ประกาศผลรางวัลเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด ประจำปี 2553 แก่ 10 ประเทศในภูมิภาคอาเซียน

ข่าวเทคโนโลยี Thursday November 4, 2010 08:25 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--4 พ.ย.--ดีแทค บรรยายภาพ นายนิวัติ สุธีมีชัยกุล (แถวนั่งที่ 6 จากซ้าย) รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายบุญชัย เบญจรงคกุล (แถวนั่งที่ 5 จากซ้าย) ประธานกรรมการมูลนิธิสำนึกรักบ้านเกิด และนายทอเร่ จอห์นเซ่น (แถวนั่งที่ 6 จากขวา) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) ร่วมเป็นประธานมอบรางวัลเกษตรอินทรีย์ดีเด่นให้แก่เกษตรกรผู้ชนะรางวัลจากประเทศไทย และเกษตรกรจากชาติสมาชิกอาเซียน ในพิธีมอบรางวัลเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิดประจำปี 2553 ซึ่งจัดขึ้นโดยความร่วมมือของโครงการทำดีทุกวันจากดีแทค ร่วมกับมูลนิธิสำนึกรักบ้านเกิด สถานีวิทยุ DFM ร่วมด้วยช่วยกัน และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อร่วมพัฒนางาน CR (Corporate Responsibility) สู่ภูมิภาคอาเซียน พิธีมอบรางวัลจัดขึ้น ณ โรงมหรสพศาลาเฉลิมกรุง โครงการทำดีทุกวันจากดีแทค ร่วมกับมูลนิธิสำนึกรักบ้านเกิด สถานีวิทยุ DFM ร่วมด้วยช่วยกัน และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมพัฒนางาน CR (Corporate Responsibility) สู่ภูมิภาคอาเซียน เปิดเวทีมอบรางวัลเกษตรอินทรีย์ดีเด่นแก่เกษตรกรภูมิปัญญาแห่งภูมิภาค เตรียมเชื่อมโยงโครงข่ายด้านการเกษตรผ่านเครือข่ายโทรคมนาคมยุคใหม่ ทั้งเกษตรกรไทยและอาเซียน สู่ตลาดโลก “พิธีมอบรางวัลเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิดประจำปี 2553” จัดขึ้น ณ โรงมหรสพศาลาเฉลิมกรุง โดยมี นายบุญชัย เบญจรงคกุล ประธานกรรมการมูลนิธิสำนึกรักบ้านเกิด และ นายทอเร่ จอห์นเซ่น ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) ร่วมเป็นประธานในการมอบรางวัลแก่เกษตรกรผู้ชนะรางวัลจากประเทศไทย และ นายนิวัติ สุธีมีชัยกุล รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้เกียรติเป็นประธานร่วมในการมอบรางวัลให้แก่เกษตรกรจากชาติสมาชิกอาเซียน สำหรับโครงการคัดเลือกเกษตรกรดีเด่นที่มีผลงานยอดเยี่ยมด้านเกษตรอินทรีย์ในปี 2553 นี้ มีเกษตรกรไทยทั่วประเทศส่งผลงานเข้าประกวดทั้งสิ้น 120 ผลงาน คณะกรรมการได้พิจารณาคัดเลือกผลงานที่โดดเด่นด้านเกษตรอินทรีย์มากที่สุดออกมา 9 ผลงาน ส่วนเกษตรกรดีเด่นระดับชาติอาเซียนนั้นได้รับความร่วมมือจากสำนักงานเกษตรต่างประเทศ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประสานไปยังกระทรวงเกษตรประจำแต่ละชาติสมาชิกอาเซียน ซึ่งส่งรายชื่อเกษตรกรผลงานยอดเยี่ยมมาประเทศละ 1 ท่าน ซึ่งทั้งหมดได้เดินทางมารับรางวัลที่ประเทศไทยด้วย สำหรับเกษตรกรไทย 9 ท่าน ที่ผลงานได้รับการพิจารณารับรางวัลประจำปีนี้ ได้แก่ เกษตรกรจากจังหวัดชุมพร เชียงราย ชัยภูมิ นครราชสีมา นนทบุรี ประจวบคีรีขันธ์ พิษณุโลก เลย และอำนาจเจริญ ส่วนเกษตรกรอาเซียนที่ได้รับการคัดเลือกรับรางวัลเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิดในปีนี้มาจากทั้ง 9 ประเทศ ได้แก่ บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์และเวียดนาม การจัดพิธีมอบ “รางวัลเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด” ครั้งนี้นับเป็นการจัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเครือข่ายเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด รวบรวมภูมิปัญญาและความรู้ด้านการเกษตรตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงและเผยแพร่ให้เกษตรกรอื่นๆ ต่อไป “รางวัลเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด” เป็นส่วนหนึ่งของการให้บริการ *1677 ทางด่วนข้อมูลการเกษตรที่เป็นนวัตกรรมด้าน CR โดยดีแทค ในการนำเทคโนโลยีการสื่อสารมาประยุกต์ใช้เพื่อกระจายความรู้ไปยังเกษตรกรกลุ่มเป้าหมาย ปัจจุบันมีเกษตรกรเจ้าของรางวัลอยู่ในเครือข่ายแล้ว 123 คน และมีเกษตรกรผู้ใช้บริการ *1677 ทางด่วนข้อมูลการเกษตรอยู่กว่าสองแสนรายทั่วประเทศ. รายนามเกษตรกรจากประเทศไทยผู้ได้รับรางวัลเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด ประจำปี 2553 ชุมพร นายสุคนธ์ ศรีสินธุ์ = เกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนนอกฤดู เพื่อการส่งออก จากวัยรุ่นที่ไม่สนใจในเรื่องการทำเกษตรแม้แต่น้อย วันนี้นายสุคนธ์ได้เป็นเกษตรกรตัวอย่างในการผลิตทุเรียนนอกฤดูที่มีคุณภาพดี สามารถส่งจำหน่ายได้จำนวนมาก มีการจัดการสวนทุเรียนเพื่อให้ได้รับใบรับรองแหล่งผลิตพืช (GAP) เพื่อยืนยันคุณภาพของผลผลิต เป็นวิทยากรให้ความรู้กับเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียน และเป็นกำลังหลักในการต่อรองราคาสินค้าเกษตรกับพ่อค้าคนกลาง เชียงราย นายสมศักดิ์ บุญยวง = เกษตรกรผู้ปลูกส้มโอพันธุ์ดี เพื่อการส่งออก เกษตรกรวัย 51 ปีผู้นี้ ปลูกส้มโอมานานกว่า 13 ปี เป็นผู้จัดตั้ง “กลุ่มผลิตส้มโอพันธุ์ดีเพื่อการส่งออก” มีสมาชิกกว่า 70 คน ส้มโอของกลุ่มมีประเทศโซนยุโรปและประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นตลาดรองรับ อีกทั้งได้รับใบรับรองแหล่งผลิตพืช (GAP) โครงการความปลอดภัยด้านอาหาร ด้านพืชเรียบร้อยแล้ว ชัยภูมิ ผู้ใหญ่เอนก ขุนสูงเนิน = เกษตรกรผู้ปลูกมะขามหวาน เพื่อการส่งออก มีความโดดเด่นในด้านการปลูกมะขามหวาน สามารถส่งผลผลิตจำหน่ายในประเทศ และส่งออกไปยังอีกหลายประเทศในแถบเอเชีย ด้วยประสบการณ์และสิ่งที่สั่งสมจากการปลูกมะขามหวานมาอย่างยาวนาน ทำให้ผู้ใหญ่เอนกได้รับเกียรติและรางวัลด้านการเกษตรมานับไม่ถ้วน นครราชสีมา นายวีรยุทธ ศรีเลอจันทร์ = เกษตรกรผู้ปลูกมะนาวไร้เมล็ด เพื่อการส่งออก เกษตรกรที่มีความรักในธรรมชาติและมองเห็นธรรมชาติคือสิ่งสำคัญ จึงเป็นสิ่งดลใจให้ทำการเกษตรและหาประสบการณ์จริงจากการปฏิบัติมานานกว่า 20 ปี โดดเด่นด้านการปลูกมะนาวไร้เมล็ดจนสามารถสร้างผลผลิตส่งออกไปประเทศไต้หวัน เป็นเกษตรกรที่มีความคิดใหม่ๆ เพื่อพัฒนาการเกษตรของตนด้วยเทคนิคต่างๆ ที่คิดค้นขึ้นจนเป็นที่รู้จักของปราชญ์และเกษตรกรจากหลายที่หลายถิ่น เป็นนักเขียนคอลัมน์โดยใช้นามปากกา “อาจารย์ทอง ธรรมดา” นนทบุรี นายพนม พึ่งสุขแดง = เกษตรกรผู้ปลูกกล้วยไม้ตัดดอก เพื่อการส่งออก เกษตรกรหนุ่มไฟแรงจากจังหวัดนนทบุรี มีความเชี่ยวชาญในเรื่องการปลูกกล้วยไม้ตัดดอกส่งออก และเป็นแหล่งเพาะปลูกกล้วยไม้สกุลหวาย สามารถรวบรวมเกษตรกรจัดตั้งเป็นกลุ่มเพื่อจัดส่งสินค้าไปยังต่างประเทศ ทำให้กล้วยไม้ไทยเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก เป็นเกษตรกรที่มีจิตอาสาเพื่อสังคมพร้อมเผยแพร่ความรู้ให้เยาวชนและผู้ที่สนใจนำความรู้แล้วนำไปสร้างรายได้ให้กับชุมชนของตนเองต่อไป ประจวบคีรีขันธุ์ นายวิสูตร วิทยานันท์ = เกษตรกรผู้ปลูกสับปะรด เพื่อจำหน่ายทั้งใน และต่างประเทศ จากเด็กหนุ่มผู้เริ่มต้นทำเกษตรก่อนผันตัวเองเป็นช่างเครื่องช่างยนต์ ก่อนกลับมาอีกครั้งด้วยความมุ่งมั่นที่เต็มเปี่ยม กับต้นทุนที่แสนจะน้อยนิด จนสามารถสร้างพื้นที่กว่า 1,000 ไร่ และสามารถผลิตและจำหน่ายสับปะรดซึ่งเป็นผลไม้เศรษฐกิจที่สำคัญทั้งในและต่างประเทศรวมกว่า 1,500 ตันต่อปี รับรองคุณภาพด้วยใบรับรองแหล่งผลิตพืช (GAP) ที่สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคได้จนถึงปัจจุบัน พิษณุโลก นายบัญหยัด ชาญฟั่น = เกษตรกรผู้ปลูกมะม่วง เพื่อการส่งออก เกษตรกรผู้ก่อตั้งกลุ่มมะม่วงเพื่อการส่งออกที่สร้างให้กลุ่มมีความเข้มแข็ง สามารถมีเงินทุนดำเนินการได้เป็นอย่างดีจนได้รับรางวัลดีเด่นระดับจังหวัด เป็นเกษตรกรที่พัฒนาพื้นที่บ้านเกิดของตนเองและชาวบ้านในพื้นที่ให้มีความเข้มแข็ง มีความเป็นอยู่อย่างยั่งยืน และสามารถช่วยตนเองได้ เป็นวิทยากรประจำศูนย์การเรียนรู้ จัดประชุมอบรมถ่ายทอดความรู้ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนจนได้รับการคัดเลือกเป็นบุคคลดีเด่นที่ช่วยเหลือสังคมและหน่วยงานราชการ เลย นายนรรถพร สุโพธิ์ = เกษตรกรผู้ส่งเสริมสินค้าเกษตร เพื่อนำมาแปรรูป และเพิ่มมูลค่าให้กับเกษตรกร เกษตรกรผู้นำความรู้จากการศึกษาในสาขาคหกรรมมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะการแปรรูป ซึ่งได้รับการพัฒนาให้จัดตั้งเป็นกลุ่มแม่บ้านเพื่อการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งก่อให้เกิดรายได้ในชุมชน เป็นผู้รวบรวมสินค้าการเกษตรอาทิ มะคาเดเมีย สตรอบอรี่ มาแปรรูปและเพิ่มมูลค่าให้กับเกษตรกรได้มากขึ้น ส่งผลให้มีเงินหมุนเวียนในกลุ่มกว่าล้านบาท เกิดรายได้ให้แก่สมาชิก ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของเกษตรกรในพื่นที่ อำนาจเจริญ นายอดุลย์ โคลนพันธ์ = เกษตรกรผู้ผลิตข้าวอินทรีย์ เพื่อจำหน่ายทั้งใน และต่างประเทศ โดดเด่นด้านการปลูกข้าวอินทรีย์จนได้รับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ และสัญลักษณ์ตรา “ข้าวคุณธรรม” ที่ผู้เข้ากลุ่มมีหลักเกณฑ์ว่า 1. ปลูกข้าวไร้สารเคมี และต้องไม่มีสารเคมีไว้ในครอบครอง 2.