จิตกรตัวน้อยจากวิกฤตน้ำท่วม

ข่าวทั่วไป Friday October 29, 2010 10:24 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--29 ต.ค.--มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย ได้ก่อตั้งพื้นที่สำหรับเด็กที่แรกขึ้นมาสองแห่ง ใช้ชื่อว่า ศูนย์เพื่อนเด็ก อยู่ที่อำเภอโนนสูง ในจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นจังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วม “พื้นที่ซึ่งเด็กจะได้รับความปลอดภัย ถือเป็นเรื่องสำคัญอันดับต้นในการบรรเทาทุกข์หลังภัยพิบัติของมูลนิธิศุภนิมิตฯ” น.ส. ภัทริกา จุลโมกข์ ผู้ประสานงานโครงการคุ้มครองเด็ก ซึ่งเป็นแรงผลักดันในการก่อตั้งศูนย์เพื่อนเด็ก กล่าว ศูนย์เพื่อนเด็ก ตั้งอยู่บริเวณที่พักอาศัยชั่วคราวในวัดโตนด ซึ่งมีผู้อาศัยทั้งหมด 300 คน และในจำนวนนี้มีเด็ก 43 คนที่อายุน้อยกว่า 15 ปี “เรามุ่งเน้นให้เด็กกินดีอยู่ดี และให้การสนับสนุนทางจิตใจและอารมณ์ เด็กเหล่านี้ได้ถูกทารุณจิตใจและพลัดจากบ้านของพวกเขา เราจึงต้องการส่งเสริมให้เด็กเหล่านี้เรียนรู้ที่จะเอาตัวรอด ได้รับการกินอยู่ที่ดี และมุ่งความสนใจไปที่จุดแข็งของตัวเอง" น.ส. ภัทริกา กล่าว พื้นที่สำหรับเด็กแห่งนี้ ได้รับการเปิดอย่างเป็นทางการโดยนางจิตรา ธรรมบริสุทธิ์ ผู้อำนวยการมูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย ซึ่งมาเยือนจังหวัดนครราชสีมาเพื่อสังเกตการณ์ภารกิจบรรเทาทุกข์ของมูลนิธิฯ "พื้นที่เช่นนี้มีความสำคัญอย่างยิ่ง เมื่อมีภัยพิบัติและผลกระทบที่ตามมา" เธอกล่าว "พื้นที่นี้จะช่วยให้เด็กๆ สร้างกิจวัตรประจำวันในขณะที่พ่อแม่ของพวกเขารับมือกับการที่ครอบครัวถูกพลัดออกจากที่อาศัย และหาทางแก้ไขปัญหา นอกจากนี้ยังช่วยให้เด็กๆ พ้นจากสถานที่อันตราย และปกป้องพวกเขาจากการถูกทำร้ายหรือการละเมิดสิทธิ อีกทั้งยังมีการฝึกอบรมพนักงานของเราให้สามารถวินิจฉัยและตอบสนองต่อความต้องการของเด็กๆ ที่ควรได้รับคำปรึกษาหรือการดูแลพิเศษ” ถ่ายทอดอารมณ์ผ่านศิลปะ น.ส. ภัทริกา และทีมงานของเธอได้จัดกิจกรรมที่เน้นงานศิลปะในรูปแบบต่างๆ เป็นส่วนใหญ่ “ศิลปะถือได้ว่าเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยเด็กๆ ในการแสดงออก บางคนอาจจะไม่สามารถค้นหาคำพูดเพื่อถ่ายทอดอารมณ์และความรู้สึกของพวกเขา เพราะฉะนั้นการที่เด็กๆได้รู้จักวิธีการแสดงออก ก็จะช่วยให้พวกเขารับมือกับความเครียดได้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยชี้แจงปัญหาการเกี่ยวกับการคุ้มครองเด็ก ตามธรรมชาติของเด็ก