ผลการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐประจำเดือนกันยายน 2553 และสถานะหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2553

ข่าวทั่วไป Tuesday November 2, 2010 15:38 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--2 พ.ย.--กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ขอสรุปผลการดำเนินการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐประจำเดือนกันยายน 2553 พร้อมทั้งรายงานสถานะหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2553 ดังนี้ ผลการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ1. การกู้เงินภาครัฐ 1.1 ผลการกู้เงินในประเทศของรัฐบาล การกู้เงินในประเทศของรัฐบาลในเดือนกันยายน 2553 ในเดือนกันยายน 2553 กระทรวงการคลังได้ลงนามสัญญาเงินกู้ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ. 2552 เพื่อดำเนินการตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 วงเงิน 60,000 ล้านบาท และได้มีการเบิกเงินกู้ภายใต้พระราชกำหนดฯ ดังกล่าว จำนวน 16,000 ล้านบาท ซึ่งลดลงจากเดือนก่อนหน้า 4,000 ล้านบาท ในขณะที่ไม่มีการกู้เงินเพิ่มเพื่อชดเชยการขาดดุล ทำให้การกู้เงินในประเทศของรัฐบาลภายในเดือนกันยายนเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลง 4,000 ล้านบาท การกู้เงินของรัฐบาลในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณ 2553 ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา รัฐบาลได้ทำการกู้เงิน รวม 453,575 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น 1. การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ 232,575 ล้านบาท 2. การเบิกจ่ายเงินกู้ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ. 2552 เพื่อดำเนินการตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 จำนวน 221,000 ล้านบาท 1.2 ผลการกู้เงินในประเทศของรัฐวิสาหกิจ การกู้เงินในประเทศของรัฐวิสาหกิจในเดือนกันยายน 2553 ในเดือนกันยายน 2553 รัฐวิสาหกิจกู้เงินในประเทศรวมกันทั้งสิ้น 10,761 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 5,518 ล้านบาท ซึ่งส่งผลให้การกู้เงินในประเทศของรัฐวิสาหกิจในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมามีจำนวนรวม 60,904 ล้านบาท 1.3 ผลการกู้เงินต่างประเทศของภาครัฐในเดือนกันยายน 2553 กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีได้ลงนามในสัญญาเงินกู้และสัญญาค้ำประกันเงินกู้ภายใต้โครงการเงินกู้รัฐบาลญี่ปุ่น ครั้งที่ 32 กับองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (Japan International Cooperation Agency หรือ JICA) เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2553 และอยู่ระหว่างการรายงานผลการกู้เงินให้คณะรัฐมนตรีทราบ พร้อมทั้งขอให้แจ้งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อจัดทำความเห็นชอบทางกฎหมายสำหรับสัญญาเงินกู้สำหรับการดำเนินโครงการพัฒนาของส่วนราชการ คือ โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณถนนนนทบุรี 1 ของกรมทางหลวงชนบท วงเงินกู้ 7,307 ล้านเยน และสัญญาค้ำประกันเงินกู้สำหรับการดำเนินโครงการของรัฐวิสาหกิจ คือ โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางใหญ่-บางซื่อ) ระยะที่ 2 ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย วงเงินกู้ 16,639 ล้านเยน 2. การปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศ 2.1 การปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศของรัฐบาล การปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศของรัฐบาลในเดือนกันยายน 2553 ในเดือนกันยายน 2553 กระทรวงการคลังได้ดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศของรัฐบาล ดังนี้ 2.1.1 ปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลที่ออกภายใต้ พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ระยะที่สอง (FIDF 3) ที่ครบกำหนดไถ่ถอนในวันที่ 15 กันยายน 2553 จำนวน 5,000 ล้านบาท โดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงินอายุ 6 ปี 2.1.2 การแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรเพื่อการบริหารหนี้ 30,254 ล้านบาท การปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศของรัฐบาลในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณ 2553 กระทรวงการคลังดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศเป็นวงเงินรวมทั้งสิ้น 370,655 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น 