มาตรการเพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย

ข่าวทั่วไป Thursday October 21, 2010 17:15 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--21 ต.ค.--กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง วันนี้ ที่กระทรวงการคลัง นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แถลงมาตรการเพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ดังนี้ 1. ความคล่องตัวด้านการเงินเพื่อให้ส่วนราชการให้ความช่วยเหลือ (กรมบัญชีกลาง) ? เตรียมพร้อมอนุมัติวงเงินทดรองราชการเพิ่มเติมตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดร้องขอ (อำนาจอนุมัติอธิบดีกรมบัญชีกลาง 200 ล้านบาท / ปลัดกระทรวงการคลัง 500 ล้านบาท / รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง 500 ล้านบาทขึ้นไป) ? ยกเว้นการปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการพัสดุ ให้เป็นอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัดในการมอบหมายบุคคลหรือคณะบุคคลในการใช้เงินทดรองราชการจัดซื้อและตรวจรับพัสดุไปก่อน แล้วจึ งรายงานผู้ว่าราชการจังหวัดภายหลัง 2. มาตรการช่วยเหลือผู้เช่าที่ราชพัสดุ ที่ได้รับความเดือดร้อน (กรมธนารักษ์) ? ลดภาระค่าเช่าผู้ที่เช่าที่ดินราชพัสดุ ดังนี้ 1) ผู้เช่าที่ดินราชพัสดุเพื่อที่อยู่อาศัย - กรณีเสียหายบางส่วนให้ยกเว้นการเรียกเก็บค่าเช่า เป็นเวลา 1 ปี - กรณีเสียหายทั้งหลังให้ยกเว้น เป็นเวลา 2 ปี 2) ผู้เช่าที่ดินราชพัสดุเพื่อประกอบการเกษตร ให้ยกเว้นการเรียกเก็บค่าเช่าเป็นเวลา 1 ปี 3) ผู้เช่าอาคารราชพัสดุที่ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ตามปกติเป็นเวลา 3 วัน ให้ยกเว้นการเก็บค่าเช่าเป็นเวลา 1 เดือน 4) ให้ยกเว้นการคิดเงินเพิ่ม กรณีที่ผู้เช่าไม่สามารถชำระค่าเช่า ค่าธรรมเนียมหรือเงินอื่นใดที่ต้องชำระภายในเวลาที่กำหนด 3. ความช่วยเหลือแก่ลูกค้าสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ? ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) : หนี้เงินกู้เดิม 1) กรณีเกษตรกรลูกค้าเสียชีวิต : จำหน่ายลูกหนี้ออกจากบัญชีเป็นหนี้สูญ โดย ธ.ก.ส. รับภาระเอง 2) กรณีเกษตรกรลูกค้าประสบภัยร้ายแรงไม่เสียชีวิต - ในกรณีที่สูญเสียรายได้เกินกว่าร้อยละ 50 ขยายเวลาการชำระหนี้เงินกู้เป็นเวลา 3 ปี สำหรับลูกค้าที่มีกำหนดชำระในปีบัญชี 2553- 2555 - ในกรณีที่สูญเสียรายได้น้อยกว่าร้อยละ 50 ขยายเวลาการชำระหนี้เงินกู้เป็นเวลา 1 ปี - งดคิดดอกเบี้ยเงินกู้เป็นเวลา 3 ปี ตั้งแต่ปีบัญชี 2553 — 2555 โดย ธ.ก.