ผลการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐประจำเดือนสิงหาคม 2553 และสถานะหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2553

ข่าวทั่วไป Wednesday October 20, 2010 15:48 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--20 ต.ค.--สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ขอสรุปผลการดำเนินการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐประจำเดือนสิงหาคม 2553 พร้อมทั้งรายงานสถานะหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2553 ดังนี้ ผลการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ1. การกู้เงินภาครัฐ 1.1 ผลการกู้เงินในประเทศของของภาครัฐเดือนสิงหาคม 2553 การกู้เงินในประเทศของรัฐบาล ในเดือนสิงหาคม 2553 กระทรวงการคลังได้เบิกจ่ายเงินกู้จากวงเงินกู้ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ. 2552 เพื่อดำเนินการตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ทั้งสิ้น 20,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 3,000 ล้านบาท ในขณะที่ไม่มีการกู้เงินเพิ่มเพื่อชดเชยการขาดดุล ทำให้การกู้เงินในประเทศของรัฐบาลภายในเดือนสิงหาคมเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลง 3 ล้านบาท ในช่วง 11 เดือนที่ผ่านมารัฐบาลได้ทำการกู้เงินรวม 437,575 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น 1. การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ 232,575 ล้านบาท 2. การเบิกจ่ายเงินกู้ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ. 2552 เพื่อดำเนินการตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 จำนวน 205,000 ล้านบาท การกู้เงินในประเทศของรัฐวิสาหกิจ ในเดือนสิงหาคม 2553 รัฐวิสาหกิจกู้เงินในประเทศรวมกันทั้งสิ้น 5,243 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 1,703 ล้านบาท ซึ่งส่งผลให้การกู้เงินในประเทศของรัฐวิสาหกิจในช่วง 11 เดือนที่ผ่านมามีจำนวนรวม 50,143 ล้านบาท 2. การปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศ 2.1 การปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศของรัฐบาลเดือนสิงหาคม 2553 ในเดือนสิงหาคม 2553 กระทรวงการคลังได้ดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศของรัฐบาล ดังนี้ 2.1.1 ปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลที่ออกภายใต้ พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ระยะที่สอง (FIDF 3) ที่ครบกำหนดไถ่ถอนในวันที่ 16 สิงหาคม 2553 จำนวน 54,731.02 ล้านบาท โดยออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ (FIDF 3) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 จำนวน 8,000 ล้านบาท และกู้เงินระยะยาวโดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงิน จำนวน 6,731.02 ล้านบาท กู้เงินระยะสั้นจากสถาบันการเงิน จำนวน 32,430 ล้านบาท ส่วนที่เหลือจำนวน 7,570 ล้านบาท ได้ทดรองจ่ายจากบัญชีเงินฝากกระทรวงการคลัง (Premium FIDF 1 และ FIDF 3) 2.1.2 แปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาล 36,000 ล้านบาท ในช่วง 11 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณ 2553 กระทรวงการคลังดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศเป็นวงเงินรวมทั้งสิ้น 335,401 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น 1. การปรับโครงสร้างเงินกู้ชดเชยการขาดดุลงบประมาณและการบริหารหนี้ 119,000 ล้านบาท แบ่งเป็น - การเแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาล 94,000 ล้านบาท - การปรับโครงสร้างตั๋วสัญญาใช้เงินที่ครบกำหนด 25,000 ล้านบาท โดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงิน 2. การปรับโครงสร้างเงินกู้ชดใช้ความเสียหายให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ 134,171 ล้านบาท แบ่งเป็น - FIDF 1 จำนวน 69,440 ล้านบาท โดยการออกพันธบัตร 55,000 ล้านบาท และตั๋วสัญญาใช้เงิน 14,440 ล้านบาท - FIDF 3 จำนวน 64,731 ล้านบาท โดยการออกพันธบัตรรัฐบาล 8,000 ล้านบาท การออกตั๋วสัญญาใช้เงิน 16,731 ล้านบาท ทดรองจ่ายจากบัญชี Premium 7,570 ล้านบาท และกู้เงินระยะสั้น 32,430 ล้านบาท 3. การปรับโครงสร้างเงินกู้ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ. 