1. การปรับโครงสร้างเงินกู้ชดเชยการขาดดุลงบประมาณและการบริหารหนี้ 149,254 ล้านบาท แบ่งเป็น - การแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรเพื่อการบริหารหนี้ 124,254 ล้านบาท - การปรับโครงสร้างตั๋วสัญญาใช้เงินที่ครบกำหนด 25,000 ล้านบาท โดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงิน 2. การปรับโครงสร้างเงินกู้ชดใช้ความเสียหายให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ 139,171 ล้านบาท แบ่งเป็น - FIDF 1 จำนวน 69,440 ล้านบาท โดยการออกพันธบัตร 55,000 ล้านบาท และตั๋วสัญญาใช้เงิน 14,440 ล้านบาท - FIDF 3 จำนวน 69,731 ล้านบาท โดยการออกพันธบัตรรัฐบาล 19,963.62 ล้านบาท การออกตั๋วสัญญาใช้เงิน 21,731 ล้านบาท ทดรองจ่ายจากบัญชี Premium 15,614.02 ล้านบาท และกู้เงินระยะสั้น 12,422.36 ล้านบาท 3. การปรับโครงสร้างเงินกู้ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ. 2552 จำนวน 82,230 ล้านบาท โดยการออกพันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็ง 2.2 การปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศของรัฐวิสาหกิจ การปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศของรัฐวิสาหกิจในเดือนกันยายน 2553 ในเดือนกันยายน 2553 รัฐวิสาหกิจได้ปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศรวมกันเป็นเงิน 6,800 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 5,320 ล้านบาท ซึ่งส่งผลให้การปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศของรัฐวิสาหกิจในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา มีจำนวนรวม 171,250 ล้านบาท 3. การชำระหนี้ภาครัฐ ในเดือนกันยายน 2553 กระทรวงการคลังได้ดำเนินการชำระหนี้โดยใช้เงินงบประมาณ รวม 47,169.84 ล้านบาท ดังนี้ - ชำระหนี้ในประเทศ 37,128.06 ล้านบาท โดยเป็นการชำระต้นเงิน 21,046.25 ล้านบาท และดอกเบี้ย 16,081.81 ล้านบาท - ชำระหนี้ต่างประเทศ 10,041.78 ล้านบาท โดยเป็นการชำระต้นเงิน 30.12 ล้านบาท ดอกเบี้ย 7.92 ล้านบาท ค่าธรรมเนียม 3.74 ล้านบาท และ ค่าจัดซื้อเงินตราต่างประเทศ 10,000.00 ล้านบาท ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา กระทรวงการคลังได้ชำระคืนต้นเงินกู้ ดอกเบี้ย และค่าธรรมเนียมรวม 197,946.14 ล้านบาท *หมายเหตุ: 1. ประมาณการ GDP ปี 2553 เท่ากับ 10,000.9 พันล้านบาท (สศช. ณ 23 ส.ค. 2553) 2. อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศของธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นอัตราเฉลี่ยระหว่างอัตราซื้อและขาย ณ วันทำการสุดท้ายของเดือน 3. ตัวเลขในตารางเป็นตัวเลขเบื้องต้น (Preliminary) และไม่รวมหนี้ของ SPV จำนวน 23,999.90 ล้านบาท ที่รัฐบาลมีภาระผูกพันต้องจ่ายภายใต้สัญญาเช่าพื้นที่อาคารสัญญาบริการจัดหาเฟอร์นิเจอร์ และสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องของโครงการศูนย์ราชการกรุงเทพมหานคร ถ. แจ้งวัฒนะ รายงานหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2553 ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2553 มีจำนวน 4,266,701.34 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 42.66 ของ GDP โดยเป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 2,933,501.26 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 1,090,258.43 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินที่รัฐบาลค้ำประกัน 181,330.66 ล้านบาท และหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 61,610.99 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นสุทธิ 15,062.16 ล้านบาท โดยหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงเพิ่มขึ้น 23,894.61 ล้านบาท สำหรับ หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) และหนี้กองทุนเพื่อ การฟื้นฟูฯ ลดลง 8,565.17 ล้านบาท 263.15 ล้านบาท และ 4.13 ล้านบาท ตามลำดับ ส่วนหน่วยงานอื่นของรัฐนั้น ไม่มีหนี้คงค้าง รายละเอียดปรากฏตามตารางที่ 6 โดยรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงของหนี้สาธารณะ มีดังนี้ 1. หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 1.1 หนี้ในประเทศ หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าเพิ่มขึ้น 23,894.61 ล้านบาท โดยที่สำคัญเกิดจาก - การออกพันธบัตรเพื่อการบริหารหนี้ 36,000 ล้านบาท - การเบิกเงินกู้ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟู และเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ. 