อินเทลร่วมกับบริษัทชั้นนำ ชูวิสัยทัศน์ระบบคลาวด์ยุคใหม่ด้วยศูนย์ข้อมูลแบบเปิด

ข่าวเทคโนโลยี Friday October 29, 2010 10:37 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--29 ต.ค.--คาร์ล บายร์ แอนด์ แอสโซซิเอทส์ - อินเทลระบุว่าวิสัยทัศน์ Cloud 2015 ของตนมีองค์ประกอบหลักสามประการก็คือ ระบบคลาวด์แบบ “เป็นหนึ่งเดียวกัน” ที่ทำงานร่วมกันได้ ย้ายซอฟต์แวร์แอพลิเคชั่นและทรัพยากรต่างๆ ได้โดย “อัตโนมัติ” รวมทั้งระบบคลาวด์ที่แยกแยะเครื่องลูกข่ายได้ โดยเน้นไปที่การทำงานของพีซีและอุปกรณ์ต่างๆ เป็นหลัก เนื่องจากรู้ว่าการประมวลผลควรเกิดขึ้นในระบบคลาวด์ หรือในโน้ตบุก สมาร์ทโฟน หรืออุปกรณ์อื่นๆ - เปิดตัวกลุ่ม Open Data Center Alliance ซึ่งมีสมาชิกประกอบด้วยบริษัทชั้นนำจากทั่วโลกมากกว่า 70 บริษัท ที่ร่วมงานกับอินเทลเพื่อสร้างแนวทางสำหรับระบบคลาวด์และศูนย์ข้อมูลรุ่นใหม่ที่เป็นมาตรฐานอุตสาหกรรม โดยเป็นโซลูชันที่ทำงานร่วมกันได้และปรับเปลี่ยนสภาพได้อย่างคล่องตัว เพื่อรองรับระบบคลาด์และศูนย์ข้อมูลยุคใหม่ - เปิดตัวแผนงาน Intel? Cloud Builders ที่เป็นการรวมตัวกันของบริษัทฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ชั้นนำของโลก 20 บริษัทที่มาร่วมมือกันทำงานเพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ที่จะทำให้ติดตั้ง ใช้ และแลกเปลี่ยนระบบคลาวด์ร่วมกันได้ง่ายขึ้น - ยืนยันตัวเลขอัตราการใช้อินเทล? ซีออน? โปรเซสเซอร์ของเซิร์ฟเวอร์ 9 ใน 10 เครื่อง อันเป็นผลพวงจากคุณสมบัติต่างๆ อาทิ ระบบใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ, Intel? Virtualization Technology และ Intel? Trusted Execution Technology ที่เหมาะกับการประมวลผลคลาวด์อย่างยิ่ง เมื่อวานนี้ (28 ต.ค.53) อินเทล คอร์ปอเรชั่น เปิดตัวโครงการใหม่หลายโครงการภายใต้วิสัยทัศน์ “Cloud 2015” ซึ่งตั้งเป้าเอาไว้ว่าจะทำให้ระบบประมวลผลคลาวด์ในอินเทอร์เน็ตสามารถทำงานร่วมกันได้ดีขึ้น ปลอดภัยมากขึ้น และใช้ง่ายยิ่งขึ้น วิสัยทัศน์ Cloud 2015 ของอินเทลมีองค์ประกอบหลักสามประการคือ หนึ่ง การทำงานในลักษณะ “เป็นหนึ่งเดียวกัน” (federated) หรือระบบคลาวด์ที่มีเอกภาพมากขึ้นที่ช่วยให้องค์กรต่างๆ แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างระบบคลาวด์ภายในและภายนอกได้ดีขึ้น สอง ระบบเครือข่าย “อัตโนมัติ” (automated) ที่ทำการย้าย แอพลิเคชั่นและทรัพยากรไปยังจุดที่มี การใช้พลังงาน อย่างมีประสิทธิภาพในศูนย์ข้อมูลโดยอัตโนมัติ และสาม ระบบคลาวด์ที่แยกแยะเครื่องลูกข่ายได้ (client-aware clouds) ที่เน้นการทำงานของพีซีและอุปกรณ์ต่างๆ เป็นหลัก โดยแนวทางนี้จะช่วยให้ระบบทราบว่าแอพลิเคชั่น คำสั่ง และการประมวลผลต่างๆ ควรเกิดขึ้นในระบบคลาวด์ โน้ตบุก สมาร์ทโฟน หรืออุปกรณ์ต่างๆ กันแน่ ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้และอุปกรณ์ต่างๆ มีคุณสมบัติเฉพาะตัวเพื่อรองรับการทำงานผ่านระบบออนไลน์ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดได้ อินเทลจะสนับสนุนเป้าหมายต่างๆ เหล่านี้โดยการพัฒนาซอฟต์แวร์และใส่คุณสมบัติใหม่ๆ ลงไปในอินเทล? ซีออน? โปรเซสเซอร์ (Intel? Xeon? processors) อาทิเช่น คุณสมบัติอย่าง อินเทล เวอร์ช่วงไลเซชั่น เทคโนโลยี (Intel? Virtualization Technology หรือ Intel? VT) และ อินเทล ทรัสเต็ด เอ็กเซ็กคิวชั่น เทคโนโลยี (Intel? Trusted Execution Technology หรือ Intel? TXT) ซึ่งเป็นองค์ประกอบพื้นฐานสำหรับการประมวลผลระบบคลาวด์ในปัจจุบันนี้ พันธมิตร Open Data Center ก้าวแรกของการมุ่งหน้าสู่วิสัยทัศน์ Cloud 2015 คือ การร่วมมือกันระหว่างอินเทลและบริษัทชั้นนำมากกว่า 70 บริษัท ในการก่อตั้งกลุ่ม Open Data Center Alliance บริษัทเหล่านี้มีมูลค่าการลงทุนด้านไอทีต่อปีรวมกันกว่า 5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ และยังมีงานวิจัยหรือโครงการเกี่ยวกับระบบคลาวด์เป็นจำนวนมากอีกด้วย คณะกรรมการหลักของกลุ่มประกอบด้วย บีเอ็มดับบลิว (BMW*) ไชน่าไลฟ์ (China Life*) ดอยทช์ แบงก์ (Deutsche Bank*) เจ พีมอร์แกน เชส (J.P. Morgan Chase*) ล็อกฮีท มาร์ติน (Lockheed Martin*) แมริออทท์ อินเตอร์เนชั่นแนล (Marriott International, Inc. *) ธนาคารแห่งชาติออสเตรเลีย (National Australia Bank*) เชลล์ (Shell*) เทอร์มาร์ก (Terremark*) และยูบีเอส (UBS*) กลุ่มความร่วมมือนี้จะจัดทำแนวทางสำหรับความต้องการของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ในอนาคตเพื่อนำไปสู่ระบบคลาวด์และโซลูชั่นศูนย์ข้อมูลที่เปิดกว้างและทำงานร่วมกันได้ อินเทลทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาพิเศษในกลุ่มความร่วมมือนี้ โดยการเป็นสมาชิกของอินเทลในเบื้องต้นนี้จะเน้นไปที่การเป็นที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีให้กับบริษัทในกลุ่มสมาชิกเพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ อินเทลจะไม่เน้นถือบทบาทเป็นบริษัทผู้จัดสรรเทคโนโลยี อินเทลตอบรับวิสัยทัศน์และเป้าหมายของกลุ่ม Open Data Center Alliance โดยมีแผนที่จะพัฒนาและนำเสนอผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นต่างๆ ออกมาให้สอดคล้องกับเป้าหมายดังกล่าว อินเทลจะทำงานร่วมกับพันธมิตรฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ส่งเสริมให้อุตสาหกรรมนำเอามาตรฐานแบบเปิดมาใช้ จัดเตรียมช่องทางเพื่อช่วยให้สามารถก้าวไปสู่อินเทอร์เน็ตยุคต่อไปได้เร็วขึ้น