กรุงเทพฯ--21 ต.ค.--วิวาลดี้ พับลิค รีเลชันส์
สถาบันการแพทย์ผสมผสานตรัยยาริเริ่มจัดงานสัมมนาการแพทย์ผสมผสานเพื่อการดูแลเด็กภาวะเอเอสดี (Integrative Care for Autism Spectrum Disorders Conference 2010) ระหว่างวันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2553
ในปัจจุบัน โรคออทิสติก (Autism spectrum disorders - ASDs) ได้ส่งผลกระทบต่อเด็กจำนวนถึงหนึ่งในร้อยคนซึ่งต้องทุกข์ทรมานจากการขาดทักษะทางสังคม ความบกพร่องการสื่อสารและพฤติกรรมแบบย้ำคิดย้ำทำ เนื่องจากอัตราการเกิดโรคดังกล่าวที่กำลังเพิ่มสูงขึ้น สถาบันการแพทย์ผสมผสานตรัยยาจึงได้ริเริ่มจัดการประชุมด้านสุขภาพครั้งสำคัญแห่งเอเชีย เพื่อเป็นเวทีหารือระดับนานาประเทศว่าด้วยการรักษาโรคออทิสติกแบบผสมผสาน คาดมีนักวิจัยและบุคลากรทางการแพทย์เข้าร่วมงานกว่า 200 ท่าน และผู้ปกครองของเด็กออทิสติกชาวไทยและจากทั่วเอเชียราว 400 ท่าน
งานสัมมนาการแพทย์ผสมผสานเพื่อการดูแลเด็กภาวะเอเอสดี ดังกล่าวกำหนดจัดขึ้น ณ สถาบันการแพทย์ผสมผสาน ตรัยยา ระหว่างวันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2553 ถือเป็นการรวบรวมนักวิจัยด้านโรคออทิสติกชั้นนำระดับโลก เพื่อมาร่วมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้กับวงการแพทย์ของประเทศไทยและบรรดาผู้ปกครองของเด็กที่มีภาวะออทิสติก โดยหลังจากการประชุมเชิงวิชาการจบลง จะมีการจัดงานสัมมนาและการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อให้สาธารณชนเข้าร่วมงานได้โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ในวันที่ 27 พฤศจิกายน ณ โรงพยาบาลปิยะเวท
“การประชุมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือครอบครัวและผู้ที่กำลังทุกข์ทรมานด้วยโรคออทิสติก ด้วยการให้ข้อมูลเรื่องการเยียวยารักษา การบำบัดและเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าในปัจจุบัน รวมถึงมอบโอกาสในการพบปะและสร้างเครือข่ายกับผู้ที่กำลังประสบปัญหาเดียวกันในเรื่องโรคออทิสติก” ศาสตราจารย์นายแพทย์นิธิ มหานนท์ ประธานกรรมการบริหาร โรงพยาบาลปิยะเวทและประธานคณะกรรมการจัดการประชุม กล่าว
ศาสตราจารย์นายแพทย์เจฟฟ์ แบรดสตรีท ผู้ให้การบำบัดรักษาโรคออทิสติกชั้นนำระดับโลก ซึ่งมีบุตรชายที่สามารถฟื้นตัวจากโรคดังกล่าวด้วยวิธีทางชีวเคมีและการบำบัดพฤติกรรม จะมาเป็นผู้ให้คำปรึกษาด้านการรักษาโรคแก่ผู้ที่เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ โดยยังได้เปิดให้ปรึกษาเป็นรายบุคคลแก่ผู้ปกครองที่สนใจ
ดร.กอบกุล สุดสวนศรี เอสพีด ผอ.ฝ่ายประชาสัมพันธ์ Biological Medical Laboratory ประเทศฝรั่งเศส จะมาร่วมแบ่งปันข้อมูลล่าสุด เรื่องตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ (Biomarkers) และ Role JP สำหรับการวินิจฉัยโรคเบื้องต้น “ในปัจจุบันเราวินิจฉัยพบผู้ที่ป่วยด้วยโรคออทิสติกเพิ่มมากขึ้น ซึ่งการบำบัดทางการแพทย์ในเบื้องต้น รวมถึงการศึกษาอย่างเอาใจใส่และการฟื้นฟูพฤติกรรมช่วยให้เด็กที่มีภาวะออทิสติกสามารถเรียนรู้ทักษะต่างๆ ได้” ดร.กอบกุล กล่าว
