กรุงเทพฯ--20 ต.ค.--ธ.ก.ส.
ธ.ก.ส.ประกาศ 3 มาตรการ ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนแก่เกษตรกรลูกค้าที่ประสบอุทกภัย เตรียมเสนอมาตรการพิเศษต่อรัฐบาลช่วยฟื้นฟูลูกค้าที่ประสบภัยรุนแรง พร้อมเปิดบัญชีรับบริจาคเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัย
นายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยถึงแนวทางในการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรลูกค้าที่ประสบอุทกภัยว่า ธ.ก.ส. ได้กำหนดมาตรการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรลูกค้าที่ประสบภัยธรรมชาติ 3 มาต การ ประกอบด้วย มาตรการฉุกเฉิน จะให้ความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนในเบื้องต้น โดยการมอบถุงยังชีพ มาตรการปกติ จะผัดผ่อนเวลาชำระหนี้เงินกู้ ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ จำหน่ายหนี้สูญ และให้เงินกู้ใหม่เพื่อฟื้นฟูการประกอบอาชีพ ตามความเดือดร้อนของลูกค้าแต่ละราย และมาตรการพิเศษ สำหรับลูกค้าที่ได้รับความเสียหายเป็นบริเวณกว้าง การผลิตได้รับความเ ียมากกว่าร้อยละ 50 ของมูลค่าผลผลิตที่จะได้รับตามปกติ และมีแนวโน้มว่าจะไม่สามารถชำระหนี้ได้ ธ.ก.ส. จะเสนอขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลเป็นกรณีพิเศษ เช่น งดคิดดอกเบี้ยและขยายเวลาชำระหนี้เงินกู้เดิมรวมทั้งพิจารณาให้เงินกู้ใหม่เพื่อฟื้นฟูการประกอบอาชีพในอัตราดอกเบี้ยพิเศษโดยลดหย่อนหลักประกันการกู้เงิน
นอกจากนี้ ธ.ก.ส. จะนำเสนอคณะกรรมการธนาคารพิจารณาให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมสำหรับกลุ่มที่เสียหายรุนแรงโดยการพักต้นเงินกู้ร้อยละ 50 ไว้ก่อน ส่วนต้นเงินกู้ที่เหลืออีกร้อยละ 50 จะนำมาปรับโครงสร้างการชำระหนี้ ไม่เกิน 15 ปี ซึ่งหากเกษตรกรสามารถชำระหนี ้ได้ครบถ้วนตามสัญญา ธ.ก.ส.
จะพิจารณาผ่อนปรนเงื่อนไขในการชำระหนี้ส่วนที่เหลือต่อไป โดยจะพิจารณาเป็นรายๆ ไป ส่วนกรณีเกษตรกรลูกค้าเสียชีวิตจากอุทกภัยดังกล่าว จะจำหน่ายลูกหนี้ออกจากบัญชีเป็นหนี้สูญโดย ธ.ก.ส. รับภาระเอง
นายลักษณ์กล่าวอีกว่า ธ.ก.ส. จะเป็นศูนย์กลางในการรับบริจาคเงินเพื่อนำไปบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประสบภัย โดยผู้ประสงค์จะร่วมบริจาคสามารถโอนเงินผ่านบัญชีออมทรัพย์ ธ.ก.ส. สาขานางเลิ้ง ชื่อบัญชี “ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย” เลขที่บัญชี 000-2-2999-2
ในส่วนความเสียหายจากอุทกภัยที่เกิดขึ้นกับเกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. ในพื้นที่ 41 จังหวัด จำนวน 1,497 ตำบล มีลูกค้าได้รับความเดือดร้อน 268,142 ครัวเรือน คิดเป็นต้นเงินคงเป็นหนี้ 22,285 ล้านบาท มีมูลค่าความเสียหายจากคาดการณ เบื้องต้นประมาณ 14,196 ล้านบาท จำนวนพื้นที่ 3.15 ล้านไร่ ปริมาณความต้องการเงินกู้เพื่อนำไปฟื้นฟูการผลิตจำนวน 6,201 ล้านบาท