ผู้ผลิตหรือสมาชิกต้องเลิกอบายมุขทุกชนิดอย่างเด็ดขาด 3. มีการรวมกลุ่มกันผลิต ร่วมกันขาย จะไม่มีการแยกกันขายเด็ดขาด ความภาคภูมิใจสูงสุด คือ สามารถช่วยเหลือเกษตรกรให้มีทางออกในการทำการเกษตร ช่วยยกระดับความเป็นอยู่ของคนในชุมชนให้ดีขึ้นเป็นอย่างมาก รายนามเกษตรกรจาก 9 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ได้รับรางวัลเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด ประจำปี 2553 1. Brunei = เกษตรกรผู้ทำฟาร์มเลี้ยงไก่และเพาะพันธุ์ไก่ Mr. ONG CHEK TENG นักธุรกิจการเกษตรผู้ประสพความสำเร็จอย่างสูงจากการทำฟาร์มเลี้ยงไก่และเพาะพันธุ์ไก่เพื่อการพาณิชย์จากประเทศบรูไน จนสามารถขยายกิจการทำฟาร์มไปยังธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ธุรกิจซูเปอร์มาร์เก็ตที่มีสาขาทั่วประเทศ ธุรกิจร้านอาหารและโรงแรม จนได้รับรางวัลผู้ประกอบธุรกิจผู้ประสพความสำเร็จจากรัฐบาลแห่งประเทศบรูไนดารุสซาลาม 2. Cambodia = เกษตรกรผู้ปลูกข้าวระบบประณีต Mr.TUY PHAN ชาวนาจากประเทศกัมพูชา ผู้เชี่ยวชาญการปลูกข้าวด้วยระบบประณีต และได้คิดค้นพัฒนาระบบการทำฟาร์มมาประยุกต์ใช้ในการทำสวนครัว ปลูกข้าวโพด เพาะพันธุ์ปลา เลี้ยงไก่และเลี้ยงวัว ตามหลักเกษตรอินทรีย์ ปลอดสารเคมีอย่างได้ผลดีเลิศ 3. Indonesia = เกษตรกรผู้ปลูกข้าวอินทรีย์ ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยหมักธรรมชาติ Mr. I NENGAH SUARSANA ชาวนาจากอินโดนีเซียผู้เชี่ยวชาญการทำนาตามหลักเกษตรอินทรีย์ ทั้งยังสามารถนำผลผลิตจากนาข้าวมาผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยหมักจากธรรมชาติทำให้ผลผลิตได้ผลดีและปลอดสารเคมีตกค้าง นอกจากการทำการเกษตรอย่างได้ผล ยังมีผลงานด้านสังคม โดยมีส่วนร่วมในการช่วยพัฒนาชุมชนรอบด้าน โดยปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการศูนย์ฝึกอบรมการเกษตรชุมชนเพื่อการพึ่งพาตนเอง 4. Laos = เกษตรกรผู้ผลิตและพัฒนาเมล็ดพันธุ์ข้าว Mr. KHAMMOUN SAYMANY เกษตรกรผู้ปลูกข้าวจากประเทศลาว ผู้เป็นแบบอย่างอันดีในเรื่องของการเพิ่มผลผลิตในนาข้าว มีความสามารถในการใช้เทคนิคการคัดแยกสายพันธุ์ข้าวและสามารถนำเอาเทคโนโลยีภายหลังการเก็บเกี่ยวมาประยุกต์ใช้เพื่อให้ได้ผลผลิตเพิ่มมากขึ้น ทั้งยังได้เมล็ดข้าวคุณภาพดี เป็นแบบอย่างให้เพื่อนชาวนาได้เรียนรู้และนำไปใช้เพื่อเพิ่มผลผลิตในนาข้าว เพิ่มพูนรายได้ สามารถเลี้ยงดูครอบครัวให้มีความเป็นอยู่ดีขึ้น 5. Malaysia = เกษตรกรผู้ปลูกไร่นาสวนผสมและการเกษตรแบบผสมผสาน Mr. MOHD SHAHRUL BIN DAUD เกษตรกรหนุ่มจากประเทศมาเลเซีย ผู้เคยได้รับรางวัล Young Malaysian Farmer Award 2009 มาแล้ว เริ่มต้นทำฟาร์มปศุสัตว์เมื่อ 5 ปีที่แล้ว และได้ขยายกิจการมาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันกิจการในฟาร์มประกอบด้วย การเลี้ยงโคเนื้อและโคนมกว่า 160 ตัว ปลูกต้นสัปปะรด 250,000 ต้น พริกแดง 5,000 ต้น ทำบ่อปลาดุก รวมทั้งผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ผลิตและจัดจำหน่ายโยเกิร์ต