ดัชนีอุตฯ ส.ค.พุ่ง 8.67% ใช้กำลังการผลิต 64.03%

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday September 30, 2010 11:24 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

สศอ.เผยการผลิต Hard disk drive เริ่มปรับฐานชะลอลงเล็กน้อย ขณะที่การผลิตยานยนต์-เครื่องปรับอากาศ —แปรรูปสัตว์น้ำ-การ ผลิตสบู่และผงซักฟอก ไปได้สวย หนุนดัชนีอุตฯส.ค.พุ่ง 8.67% กำลังการผลิต 64.03%

นายสมชาย หาญหิรัญ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม(สศอ.) เปิดเผยว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม(MPI) เดือน สิงหาคม 2553 ขยายตัวเพิ่มขึ้น 8.67% เมี่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ถือเป็นการขยายตัวตัวอย่างต่อเนื่อง เป็นเดือนที่ 10 ติดต่อกัน หลังจาก เผชิญภาวะวิกฤตเศรษฐกิจโลก เมื่อกลางปี 2551 ต่อเนื่องถึงปี 2552 ที่ผ่านมา โดยอัตราการใช้กำลังการผลิตภาพรวมเฉลี่ย 64.03% อุตสาหกรรมที่ ส่งผลต่อการขยายตัวของ MPI เดือน ส.ค. เมื่อเทียบกับเดีอนเดียวกันของปีก่อน ที่สำคัญได้แก่ การผลิตรถยนต์ การผลิตเครื่องปรับอากาศ การแปร รูปสัตว์น้ำ เป็นต้น ขณะที่การผลิต Hard disk drive มีการชะลอลงเล็กน้อย

การผลิตรถยนต์ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตและจำหน่ายรถยนต์เพิ่มขึ้น 44.9% และ 39.6%ตามลำดับ ซึ่งเป็นผลมา จากเศรษฐกิจของโลกและของประเทศที่ปรับตัวดีขึ้น สำหรับตลาดภายในประเทศได้รับผลดีจากค่ายรถยนต์ต่างมีการเปิดตัวรถรุ่นใหม่ออกมาเสนอเพื่อ เป็นทางเลือกให้ผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งราคาพืชผลทางการเกษตรปรับตัวได้ดีจึงส่งผลให้เกษตรกรมีกำลังซื้อรถยนต์เพิ่มขึ้น และมีความเชื่อมั่นใน ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจในประเทศ ขณะที่ตลาดส่งออกผู้ประกอบการมีการปรับแผนการผลิต เพื่อรองรับตลาดส่งออกที่เพิ่มมากขึ้น

การผลิตเครื่องปรับอากาศ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้น 62.6%และ47.4% ตามลำดับ เนื่องจาก เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวผู้ประกอบการได้ส่งสินค้ารุ่นใหม่ออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นพัฒนาสินค้าที่มีคุณภาพประหยัดพลังงาน และรักษาสิ่งแวดล้อมเป็น สำคัญ โดยอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องปรับอากาศของประเทศไทยมีขีดความสามารถที่สูงและได้มาตรฐาน สามารถผลิตเครื่องปรับอากาศเป็นไปตามข้อ กำหนดของประเทศคู่ค้า โดยเฉพาะตลาดยักษ์ใหญ่สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป หรือ อียู ที่มีการออกมาตรการเพื่อปกป้องผู้บริโภคมากมาย จนกลาย เป็นเงื่อนไขสำคัญที่ต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับมาตรการเหล่านั้น

การแปรรูปสัตว์น้ำ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้น 3.4%และ7.4% เนื่องจากผลิตภัณฑ์หลักในกลุ่มปลาทู น่ากระป๋อง ปลาซาดีนกระป๋อง กุ้งแช่แข็ง และปลาแช่แข็ง มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องตามทิศทางการฟื้นตัวของเสรษฐกิจโลก รวมทั้งผู้ประกอบการมี ช่องทางการขยายตลาดส่งออกที่เพิ่มขึ้น เช่น รัสเซีย เป็นต้น

