กรุงเทพฯ--12 ต.ค.--พีอาร์ โฟกัส
โรช ไดแอกโนสติกส์ [ประเทศไทย] จับมือกับ ไบโอเทค และ ไบโอจีโนเมด ประกาศผลและมอบรางวัลในโครงการประกวดผลงานวิจัยพันธุกรรม THE GREAT GIGABASE GRANT หรือ 3Gs ค้นพบ 3 โครงงานวิจัยพันธุกรรมระดับคุณภาพที่สามารถต่อยอดรักษาโรค ออทิสติกส์ แบคทีเรียดื้อยา และ มาลาเรีย นับเป็นประโยชน์แก่มวลมนุษย์ โดยคณะแพทย์ชาวไทยคว้ารางวัลที่ 1 และ 2 รวมมูลค่ารางวัลทั้งหมดกว่า 3 ล้านบาท พร้อมเปิดตัวเครื่องวิจัยพันธุกรรมรุ่มใหม่ขนาดเล็ก GS Junior มั่นใจ ช่วยขยายผลงานวิจัยในไทยเพิ่มมากขึ้น
ดร.สมวงษ์ ตระกูลรุ่ง ผู้อำนวยการ สถาบันจีโนม ไบโอเทค เปิดเผยว่า เมื่อปีที่ผ่านมา บริษัท โรช ไดแอกโนสติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ร่วมกับ สถาบันจีโนม ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ หรือ ไบโอเทค และ บริษัท ไบโอจีโนเมด จำกัด จัดให้มีโครงการประกวดผลงานวิจัยพันธุกรรม THE GREAT GIGABASE GRANT หรือ 3Gs โดยเปิดรับผลงานวิจัยด้านพันธุกรรม เพื่อคัดเลือกให้รับทุนสนับสนุนการวิจัย โดย บริษัท โรช ไดแอกโนสติกส์ [ประเทศไทย] จำกัด ได้สนับสนุนน้ำยา ในการทำ วิจัย จำนวน 3 ทุน รวมมูลค่าประมาณ 3.5 ล้านบาท ปรากฏว่ามีนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ และบุคลากรทางการแพทย์ทั้งในประเทศและอินโดไชน่าให้ความสนใจส่งผลงานเข้ามาให้พิจารณามากถึง 15 โครงการ ซึ่งแต่ละโครงการนับว่ามีความน่าสนใจทั้งเชิงวิชาการและประโยชน์ต่อสังคม ทั้งนี้ คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ได้ตัดสินให้ ผลงานที่ได้รับทุน 3 โครงการ ได้แก่ อันดับที่ 1 โครงการศึกษาพันธุกรรมของคนไข้ออทิสติกส์ โดย นพ.พรพรต ลิ้มประเสริฐ และคณะ อันดับที่ 2 โครงการศึกษาหายีนของแบคทีเรียที่ดื้อยาหลากหลาย โดย นพ.ชาญวิทย์ ตรีพุทธรัตน์ และคณะ และ อันดับที่ 3 โครงการศึกษาการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องของเชื้อมาลาเรีย โดย ดร.ฟิลลิป ชอวร์ และคณะ ซึ่งแต่ละโครงการมีศักยภาพที่จะนำไปศึกษาวิจัย เพื่อขยายผลให้เกิดประ โยชน์ต่อการพัฒนาการรักษาผู้ป่วยได้จริง
สำหรับการตัดสิน โครงการวิจัยพันธุกรรม THE GREAT GIGABASE GRANT หรือ 3Gs ได้รับการพิจารณาจาก คณะกรรมการ ซึ่งล้วนเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่เคยผ่านการรับทุนวิจัยด้านต่างๆ มาแล้วจากประเทศต่างๆ จำนวนกว่า 30 ท่าน โดยพิจารณาแล้วเห็นว่า โครงการศึกษาพันธุกรรมของคนไข้ออทิสติกส์ จะทำให้ค้นหายีนที่มีความเกี่ยวข้องกับโรค หรือยีนที่เกี่ยวข้อง และนำไปสู้การป้องกันและรักษาได้ โครงการศึกษาหายีนของแบคทีเรียที่ดื้อยาหลากหลาย (Multidrug Resistance) สามารถค้นหายีนที่เกี่ยวข้องมากกว่า 1 ยีน ซึ่งอาจกระจายหลากหลายในแบคทีเรียหลายชนิด เป็นการช่วยลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการใช้ เทคนิดเดิมในการวิจัยที่อาจจะทำไม่ได้ และ โครงการศึกษาการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องของเชื้อมาลาเรีย ชนิดพลาสโมเดียม ฟัลสิฟารัม (Plasmodium falciparum) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของยีน ในช่วงเวลาชีวิตของเชื้อดังกล่าว ซึ่งคาดว่าจะสามารถคาดการณ์การก่อให้เกิดโรค หรืออาจจะสามารถทำให้การวิจัยดังกล่าวค้นพบ ยาที่จะใช้ในการรักษาอย่างมีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น โดยเชื่อมั่นว่าการมอบรางวัลให้เป็นทุนวิจัยพันธุกรรมแก่ทั้ง 3 โครงการ จะเป็นประโยชน์ต่อวงการแพทย์และสาธารณะสุขของประเทศต่อไป
