กรุงเทพฯ--1 พ.ย.--กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง
กรมบัญชีกลาง จัดประชุมชี้แจง วิธีปฏิบัติในการโอนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บได้ ให้องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นโดยตรง ผ่านระบบ GFMIS ลดขั้นตอนการทำงาน ดำเนินการได้ทันทีทำให้ อปท. ได้รับเงินเร็วขึ้น
ดร. มั่น พัธโนทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมชี้แจงการจัดสรรเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2552&nb sp; ในระบบ GFMIS ว่า การประชุมชี้แจงในวันนี้ ได้รับความร่วมมือระหว่าง กรมบัญชีกลาง กรมสรรพากร และสำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดฝึกอบรมให้แก่ผู้อำนวยการกองคลัง เจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วน ท้ องถิ่น (อปท.) และเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนการปฏิบัติงานในการรับเงิน การนำส่งเงิน และการเบิกจ่ายเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้แก่ อปท. โดยผ่านระบบ GFMIS ซึ่งในปีงบประมาณ พ. . 2554 จะเริ่มนำร่องก่อน 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชลบุรี (รวมเมืองพัทยา) จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดสมุทรสงคราม โดยมี อปท. รวมจำนวน 170 แห่ง จะได้รับเงินจัดสรรจากรัฐที่ได้จาการจัดเก็บเง นรายได้ที่เป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม ทุกเดือน เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม 2553 เป็นต้นไป
ดร. มั่น พัธโนทัย กล่าวต่อว่า การเปลี่ยนวิธีการจัดสรรแบบใหม่นี้ เพื่อให้ อปท. ได้รับการจัดสรรเงินรวดเร็ว ตรงเวลา เนื่องจากที่ผ่านมากำหนดจ่ายเป็นรายงวด จำนวน 6 งวด ตา ระบบใหม่จะจ่ายทุกเดือน โดยกรมสรรพากรเบิกเงินรายได้ภาษีมูลค่าเพิ่มจากระบบ GFMIS และจ่ายต่อให้ อปท.ได้โดยตรง โดยไม่ต้องขออนุมัติถอนคืนเงินรายได้จากเงินคงคลัง สำหรับสัดส่วนการจัดสรรเงินรายได้ให้แก่ อปท. ตามกฎหมายฯ กำหนดไว้ร้อยละ 35 ของรายได้ของรัฐบาล ใ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ที่ผ่านมามีการจัดสรรเงินให้ อปท. เป็นเงิน 65,736 ล้านบาท และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ประมาณการไว้ที่ จำนวน 70,500 ล้านบาท
“เบื้องต้นเริ่มนำร่อง อปท. ใน 3 จังหวัดก่อน และจะขยายให้ครบ อปท.ทุกแห่งภายในสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 นี้ การดำเนินการในลักษณะนี้จะช่วยให้มีเม็ดเงินลงไปสู่ท้องถิ่นได้เร็วขึ้น และทำให้มีการพัฒนาและกระจายความเจริญสู่ท้องถิ่นทั่วประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้การเบิกจ่ายเงินจากคลังได้โดยตรง เป็นการสนับสนุนภารกิจด้านการเงินการคลังทั้งในส่วนของหน่วยงานภาครัฐ และหน่วยงานท้องถิ่น รวมทั้งเป็นข้อมูลสำคัญที่สนับสนุนการกำหนดนโยบายสำคัญด้านการเงินการคลังให้กับรัฐบาลได้อีกด้วย” ดร . มั่น พัธโนทัย กล่าว