแถบตะวันออกกลาง และแอฟริกา เพิ่มขึ้นอีกด้วย
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--