ปภ. สรุปสถานการณ์อุทกภัย ณ วันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๓

ข่าวทั่วไป Friday October 22, 2010 15:06 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--22 ต.ค.--ปภ. กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รายงานสถานการณ์อุทกภัยในช่วงวันที่ ๑๐ —๒๒ตุลาคม ๒๕๕๓ มีพื้นที่ประสบอุทกภัย ๒๙ จังหวัด ๑๘๖ อำเภอ ๑,๓๕๕ ตำบล ๘,๖๐๙ หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน ๔๕๖,๘๒๓ ครัวเรือน๑,๒๘๐,๓๔๔ คน ได้แก่ พิจิตร ชัยนาท สุพรรณบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ระยอง ตราด สระแก้ว นครราชสีมา ปราจีนบุรี ลพบุรี นครสวรรค์ ชัยภูมิ สระบุรี เพชรบูรณ์ นครนายก ศรีสะเกษ ตาก สุรินทร์ บุรีรัมย์ ขอนแก่น นนทบุรี ปทุมธานี กำแพงเพชร นครปฐม อุทัยธานี สิงห์บุรี จันทบุรี และเชียงใหม่ ผู้เสียชีวิต ๑๗ ราย ผู้สูญหาย ๑ รายความเสียหายอยู่ในระหว่างการสำรวจ นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กล่าวถึง สถานการณ์อุทกภัยในระหว่างวันที่ ๑๐ — ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๓ มีพื้นที่ประสบอุทกภัยรวม ๒๙ จังหวัด ๑๘๖ อำเภอ ๑,๓๕๕ ตำบล ๘,๖๐๙ หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน ๔๕๖,๘๒๓ ครัวเรือน ๑,๒๘๐,๓๔๔ คน ผู้เสียชีวิต ๑๗ ราย ผู้สูญหาย ๑ ราย ถนนไม่สามารถใช้สัญจรได้รวม ๑๗ เส้นทาง ใน ๗ จังหวัด ดังนี้ พิจิตร น้ำในแม่น้ำยมเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำริมฝั่งใน ๕ อำเภอ ๑๙ ตำบล ๓๔ หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน ๑,๑๒๐ ครัวเรือน๔,๐๐๐ คน ได้แก่ อำเภอสามง่าม โพธิ์ประทับช้าง บึงนางราง โพทะเล และสากเหล็ก ชัยนาท น้ำท่วมพื้นที่ ๗ อำเภอ ๔๐ ตำบล ๓๔๒ หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน ๑๖,๙๔๐ ครัวเรือน ๔๔,๙๘๗ คน ได้แก่ อำเภอเมืองชัยนาท เนินขาม หันคา วัดสิงห์ หนองมะโมง มโนรมย์ และสรรพยา สุพรรณบุรี น้ำในแม่น้ำท่าจีนไหลเข้าท่วมพื้นที่ ๖ อำเภอ ๖๑ ตำบล ๓๐๔ หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน ๔๔,๓๐๐ ครัวเรือน ๑๒๑,๔๓๖ คน ได้แก่ อำเภอเมืองสุพรรณบุรี บางปลาม้า สองพี่น้อง สามชุก หนองหญ้าไซ และเดิมบางนางบวช อ่างทอง น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ ๗ อำเภอ ๕๒ ตำบล ๒๑๕ หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน ๑,๙๕๐ ครัวเรือน ๔,๓๓๕ คน ได้แก่ อำเภอเมืองอ่างทอง ป่าโมก ไชโย วิเศษชัยชาญ โพธิ์ทอง สามโก้ และแสวงหา พระนครศรีอยุธยา น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำลพบุรี แม่น้ำน้อย เอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มการเกษตรใน ๕ อำเภอ ๕๔ ตำบล ๒๙๗ หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน ๔,๔๙๔ ครัวเรือน ๑๓,๙๗๗ คน ได้แก่ อำเภอพระนครศรีอยุธยา บางไทร มหาราช ผักไห่ และบางบาล ระยอง น้ำท่วมในพื้นที่ ๒ อำเภอ ๖ ตำบล ๓๒ หมู่บ้าน ได้แก่ อำเภอเมืองระยอง และวังจันทร์ ตราด เกิดน้ำป่าไหลหลากและดินถล่มในพื้นที่ ๒ อำเภอ ได้แก่ อำเภอเกาะช้าง และแหลมงอบ สระแก้ว น้ำท่วมในพื้นที่ ๔ อำเภอ ๑๐ ตำบล ๑ เทศบาล ๓๒ หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน ๖,๓๔๖ ครัวเรือน ๒๕,๘๐๐ คน พื้นที่การเกษตรเสียหาย ๔๐,๐๐๐ ไร่ ได้แก่ อำเภออรัญประเทศ วังน้ำเย็น ตาพระยา และโคกสูง นครราชสีมา น้ำท่วมในพื้นที่ ๓๑ อำเภอ ๓๗๖ ตำบล ๒,๑๕๘ หมู่บ้าน พื้นที่การเกษตรเสียหาย ๔๕๒,๑๗๔ ไร่ ได้แก่ อำเภอเมือง นครราชสีมา สูงเนิน ขามทะเลสอ โนนแดง คง เสิงสาง หนองบุญมาก จักรราช เทพารักษ์ ด่านขุนทด บ้านเหลื่อม โนนสูง โชคชัย พิมาย โนนไทย ห้วยแถลง ปากช่อง สีคิ้ว ปักธงชัย ขามสะแกแสง เฉลิมพระเกียรติ พระทองคำ บัวใหญ่ ครบุรี บัวลาย เมืองยาง ศรีดา ชุมพวง วังน้ำเขียว ลำทะเมนชัย และแก้งสนามนาง ปราจีนบุรี น้ำท่วมในพื้นที่ ๒ อำเภอ ๔ ตำบล ๑๔ หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน ๑,๘๗๐ ครัวเรือน ๕,๖๑๐ คน ได้แก่ อำเภอนาดี และกบินทร์บุรี ความเสียหายอยู่ในระหว่างการสำรวจ ลพบุรี น้ำท่วมในพื้นที่ ๑๑ อำเภอ ๑๒๐ ตำบล ๑,๐๑๒ หมู่บ้าน ได้แก่ อำเภอเมืองลพบุรี โคกสำโรง ชัยบาดาลพัฒนานิคม ลำสนธิ ท่าหลวง หนองม่วง สระโบสถ์ โคกเจริญ บ้านหมี่ และท่าวุ้ง นครสวรรค์ น้ำท่วมในพื้นที่ ๖ อำเภอ ๒๕ ตำบล ราษฎรเดือดร้อน ๒,๒๒๖ ครัวเรือน ๖,๖๙๘ คน ได้แก่ อำเภอเมืองนครสวรรค์ ตาคลี ลาดยาว หนองบัว ท่าตะโก และไพศาลี ชัยภูมิ น้ำท่วมในพื้นที่ ๑๖ อำเภอ ๑๑๓ ตำบล ๑,๓๐๕ หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน ๖๓,๖๑๐ ครัวเรือน ๑๘๕,๗๔๒ คน ได้แก่ อำเภอเมืองชัยภูมิ เกษตรสมบูรณ์ ภูเขียว บำเหน็จณรงค์ เนินสง่า จัตุรัส บ้านเขว้า แก้งคร้อ หนองบัวแดง หนองบัวระเหว คอนสวรรค์ ซับใหญ่ คอนสาร ภักดีชุมพล เทพสถิติ และบ้านแท่น สระบุรี น้ำท่วมในพื้นที่ ๑๓ อำเภอ ๑๑๑ ตำบล ๘๖,๑๐๐๐ ครัวเรือน ๑๘๕,๙๙๕ คน เสียชีวิต ๑ ราย ได้แก่ อำเภอเมืองสระบุรี บ้านหม้อ พระพุทธบาท มวกเหล็ก แก่งคอย วังม่วง เสาไห้ เฉลิมพระเกียรติ ดอนพุด หนองแซง หนองแค วิหารแดง และหนองโดน เพชรบูรณ์ น้ำท่วมในพื้นที่ ๕ อำเภอ ๔๙ ตำบล ๒๗๑ หมู่บ้าน ได้แก่ อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ หนองไผ่ ศรีเทพ บึงสามพัน และวิเชียรบุรี นครนายก น้ำท่วมในพื้นที่อำเภอบ้านนา ๒ ตำบล ราษฎรเดือดร้อน ๕๐๐ ครัวเรือน ๑,๕๐๐ คน ศรีสะเกษ น้ำล้นสปริงเวย์เข้าท่วมในพื้นที่อำเภอขุนหาญ ความเสียหายอยู่ในระหว่างการสำรวจ ตาก น้ำท่วมในพื้นที่ ๖ อำเภอ ๓๙ ตำบล ๑ เทศบาลนคร ๒๖๗ หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน ๓๐,๓๓๒ ครัวเรือน ๑๐๐,๐๐๖ คน ได้แก่ อำเภออุ้งผาง พบพระ แม่สอด ท่าสองยาง แม่ละมาด และบ้านตาก สุรินทร์ น้ำท่วมในพื้นที่ ๗ อำเภอ ๓๓ ตำบล ๒๕๒ หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน ๒๕,๔๒๒ ครัวเรือน ๙๖,๕๙๔ คน ได้แก่ อำเภอเมืองสุรินทร์ สังขะ บัวเชด ศรีขรภูมิ ศรีณรงค์ ชุมพลบุรี และกาบเชิง บุรีรัมย์ น้ำท่วมในพื้นที่ ๑๑ อำเภอ ๖๒ ตำบล ๔๘๕ หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน ๑๓,๒๗๕ ครัวเรือน ๕๑,๘๗๗ คน ความเสียหายอยู่ในระหว่างการสำรวจ ได้แก่ อำเภอโนนดินแดง สตึก ปะคำ บ้านกรวด ประโคนชัย เฉลิมพระเกียรติ ละหานทราย นางรอง หนองหงส์ ลำปลายมาศ และชำนิ ขอนแก่น น้ำท่วมในพื้นที่ ๓ อำเภอ ๒๗ ตำบล ๑๕๓ หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน ๔,๕๘๒ ครัวเรือน ๑๖,๐๘๔ คน ได้แก่ อำเภอภูผาม่าน บ้านไผ่ และชุมแพ นนทบุรี แม่น้ำเจ้าพระยาเอ่อล้นเข้าท่วมในพื้นที่ ๖ อำเภอ ๕๔ ตำบล ๑๒๘ หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน ๑๕,๐๒๗ ครัวเรือน ๑๗,๙๔๐ คน ได้แก่ อำเภอเมืองนนทบุรี ปากเกร็ด บางกรวย บางใหญ่ บางบัวทอง และไทรน้อย ปทุมธานี น้ำเจ้าพระยาเอ่อล่นเข้าท่วมในพื้นที่ ๗ อำเภอ ๓๙ ตำบล ราษฎรเดือดร้อน ๑๓,๑๙๗ ครัวเรือน ๒๖,๓๙๔ คน ได้แก่ อำเภอเมืองปทุมธานี สามโคก ลาดหลุมแก้ว ธัญบุรี ลำลูกกา คลองหลวง และหนองเสือ กำแพงเพชร น้ำท่วมในพื้นที่ ๖ อำเภอ ๓๓ ตำบล ๒๔๘ หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน ๓๑,๗๕๘ ครัวเรือน ๓๓,๗๖๓ คน ได้แก่ อำเภอขาณุวรลักษบุรี ปางศิลาทอง ไทรงาม บึงสามัคคี ทรายทองวัฒนา ทรายทองพรานกระต่าย นครปฐม แม่น้ำท่าจีนเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่อำเภอบางเลน และปริมาณน้ำแม่น้ำท่าจีนในพื้นที่อำเภอเมืองนครปฐม นครชัยศรี สามพราน กำแพงแสน มีระดับสูงขึ้น อุทัยธานี น้ำจากแม่น้ำวงก์และคลองโพธิ์ ไหลเข้าสู่แม่น้ำแควตากแดด ส่งผลทำให้น้ำท่วมในพื้นที่ตำบลเนินแจง และตำบลโนนเหล็ก อำเภอเมืองอุทัยธานี พื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหายประมาณ ๓๐๐ ไร่ ระดับน้ำลดลงอย่างต่อเนื่องแล้ว สิงห์บุรี น้ำเจ้าพระยาเอ่อล้นเข้าท่วมในพื้นที่อำเภออินทร์บุรี ๒ ตำบล ๑ เทศบาล ๑๘ หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน ๑,๐๔๒ ครัวเรือน ๒,๐๘๔ คน จันทบุรี ได้ประกาศพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินในพื้นที่ ๖ อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองจันทบุรี แก่งหางแมว เขาคิชกูฎ มะขาม สอยดาว และโป่งน้ำร้อน เชียงใหม่ น้ำท่วมในพื้นที่ ๘ อำเภอ ๒๕ ตำบล ๑๐๙ หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน ๕,๙๐๑ ครัวเรือน ๑๔,๘๖๗ คน ได้แก่ อำเภอดอยเต่า ชัยปราการ แม่วาง จอมทอง ดอยหล่อ ฮอด สันป่าตอง และสะเมิง นอกจากนี้ ลำปาง เกิดดินถล่มทับเส้นทางลำปาง-เชียงใหม่ บริเวณหลักกิโลเมตร ที่ ๒๘-๒๙ ตำบลเวียงตาล อำเภอห้างฉัตร สำหรับการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต และสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดที่ประสบภัยได้ประสานความร่วมมือกับจังหวัด อำเภอ และองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ประสบภัย จัดส่งเรือท้องแบน ๖๕๐ ลำ ถุงยังชีพ ๘๘,๗๖๐ ถุง เต๊นท์ ๑๑๖ หลัง ไปติดตั้งเพื่อให้ผู้ประสบภัยมีที่พักอาศัยชั่วคราว รถผลิตน้ำดื่ม ๘ คัน น้ำดื่ม ๗๕,๒๐๙ ขวด เครื่องสูบน้ำ ๑๓๔ เครื่อง รถกู้ภัยทุกชนิด ๔๖๓ คัน รถไฟฟ้าส่องสว่าง ๔ คัน สนับสนุนการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยโดยด่วนแล้ว ตลอดจนจัดเจ้าหน้าที่เร่งสำรวจความเสียหาย เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ สุดท้ายนี้ หากประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัย สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือทางสายด่วนนิรภัย ๑๗๘๔ ตลอด ๒๔ ชั่วโมง เพื่อประสานและให้ความช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