ซึ่งล้วนเป็นเกษตรอินทรีย์ปลอดสารเคมี ต้นทุนต่ำแต่ได้ผลผลิตสูง คุณภาพดี ปัจจุบันเขาเป็นเจ้าของบริษัท MND Agroternak Farm และมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมพัฒนาชุมชนในด้านต่างๆ เช่นการทำถนนและสร้างฝายชุมชนอีกด้วย 6. Myanmar = เกษตรกรด้านเทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่ Mr. THAN SOE เกษตรกรระดับผู้นำจากประเทศพม่า เป็นผู้ชำนาญการในการใช้เทคโนโลยีการเกษตรและระบบการบริหารจัดการสมัยใหม่มาช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร และยังได้ถ่ายทอดเทคนิควิชาการให้กับเพื่อนเกษตรกรด้วยกันให้สามารถใช้พื้นที่ดินทำกินให้เกิดประโยชน์สูงสุด เผยแพร่ความรู้ในการเข้าถึงแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการเกษตรอันหลากหลายเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ให้เพื่อนเกษตรกรชาวพม่า ได้รับการยกย่องเป็นเกษตรกรตัวอย่าง 7. Philippines = เกษตรกรผู้ทำนาแบบผสมผสาน (บูรณาการ) Mr. BONIFACIO M.CORPUZ ชาวนาจากประเทศฟิลิปปินส์ ผู้มีผลงานโดดเด่นในการทำนาข้าวอินทรีย์แบบบูรณาการ ประยุกต์ใช้ผลผลิตในนามาทำปุ๋ยเพื่อลดต้นทุน ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ป้องกันดินเสื่อมสภาพ แต่ยังคงให้ผลผลิตสูง คุณภาพดี นอกจากนี้ยังได้คิดค้นระบบบริหารจัดการนาข้าวให้ได้ประสิทธิผล สามารถปลูกข้าวได้ตลอดทั้งปี เขายังได้เข้าร่วมกลุ่มฝึกอบรมพัฒนาของทางราชการอยู่อย่างสม่ำเสมอ และมีส่วนร่วมในการช่วยสร้างงานสร้างรายได้และพัฒนาชุมชนท้องถิ่นอย่างแข็งขันอีกด้วย 8. Singapore = เกษตรกรผู้ปลูกพืชใบเขียวเพื่อจำหน่าย Mr. WONG KOK FAH เกษตรกรจากประเทศสิงคโปร์ ประสพความสำเร็จอย่างสูงในการปลูกพืชใบเขียว ด้วยแรงบันดาลใจที่ได้รับจากครอบครัวซึ่งทำการเกษตรมาโดยตลอด ทำให้เขาซึมซับความรู้และภูมิปัญญาดั้งเดิม และต่อยอดพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นโดยเรียนรู้และทดลองทำวิจัยต่างๆ ด้วยตนเอง จนสามารถขยายกิจการด้านเกษตรเป็นผู้จัดจำหน่ายพืชผักใบเขียวให้กับซูปเปอร์มาร์เก็ตรายใหญ่ที่สุดของสิงคโปร์ 9. Vietnam = เกษตรกรผู้ทำฟาร์มเลี้ยงสุกรเพื่อจำหน่าย Mr. NGUYEN VAN PHUC เกษตรกรจากเมืองฮานอย ประเทศเวียดนาม เจ้าของฟาร์มสุกรบนพื้นที่ 1,650 ตารางเมตร มีสุกรเพื่อขยายพันธุ์ไว้ 120 ตัว สามารถให้ผลผลิตเป็นลูกสุกรได้มากถึง 1,500 ตัวต่อปี นอกจากนี้ยังเลี้ยงสุกรเพื่อผลิตเป็นเนื้อสุกรอีก 600 ตัว ในแต่ละปีสามารถผลิตเนื้อสุกรป้อนตลาดกลางในฮานอยได้มากถึง 150 ตันต่อปี โดยนำหลักการทำเกษตรอินทรีย์พึ่งพาตนเองแบบครบวงจรมาประยุกต์ใช้ในการทำฟาร์ม ซึ่งสามารถลดต้นทุนการดำเนินงาน สุกรเติบโตดีให้ผลผลิตสูง ด้วยกระบวนการผลิตที่ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม ค้นหาข่าวและภาพเพิ่มเติม :http://www.dtac.co.th/news/index.phpสอบถามเพิ่มเติม ลูกค้า: 1678 dtac Call Center

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