จะเห็นว่าพวกเขาแสดงความรู้สึกออกมาได้ชัดเจนในเวลาที่เล่นอยู่ ศิลปะและกิจกรรมสร้างสรรค์ก็เป็นการเล่นอีกแบบหนึ่ง และพื้นที่สำหรับเด็กก็เปรียบเสมือนสนามเด็กเล่นของพวกเขาในภาวะฉุกเฉิน" เธออธิบาย กิจกรรมของพวกเขาทั้งช่วยฝึกไหวพริบและยังเป็นการเล่นไปในตัว เช่นการทำแผนที่ให้เด็กๆ ค้นหาตำแหน่งบ้าน โรงเรียน โรงพยาบาล และสถานีตำรวจ ในชุมชนของพวกเขา ซึ่งช่วยส่งเสริมให้เด็กคิด และยังได้เรียนรู้ว่ามีสถานที่ที่ปลอดภัยอยู่ตรงไหนบ้าง มูลนิธิศุภนิมิตฯ ได้เคยก่อตั้งพื้นที่สำหรับเด็กเช่นนี้เมื่อปี 2547 ในช่วงเหตุการณ์ สึนามิ “เราดูแลความเป็นอยู่ของเด็กในทุกๆด้าน รวมถึง จิตใจ สุขอนามัย สิทธิ์ในการป้องกันตนเอง อีกทั้งยังช่วยสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง และฝึกให้มีระเบียบวินัย เราไม่ได้ตั้งเป็นกฎกติกา แต่เรามีความเข้าใจกัน” น.ส. ภัทริกา อธิบาย พื้นที่สำหรับเด็กแห่งที่สอง ณ ตำบล ลำคอหงษ์ หนึ่งวันหลังการเปิดตัวที่วัดโตนด มูลนิธิศุภนิมิตฯ ก็ได้เปิดพื้นที่สำหรับเด็กแห่งที่สองขึ้นมาในบริเวณที่พักอาศัยชั่วคราวของตำบล ลำคอหงษ์ ในอำเภอเดียวกัน บุคลากรของมูลนิธิศุภนิมิตฯ ที่ทำงานในพื้นที่สำหรับเด็ก หรือในด้านอื่นๆ ที่เน้นเกี่ยวกับกิจกรรมของเด็ก ต้องได้รับการฝึกอบรมเพื่อให้แน่ใจว่าพวกเขาเข้าใจ และมีความสามารถในการรับมือกับความทุกข์ร้อนของเด็ก ตลอดจนรับรู้และแนะนำเด็กๆ ที่อาจต้องการคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์เพื่อนเด็ก เปิดให้บริการตั้งแต่ 09:00 ถึง 16:00 ทุกวัน และจะเปิดไปจนกว่าแต่ละครอบครัวจะสามารถกลับไปที่บ้านของพวกเขาได้ เมื่อวันพุธที่ 27 ตุลาคม ที่ผ่านมา น้ำยังท่วมหมู่บ้านอยู่ และระดับน้ำยังคงสูงโดยไม่มีวี่แววว่าจะลดลง ที่พักอาศัยชั่วคราวในวัดโตนด เป็นอีกหนึ่งในที่พักอาศัยชั่วคราวหลายแห่งสำหรับผู้ประสบภัย สืบเนื่องมาจากเหตุการณ์น้ำท่วม ผู้รอดชีวิต 300 ราย ตำรวจ 10 นาย และพระสงฆ์มากกว่า 30 รูป ต่างร่วมกันใช้ห้องสุขาที่มีอยู่เพียง 6 ห้อง รวมไปถึงสิ่งอำนวยความสะดวก และที่ซักผ้า ซึ่งได้รับการทำความสะอาดหลังจากที่ถูกน้ำท่วมในช่วงสองสามวันแรก สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เปิดเผยว่ามีผู้เสียชีวิตจากสถานการณ์อุทกภัย ตั้งแต่วันที่ 10-27 ตุลาคม เป็นจำนวน 59 รายแล้ว โฆษกข่าว ภัทริกา จุลโมกข์ (ผู้ประสานงานโครงการคุ้มครองเด็ก): +66 (0) 858134484. English: Renate Janse van Vuuren (ผู้จัดการแผนกสื่อสาร): +66 (0) 823889908.

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