สรุปสาระสำคัญของการสัมมนาวิชาการ “ก้าวใหม่ ภาครัฐสู่การพัฒนา เศรษฐกิจที่ยั่งยืน”

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday October 19, 2010 16:28 —ThaiPR.net

Bangkok--19 Oct--กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง สรุปสาระสำคัญของการสัมมนาวิชาการ เรื่อง “ก้าวใหม่ ภาครัฐสู่การพัฒนา เศรษฐกิจที่ยั่งยืน” “Thailand’s Public Sector: A New Paradigm for Sustainable Growth” วันจันทร์ที่ 18 ตุลาคม 2553 ณ โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ได้จัดการสัมมนาวิชาการ เรื่อง “ก้าวใหม่ ภาครัฐสู่การพัฒนา เศรษฐกิจที่ยั่งยืน” หรือ “Thailand’s Public Sector: A New Paradigm for Sustainable Growth” ในวันจันทร์ที่ 18 ตุลาคม 2553 เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนาครบรอ บ 49 ปี โดยได้รับ ความสนับสนุนจากธนาคารซิตี้แบงก์ ประเทศไทย นายนริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ได้เป็นประธานกล่าวเปิดงานสัมมนาฯ ร่วมกับผู้บริหารระดับสูงของธนาคารซิตี้แบงก์ ได้แก่ Mr. Peter Eliot, Country Head & Citi Country Officer, Citibank และได้รับเกียรติจากนายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรั ฐวิสาหกิจ ทีมนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สศค. และผู้บริหารของธนาคาร ซิตี้แบงก์ เข้าร่วมการเสวนาและการบรรยายในหัวข้อต่างๆ ซึ่งมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้ 1. แนวโน้มเศรษฐกิจโลกและภูมิภาค (Global and Regional Economic Outlooks) Ms. Johanna Chua, Citi Head, Asia-Pacific Economic เห็นว่า เศรษฐกิจของประเทศในเอเชียยังคงขยายตัวได้ดีกว่าประเทศที่พัฒนาแล้วจากอุปสงค์ภายในประเทศที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจที่ขยายตัวได้ดีและการใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนปรนเพื อชะลอการแข็งค่าของสกุลเงินท้องถิ่นจะสร้างแรงกดดันให้เกิดเงินเฟ้อและภาวะฟองสบู่ในสินทรัพย์ในระยะต่อไป ดังนั้น เพื่อมิให้เกิดการใช้เงินทุนไปในทางที่ก่อให้เกิดความไม่สมดุลของระบบการเงิน ซึ่งจะนำไปสู่วิกฤตเศรษฐกิจได้ในที่สุด กลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่เหล่านี้จะต้องปรับนโยบายเศรษฐกิจให้เหมาะสมกับกระแสเงินทุนไหลเข้า และใช้เครื่องมือในก รรักษาความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจมหภาค เพื่อชะลอกระแสเงินทุนไหลเข้าดังกล่าวและปกป้องระบบสถาบันการเงินให้มีความเข้มแข็ง 2. มุมมองเศรษฐกิจไทยและบทบาทของภาครัฐ นายบุญชัย จรัสแสงสมบูรณ์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สศค. ได้กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมาฟื้นตัวได้ดี โดยในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2553 เศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 10.6 ต่อปี ทำให้ สศค. คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2553 และ 2554 จะสามารถขยายตัวที่ร้อยละ 7.5 และ 4.5 ต่อปี ตามลำดับ ภายใต้สมมติฐานว่าเศรษฐกิจ 14 ประเทศคู่ค้าหลักและอุปสงค์ภายในประเทศจะขยายตัวอย่างต่อเนื่อง นายศรพล ตุลยะเสถียร ผู้อำนวยการส่วนการวิเคราะห์เสถียรภาพเศรษฐกิจ สศค. ได้ชี้ให้เห็นถึงความไม่สมดุลของเศรษฐกิจโลก ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่สำคัญในปัจจุบัน โดยประเทศ ในซีกโลกตะวันตกยังไม่ฟื้นตั วจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกอย่างเต็มที่ ส่งผลให้ประเทศเหล่านี้ จำเป็นต้องดำเนินนโยบายการเงินผ่อนคลายอย่างต่อเนื่อง ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาสภาพคล่องในระบบการเงินโลกมีมากจึงทำให้เงินทุนไหลเข้าสู่ภูมิภาคเอเชีย ในขณะที่ประเทศในซีกโลกตะวันออกเศรษฐกิจฟื้นตัวได้ดี และเป็นระบบเศรษฐกิจพึ่งพาการส่งออกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ปัญหาการแข็งค่าของสกุลเงินใน ูมิภาคเอเชียจึงเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจ ดังนั้น ไทยจำเป็นต้องเร่งเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจภายในประเทศเพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันจากความผันผวน ของเศรษฐกิจโลกในระยะยาว และใช้กลไกความร่วมมือระหว่างประเทศในการแก้ไขปัญหา ความไม่สมดุลของเศรษฐกิจโลกดังกล่าว นายพิสิทธิ์ พัวพันธ์ ผู้อำนวยการส่วนการวิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาค สศค. เห็นว่า ผลจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกในช่วงที่ผ่านมาส่งผลดีต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย แต่ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกทำให้ภาครัฐยังต้องมีบทบาทในการสนับสนุนเศรษฐกิจ ่านนโยบายต่างๆ อย่างไรก็ตาม