ส. จะขอชดเชยดอกเบี้ยจากรัฐบาลตามอัตราดอกเบี้ย MRR-1 ซึ่งขณะน ี้ MRR เท่ากับร้อยละ 5.75 ต่อปี - หากการให้ความช่วยเหลือข้างต้น ยังคงเป็นภาระหนักแก่เกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. จะพิจารณาให้ความช่วยเหลือด้วยการปรับโครงสร้างหนี้และฟื้นฟูอาชีพเกษตรกร.ห้สอดคล้องกับความสามารถในการชำระหนี้ การให้เงินกู้ใหม่เพื่อฟื้นฟูการประกอบอาชีพและพัฒนาคุณภาพชีวิต - ให้เงินกู้รายละไม่เกิน 100,000 บาท - ลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากอัตราดอกเบี้ยปกติที่ ธ.ก.ส. เรียกเก็บจากลูกค้าลงร้อยละ 3 ต่อปี เป็นเวลาไม่เกิน 3 ปี โดย ธ.ก.ส. จะขอชดเชยส่วนต่างดอกเบี้ยจากรัฐบาลในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี - กำหนดชำระหนี้เงินกู้ตามความสามารถในการชำระหนี้ของเกษตรกรลูกค้า โดย ธ.ก.ส. จะลดหย่อนหลักประกันการกู้เงินจากหลักเกณฑ์ปกติ ดังนี้ 1) กรณีกู้เงินโดยจำนองอสังหาริมทรัพย์เป็นประกันให้ขยายวงเงินกู้จากที่กู้ได้ไม่เกินครึ่งหนึ่งของวงเงินจดทะเบียนจำนอง เป็นให้กู้ได้ไม่เกินวงเงินจดทะเบียนจำนอง 2) กรณีกู้เงินโดยใช้กลุ่มลูกค้ารับรองรับผิดชอบอย่างลูกหนี้ร่วมตั้งแต่ 5 คน ขึ้นไป ให้ขยายวงเงินในการประกันจากรายละไม่เกิน 150,000 บาท เป็นไม่เกิน 200,000 บาท ? ธนาคารออมสิน : หนี้เงินกู้เดิม : ลูกค้าสินเชื่อเดิมของธนาคารและลูกค้าสินเชื่อเคหะให้พักชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยเป็นระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน และให้ติดต่อขอความช่วยเหลือได้จนถึงวันที่ 15 ธันวาคม 2553 1) ลูกค้าสินเชื่อเดิม : ขยายระยะเวลาการผ่อนชำระหนี้ออกไปอีกไม่เกิน 6 เดือน 2) ลูกค้าสินเชื่อเคหะ : ปรับลดเงินงวด หรือขยายระยะเวลาการผ่อนชำระหนี้ออกไปไม่เกิน 30 ปี 3) ลูกค้าสินเชื่อธุรกิจและ SMEs : ให้พักชำระหนี้เงินต้นเป็นระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือนขยายระยะเวลาการผ่อนชำระหนี้ออกไปอีกไม่เกิน 1 ปี และสามารถกู้เพิ่มเป็นเงินทุนหมุนเวียน ไม่เกินรายละ 500,000 บาท คิดอัตราดอกเบี้ย MLR ลบ ร้อยละ 1.5 (ตลอด 5 ปี) 4) ลูกค้าสินเชื่อ ธุรกิจห้องแถว : จะให้กู้ไม่เกินรายละ 100,000 บาท อัตราดอกเบี้ย MLR — 1.5 ต่อปี เงินกู้ใหม่ - ลูกค้าสินเชื่อเคหะเดิมและประชาชนทั่วไป สามารถกู้เพิ่มเพื่อซ่อมแซมที่อยู่อาศัยได้ไม่เกินรายละ 300,000 บาท ผ่อนชำระภายใน 3-5 ปี อัตราดอกเบี้ยปีแรกร้อยละ 2.50 ปีที่ 2 คิด MLR ลบ ร้อยละ 2.00 (ปัจจุบัน MLR เท่ากับร้อยละ 6) ปีที่ 3 เป็นต้นไปคิด MLR ลบ ร้อยละ 1.00 ? ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) : - โครงการเงินกู้เพื่อลดภาระหนี้ ปลูกสร้าง ซ่อมแซมที่อยู่อาศัยแก่ผู้ประสบอุทกภัยปี 2553 (ได้ทั้งลูกค้าเดิมและลูกค้าใหม่) มีรายละเอียด ดังนี้ - ปีที่ 1 เดือนที่ 1 — 4 คิดอัตราดอกเบี้ย 0% เดือนที่ 5 - 12 คิดอัตราดอกเบี้ย MRR - 2.00 (ปัจจุบัน MRR = 6.5%) - ปีที่ 2 คิดอัตราดอกเบี้ย MRR - 2.00 - ปีที่ 3 คิดอัตราดอกเบี้ย MRR - 1.00 - ปีที่ 4 จนถึงตลอดอายุสัญญา รายย่อย MRR - 0.50 สวัสดิการ MRR - 1.00% - สำหรับลูกค้าธนาคารที่ขอลดภาระหนี้ที่ผ่อนชำระจะได้รับการปลอดผ่อนชำระเงินงวด 4 เดือน - สำหรับประชาชนที่ไถ่ถอนปลูกสร้างซ่อมแซมที่อยู่อาศัยผ่อนชำระเงินงวดปกติ ? ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) : - ผ่อนปรนเงื่อนไขในการชำระหนี้ - ให้กู้เพิ่มเติมเพื่อปรับปรุงกิจการ - สำหรับลูกค้าสินเชื่อบ้าน กู้ซ่อมแซม อนุมัติภายใน 3 วัน - ลูกค้าธุรกิจที่ได้รับผลกระทบโดยตรง ธนาคารจะให้การสนับสนุนสินเชื่อเพิ่มเติมแก่ลูกค้าเพื่อใช้ในการซ่อมแซมและปรับปรุงกิจการ รวมทั้งเป็นเงินทุนหมุนเวียน - ส่วนลูกค้าที่ได้รับผลกระทบทางอ้อม ธนาคารผ่อนปรนเงื่อนไขการชำระหนี้ โดยให้พักชำระเงินต้นนาน 6 เดือน หรือชำระดอกเบี้ยบางส่วน ? ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.) : - ให้สินเชื่อเพื่อซ่อมแซมที่อยู่อาศัย เงินทุนหมุนเวียน และสินเชื่ออเนกประสงค์ - ไม่จำกัดวงเงิน โดยพิจารณาตามความเสียหายจริง - ผ่อนปรนเงินต้นและอัตรากำไรเป็นระยะเวลา 3 เดือน เดือนที่ 4 — 24 จะคิดอัตรากำไรต่ำกว่าสัญญาเดิมร้อยละ 1 หรือเลือกชำระหนี้เฉพาะส่วนอัตรากำไรเป็นระยะเวลา 12 เดือน ส่วนเดือนที่ 13 — 24 ชำระทั้งเงินต้นและกำไร โดยจะคิดอัตรากำไรต่ำกว่าสัญญาเดิมร้อยละ 1 ? ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) : จะพิจารณาผ่อนปรนเงื่อนไขให้กับผู้ส่งออกที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยเป็นราย ๆ ไป ? ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ธพว.) : จะพิจารณาผ่อนปรนเงื่อนไขการให้สินเชื่อ กรณีสินเชื่อเดิมและสินเชื่อใหม่เป็นกรณีพิเศษ ? บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) : จะประสานงานกับสถาบันการเงินทุกแห่งเพื่อผ่อนปรนค่าธรรมเนียมการค้ำประกันให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย 4. การจัดตั้งศูนย์บริการผู้ประสบภัยของกระทรวงการคลังกระทรวงการคลังมอบหมายให้กรมบัญชีกลาง โดยสำนักคลังจังหวัดจัดตั้งศูนย์บริการประชาชนในจังหวัดที่เกิดอุทกภัย (One Stop Service) เพื่ อำนวยความสะดวกให้กับประชาชนในการขอรับความช่วยเหลือจากหน่วยงานภาครัฐและสถาบันการเงินเฉพาะกิจ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