นายพิเชษฐพงษ์ ศรีสุวรรณกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท โรช ไดแอกโนสติกส์ [ประเทศไทย] จำกัด กล่าวว่า โครงการวิจัยพันธุกรรม THE GREAT GIGABASE GRANT หรือ 3Gs นักวิจัยจะต้องทำการวิจัยผ่านเครื่อง GS FLX (เครื่องถอดรหัสพันธุกรรม) ที่มีเทคโนโลยีและระบบซอฟแวร์ขั้นสูง ด้วยหลักการ Pyrosequencing อ่านลำดับดีเอ็นเอด้วยหลักการ Sequencing by Synthesis โดยปฏิกิริยาสร้างสายดีเอ็นเอ ซึ่งในการทำงานวิจัยแต่ละครั้ง จำเป็นต้องใช้น้ำยาตรวจแบบพิเศษที่มีราคาค่อนข้างสูง การสนันสนุนทุกวิจัยแก่นักวิชาการครั้งนี้ นับเป็นการลดข้อจำกัดของนักวิจัย ที่จะคิดค้นหรือพัฒนาผลงานวิจัยใหม่ๆ โดยการมอบทุนวิจัยพันธุกรรมครั้งนี้ ถือได้ว่าเป็นครั้งแรกในแถบอินโดไชน่าที่เปิดโอกาสให้นักวิจัยรับทุนเพื่อทำการทดลองโครงการที่จะประโยชน์ต่อมวลมนุษย์ ด้วยเทคนิค High throughput sequencing ในการหาลำดับพันธุกรรม และทั้ง 3 โครงการที่ผ่านการพิจารณารับทุน ล้วนแล้วแต่จะเป็นประโยชน์ต่องานวิจัย อีกทั้งยังเป็นจุดเริ่มต้นให้นักวิจัยไทย ที่ขาดแคลนทุนในการศึกษาทำการวิจัยโดยใช้เทคนิคใหม่ๆ ให้พัฒนาไปได้อย่างรวดเร็ว
บริษัท โรช ไดแอกโนสติกส์ [ประเทศไทย] จำกัด รู้สึกยินที่ได้มีส่วนร่วมกัน ไบโอจีโนเมด และ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ในการจัดโครงการโครงการวิจัยพันธุกรรม THE GREAT GIGABASE GRANT หรือ 3Gs ครั้งนี้ และเชื่อว่าจะมีการสานต่อให้มีโครงการต่อไปอีกในอนาคตอันใกล้นี้ เนื่องจากในปัจจุบัน มีการพัฒนาเครื่องถอดรหัสพันธุกรรมให้มีขนาดเล็กลง ทำให้สถาบันเกี่ยวกับการวิจัยพันธุกรรมมีศักยภาพที่จะนำมาใช้งานได้เพิ่มมากขึ้น โดยในส่วนของ โรช ไดแอกโนสติกส์ ได้นำเครื่องถอดรหัสพันธุกรรมรุ่นใหม่ GS Junior มีประสิทธิภาพสูงขนาดเล็ก เข้ามาในประเทศไทย ซึ่งจะเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้การถอดรหัสพันธุกรรม เพื่อค้นคว้าวิจัยและพัฒนาโครงการใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อทั้ง ด้านการแพทย์ ด้านเทคโนโลยีชีวภาพ และด้านเกษตรกรรมวงการแพทย์ มีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นายชนกกล่าวสรุป ในที่สุด
เกี่ยวกับเครื่องถอดรหัสพันธุกรรม GS Junior
บริษัท 454 ไลฟ์ไซน์ จำกัด และ บริษัท โรช ไดแอกโนสติกส์ จำกัด ได้นำเสนอ GS FLX มาเป็นเวลากว่า 4 ปี ในปัจจุบัน ได้มีการพัฒนาเครื่องถอดรหัสพันธุกรรมรุ่มใหม่ล่าสุด รุ่น GS Junior ซึ่งเป็นเครื่องมือถอดรหัสพันธุกรรม ระดับจีโนม สามารถทำการถอดรหัสพันธุกรรมได้มากถึง 35 ล้านลำดับพันธุกรรม ภายในเวลาสิบชั่วโมง และมีราคาที่ย่อมเยากว่า เครื่อง GS FLX ซึ่งเป็นเครื่องรุ่นพี่ที่มีขนาดใหญ่กว่า ทั้งนี้ เครื่องถอดรหัสพันธุกรรม รุ่น GS Junior เหมาะกับงานวิจัยสำหรับนักวิจัยทั่วไป ที่สามารถทำงานวิจัยส่วนตัว เช่นการหาจีโนม แบคทีเรีย ไวรัส หรือแม้กระทั่งการหายีนผิดปกติต่างๆ ด้วยความรวดเร็วกว่าเทคนิคดั้งเดิมที่กินเวลาและค่าใช้จ่ายมากกว่า อีกทั้ง บ.โรชฯยังมีโครงการการวิจัย เพื่อผลิต ชุดการตรวจยีนดื้อยาของเชื้อไวรัส เอช ไอ วี ระดับลึก ซึ่งสามารถตรวจหายีนที่เริ่มกลายพันธ์เป็นยีนดื้อยาได้ในระยะเริ่มแรก (ตั้งแต่การเริ่มกลายพันธ์ประมาณ 1%) โดยเทคนิค ณ ปัจจุบันนั้นจะตรวจพบได้ต่อเมื่อยีนกลายพันธ์ไปกว่า 20% แล้วเท่านั้น
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ บริษัท พีอาร์ โฟกัส จำกัด
Tel. 02-6547-551-2 Fax. 02-6547553
E-mail: prfocus@truemail.co.th / www.prfocus.co.th