การผลิตสบู่และผงซักฟอก เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้น 11.8%และ4.9% เนื่องจากผู้ผลิตมีการพัฒนา สินค้าใหม่เพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง และมีกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อการโปรโมทผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายเรียกความสนใจต่อผู้ใช้ สินค้า รวมทั้งเป็นการขยายฐานการตลาดกลยุทธ์ส่งเสริมการขายอาจมีวัตถุประสงค์หนึ่งคือช่วงชิงส่วนแบ่งทางการตลาดให้เพิ่มขึ้น และสร้างฐานลูกค้า กลุ่มใหม่จากผลิตภัณฑ์ที่นำเสนอออกมา จึงเป็นเหตุให้ยอดการผลิตและจำหน่ายสูงขึ้นดังกล่าว และคาดว่าสินค้าอุปโภคบริโภคกลุ่มนี้จะมีความคึกคักต่อ เนื่องรับเทศกาลส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่

ขณะที่ การผลิต Hard disk drive เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตและการจำหน่ายลดลง 4.7%และ 1.1% ซึ่งเป็นการ ปรับฐานการผลิตและจำหน่าย เพื่อให้สอดคล้องกับสต๊อกสินค้า อีกประการหนึ่งเนื่องมาจากการผลิตและจำหน่ายสินค้ากลุ่มนี้ ผู้ประกอบการจะวางแผน เป็นรายไตรมาส โดยปกติเดือนที่ 1 และ 2 ของไตรมาสการผลิตและจำหน่ายจะไม่เร่งมากนัก และปริมาณสต๊อกยังอยู่ในระดับสูง ซึ่งจะเร่งผลิตและ ระบายสินค้าออกไปในเดือนที่ 3 ของไตรมาส จึงคาดว่าในเดือนกันยายน ยอดการผลิตและจำหน่ายจะกลับมาขยายตัวอีกครั้ง และในไตรมาสสุดท้าย ของปี

นอกจากนี้ นายสมชาย ยังได้สรุปภาพรวมภาพรวม MPI เดือนสิงหาคม 2553 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ดังนี้

ดัชนีผลผลิต (มูลค่าเพิ่ม) อยู่ที่ระดับ 184.14 เพิ่มขึ้น 8.67% จากระดับ 169.45 ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 186.68 เพิ่มขึ้น 9.26% จากระดับ 170.86 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง 190.29 เพิ่มขึ้น 13.86% จากระดับ 167.12 ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 121.00 เพิ่มขึ้น 10.86% จากระดับ 109.14 ดัชนีผลิตภาพแรงงานในภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 134.29 เพิ่มขึ้น 5.33% จากระดับ 127.50 โดยอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ 64.03%

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมและอัตราการใช้กำลังการผลิต Index

------------------- 2552 ---------------- ------------------------------2553------------------------------

                          ส.ค.    ก.ย.     ต.ค.    พ.ย.     ธ.ค.      ม.ค.    ก.พ.     มี.ค.    เม.ย.    พ.ค.     มิ.ย.     ก.ค.     ส.ค.
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม       169.36  186.59   180.19   180.37   194.66   179.62   183.31   211.73  179.34   184.94   194.39   190.22   184.14
อัตราการเปลี่ยนแปลง(MOM)%     0.8    10.1     -3.3     0.03      8.0     -7.9      2.0     15.6   -15.6      2.8     5.07    -2.05    -3.14
อัตราการเปลี่ยนแปลง(YOY)%    -8.6     1.0     -0.5      7.5     30.7     29.1     31.1     32.6    23.0     15.9    14.34    13.16     8.67
อัตราการใช้กำลังการผลิต%      57.2    60.1     61.0     60.3     61.8     60.4     60.6     67.9    57.9     64.0    65.66    62.40    64.03

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