เพื่อนำเสนอระบบคลาวด์แบบเปิดที่ทำงานร่วมกันได้ เพื่อรองรับการทำงานของธุรกิจ ภาพยนตร์ การเล่นเกม เพลง เครือข่ายทางสังคม และเว็บเซอร์วิสใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วย เคิร์ก สกาวเกิร์น รองประธานและผู้จัดการทั่วไปจาก กลุ่มดาต้าเซ็นเตอร์ของอินเทล กล่าวว่า “อุตสาหกรรมมีโอกาสที่จะเร่งการนำเอาศักยภาพของระบบประมวลผลคลาวด์มาใช้ และการแปลงสภาพในครั้งนี้จะช่วยให้เศรษฐกิจของอุตสาหกรรมดีขึ้นด้วย กลุ่ม Open Data Center Alliance ช่วยให้ในตอนนี้เรามีกลุ่มบริษัทชั้นนำของโลกที่มุ่งมั่นที่จะร่วมดำเนินงานกับอินเทลและอุตสาหกรรมไฮเทค เพื่อเร่งจัดสรรโซลูชั่นออกมาแก้ปัญหาความท้าทายต่างๆ ของระบบคลาวาด์ ในขณะที่อุตสาหกรรมเซิร์ฟเวอร์เองก็มีวิวัฒนาการที่มีสภาพที่ต่างไปจากเดิมอย่างเหลือเชื่อ นับตั้งแต่การเปิดตัวอินเทล? เพนเทียม? โปร โปรเซสเซอร์ (Intel? Pentium? Pro Processor) ในปี 2538 เป็นต้นมา เป้าหมายของเราคือการสร้างความมั่นใจว่าระบบประมวลผลคลาวด์ยังคงช่วยให้บริษัทต่างๆ ประหยัดค่าใช้จ่ายโดยอิงกับหลักเกณฑ์พื้นฐานดั้งเดิม นั่นคือ นวัตกรรมโดยใช้มาตรฐานแบบเปิดที่ทำงานร่วมกันได้” Intel Cloud Builders เป้าหมายของแผนงาน Intel? Cloud Builders ก็คือการวางแนวทางเทคโนโลยีให้กับวิสัยทัศน์ Cloud 2015 อินเทลประกาศว่าจะขยายแผนงานนี้โดยการดึงพันธมิตรผู้ค้าระบบและซอฟต์แวร์โซลูชั่นชั้นนำมาทำงานร่วมกันเพื่อจัดทำสูตรสำเร็จและแนวทางปฏิบัติในการพัฒนาระบบคลาวด์ จากนั้นบริษัทต่างๆ จะสามารถนำเอาสูตรดังกล่าวไปติดตั้งและปรับแต่งระบบโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดได้ ในขณะที่กลุ่มความร่วมมือ Open Data Center Alliance จะเป็นผู้กำหนดความต้องการสำหรับระบบโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ในอนาคต แผนงาน Intel? Cloud Builders จะนำเอาความต้องการเหล่านี้มาปรับให้เป็นโซลูชั่นที่นำไปใช้งานได้จริง ป้จจุบันแผนงานนี้มีโครงสร้างอ้างอิงจำนวน 20 ชุด และกำลังจะมีเพิ่มขึ้นอีกในเร็วๆ นี้ โครงสร้างเหล่านี้เป็นผลงานจากชุมชนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดสรรเทคโนโลยีของระบบคลาวด์ อาทิ คาโนนิคอล (Canonical*) ซิสโก (Cisco*) ซีทริกซ์ (Citrix*) เดลล์ (Dell*) อีเอ็มซี (EMC*) อีโนมาลี (Enomaly*) ยูคาลิปตัส ซิสเต็มส์ (Eucalyptus Systems*) จีพร็อกซี (GProxy*) เอชพี (HP*) ไอบีเอ็ม (IBM*) อินเทล(Intel) จอยเอนท์ (Joyent*) ไมโครซอฟท์ (Microsoft*) เน็ตแอ็พ (NetApp*) เน็ตสวีท (NetSuite*) โนเวลล์ (Novell*) พาราเรล (Parallels*) เรดแฮท (Red Hat*) ยูนิวา (Univa*) และวีเอ็มแวร์ (VMware*) เป็นต้น

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