2552 เพื่อดำเนินการตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 จำนวน 20,000 ล้านบาท 1.2 หนี้ต่างประเทศ หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง เมื่อคิดในรูปเงินเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 22.29 ล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจาก - ผลจากอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 35.14 ล้านเหรียญสหรัฐ - สกุลเงินเยนได้มีการเบิกจ่ายน้อยกว่าการไถ่ถอนประมาณ 775.23 ล้านเยน หรือ 9.20 ล้านเหรียญสหรัฐ - สกุลเงินเหรียญสหรัฐได้มีการไถ่ถอนประมาณ 3.65 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีรายละเอียดหนี้ต่างประเทศที่รัฐบาลกู้โดยตรงในสกุลเงินต่างๆ ปรากฏตามตารางที่ 7 ตารางที่ 7 การเปลี่ยนแปลงของหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง ทั้งนี้ หากพิจารณาในรูปเงินเหรียญสหรัฐ หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงจำแนกเป็นสกุลเงินต่างๆ ปรากฏตามแผนภาพที่ 7 แผนภาพที่ 7 หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงจำแนกเป็นสกุลเงินต่างๆ 2. หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 2.1 หนี้ในประเทศ 2.1.1 หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าเพิ่มขึ้น 1,618.12 ล้านบาท โดยเกิดจาก - องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพได้ออกพันธบัตร 2,000 ล้านบาท การประปาส่วนภูมิภาคมีการออกพันธบัตรมากกว่าไถ่ถอน 850 ล้านบาท การรถไฟแห่งประเทศไทยมีการออกพันธบัตรน้อยกว่าไถ่ถอน 1,000 ล้านบาท และการไฟฟ้านครหลวงได้ไถ่ถอนพันธบัตร 1,000 ล้านบาท - รัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลค้ำประกันมีการเบิกจ่ายจากแหล่งเงินกู้ต่างๆ มากกว่าชำระคืนต้นเงินกู้ 768.12 ล้านบาท 2.1.2 หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลง 2,341.39 ล้านบาท โดยเกิดจาก - การไฟฟ้านครหลวงได้ออกพันธบัตรน้อยกว่าไถ่ถอน 1,000 ล้านบาท และการประปานครหลวงได้ไถ่ถอนพันธบัตร 1,000 ล้านบาท - รัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลไม่ค้ำประกันมีการเบิกจ่ายจากแหล่งเงินกู้ต่างๆน้อยกว่า ชำระคืนต้นเงินกู้ 341.39 ล้านบาท 2.2 หนี้ต่างประเทศ 2.2.1 หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน เมื่อคิดในรูปเงินเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 107.15 ล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจาก - ผลจากอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 122.78 ล้านเหรียญสหรัฐ - สกุลเงินเยนได้มีการเบิกจ่ายน้อยกว่าการไถ่ถอนประมาณ 1,320.46 ล้านเยน หรือคิดเป็น 15.63 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยรายละเอียดหนี้ต่างประเทศรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) ในสกุลเงินต่างๆ 3. หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) 3.1 หนี้ในประเทศ หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า ไม่มีการเปลี่ยนแปลง 3.2 หนี้ต่างประเทศ หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) เมื่อคิดในรูปเงินเหรียญสหรัฐ ลดลง 1.31 ล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจาก - ผลจากอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 1.95 ล้านเหรียญสหรัฐ - สกุลเงินเยนได้มีการไถ่ถอนประมาณ 202.44 ล้านเยน หรือคิดเป็น 2.39 ล้านเหรียญสหรัฐ - สกุลเงินเหรียญสหรัฐ ได้มีการไถ่ถอน 0.87 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยรายละเอียดหนี้ต่างประเทศรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) ในสกุลเงินต่างๆ 4. หนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ หนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลง 4.13 ล้านบาท เนื่องจาก การซื้อคืนพันธบัตรของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ที่กระทรวงการคลังไม่ค้ำประกัน หนี้สาธารณะ จำนวน 4,266,701.34 ล้านบาท แบ่งออกเป็นหนี้ต่างประเทศ 370,299.32 ล้านบาท หรือร้อยละ 8.68 และหนี้ในประเทศ 3,896,402.02 ล้านบาท หรือร้อยละ 91.32 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง และเป็น หนี้ระยะยาว 4,084,467.88 ล้านบาท หรือร้อยละ 95.73 และหนี้ระยะสั้น 182,233.46 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.27 ของ ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ส่วนวิจัยนโยบายหนี้สาธารณะ สำนักนโยบายและแผน สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ โทร. 0 2265 8050 ต่อ 5512

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