ทั้งนี้ ถึงแม้ว่าจะยังไม่สามารถค้นพบสาเหตุที่แท้จริงของโรคออทิสติก ทว่าล่าสุดมีรายงานการวิจัยเกี่ยวกับครอบครัวและเกี่ยวกับฝาแฝดที่ยืนยันว่าพันธุกรรมมีผลกับโรคออทิสติกแล้ว ดร.พรพรต ลิ้มประเสริฐ ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชพันธุศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นผู้ที่ศึกษาเกี่ยวกับพันธุกรรมในเด็กออทิสติกชาวไทยอย่างจริงจัง โดยจะเปิดเผยถึงรายงานวิจัยในการคัดเลือกและความเกี่ยวโยงทางพันธุกรรมกับโรคออทิสติกในงานสัมมนาครั้งนี้ ซึ่งการค้นพบดังกล่าวจะช่วยให้มีการบริหารจัดการที่เหมาะสม รวมทั้งให้การปรึกษาและป้องกันโรคที่อาจเกิดขึ้นได้กับบางครอบครัว
การประชุมเชิงวิชาการจะเน้นเรื่องการพัฒนาจากงานวิจัยล่าสุดและวิธีการแบบบูรณาการเพื่อการเยียวยาและดูแลผู้ป่วยโรคออทิสติก ส่วนการประชุมภาคประชาชนจะชักชวนให้ผู้ปกครองมาร่วมแบ่งปันความสุขและความทุกข์ร่วมกัน รวมถึงความสำเร็จในการดูแลเด็กที่มีภาวะออทิสติกแก่ผู้อื่น
ในการเน้นความสำคัญเรื่องการบำบัดทางการแพทย์ในเบื้องต้นผ่านการศึกษาอย่างเอาใจใส่และการฟื้นฟูพฤติกรรมเพื่อช่วยให้เด็กที่มีภาวะออทิสติกเรียนรู้ทักษะต่าง ๆ นั้น การประชุมจะแสดงให้เห็นว่าการรักษาตามรูปแบบดั้งเดิมอาจก่อให้เกิดความยากลำบากต่อผู้ป่วยโรคออทิสติกนี้อย่างไร นอกจากนี้ ยังจะมีการกล่าวสนับสนุนถึงบริการสาธารณะที่เหมาะสมสำหรับเด็กออทิสติก รวมถึงการศึกษาและการสนับสนุนทางสังคมเพื่อการดูแลรักษาสุขภาพในเรื่องนี้
งานสัมมนาการแพทย์ผสมผสานเพื่อการดูแลเด็กภาวะเอเอสดีครั้งนี้ คาดว่าจะมีบุคลากรทางการแพทย์เข้าร่วมงานกว่า 200 ท่าน ผู้ปกครองของเด็กออทิสติกชาวไทยและจากทั่วเอเชียราว 400 ท่าน โดยบุคลากรทางการแพทย์ประกอบด้วยตัวแทนจากสถาบันวิจัยและสถาบันการศึกษาต่างๆ รวมถึงบุคลากรในภาครัฐและเอกชนที่ปฏิบัติงานด้านการรักษาโรคออทิสติก
แม้ในปัจจุบัน มีการวินิจฉัยพบผู้ที่ป่วยด้วยโรคออทิสติกเพิ่มมากขึ้น หากก็ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการเพิ่มขึ้นนี้ โดยเด็กๆ ยังคงได้รับการวินิจฉัยโดยอาศัยหลักเกณฑ์ด้านพฤติกรรมเพียงอย่างเดียว โดยปราศจากการพิจารณาในด้านชีวเคมีที่แฝงอยู่ภายใน
การประชุมเชิงวิชาการ ครอบคลุมหัวข้อต่างๆ ดังนี้:
? ความเข้าใจเรื่องโรคออทิสติกและการตรวจหาภาวะโรคเบื้องต้น
? การศึกษาเกี่ยวกับพันธุกรรมในเด็กไทยซึ่งเป็นโรคออทิสติก
? บทบาทของระดับโลหะหนักในร่างกาย ในโรคออทิสติกและโรคสมาธิสั้น
? การรักษาแบบบูรณาการในโรคออทิสติก
? ปัญหาด้านระบบภูมิคุ้มกันและโรคลมชัก ในโรคออทิสติก
? ตัวบ่งชี้ทางชีวภาพและการศึกษาข้อมูล
? โรคภูมิแพ้ ภาวะโภชนาการและการล้างพิษ กับโรคออทิสติก
? การวิจัยเรื่องผลกระทบด้านพฤติกรรมของการรักษาด้วยออกซิเจนความดันสูงกับเด็กออทิสติกจำนวน 100 คนในประเทศไทย
? การรักษาโดยสมุนไพร
? บทบาทที่สำคัญของทางเดินอาหารที่มีต่อภาวะออทิสติกและอาการโรคสมาธิสั้น และแผนเพื่อการฟื้นฟู
? การบำบัดทางจิตสำหรับเด็กที่มีภาวะออทิสติกและครอบครัว
? การบำบัดด้านพฤติกรรมและการบำบัดแบบการกระตุ้นพลังงาน
? การฝังเข้มโดยนักจัดกระดูกและการบำบัดด้วยสเตมเซลล์ในภาวะออทิสติก
การประชุมครั้งนี้จำกัดจำนวนที่นั่ง และสำหรับผู้ปกครองที่สนใจปรึกษาเป็นรายบุคคลกับ ศจ.ดร.เจฟฟ์ แบรดสตรีท โปรดแจ้งความประสงค์ล่วงหน้า 1 เดือนเพื่อเตรียมตัวทดสอบตัวชี้วัดทางชีวภาพ
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
โทรศัพท์ +66 (0) 2-530-9535 / +66 (0) 2-559-2813-4 ext 231
แฟกซ์ fax +66 (0) 2-530-9535
อีเมล์ secretary@branddrive.co.th