ไซแมนเทค เผยผลสำรวจ พบเทคโนโลยี เพียวดิสก์ มีความจำเป็นต่อระบบไอทีขององค์กร

ข่าวทั่วไป Thursday April 12, 2007 16:53 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--12 เม.ย.--เอพีพีอาร์ มีเดีย
ไซแมนเทค คอร์ปอเรชัน เปิดตัวเวอร์ชันล่าสุดของ เวอริทัส เน็ตแบ็กอัพ เพียวดิสก์ (Veritas NetBackup PureDisk) พร้อมทั้งยังเปิดเผยผลสำรวจในประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการปกป้องข้อมูลขององค์กร ที่อยู่ภายนอกดาต้าเซ็นเตอร์ (data center) ซึ่งชี้ชัดว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้โซลูชันอย่าง เน็ตแบ็กอัพ เพียวดิสก์ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในกลยุทธ์การปกป้องข้อมูล และช่วยเพิ่มประสิทธิผลในการปกป้องข้อมูลสำหรับสำนักงานทางไกล (remote office) โดย เพียวดิสก์ ได้มาพร้อมกับเทคโนโลยีในการทำสำเนาข้อมูลที่สามารถช่วยลดพื้นที่และใช้แบนด์วิธ (bandwidth) ระหว่างไซต์ทางไกลและดาต้าเซ็นเตอร์กลางได้อย่างมีประสิทธิภาพ
งานวิจัยช่วยย้ำความจำเป็นของ เน็ตแบ็กอัพ เพียวดิสก์ สำหรับโซลูชันของไมโครซอฟท์และซีควลเซิร์ฟเวอร์
จากการสำรวจล่าสุดที่สนับสนุนโดยไซแมนเทค ผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่า ส่วนใหญ่แล้วการกระจายข้อมูลจะดำเนินการผ่านระบบฐานข้อมูลเป็นหลัก เช่น ไมโครซอฟท์ซีควลเซิร์ฟเวอร์ (Microsoft SQL Server) และ 25 เปอร์เซ็นต์กล่าวว่า มีแอพพลิเคชันหลายตัว เช่น ไมโครซอฟท์เอ็กซ์เชนจ์ (Microsoft Exchange) เป็นต้น ที่ถือเป็นข้อมูลส่วนหนึ่งซึ่งมักถูกทำสำรองจากทางไกล (remote office) เพื่อการเก็บรักษา ซึ่งในเวอร์ชันล่าสุดของ เน็ตแบ็กอัพ เพียวดิสก์ จะช่วยเสริมพื้นที่เก็บข้อมูลด้วย เพียวดิสก์ และปรับปรุงประสิทธิภาพของแบนด์วิธสำหรับแอพพลิเคชันทั้ง ไมโครซอฟท์เอ็กซ์เชนจ์และซีควลเซิร์ฟเวอร์ ที่มักมีการเรียกทำงานจากทางไกลให้ดีขึ้น ที่สำคัญครั้งนี้ เพียวดิสก์ ได้ผสานการทำงานร่วมกับ เน็ตแบ็กอัพ เป็นครั้งแรก ทำให้ผู้ใช้สามารถส่งข้อมูลสำรองบน เพียวดิสก์ ไปยังเทปแบ็กอัพ หรือจะเรียกกู้ข้อมูลกลับคืนจากเทปมาสู่ เน็ตแบ็กอัพ ก็ได้เช่นกัน ซึ่งช่วยให้กระบวนการด้านการกอบกู้ภัยพิบัติและการจัดการด้านการสำรองข้อมูลเป็นไปอย่างเรียบง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น
ผลสำรวจแสดงข้อมูลที่น่าท้าทายเกี่ยวกับการสำรองข้อมูลจากทางไกล
จากผลสำรวจพบว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นกับการกอบกู้ข้อมูลให้แก่ไซต์ทางไกล ประกอบไปด้วยเรื่องความผิดพลาดของสื่อเก็บข้อมูล (53 เปอร์เซ็นต์) ความผิดพลาดของไฟล์สำรองข้อมูล (50 เปอร์เซ็นต์) ไม่ได้สำรองข้อมูลเอาไว้ (39 เปอร์เซ็นต์) และทำสื่อเก็บข้อมูลสูญหาย (22 เปอร์เซ็นต์) นอกจากนี้กว่าครึ่งหนึ่งของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่า งานกอบกู้ข้อมูลดังกล่าวมักจำเป็นต้องให้พนักงานฝ่ายไอทีออกไปจัดการให้ ณ สถานที่นั้นๆ จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า ความต้องการสำคัญของบริษัทเหล่านี้ก็คือ การลดระยะเวลาและจำนวนชั่วโมงทำงานที่ต้องเสียไปกับการสำรองและกอบกู้ข้อมูลจากสำนักงานทางไกล ให้น้อยลงที่สุดเท่าที่จะทำได้
ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ (75 เปอร์เซ็นต์) เห็นว่า ความปลอดภัยของข้อมูลที่อยู่ในระบบสำนักงานทางไกลมีความสำคัญมากหรือสำคัญมากที่สุด และมีกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ที่เคยทำสื่อเก็บข้อมูลสูญหาย ส่วนอีก 12 เปอร์เซ็นต์นั้นเคยถูกโจรกรรมสื่อเก็บข้อมูล ที่สำคัญหนึ่งในสามระบุว่า ไม่ได้มีการเข้ารหัสข้อมูลสำคัญบนเทปเก็บข้อมูลแต่อย่างใด ซึ่งปัญหาทั้งหมดล้วนจัดการได้ด้วย เน็ตแบ็กอัพ เพียวดิสก์ ที่ลดการใช้เทปสำหรับการสำรองข้อมูลจากทางไกล สามารถควบคุมงานได้จากศูนย์กลาง และมีเทคโนโลยีการเข้ารหัสที่ช่วยปกป้องข้อมูลสำคัญได้อย่างมั่นใจ
การสำรวจนี้จัดทำขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2549 โดยได้รับข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีในอเมริกาเหนือกว่า 500 ราย ซึ่งไซแมนเทคได้ให้การสนับสนุนแก่บริษัท แอพไพลด์ รีเสิร์ช (Applied Research) ในการจัดทำงานวิจัยดังกล่าว
"หลายองค์กรกำลังต้องรับมือกับความท้าทายในการสำรองและกอบกู้ข้อมูลจากสำนักงานทางไกล ซึ่งการใช้เทปเก็บข้อมูลเป็นแนวทางที่สิ้นเปลืองทรัพยากรและค่าใช้จ่าย อีกทั้งยังทำให้องค์กรของคุณเกิดความเสี่ยงได้ในหลายๆ ด้าน" นายวัชรสิทธิ์ สันติสุขนิรันดร์ ผู้จัดการฝ่ายขายประจำประเทศไทย บริษัท ไซแมนเทค คอร์ปอเรชัน กล่าว "ผลจากงานวิจัยเหล่านี้ช่วยย้ำให้เห็นว่า โซลูชันแบบไร้เทป การปกป้องข้อมูลให้ปลอดภัย และความสะดวกในการกอบกู้เรียกคืนข้อมูลทั้งไฟล์และแอพพลิเคชันสำหรับสำนักงานภายนอก เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับองค์กรอย่างยิ่ง ซึ่ง เน็ตแบ็กอัพ เพียวดิสก์ นั้นสามารถช่วยให้บริษัทรวมศูนย์การปกป้องไฟล์และแอพพลิเคชันเอาไว้ได้ที่ดาต้าเซ็นเตอร์ของตนเอง และยังผสานการทำงานกับ เน็ตแบ็กอัพ ในดาต้าเซ็นเตอร์เพื่อปฏิบัติตามนโยบายด้านคอมไพลเอนซ์ (compliance) และช่วยจัดเก็บบันทึกข้อมูลในระยะยาวลงบนเทปได้อย่างสะดวก"
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
ที่ปรึกษาฝ่ายประชาสัมพันธ์ บริษัท เอพีพีอาร์ มีเดีย จำกัด
คุณจารุณี สินชัยโรจน์กุล และ คุณบุษกร ศรีสงเคราะห์ ที่ปรึกษาฝ่ายประชาสัมพันธ์
โทรศัพท์ : 0-2655-6633, 01-488-8442 โทรสาร: 0-2655-3560
Email : jarunee@apprmedia.com , busakorn@apprmedia.com
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