“คปภ. ประเมินความเสียหาย ด้านการประกันภัย เพื่อเร่งช่วยเหลือผู้ประสบภัยหลังน้ำลด”

ข่าวทั่วไป Wednesday October 27, 2010 11:22 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--27 ต.ค.--ปภ. จากกรณีเกิดเหตุอุทกภัยน้ำท่วมใน 34 จังหวัดที่ผ่านมา สำนักงาน คปภ. ได้ประสานให้สมาคมประกันชีวิตไทยและสมาคมประกันวินาศภัย รวบรวมข้อมูลของผู้ประสบภัยเพื่อเร่งประเมินความเสียหายในชีวิตและ ทรัพย์สินของผู้ประสบภัย เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านการประกันภัยทันทีหลังน้ำลด นางจันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการ คปภ. เปิดเผยตัวเลขความเสียหายจากเหตุอุทกภัย ณ วันที่ 26 ตุลาคม 2553 มีรายงานของผู้เสียชีวิต เป็นจำนวนทั้งสิ้น 40 รา ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบข้อมูลของการทำประกันชีวิต สำหรับการประกันวินาศภัยได้รับรายงานว่ามีจำนวนรถยนต์ที่ทำประกันภัยประเภท 1 เป็นจำนวน 443,182 กรมธรรม์ รวมมูลค่าจำนวนเงินเอาประกันภัยทั้งสิ้น 200.476 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้ ได้รับรายงานความเสียหายเบื้องต้น จำนวน 666 คัน คิดเป ็นมูลค่าจำนวนเงินเอาประกันภัยทั้งสิ้น 49.56 ล้านบาท โดยบริษัทที่รับประกันภัยสูงสุด คือ บริษัทวิริยะประกันภัย จำกัด รองลงมา คือ บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) และบริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ตามลำดับ ซึ่งคาดว่าหลังจากน้ำลดแล้วจะได้รับรายงานความเสียหายเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก สำหรับการประกันอัคคีภัยและความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน มีจำนวนกรมธรรม์ทั้งสิ้น 684,376 กรมธรรม์ รวมมูลค่าจำนวนเงินเอาประกันภัย ทั้งสิ้น 1.15 ล้านล้านบาท โดยในเบื้องต้นได้รับรายงานความเสียหายของทรัพย์สินเพียง 17 ราย คิดเป็นมูลค่าประมาณ 29 ล้านบาท ทั้งนี้ จำนวนกรมธรรม์ดังกล่าวจะต้องได้รับการตรวจสอบว่าได้มีการซื้อความคุ้มครองเพิ่มเติมสำหรับภัย ้ำท่วมหรือไม่ ทั้งนี้ รายละเอียดของความคุ้มครองมีดังนี้ 1. การประกันภัยรถประเภท 1 ให้ความคุ้มครองตัวรถเอาประกันภัย ที่ได้รับความเสียหายจากภัยน้ำท่วมกรณีความเสียหายที่เกิดขึ้นมีมูลค่าตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไปของมูลค่ารถ จะได้รับค่าสินไหมทดแทนเต็มจำนวนเงินเ อาประกันภัย ส่วนการประกันภัยรถภาคบังคับ จะคุ้มครองชีวิต ร่างกาย และอนามัยของผู้ประสบภัยจากรถ ทุกคน โดยให้ความคุ้มครองสูงสุดกรณีได้รับบาดเจ็บตามจริงไม่เกิน 50,000 บาท หากเสียชีวิต ทุพพลภาพถาวร หรือสูญเสียอวัยวะ รายละ 200,000 บาท นอกจากนั้น กรณีที่ผู้บาดเจ็บรักษาตัวในสถานพยาบาล ยังได้รับค่าชดเชยรายวัน ๆ ละ 20 0 บาท แต่ไม่เกิน 20 วัน 2. การประกันอัคคีภัยที่ซื้อความคุ้มครองน้ำท่วมเพิ่ม และการประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน จะได้รับความคุ้มครองตามความเสียหายตามที่ระบุไว้ในตัวกรมธรรม์ เลขาธิการ คปภ. กล่าวเพิ่มเติมว่า ผู้เอาประกันภัยรายใดยังไม่ได้แจ้งความเสียหายของชีวิตและทรัพย์สินที่เกิดขึ้น ขอให้รีบแจ้งให้บริษัทประกันภัยทราบโดยเร็ว พร้อมแสดงรายละเอียดความสูญเสียและมูลค่าความเสียหายเบื้องต นของทรัพย์สิน ส่วนกรณีเสียชีวิตให้ยื่นหลักฐานสำเนาใบมรณบัตร และสำเนาบันทึกประจำวันตำรวจ เป็นต้น ทั้งนี้ สำนักงาน คปภ. จะเร่งให้ความช่วยเหลือด้านการประกันภัยแก่ผู้ประสบภัยอย่างรวดเร็วและ เป็นธรรมต่อไป อย่างไรก็ตาม ขอให้ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม โปรดตรวจสอบกรมธรรม์ประกันภัยของท่านว่ามีความคุ้มครองใดบ้าง เพื่อประโยชน์ของชีวิต และทรัพย์สินต่อไป หากมีข้อสงสัยติดต่อสายด่วนประกันภัย 1186

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