2552 จำนวน 82,230 ล้านบาท 2.2 การปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศของรัฐวิสาหกิจเดือนสิงหาคม ในเดือนสิงหาคม 2553 รัฐวิสาหกิจได้ปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศรวมกันเป็นเงิน 12,120 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 8,049 ล้านบาท ซึ่งส่งผลให้การปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศของรัฐวิสาหกิจในช่วง 11 เดือนที่ผ่านมามีจำนวนรวม 164,450 ล้านบาท โดยมีรายละเอียดปรากฏตามตารางที่ 4 และแผนภาพที่ 4 ตามลำดับ 3. การชำระหนี้ภาครัฐ ในเดือนสิงหาคม 2553 กระทรวงการคลังได้ดำเนินการชำระหนี้โดยใช้เงินงบประมาณ รวม 12,590 ล้านบาท ดังนี้ - ชำระหนี้ในประเทศ 12,012 ล้านบาท โดยเป็นการชำระดอกเบี้ยทั้งหมด - ชำระหนี้ต่างประเทศ 578 ล้านบาท โดยเป็นการชำระต้นเงิน 392 ล้านบาท ดอกเบี้ย 185 ล้านบาท และค่าธรรมเนียม 1 ล้านบาท รายงานหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2553 ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2553 มีจำนวน 4,251,639 ล้านบาท หรือคิดเป็น ร้อยละ 42.51 ของ GDP โดยเป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 2,909,607 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 1,098,824 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินที่รัฐบาลค้ำประกัน 181,594 ล้านบาท และหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 61,615 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นสุทธิ 49,228 ล้านบาท โดยหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) เพิ่มขึ้น 44,920 ล้านบาท 3,482 ล้านบาท และ 1,126 ล้านบาท ตามลำดับ สำหรับหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ลดลง 300 ล้านบาท ส่วนหน่วยงานอื่นของรัฐนั้นไม่มีหนี้คงค้าง รายละเอียดปรากฏตามตารางที่ 6 โดยรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงของหนี้สาธารณะ มีดังนี้ 1. หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 1.1 หนี้ในประเทศ หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าเพิ่มขึ้น 44,920 ล้านบาท โดยที่สำคัญเกิดจาก - การออกพันธบัตรเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ 3,003 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นพันธบัตรรัฐบาล 3,000 ล้านบาท และพันธบัตรออมทรัพย์ 3 ล้านบาท และพันธบัตรเพื่อการบริหารหนี้ 35,000 ล้านบาท - การเบิกเงินกู้ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟู และเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ. 2552 เพื่อดำเนินการตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 จำนวน 17,000 ล้านบาท 1.2 หนี้ต่างประเทศ หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง เมื่อคิดในรูปเงินเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 31.20 ล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจาก - ผลจากอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 36.11 ล้านเหรียญสหรัฐ - สกุลเงินเยนได้มีการเบิกจ่ายน้อยกว่าการไถ่ถอนประมาณ 312.96 ล้านเยน หรือ 3.6 ล้านเหรียญสหรัฐ - สกุลเงินเหรียญสหรัฐได้มีการไถ่ถอนประมาณ 1.3 ล้านเหรียญสหรัฐ 2. หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 2.1 หนี้ในประเทศ 2.1.1 หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลง 1,818 ล้านบาท โดยเกิดจาก - การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การทางพิเศษแห่งประเทศไทย การไฟฟ้านครหลวง และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้ไถ่ถอนพันธบัตร 1,000 ล้านบาท 913.19 ล้านบาท 1,200 ล้านบาท และ 2,000 ล้านบาท ตามลำดับ - รัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลค้ำประกันมีการเบิกจ่ายจากแหล่งเงินกู้ต่างๆ มากกว่าชำระคืนต้นเงินกู้ 3,294.41 ล้านบาท 2.1.2 หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าเพิ่มขึ้น 901.52 ล้านบาท โดยเกิดจาก - การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้ออกพันธบัตรมากกว่าการไถ่ถอน 1,951.10 ล้านบาท - รัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลไม่ค้ำประกันมีการเบิกจ่ายจากแหล่งเงินกู้ต่างๆน้อยกว่า ชำระคืนต้นเงินกู้ 1,049.58 ล้านบาท 2.2 หนี้ต่างประเทศ 2.2.1 หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน เมื่อคิดในรูปเงินเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 92.81 ล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจาก - ผลจากอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 123.93 ล้านเหรียญสหรัฐ - สกุลเงินเยนได้มีการเบิกจ่ายน้อยกว่าการไถ่ถอนประมาณ 2,704.37 ล้านเยน หรือคิดเป็น 31.12 ล้านเหรียญสหรัฐ 2.2.2 หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน เมื่อคิดในรูปเงินเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 95.76 ล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจาก - ผลจากอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 128.68 ล้านเหรียญสหรัฐ - สกุลเงินยูโรได้มีการไถ่ถอนประมาณ 13.10 ล้านยูโร หรือคิดเป็น 17.11 ล้านเหรียญสหรัฐ - สกุลเงินเยนได้มีการไถ่ถอนประมาณ 855.55 ล้านเยน หรือคิดเป็น 9.82 ล้านเหรียญสหรัฐ - สกุลเงินเหรียญสหรัฐ ได้มีการไถ่ถอน 5.99 ล้านเหรียญสหรัฐ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