ในระยะปานกลาง สศค. ได้คำนึงถึงความยั่งยืนทางการคลัง เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายในการจัดทำงบประมาณแบบสมดุลในอีก 5 ปีข้างหน้า 3. ความท้าทายของความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน (The Challenges of Public-Private Partnership (PPP)) Ms. Catherine Bouvier D'Yvoire, Public Sector Advisory Group ได้กล่าวถึง ความท้าทายของความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ซึ่งเป็นรูปแบบความร่วมมือที่ได้รับ ความนิยมมากในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในช่วงก่อนวิกฤตการณ์ทางการเงิน ในเอเชีย เนื่องจากสามารถช่วยสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานตรงตามความต้องการของประเทศได้ อย่างรวดเร็ว และไม่เป็นภาระต่อหนี้สาธารณะ แต่หลังจากที่เกิดวิกฤตการณ์ท งการเงินดังกล่าว โครงสร้างของความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนได้เปลี่ยนแปลงไป จากเดิมที่เป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมหรือธนาคารระหว่างประเทศ เป็นผู้ลงทุนในภูมิภาคที่ต้องการผลตอบแทนในระยะยาว และได้เริ่มที่จะกลับมาได้รับความนิยมอีกครั้งในช่วงปี 2543 เป็นต้นมา ซึ่งความสำเร็ ของความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนนี้จะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ โดยประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในประเทศที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินการความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนดังกล่าว 4. E-Governance: ธุรกรรมทางการเงินและเทคโนโลยีในด้านการคลังภาครัฐ (E-Governance: Transaction Banking and Technology in Public Sector Finance) Mr. Sanjeev Jain, Citi Head of Public Sector, Asia Pacific, Global Transaction Services ได้ชี้ให้เห็นว่า หน่วยงานภาครัฐและรัฐวิสาหกิจต่างๆ ทั่วโลกได้เริ่มหันมาใช้วิธีการและเครื่องมือทางการเงินแบบเดียวกับที่มีใช้อยู่ในภาคเอกชนในการปฏิบัติงานมากขึ้น เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในระบบการทำงานและการบริการด้านต่างๆ มีความโปร่งใส เ ข้าถึงได้ง่ายและทั่วถึงมากยิ่งขึ้น และสามารถรองรับแนวคิดและการพัฒนาใหม่ๆ ในอนาคต โดยได้ยกตัวอย่างการปฏิรูปวิธีการจ่ายเงินสวัสดิการให้แก่ผู้ว่างงานในสหรัฐอเมริกาจากเดิมที่จ่ายในรูปแบบเช็ค เป็นการให้ บัตรเดบิตแบบเติมเงินหรือผลิตภัณฑ์ทางการเงินอื่นๆ รวมถึงบทบาทของซิตี้แบงก์ในการปรับปรุงระบบการชำระเ ินของระบบบำนาญของสาธารณรัฐฝรั่งเศสและการช่วยบริหารเงินสดของหน่วยงานต่างๆ ของสหราชอาณาจักร ซึ่งช่วยให้หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องสามารถช่วยลดต้นทุนได้เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ หน่วยงานภาครัฐและรัฐวิสาหกิจต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียและลาตินอเมริกากำลังให้ความสำคัญกับการใช้ระบบ E-Governance มากขึ้น ซึ่งเป็นการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยพัฒนาข้อมูลและการให้บริการต่างๆ เสริมสร้างบทบาทของภาคประชาชนในกระบวนการตัดสินใจ และสร้างความน่าเชื่อถือให้กับหน่วย าน โดยตัวอย่างของการใช้ระบบ E-Governance นี้ คือ การรายงานภาษี การชำระภาษีหรือค่าบริการสาธารณูปโภคออนไลน์ และการจัดซื้อและชำระเงินสำหรับผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น 5. บทบาทของรัฐวิสาหกิจต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลัง ได้กล่าวถึงบทบาทของกระทรวงการคลังในการกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 58 แห่งใน 9 สาขา และชี้ให้เห็นถึงสถานะทางการเงินของรัฐวิสาหกิจ ซึ่งเป นแหล่งรายได้ ที่สำคัญของรัฐอันดับ 3 รองจากกรมสรรพากรและกรมสรรพสามิต มีเงินนำส่งจำนวนกว่า 86,000 ล้านบาทในปี 2552 และเป็นแหล่งอัดฉีดเงินเข้าระบบเศรษฐกิจจากการลงทุนที่มีอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่า ในช่วง 5 ปีข้างหน้า (พ.ศ. 2553-2557) จะมีการลงทุนประมาณ 1.5 ล้านล้านบาท &nbs p; ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการลงทุนในสาขาคมนาคมและพลังงาน ดังนั้น รัฐวิสาหกิจจึงมีบทบาทสำคัญ ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งในด้านการเพิ่มศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และการเสริมสร้างความเท่าเทียมทางเศรษฐกิจและสังคม Finance General Information Group, Office of the Permanent Secretary, Ministry of Finance Rama VI Rd., Samsennai, Phayathai, Bangkok 10400 Telephone : (66-2) 273-9021 ext. 2204, 2221, 2222, 2255, 2256, 2257, 2258 Fax : (66-2) 273-9763

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